[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407
๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407
๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์
[๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.
[๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
[๒๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 408
ท่านนี้ใดไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.
[๒๐๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก.
[๒๐๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า การเที่ยวไปในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทําไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 409
[๒๐๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทําไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.
[๒๐๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น.
[๒๑๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 410
[๒๑๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
[๒๑๒] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
[๒๑๓] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ.
[๒๑๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 411
มีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร.
[๒๑๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟันเฟือน จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติฟันเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น.
[๒๑๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.
[๒๑๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 412
[๒๑๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สําเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทําความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.
[๒๑๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียรในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ เพราะคนผู้ถามในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้วให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สําเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทําความเพียรไว้ในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.
[๒๒๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอุตตริมนุสสธรรมกะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 413
ถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรทําความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม.
[๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือที่ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า.
จบโคลิสสานิสูตรที่ ๙
๙. อรรถกถาโคลิสสานิสูตร
โคลิสสานิสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปทรสมาจาโร มีมารยาทหยาบคาย คือ ความประพฤติเลว มีอาจาระหยาบ เพ่งในปัจจัยทั้งหลายดุจพระมหารักขิตเถระได้ยินว่าอุปัฏฐากกล่าวกะพระเถระนั้นผู้นั่งอยู่ในตระกูลอุปัฏฐากว่า ท่านขอรับ ผมถวายจีวรแก่พระเถระรูปโน้นแล้ว. พระเถระกล่าวว่า โยมทําดีแล้วที่ถวาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 414
จีวรแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น. อุปัฏฐากกล่าวว่า ท่านขอรับ ผมจักถวายจีวรแก่ท่าน. พระเถระกล่าวว่า ดีแล้ว โยมจักถวายแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น. ภิกษุเห็นปานนี้แม้นี้ชื่อว่ามีอาจาระหยาบ.
บทว่า สปฺปติสฺเสน ความยําเกรง คือ มีความเป็นผู้ใหญ่. ไม่ควรทําตนให้เป็นใหญ่.
บทว่า เสรีวิหาเรน ด้วยการอยู่อย่างเสรี คือ ด้วยการอยู่ตามพอใจของตน ด้วยการอยู่โดยไม่มีผู้คอยตักเตือน.
บทว่า นานุปขชฺช ไม่เข้าไปเบียด คือ ไม่เข้าไปใกล้.
ภิกษุใดเมื่อพระมหาเถระ ๒ รูปนั่งอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ไม่บอกกล่าวพระเถระเหล่านั้นนั่งเสียดสีด้วยจีวรก็ดี ด้วยเข่าก็ดี ภิกษุนี้ชื่อว่าเข้าไปนั่งเบียด.
อนึ่ง ไม่ทําอย่างนั้นครั้นอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแก่ตน พระเถระกล่าวว่า นั่งเถิดผู้มีอายุ ดังนี้จึงควรนั่ง. หากพระเถระไม่กล่าว ควรกล่าวถามว่า ท่านขอรับ ผมจะนั่งได้หรือ ดังนี้แล้วควรนั่ง. ตั้งแต่เวลากล่าวถาม เมื่อพระเถระกล่าวว่า นั่งเถิด หรือแม้เมื่อท่านไม่กล่าว ก็ควรนั่งได้.
ในบทว่า น ปฏิพาหิสฺสามิ เราจักไม่ห้ามนี้มีอธิบายว่า ภิกษุใดละเลยอาสนะที่ถึงแก่ตนแล้วนั่งแย่งที่ภิกษุใหม่ ภิกษุนี้ชื่อว่าห้ามอาสนะภิกษุใหม่. เมื่อภิกษุนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น ภิกษุใหม่ยืนกล่าวโทษว่า ภิกษุนี้ไม่ให้เรานั่งก็ดี หรือเดินหาอาสนะก็ดี เพราะฉะนั้นพึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนนั่นแหละ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่ห้ามอาสนะ.
บทว่า อภิสมาจาริกํปิ ธมฺมํ คือ ธรรมแม้เพียงการปฏิบัติอภิสมาจาริกวัตร.
บทว่า นาติกาเลน โดยไม่ใช่กาล คือ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ควรเข้าและออกพร้อมกับหมู่ภิกษุ. เพราะเมื่อเข้าไปเช้านัก ออกไปสายนัก การปฏิบัติวัตรในลานเจดีย์และลานโพธิ์เป็นต้นย่อมเสื่อม. ควรล้างหน้าแต่เช้าแล้วเขี่ยใยแมลงมุม เมื่อหยาดน้ำค้างตกเข้าบ้านแสวงหาข้าวยาคู นั่งกล่าวติรัจฉานกถานานาประการ ในภายในบ้านนั่นเอง จนถึงได้เวลาบิณฑบาตแล้วฉันอาหาร ออกไปในตอนสาย ไปถึงวัดในเวลาล้างเท้าของภิกษุทั้งหลายในภายหลัง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 415
บทว่า น ปุเรภตฺตํ ปจฺฉาภตฺตํ กุเลสุ จาริตฺตํ อาปชฺชิตพฺพํ ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต คือ ภิกษุรับนิมนต์พร้อมด้วยโภชนะไม่ลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวไปในตระกูลในเวลาก่อนภัตก็ดี ในเวลาหลังภัตก็ดี เว้นไว้แต่สมัยต้องปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รักษาสิกขาบทนี้ไม่ควรเที่ยวไปในเวลาก่อนภัต และในเวลาหลังภัต ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น.
บทว่า อุทฺธโต โหติ จปโล เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา คือ เป็นผู้มีปรกติฟุ้งซ่าน และประกอบด้วยความเป็นผู้คะนอง ดุจเด็กทารก ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ประดับจีวร ประดับบาตร ประดับเสนาสนะ หรือ ตกแต่งประดับกายอันเปือยเน่านี้.
บทว่า ปฺวตา ภวิตพฺพํ ควรเป็นผู้มีปัญญา คือ เมื่อควรทําจีวรกรรมเป็นต้น ควรเป็นผู้ประกอบด้วยอุบายปัญญา.
บทว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ควรทําความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัย คือ ควรทําความเพียรในอภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา. ไม่ควรพลาดธรรมหทยวิภังค์พร้อมด้วยทุกมาติกาและติกมาติกาเป็นต้นในอภิธรรมโดยปริจเฉทสุดท้าย. ไม่ควรพลาดปาฏิโมกข์ทั้ง ๒ ที่ท่านวินิจฉัยไว้ดีแล้วพร้อมกับการวินิจฉัยในข้อควรทําและไม่ควรทําในวินัย.
บทว่า อารุปฺปา อรูปสมาบัติด้วยบทเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าวถึงสมาบัติแม้ ๘ ประการ อนึ่ง เมื่อไม่สามารถบําเพ็ญสมาบัติเหล่านั้นได้ทั้งหมดก็ควรบําเพ็ญในสมาบัติ ๗ บ้าง ๖ บ้าง ๕ บ้าง โดยกําหนดบทสุดท้ายประพฤติถือเอากรรมฐานคือบริกรรมกสิณอย่างหนึ่งทําให้คล่องแคล่ว. เพียงเท่านี้ก็ไม่ควรพลาด.
ด้วยบทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺเม นี้ พระสารีบุตรเถระแสดงโลกุตตรธรรมแม้ทั้งหมด. เพราะฉะนั้น อันผู้เป็นพระอรหันต์พึงละ. อันผู้ยังมิได้บรรลุพระอรหัต ควรตั้งอยู่ในอนาคามิ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 416
ผล สกทาคามิผล หรือโสดาปัตติผล. โดยปริยายสุดท้ายควรประพฤติถือเอาวิปัสสนาสุขอย่างเดียวจนถึงพระอรหัตทําให้คล่องแคล่ว.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
ก็ท่านพระสารีบุตรเถระยังโคลิสสานิภิกษุให้บรรลุพระอรหัตโดยลําดับตั้งแต่อภิสมาจาริกวัตร ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนําได้ จบเทศนานี้ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาโคลิสสานิสูตรที่ ๙