๗. ปัญจาลจัณฑสูตร
โดย บ้านธัมมะ  29 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36250

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 334

๗. ปัญจาลจัณฑสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 334

๗.ปัญจาลจัณฑสูตร

[๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้พบโอกาสช่องทางในที่คับแคบหนอ ผู้ใดได้รู้ฌานเป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้องอาจในการเร้นเป็นมุนี.

[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนปัญจาลจัณฑเทวบุตร ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่กลับได้ซึ่งสติเพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ.

อรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

ในบทว่า สมฺพาเธ ที่คับแคบมี ๒ ได้แก่ ที่คับแคบ คือ นิวรณ์ ที่คับแคบ คือ กามคุณ.

ในที่คับแคบทั้งสองนั้น ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาที่คับแคบ คือ นิวรณ์.

คำว่า โอกาโส นี้เป็นชื่อของฌาน.

บทว่า ปฏิลีนนิสโภ แปลว่า เป็นผู้หลีกออกได้ประเสริฐสุด.

ผู้ละมานะได้แล้ว


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 335

ตรัสเรียกชื่อว่า ผู้หลีกออก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้หลีกออกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอัสมิมานะ [ความถือว่าเป็นเรา] อันละได้แล้ว มีมูลอันถอนเสียแล้ว ทำเป็นดุจต้นตาลมีรากอันถอนแล้ว ทำให้ไม่มี ไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป ดังนี้.

บทว่า ปจฺจลทฺธํสุ แปลว่า ได้เฉพาะแล้ว.

ด้วยบทว่า สมฺมา เต ท่านกล่าวฌานผสมกันไว้ว่า ชนเหล่าใดได้เฉพาะสติ เพื่อบรรลุพระนิพพาน ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้ว แม้ด้วยโลกุตรสมาธิ.

จบอรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗