๖. กักการุชาดก ว่าด้วยผู้ควรประดับดอกฟักทิพย์
โดย บ้านธัมมะ  23 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35777

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 555

๖. กักการุชาดก

ว่าด้วยผู้ควรประดับดอกฟักทิพย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 555

๖. กักการุชาดก

ว่าด้วยผู้ควรประดับดอกฟักทิพย์

[๖๐๒] ผู้ใดไม่ลักสิ่งของด้วยกาย ไม่พูดเท็จด้วยวาจา ได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.

[๖๐๓] ผู้ใดแสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมไม่ล่อลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคทรัพย์แล้วไม่มัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.

[๖๐๔] ผู้ใดมีจิตไม่จืดจางเร็ว และมีศรัทธาไม่คลายง่ายๆ ไม่บริโภคของดีๆ แต่ผู้เดียว ผู้นั้นแลย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.

[๖๐๕] ผู้ใดไม่บริภาสสัตบุรุษ ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง พูดอย่างใด ทําอย่างนั้น ผู้นั้นแลย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.

จบ กักการุชาดกที่ ๖


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 556

อรรถกถากักการุชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า กาเยน โยนาวหเร ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อพระเทวทัตนั้นทําลายสงฆ์ไปแล้วอย่างนั้น เมื่อบริษัทหลีกไปพร้อมกับพระอัครสาวก โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปาก.ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตกล่าวมุสาวาททําลายสงฆ์ บัดนี้เป็นไข้เสวยทุกขเวทนามาก. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้พูดเท็จเหมือนกัน อนึ่ง พระเทวทัตนี้พูดมุสาวาททําลายสงฆ์ แล้วเป็นไข้ได้เสวยทุกข์มาก ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เสวยทุกข์มากแล้วเหมือนกัน จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเทวบุตรองค์หนึ่งในภพดาวดึงส์. ก็สมัยนั้นแล ในนครพาราณสี ได้มีมหรสพเป็นการใหญ่. พวกนาคครุฑ และภุมมัฏฐกเทวดา เป็นจํานวนมากพากันมาดูมหรสพ. เทว-


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 557

บุตร ๔ องค์แม้จากภพดาวดึงส์ ก็ประดับเทริดอันกระทําด้วยดอกไม้ทิพย์ชื่อกักการุ ผักจําพวกบวบ ฟักแฟง พากันมายังที่ดูการมหรสพ.พระนครประมาณ ๑๒ โยชน์ได้มีกลิ่นเดียวด้วยกลิ่นดอกไม้เหล่านั้น.มนุษย์ทั้งหลายเที่ยวสอบสวนอยู่ว่า ใครประดับดอกไม้เหล่านี้. เทวบุตรเหล่านั้นรู้ว่า มนุษย์เหล่านี้สืบสวนหาพวกเรา จึงเหาะขึ้นที่พระลานหลวงยืนอยู่ในอากาศด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่. มหาชนประชุมกันอยู่. พระราชาก็ดี อิสรชนมีเศรษฐีและอุปราชเป็นต้นก็ดีต่างพากันมา. ทีนั้นจึงพากันถามเทวบุตรเหล่านั้นว่า ข้าแต่เจ้านายท่านทั้งหลายมาจากเทวโลกชั้นไหน? เทวบุตร มาจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์. มนุษย์ พวกท่านมาด้วยกิจธุระอะไร? เทวบุตร มาด้วยต้องการดูมหรสพ. มนุษย์ นี่ชื่อดอกอะไร? เทวบุตร ชื่อดอกฟักทิพย์. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ท่านทั้งหลายโปรดประดับดอกไม้อื่นในเทวโลกเถิด จงให้ดอกฟักทิพย์นี้แก่พวกเราเถิด.เทวบุตรทั้งหลายกล่าวว่า ดอกไม้ทิพย์เหล่านี้มีอานุภาพมาก สมควรแก่เทวดาทั้งหลายเท่านั้น ไม่สมควรแก่คนเลวทรามไร้ปัญญา มีอัธยาศัยน้อมไปในทางต่ําทราม ทุศีล ในมนุษยโลก แต่สมควรแก่มนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้. ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทพบุตรผู้ใหญ่ใน ๔ องค์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ผู้ใดไม่ลักสิ่งของด้วยกาย ไม่พูดเท็จด้วยวาจา ได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ผู้นั้น


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 558

แลย่อมควรประดับดอกฟักทิพย์.

คําที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลใดไม่ลักแม้แต่เส้นหญ้าอันเป็นของของคนอื่น และแม้จะเสียชีวิตก็ไม่กล่าวมุสาวาทด้วยวาจา.คํานี้ เป็นเพียบหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ในคํานี้มีอธิบายนี้ว่า ก็บุคคลใดไม่กระทําอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ด้วยกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร. บทว่า ยโส ลทฺธา ความว่า บุคคลใดได้แม้ความเป็นใหญ่แล้ว ไม่มั่วเมาในความเป็นใหญ่ปล่อยให้สติกระทํากรรมอันลามกบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้เห็นปานนั้นนั่นแล ย่อมควรซึ่งดอกไม้ทิพย์นี้ เพราะฉะนั้น บุคคลใดประกอบด้วยคุณเหล่านี้. บุคคลนั้นย่อมควรขอดอกไม้เหล่านี้ พวกเราจักให้แก่บุคคลนั้น.ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เราไม่มีคุณเหล่านี้แม้แต่อย่างเดียวแต่เราจักกล่าวมุสาวาทรับเอาดอกไม้เหล่านี้มาประดับ เมื่อเป็นอย่างนี้มหาชนจักรู้เราว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ. ปุโรหิตนั้นจึงกล่าวว่าเราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ จึงให้นําดอกไม้เหล่านั้นนาประดับแล้วได้อ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๒ เทวบุตรองค์ที่ ๒ นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ผู้ใดแสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมไม่ล่อลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคทรัพย์แล้วไม่มัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรประดับดอกฟัก-ทิพย์.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 559

คําอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลพึงแสวงหาทรัพย์มีทองและเงินเป็นต้น โดยธรรม คือโดยอาชีพอันบริสุทธิ์ ไม่พึงแสวงหาโดยการหลอกลวง คือไม่พึงนําเอาไปโดยการลวง ได้โภคะทั้งหลายมีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น ไม่พึงมัวเมาประมาท บุคคลเห็นปานนี้ย่อมควรแก่ดอกไม้เหล่านี้.

ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ แล้วให้นําดอกไม้ทิพย์มาประดับ จึงอ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่๓. เทวบุตรองค์ที่๓ นั้น จึงกล่าวคาถาที่๓ ว่า

ผู้ใดมีจิตไม่จืดจางเร็ว และมีศรัทธาไม่คลายง่ายๆ ไม่บริโภคของดีแต่ผู้เดียว ผู้นั้นแลย่อมควรแก่ดอกฟักทิพย์.

คําอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลใดมีจิตไม่จืดจาง คือไม่จางหายไปเร็วเหมือนย้อมด้วยขมิ้น ได้แก่มีความรักมั่นคง และมีศรัทธาไม่คืนคลาย คือ ได้ฟังคําของคนผู้เชื่อกรรมหรือวิบากของกรรมก็ตามแล้วเชื่อ ไม่คืนคลาย ไม่แตกทําลายด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย.บุคคลใดไม่กันยาจกหรือ บุคคลอื่นผู้ควรแก่การจําแนกให้ไว้ภายนอกไม่บริโภคโภชนะมีรสดีแต่ผู้เดียว คือจําแนกให้แก่ชนเหล่านั้นแล้วจึงบริโภค บุคคลนั้นย่อมควรซึ่งดอกไม้เหล่านี้.

ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ จึงให้นํา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 560

ดอกไม้เหล่านั้นมาประดับ แล้วอ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๔. เทวบุตรองค์ที่ ๔ นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า

ผู้ใดไม่บริภาษสัตบุรุษทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง พูดอย่างใด ทําอย่างนั้น ผู้นั้นแลย่อมควรซึ่งดอกฟักทิพย์.

คําอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า บุคคลใดไม่ด่า ไม่บริภาษสัตบุรุษ คือบุรุษผู้เป็นอุดมบัณฑิต ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง พูดถึงสิ่งใดด้วยวาจา ย่อมกระทําสิ่งนั้นแลด้วยกาย บุคคลนั้นย่อมควรซึ่งดอกไม้เหล่านี้.

ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ แล้วให้นําดอกไม้แม้เหล่านั้นมาประดับ. เทวบุตรทั้ง ๔ องค์ได้ให้เทริดดอกไม้ทั้ง ๔ เทริดแก่ปุโรหิตกลัวพากันกลับไปยังเทวโลก. ในเวลาที่เทวบุตรเหล่านั้นไปแล้ว เวทนาอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นที่ศีรษะของปุโรหิต.ศีรษะได้เป็นเหมือนถูกทิ่มด้วยยอดเขาอันแหลมคม และเป็นเหมือนถูกบีบรัดด้วยแผ่นเหล็กฉะนั้น. ปุโรหิตนั้นได้รับทุกขเวทนา กลิ้งไปกลิ้งมาร้องเสียงดังลั่น และเมื่อมหาชนกล่าวว่านี่อะไรกัน จึงกล่าวว่าเรากล่าวมุสาวาทในคุณซึ่งไม่มีอยู่ภายในเราเลยว่ามีอยู่. แล้วขอดอกไม้เหล่านี้ กะเทวบุตรเหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงช่วยนําเอาดอกไม้เหล่านี้ออกจากศีรษะของเราด้วยเถิด. ชนทั้งหลายถึงจะช่วยกันปลด


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 561

ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไม่สามารถจะปลดออกได้ ได้เป็นเหมือนดอกไม้ที่ผูกรัดด้วยแผ่นเหล็ก. ลําดับนั้น ชนทั้งหลายจึงหามปุโรหิตนั้นนําไปเรือน. เมื่อปุโรหิตนั้นร้องอยู่ในเรือนนั้น กาลเวลาล่วงไปได้ ๗วัน. พระราชารับสั่งเรียกอํามาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า พราหมณ์ผู้ทุศีลจักตาย เราจะทําอย่างไรกัน. อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์โปรดให้เล่นมหรสพอีกเถิด เทวบุตรทั้งหลายจักมาอีก. พระราชาจึงให้เล่นมหรสพอีก เทวบุตรทั้งหลายจึงมาอีกได้กระทําพระนครทั้งสิ้นให้มีกลิ่นหอมเป็นอันเดียวกันด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้ แล้วได้ยืนอยู่ที่พระลานหลวงเหมือนอย่างเคยมา. มหาชนประชุมกันแล้ว นําพราหมณ์ผู้ที่ศีลมา ให้นอนหงายอยู่ข้างหน้าของเทวบุตรเหล่านั้น. พราหมณ์ปุโรหิตนั้นอ้อนวอนเทวบุตรทั้งหลายว่า ข้าแต่นาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิด. เทวบุตรเหล่านั้นติเตียนพราหมณ์ปุโรหิตนั้นในท่ามกลางมหาชนว่า ดอกไม้เหล่านี้ไม่สมควรแก่ท่านผู้ลามกทุศีลมีบาปธรรม ท่านไม่สําคัญว่าจักลวงเทวบุตรเหล่านี้ น่าอนาถ ท่านได้รับผลแห่งมุสาวาทของตนแล้ว ครั้นติเตียนแล้วจึงปลดเทริดดอกไม้ออกจากศีรษะ ให้โอวาทแก่มหาชนแล้วได้ไปยังสถานที่ของตนทันที.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต บรรดา


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 562

เทวบุตรเหล่านั้น องค์หนึ่งได้เป็นพระกัสสป องค์หนึ่งได้เป็นพระโมคคัลลานะ องค์หนึ่งได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนเทวบุตรผู้เป็นหัวหน้าได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากักกรุชาดกที่ ๖