อยากให้ผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่าง ในพิธีกรรมการกรวดน้ำ ควรจะกรวดน้ำในเวลาใดระหว่างกรวดน้ำเสร็จ พระภิกษุจึงจะให้พระ ยะถาหรือตอนใดจึงจะถูกต้อง
พระภิกษุจะให้ พระ ยะถา หรือไม่ ทุกครั้งที่เราทำกุศล ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน การรักษาศีล หรือการฟังธรรม เวลาไหนก็ได้ที่กุศลจิตเกิด เราก็สามารถกรวดน้ำอุทิศส่วน
กุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ หรือเพียงแค่กล่าววาจา โดยไม่มีน้ำก็สามารถอุทิศได้ค่ะ
ขณะดี ฤกษ์ดี คือ ขณะที่กุศลจิตเกิดไม่ต้องรอ ไม่มีรูปแบบ ไม่จำกัดเวลาถ้าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหากรู้ว่า เขาอาจจะรับรู้ได้กุศลกรรมนี้จะเป็นปัจจัยให้เขาเกิดจิตโสมนัส ยินดีในกุศลที่เราอุทิศให้ก็ไม่ควรลังเล ควรรีบกระทำทันทีครับ
บทความนี้คัดมาจากหนังสือชื่อ ทำบุญอย่างไรได้บุญมาก ฯ การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลที่ถูกต้อง เวลาเราไปทำบุญที่วัด หลังจากพระฉันภัตตาหารเสร็จ ทายกจะประกาศบอกญาติโยม ให้เตรียมกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อพระเริ่มสวด" ยะถา วาริวะหา...ฯ..." ญาติโยมก็จัดแจงเทน้ำ และกล่าวคำอุทิศกุศล บางคนกล่าวในใจ แบบสั้น เช่น " อิทัง เม ญาตินังโหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย " แล้วเอ่ยชื่อญาติทั้งหลายที่ล่วงลับ เมื่อพระสวดถึงคำว่า " มะณิโช ติระโส ยะถา " ก็จะเทน้ำเสร็จ แล้วจึงนั่งพนมมือฟังพระสวดต่อจนจบ แล้วเอาน้ำไปเทรดต้นไม้ เป็นอันเสร็จการกรวดน้ำ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าการที่ท่านกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมๆ กับที่พระเริ่มสวด " ยะถา วาริวะหา...ฯ..." นั้น ญาติที่ล่วงลับไปแล้วของท่านจะไม่ได้กุศลที่ท่านอุทิศไปให้เลย เพราะเราสวดแข่งกับพระสงฆ์ " ยะถา วาริวะหา...ฯ..." ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ ฉะนั้น ถ้าเราสวดแข่ง เราก็จะได้แต่อกุศล แล้วจะเอากุศลที่ไหนไปอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับ พระพุทธพจน์แม้แต่เพียงพยางค์เดียว ก็สามารถทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ เราจึงไม่ควรไปกรวดน้ำและกล่าวคำอุทิศกุศลในขณะที่พระสงฆ์แสดงธรรมตามพระพุธพจน์ การกรวดน้ำที่ถูกต้องเป็นอริยประเพณี คือเราต้องตั้งใจฟังพระภิกษุเจริญธรรมบท "ยะถา วาริวะหาฯ" ให้จบครบถ้วนก่อน ตอนนี้เราก็มีกุศลแล้ว ก็สามารถกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้