[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 449
ทุติยปัณณาสก์
สมณวรรคที่ ๔
๓. เขตตสูตร
กิจเบื้องต้นของชาวนาและภิกษุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 449
๓. เขตตสูตร
กิจเบื้องต้นของชาวนาและภิกษุ
[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะ (กิจที่ต้องทำก่อน) ของคฤหบดีชาวนา ๓ นี้ บุพกรณียะ ๓ คืออะไร คือ คฤหบดีชาวนาไถคราดพื้นที่นาให้ดีก่อน ครั้นแล้ว ปลูกพืชลงในเวลาอันควร ครั้นแล้ว ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้างตามคราว นี้แล บุพกรณียะของคฤหบดีชาวนา ๓
ฉันเดียวกันนั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะของภิกษุ ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ การสมาทานอธิสีลสิกขา การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมาทานอธิปัญญาสิกขา นี้ บุพกรณียะของภิกษุ ๓
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา ฉันทะของเราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา ฉันทะของเราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบเขตตสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 450
อรรถกถาเขตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเขตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า สุกฏฺํ กโรติ ความว่า ชาวนาทำนาให้เป็นอันไถดีแล้วด้วยไถ. บทว่า สุมติกตํ ความว่า (ทำนา) ให้มีพื้นที่เรียบร้อย คือ ราบเรียบ. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลที่ควรหว่าน.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกันทีเดียว.
จบอรรถกถาเขตตสูตรที่ ๓