[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓- หน้าที่ 318
[๑๐๐] ๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น อันไม่สะอาด และมีสมาจาร อันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วยความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด ผู้มีใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าคนประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้อันราคะชุ่มแล้ว ผู้รุงรัง บุคคลเห็นปานนี้ ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า ถึงแม้บุคคลผู้คบจะไม่เอาอย่างบุคคลนี้ แต่กิตติศัพท์อันลามก ก็ย่อมฟุ้งขจรไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ งูที่เปื้อนคูถ แม้จะไม่กัดคนก็จริง ถึงอย่างนั้น ย่อมเปื้อนบุคคลผู้นั้น ชื่อแม้ฉันใด ถึงบุคคลผู้คบนั้นจะไม่เอาอย่างบุคคลเช่นนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น กิตติศัพท์อันลามกย่อมฟุ้งไปแก่บุคคลนั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
อรรถกถา บุคคลที่ควรรังเกียจเป็นต้น
บทว่า "ชิคุจฺฉิตพฺโพ" ได้แก่ บุคคลที่เขารังเกียจเหมือนกับคูถ
ข้อว่า "อถ โข นํ" แก้เป็น อถ โข อสฺส แปลว่า ครั้งนั้นแล กิตติศัพท์ก็ย่อมมี
บทว่า "กิตฺติสทฺโท" ได้แก่ เสียงที่พูดกัน บัณฑิตพึงเห็นผู้ทุศีลเหมือนหลุมคู
ในข้อว่า "เอวเมวํ" นี้ พึงเห็นบุคคลผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่น่ารังเกียจที่ตกไปในหลุมคูถ พึงเห็นภาวะ คือ การไม่ทำตามกิริยาของบุคคลผู้เสพซึ่งบุคคลผู้ทุศีลนั้นเหมือนกับงูที่บุคคลยกขึ้นจากหลุมคูถ แม้เขายกขึ้นสู่สรีระแห่งบุรุษ แต่ยังไม่กัด พึงทราบการฟุ้งขจรไปแห่งกิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้เสพผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่มีสรีระเปื้อนคูถแล้วก็ไป
รังเกียจด้วย "ปัญญา" เห็นโทษของอกุศลที่เกิดกับขันธ์ ๕ อื่น ไม่ใช่ไปรังเกียจที่ตัวบุคคลครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การคบคนเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าหากเข้าใจความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีสัตว์ บุคคลมีแต่ จิต เจตสิก รูป จิตที่ดี จิตที่ไม่ดี เป็นต้น ความเห็นผิดมีจริง เป็นจิตชนิดหนึ่งที่ไม่ดี ควรเห็นโทษหรือสะสมมากขึ้น ว่าโดยสมมติ บุคคลที่เห็นผิดหรือมากไปด้วยอกุศล ย่อมแนะนำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้น้อมไปตามได้เมื่อเข้าใกล้ เมื่อคบกันนาน แต่ก็เป็นเรื่องของปัญญาว่าจะเลือกคบบุคคลใดและอุปนิสัยของแต่ละคน รวมทั้งการรังเกียจก็เกิดจากปัญญาที่พิจารณาด้วยความเห็นโทษในการคบ จึงเป็นการรังเกียจที่เป็นกุศลเกิดจากปัญญา มิใช่รังเกียจที่เป็นอกุศลที่เป็นโทสะหรือความไม่ชอบเป็นต้น การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต และการบูชาบุคคลที่ควรบูชา จึงเป็นมงคลอันสูงสุด
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น