๒. สูจิชาดก ว่าด้วยเห็น
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35845

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 127

๒. สูจิชาดก

ว่าด้วยเข็ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 127

๒. สูจิชาดก

ว่าด้วยเข็ม

[๙๑๑] ใครต้องการซื้อเข็ม ที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ ขัดด้วยหินแข็ง มีรูสำหรับร้อยด้ายดี ทั้งเล่มเล็ก ทั้งปลายคม.

[๙๑๒] ใครต้องการซื้อเข็ม ที่ขัดดีแล้ว มีรูร้อย ด้ายเรียบร้อย ที่ให้เป็นไปดีแล้ว ตามลำดับ ที่กัดทั่งทะลุ และแข็งแกร่ง.

[๙๑๓] เดี๋ยวนี้เข็ม และเบ็ดทั้งหลาย เป็นสินค้าออกไปจากบ้านนี้ นี้ใครต้องการขายเข็ม ในหมู่บ้านช่างเหล็ก?

[๙๑๔] ศัสตราทั้งหลาย ไปจากหมู่บ้านนี้. การงานมากอย่างต่างๆ ชนิด เป็นไปในหมู่บ้านนี้ นี้ใครควรจะขายเข็ม ในหมู่บ้านช่างเหล็ก.

[๙๑๕] ผู้ฉลาดจะต้องขายเข็ม ในหมู่บ้านช่างเหล็ก อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่าทำดี หรือไม่ดี.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 128

[๙๑๖] น้องนางเอ๋ย บิดาของเธอคงรู้เข็มเล่มนี้ ที่เราทำ และคงจะเชื้อเชิญเรา ด้วยตัวเธอ และทรัพย์อย่างอื่น ที่มีอยู่ในเรือน.

จบ สูจิชาดกที่ ๒

อรรถกถาสูจิชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ปัญญาบารมีแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อกกฺกสํ ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งชัด ในมหาอุมมังคชาดก.

ก็ในคราวครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ฉลาดในอุบายทีเดียว. แล้วได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิด ในตระกูลช่างเหล็ก ในแคว้นกาสี เติบใหญ่แล้ว ได้เป็นผู้สำเร็จศิลปะ. แต่มารดาบิดาของท่าน เป็นคนยากจน. ในที่ไม่ไกลจากบ้าน ของมารดาบิดาของท่านนั้น มีหมู่บ้านช่างเหล็ก หมู่อื่นพันหลังคาเรือน ช่างเหล็ก ผู้เป็นหัวหน้าช่างเหล็ก พันหลังคาเรือน ในหมู่บ้านนั้น เป็นราชวัลลภผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก. เขามีธิดา


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 129

คนหนึ่ง มีรูปโฉมสวยสุด เทียมสาวสวรรค์ ประกอบด้วยลักษณะ ของนางงามชนบท. คนทั้งหลายในหมู่บ้านรอบๆ บ้าน พากันมาถึงหมู่บ้านนั้น เพื่อต้องการจ้างตีมีด ตีขวาน และหล่อผาลไถนา โดยมากก็เห็นหญิงสาวคนนั้น. พวกเขากลับไปบ้านของตนๆ แล้วสรรเสริญ รูปโฉมของนาง ในที่นั่ง และที่ยืน เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ได้ยินคำชมนั้นแล้ว ติดใจ เพราะเกี่ยวข้องกับการได้ยิน จึงคิดว่า เราจักเอานางกุมาริกานั้น มาเป็นบาทบริจาริกา คือภริยา. แล้วได้เอาเหล็กเนื้อดีที่สุด ทำให้เป็นเล่มเข็มเล็ก สุขุมเล่มหนึ่ง เจาะห่วงก้นเข็ม แล้วถ่วงไว้ในน้ำ ทำกลักเข็มนั้น แบบเข็มนั่นแหละ อีกอันหนึ่งเจาะห่วงไว้ ได้ทำกลักเข็มนั้น โดยทำนองนี้ ๗ ชั้น. ไม่ควรพูดว่า ทำได้อย่างไร? ด้วยว่าเหตุการณ์สำเร็จได้ เพราะพระโพธิสัตว์มีความรู้มาก. พระโพธิสัตว์นั้น สอดเข็มนั้นไว้ในตลับ เก็บไว้ในชายพก แล้วไปหมู่บ้านนั้น ถามถึงถนนที่อยู่ ของหัวหน้าช่างเหล็ก ไปถึงที่นั้นแล้ว ยืนที่ประตู กล่าวว่า ใครต้องการซื้อเข็ม ที่มีรูปร่างอย่างนี้ จากมือของข้าพเจ้า ด้วยมูลค่าดังนี้. เมื่อจะพรรณนาถึงเข็ม จึงได้ยืนใกล้ประตูเรือน หัวหน้าช่างเหล็ก แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ใครต้องการซื้อเข็ม ที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ ขัดด้วยหินแข็ง มีรูสำหรับร้อยด้ายดี ทั้งเล่มเล็ก ทั้งมีปลายคม.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 130

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ใครต้องการซื้อเข็มของเรา ที่ชื่อว่า ไม่ขรุขระ เพราะไม่มีปม ไฝฝ้าหรือรอย. ชื่อว่า ไม่หยาบ เพราะเกลี้ยงเกลา. ชื่อว่า ขัดด้วยของแข็ง เพราะขัดแล้วด้วยของแข็ง คือ ของที่แก่น ได้แก่ หิน. ชื่อว่า มีรูสำหรับร้อยด้วยดี เพราะประกอบด้วยห่วง คือ รูร้อยที่ดีงาม คือ หมดจดดี ชื่อว่า เล็ก เพราะละเอียด ชื่อว่า มีปลายคม เพราะคมที่ปลาย จากมือของเรา โดยให้มูลค่าราคา.

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพรรณนาถึงเข็มนั้นอีก จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ใครต้องการซื้อเข็ม ที่ขัดดีแล้ว มีรูร้อยด้ายเรียบร้อย ที่ให้เป็นไปดีแล้ว ตามลำดับ ที่กัดทั่งทะลุ และแข็งแกร่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมชฺชํ ความว่า ที่ขัดแล้วด้วยดี ด้วยผงที่ได้จากแคว้นกุรุ. บทว่า สุปาสํ ความว่า ชื่อว่า มีห่วง คือ รูก้นเข็มดี เพราะเจาะด้วยสว่าน เจาะรูที่ละเอียด. บทว่า ฆนฆาติมํ ความว่า เข็มที่ถูกตีทะลุทั่งเข้าไป ตามลำดับนี้ เรียกว่า ฆนฆาติมา อธิบายว่า เป็นเช่นนั้น. บทว่า ปฏิตฺถทฺธํ ความว่า แข็ง คือ ไม่อ่อน.

ขณะนั้น นางกุมาริกานั้น กำลังใช้พัดใบตาล พัดบิดา ผู้รับประทานอาหารเช้า แล้วนอนอยู่บนที่นอนเล็ก เพื่อระงับความไม่สบาย


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 131

ได้ยินเสียง ที่ไพเราะของพระโพธิสัตว์ เหมือนเอาก้อนเนื้อสด ฟาดหัวใจ และเหมือนถูกดับ ด้วยความร้อนอบอ้าว ด้วยน้ำพันหม้อ สงสัยว่า นั่นใครหนอ ร้องขายเข็มที่หมู่บ้าน เป็นที่อยู่ของช่างเหล็ก ด้วยเสียงไพเราะนัก? เขามาด้วยกิจกรรมอะไรหนอ? เราจักรู้จักเขา แล้ววางพัดใบตาลไว้ ออกจากบ้าน ไปยืนที่เฉลียงข้างนอก พูดกับพระโพธิสัตว์นั้น. ตามธรรมดาความปรารถนา ย่อมสำเร็จแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. เพราะว่าท่านมาหมู่บ้านนั้น ก็เพื่อความต้องการหญิงสาวคนนั้น นั่นเอง. นางนั่นแหละ เมื่อจะพูดกับพระโพธิสัตว์นั้น จึงพูดว่า ข้าแต่มาณพ ชาว รัฐทั่วๆ ไป มาหมู่บ้านนี้ เพื่อต้องการเข็ม เป็นต้น แต่คุณมาเพื่อจะขายเข็ม ในบ้านช่างเหล็ก เพราะความโง่ ถ้าแม้นว่า คุณกล่าวสรรเสริญ เข็มตลอดทั้งวันไซร้ ก็จักไม่มีใคร รับเอาเข็มนั้นจากมือของคุณ ถ้าหากคุณอยากได้มูลค่าไซร้ ก็จงไปหมู่บ้านอื่น แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

เดี๋ยวนี้เข็ม และเบ็ดทั้งหลาย เป็นสินค้าออกไป จากบ้านนี้ นี้ใครต้องการขายเข็ม ใน หมู่บ้านช่างเหล็ก ศัสตราทั้งหลาย ไปจากหมู่บ้านนี้ การงานมากอย่างต่างๆ ชนิด เป็นไปในหมู่บ้านนี้ นี้ใครควรจะขายเข็ม ในหมู่บ้านช่างเหล็ก.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 132

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ทานิ ความว่า เข็ม เบ็ด และเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ ในรัฐนี้ ในขณะนี้ ออกไปจากหมู่บ้านช่างเหล็กนี้. บทว่า ปตายนฺติ ความว่า ออกไป คือ แผ่ไปตลอดวันนั้นๆ. บทว่า โกยํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครต้องการจะขายเข็ม ที่หมู่บ้านช่างเหล็กนี้. บทว่า สตฺถานิ ความว่า แม้ศัสตรานานาชนิด ที่มาสู่เมืองพาราณสี ก็ไปจากหมู่บ้านนี้ นั่นเอง. บทว่า วิวิธา ปุถู ความว่า การงานนานาประการ ตั้งมากมาย เป็นไปอยู่ เพราะเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ที่ผู้อยู่ในรัฐทั้งสิ้น เอามาจากหมู่บ้านนี้เอง.

พระโพธิสัตว์ ได้ยินคำของนางแล้ว จึงกล่าวว่า น้องนางเอ๋ย น้องไม่รู้ เพราะไม่รู้ จึงพูดอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ผู้ฉลาด จะต้องขายเข็ม ในหมู่บ้านช่างเหล็ก อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่าทำดี หรือไม่ดี. น้องนางเอ๋ย บิดาของเธอ คงรู้เข็มเล่มนี้ ที่เราทำแล้ว และคงจะเชื้อเชิญเรา ด้วยตัวเธอ และทรัพย์อย่างอื่น ที่มีอยู่ในเรือน.

ศัพท์ว่า สูจึ ในคาถานั้น ท่านกล่าว วิภัติคลาดเคลื่อน คือกล่าว ปฐมาวิภัติ เป็นทุติยาวิภัติไป. มีคำอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า เข็ม ต้อง


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 133

คนฉลาด คือ เป็นบัณฑิต จึงจะขายในหมู่บ้านช่างเหล็กได้ นั่นแหละ. เพราะเหตุไร? บทว่า อาจริยา ปชานนฺติ กมฺมํ สุกตทุกฺกฏํ ความว่า ก็อาจารย์ช่างศิลปประเภทนั้น จึงจะรู้งาน ที่ทำดี หรือไม่ดี ในศิลปประเภทนั้นๆ ถ้าหากเรานั้น ไปบ้านคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ไม่รู้งานของช่างเหล็ก จักให้เขารู้ได้อย่างไรว่า เราทำเข็มดีหรือไม่ดี? แต่ในบ้านนี้ ฉันจักให้ช่างทั้งหลาย รู้กำลังของฉัน. พระโพธิสัตว์พรรณนา กำลังของตน ด้วยคาถานี้อย่างนี้. บทว่า ตยา จ มํ นิมนฺเตยฺย ความว่า น้องนางเอ๋ย ถ้าบิดาของเธอ พึงรู้เข็มเล่มที่ฉันทำนี้ว่า เข็มชนิดนี้ หรือเล่มนี้ เป็นอย่างนี้แล้วไซร้ ท่านคงจะเชิญฉัน ด้วยตัวเธอ อย่างนี้ว่า ฉันจะให้ธิดาคนนี้ เป็นบาทบริจาริกาของคุณ ขอจงรับเอานาง ดังนี้ด้วย. บทว่า ยญฺจตฺกญฺํ ฆเร ธนํ ความว่า ทรัพย์อย่างอื่นอันใด ที่มีวิญญาณก็ตาม ไม่มีวิญญาณก็ตาม มีอยู่ในเรือน บิดาของเธอคงเชื้อเชิญฉัน ด้วยทรัพย์นั้นด้วย. ปาฐะว่า. ยญฺจสฺสญฺํ บ้าง ดังนี้ก็มี มีความหมายว่า ทรัพย์อย่างอื่น ในเรือนของเขามีอยู่.

หัวหน้าช่างเหล็ก ได้ยินถ้อยคำของคนทั้ง ๒ นั้นแล้ว จึงร้องเรียกธิดาว่า แม่หนูๆ แล้วถามว่า หนูเจรจากับใคร?

พ่อ หนูเจรจากับชายคนหนึ่ง ที่ขายเข็ม ธิดาตอบ.

ลูกจงเรียกเขามาหาพ่อ พ่อสั่ง นางจึงไปเรียก พระโพธิสัตว์นั้น จึงเข้าไปในบ้าน ไหว้หัวหน้าช่างเหล็กแล้ว ได้ยืนอยู่. ลำดับนั้น หัวหน้า


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 134

ช่างเหล็กนั้น จึงถามว่า พ่อคุณเป็นคนชาวบ้านไหน?

ผมเป็นคนชาวบ้านโน้น เป็นลูกของช่างเหล็ก ชื่อโน้น พระโพธิสัตว์ตอบ.

เหตุไฉนคุณจึงมาที่นี้ หัวหน้าช่างเหล็กซัก.

มาเพื่อขายเข็มครับ พระโพธิสัตว์ตอบ.

ขอดูเข็มของคุณซิ หัวหน้าช่างเหล็กพูด.

พระโพธิสัตว์ต้องการจะประกาศคุณของตน ท่ามกลางช่างทั้งหมด จึงถามว่า การดูท่ามกลางช่างทั้งหมด ดีกว่าดูเป็นคนๆ ไปไม่ใช่ หรือครับ? หัวหน้าช่างเหล็กตอบว่า ดีแล้วคุณ จึงสั่งให้ช่างเหล็กทั้งหมด มาประชุมกัน มีช่างเหล่านั้น แวดล้อมแล้วพูดว่า เอาออกมาเถอะคุณ พวกผมจะดูเข็มของคุณ. พระโพธิสัตว์ขอร้องว่า อาจารย์ครับ ขอให้นำทั่งมา ๑ อัน กับถาดสัมฤทธิ์มีน้ำเต็มมา ๑ ใบ เขาก็ให้คนนำมาให้. พระโพธิสัตว์จึงนำตลับเข็ม ออกมาจากชายพกแล้ว ได้มอบให้ไป. หัวหน้าช่างเหล็ก นำเข็มออกจากตลับนั้นแล้ว ถามว่า พ่อคุณ นี้หรือเข็ม? นี้ไม่ใช่เข็ม นั่นเป็นกลักเข็ม พระโพธิสัตว์ตอบ. เขาพิจารณา ดูแล้วไม่เห็นก้น ไม่เห็นปลายเข็มเลย. พระโพธิสัตว์จึงให้นำมาแล้ว เอาเล็บแคะกลักออกไป แสดงให้มหาชนเห็นว่า นี้เข็ม นี้กล่องเข็ม แล้ววางเข็มไว้ที่มือของอาจารย์ วางกล่องไว้ใกล้เท้า. ท่านถูกอาจารย์นั้น ถามอีกว่า นี้เห็นจะเป็นเข็มนะพ่อคุณ จึงบอกว่า นี้ก็ไม่ใช่เข็ม เป็น


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 135

กลักเข็มเหมือนกัน แล้วพลางเอาเล็บสะกิดออกวางกลักเข็ม ๖ กลักไว้ ใกล้เท้าของช่างเหล็กตามลำดับแล้ว จึงวางเข็มไว้บนมือเขาโดยบอกว่า นี้เข็ม. ช่างเหล็กพันคนพากันดีดนิ้วปรบมือ? การชูผ้า เป็นไปแล้ว คือโบกผ้า. ลำดับนั้น หัวหน้าช่างเหล็ก จึงได้ถามพระโพธิสัตว์นั้นว่า เข็มนี้มีกำลังอย่างไร?

พระโพธิสัตว์ ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขอให้ท่านใช้ให้ผู้ชายที่มีกำลัง ยกทั่งขึ้นแล้วให้วางถาดน้ำไว้ใต้ทั่ง แล้วตอกเข็มนี้ลงกลางทั่งเถิด. เขาให้คนทำอย่างนั้น แล้วตอกปลายเข็มลงกลางทั่ง. เข็มนั้นทะลุทั่งลงไป วางขวางอยู่เหนือหลังน้ำ ไม่สูงไม่ต่ำ แม้ประมาณเท่าปลายผม. ช่างเหล็กทั้งหมดพูดว่า ชั่วเวลาถึงปานนี้ พวกเราไม่เคยได้ยิน ได้ฟังเลยว่า ขึ้นชื่อว่า ช่างเหล็กทั้งหลาย เช่นนี้มีอยู่ แล้วพากันปรบมือ ชูผ้าขึ้นเป็นพันๆ. หัวหน้าช่างเหล็ก เรียกธิดาให้มาหา และประกาศท่ามกลางบริษัทนั้นเองว่า กุมาริกานี้สมควรแก่คุณเท่านั้น แล้วได้หลั่งน้ำใส่มือมอบให้. ในเวลาต่อมาพระโพธิสัตว์นั้น ได้เป็นหัวหน้าช่างเหล็กแทน ในหมู่บ้านนั้น โดยที่หัวหน้าช่างเหล็ก ล่วงลับไปแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ธิดาของหัวหน้าช่างเหล็ก ในกาลครั้งนั้น ได้เป็นมารดาพระราหุล ในบัดนี้ ส่วนหัวหน้า คือเราตถาคต. ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา สูจิชาดกที่ ๒