สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40927

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 899

สมสีสัฏฐญาณนิทเทส

๓๖. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 899

สมสีสัฏฐญาณนิทเทส

[๒๒๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร?

คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม.

[๒๒๘] คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรม ย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วยความปราโมทย์ ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบ ด้วยอรหัตตมรรค.

[๒๒๙] คำว่า นิโรเธ - ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำกามฉันทะให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำวิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนดธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้ดับ ด้วยความ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 900

ปราโมทย์ ย่อมทำนิวรณ์ให้ดับ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมทำกิเลสทั้งปวงให้ดับ ด้วยอรหัตตมรรค.

[๒๓๐] คำว่า อนุปฏฺานตา - ความไม่ปรากฏ ความว่า บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่พยาบาท ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้การกำหนดธรรม วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ ผู้ได้อรหัตตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.

[๒๓๑] คำว่า สมํ - สงบ ความว่า เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกามฉันทะเสียแล้ว ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละความพยาบาทเสียแล้ว อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละถีนมิทธะเสียแล้ว ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอุทธัจจะเสียแล้ว การกำหนดธรรมเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละวิจิกิจฉาเสียแล้ว ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอวิชชาเสียแล้ว ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว ปฐมฌานเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละนิวรณ์เสีย ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงเสียแล้ว.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 901

[๒๓๒] คำว่า สีสํ - เป็นประธาน ความว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๑ มานะมีความผูกพันเป็นประธาน ๑ ทิฏฐิมีความยึดมั่นเป็นประธาน ๑ อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็น ประธาน ๑ สติมีการเข้าไปตั้งไว้เป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ.

๓๖. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส

๒๒๗ - ๒๓๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมสีสัฏฐญาณนิทเทสดังต่อไปนี้ พึงทราบการสงเคราะห์ทั้งหมด ด้วยหมวด ๑๐ มีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺธา - ขันธ์ทั้งหลาย ๕. จริงอยู่ ท่านมิได้จัดธรรมทั้งหมดไว้.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 902

แผนกหนึ่งๆ ด้วยหมวด ๘ ที่เหลือเว้นหมวดอายตนะธาตุ ด้วยสามารถธรรมหมวดหนึ่งๆ. ก็เพราะโลกุตรธรรมมิใช่เป็นธรรมที่ควรตัด ด้วยการตัดขาดเหตุ. ฉะนั้น โลกุตรธรรมแม้ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยศัพท์ว่า สพฺพธมฺมา ก็ไม่พึงถือเอาในที่นี้ เพราะมีคำว่า สมุจเฉทะ ควรถือเอาเตภูมิธรรมอันควรตัดด้วยการตัดเหตุ.

บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺทติ - ตัดขาดโดยชอบ ความว่า เมื่อดับปริยุฏฐานกิเลสและอนุสัยกิเลส ด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนปหานะ ตทังคปหานะ และสมุจเฉทปหานะตามควร ชื่อว่า ตัดขาดโดยชอบ. ท่านแสดงการตัดขาดโดยชอบ ด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิฏฐานอย่างนี้.

บทว่า นิโรเธติ - ให้ดับ คือ ให้ดับด้วยอนุปาทนิโรธ - ดับโดยไม่มีเกิดขึ้น. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งสมุจเฉท.

บทว่า น อุปฏฺาติ - ย่อมไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อดับอย่างนี้แล้ว ธรรมนั้นๆ ก็ไม่ปรากฏขึ้นอีก คือ ไม่เกิดขึ้น. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งนิโรธ. ท่านแสดงถึงความไม่ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันไม่ปรากฏ.

บทว่า สมํ - ความสงบ คือ ชื่อว่า สงบ เพราะกามฉันทะเป็นต้นสงบ. ธรรม ๓๗ คือ ธรรม ๗ มีเนกขัมมะ เป็นต้นเหล่านั้น รูปฌาน อรูปฌาน ๘, มหาวิปัสสนา ๑๘, อริยมรรค ๔

ท่านกล่าวธรรมเป็นประธาน คือ สีสะ ๑๓ ประการ ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ธรรมทั้งหมดที่เป็นสีสะ แต่ในที่นี้ธรรมเป็น


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 903

ประธาน ๘ มีศรัทธาเป็นต้นย่อมควร. เพราะธรรมเป็นประธาน ๕ มีตัณหาเป็นต้นมิได้มีแก่พระอรหันต์.

บทว่า ปลิโพธสีสํ - มีความกังวลเป็นประธาน คือ มีความห่วงใยปลิโพธ. อธิบายว่า เป็นเครื่องกั้นทางไปนิพพาน.

บทว่า สีสํ- เป็นประธาน คือธรรมอันยิ่ง. ปลิโพธนั่นแหละเป็นประธาน หรือเป็น ประธานในปลิโพธทั้งปวง มีการประกอบด้วยธรรมนั้นเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปลิโพธสีสํ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้แล. แต่โดยความต่างกันในบทว่า พนฺธนํ - ความผูกพัน คือ ผูกพันในสงสาร ด้วยสามารถการเย่อหยิ่ง.

บทว่า ปรามาโส คือ ความยึดมั่น.

บทว่า วิกฺเขโป คือ ความฟุ้งซ่าน.

บทว่า กิเลโส คือ ความเศร้าหมอง.

บทว่า อธิโมกฺโข คือ น้อมใจเชื่อ.

บทว่า ปคฺคโห ความประคอง คือ ความอุตสาหะ.

บทว่า อุปฏฺานํ - เข้าไปตั้งไว้ คือ การทำซ้ำๆ.

บทว่า อวิกฺเขโป คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า ทสฺสนํ - ความเห็น คือ แทงตลอดตามความเป็นจริง.

บทว่า ปวตฺตํ - ความเป็นไป คือ ความเป็นไปด้วยอุปาทินนกขันธ์.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 904

บทว่า โคจโร คือ อารมณ์.

ธรรมมีอรรถเป็นประธาน เป็นหัวหน้า ในวาระ แม้ ๑๒ เหล่านี้.

บทว่า วิโมกฺโข คือ นิพพานอันเป็นนิสสรณวิมุตติ ในวิมุตติ ๕ คือ วิกขัมภนวิมุตติ ๑ ตทังตวิมุตติ ๑ สมุจเฉทวิมุตติ ๑ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ๑ นิสสรณวิมุตติ ๑.

บทว่า สงฺขารสีสํ - มีสังขารเป็นประธาน คือ เป็นประธานแห่งสังขารอันเป็นสังขตะทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นยอดสุด ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอนุปาทิเสสปรินิพพาน. หรือท่านกล่าวถึงขันธปรินิพพาน ด้วยเพียงไม่มีสังขาร.

ชื่อว่า สมสีสี เพราะอรรถว่ามีความสงบ มีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมเป็นประธานมีศรัทธาเป็นต้น หรือมีความสงบและธรรม เป็นประธานเสมอกัน.

อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้และอนุปาทิเสสปรินิพพานในเพราะโรคอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะอิริยาบถอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะชีวิตินทรีย์อันเสมอกันก็ดี แห่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ คือ

ธรรมเป็นประธาน ๕ มีตัณหาเป็นต้น แห่งธรรมเป็นประธาน ๑๓ เป็นสมุทยสัจจะ. ธรรมเป็นประธาน ๑๓ มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมรรคสัจจะ. ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นไปเป็นประธาน เป็นทุกข


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 905

สัจจะ. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน และมีสังขารเป็นประธาน เป็นนิโรธสัจจะ.

ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านกล่าวว่า เป็น สมสีสี เพราะมีความสงบ ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อนและมีธรรมเหล่านี้เป็นประธาน.

จบ อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส