[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 398
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยเหตุให้พระสัทธรรมอันตรธานและดํารงอยู่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 398
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยเหตุให้พระสัทธรรมอันตรธานและดำรงอยู่
[๒๘๖] ๔๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุนั้นยังจะประสบบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นประสบบุญเป็นอันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย.
จบสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุคฺคหิเตหิ ได้แก่ ที่ถือมาผิดระเบียบ. บทว่า พฺยญฺชน-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 399
ปฏิรูปเกหิ ได้แก่ ที่มีพยัญชนะงดงาม คือ ที่ได้มาด้วยมีอักขระวิจิตร. บทว่า อตฺถญฺจ ธมฺมญฺจ ปฏิวาหนฺติ ความว่า ย่อมค้านทั้งอรรถกถาและบาลีแห่งสุตตันตะทั้งหลายที่ถือมาถูก. ภิกษุเหล่านั้นแสดงทั้งอรรถทั้งบาลีของสุตตันตะที่ตนถือมาผิดยิ่งยวดกว่า. ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสทั้งความเจริญและความเสื่อมแห่งพระศาสดา แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบสมจิตตวรรคที่ ๔