ปเทสวิหารญาณนิทเทส
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40933

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 928

ปเทสวิหารญาณนิทเทส

๔๓. อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 928

ปเทสวิหารญาณนิทเทส

[๒๔๕] ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณอย่างไร? เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี อกุศลเวทนา เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะ สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ฯลฯ เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาวิมุตติ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 929

เป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี กุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบ แห่งฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อม มีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง สัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย (๑) ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็น ธรรมสงบ แต่เพราะวิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย (๒) ก็ ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบ แต่เพราะสัญญา เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย (๓) ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา เป็นธรรมสงบนั้นเป็นปัจจัย (๔) ก็ย่อมมีกุศลเวทนา ความเพียร เพื่อจะบรรลุอรหัตตผลที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แม้เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ อริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตตผลนั้นเป็นปัจจัย (๕) ก็ย่อมมีกุศลเวทนา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ.


๑ - ๕. บาลีประกอบบทไว้ด้วยคำว่า ตปฺปจฺจยาปิ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 930

๔๓. อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส

[๒๔๕] พึงทราบวินิจฉัยในปเทสวิหารญาณนิทเทสดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงอาการที่ควรพิจารณาญาณบางส่วนที่ ยกขึ้นไว้ในมาติกา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปจฺจยาปิ เวทยิตํ - เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย จึงมีอกุศลเวทนา. ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิปจฺจยา - เพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ความว่า เวทนาสัมปยุตด้วยทิฏฐิบ้าง เวทนาเป็นกุศล อกุศลบ้าง เวทนาเป็นวิบากบ้าง เกิดขึ้นทำทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อม ควร. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่สัมปยุตด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล เท่านั้น. แต่เวทนาเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัย ทิฏฐิ. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นในวันปักษ์ เพราะอาศัยทิฏฐิ ย่อมปฏิบัติคนบอดและคนโรคเรื้อนเป็นต้น ย่อม สร้างศาลา ขุดสระโบกขรณีในทาง ๔ แพร่ง ปลูกสวนดอกไม้ สวน ผลไม้ พาดสะพานในที่ลำบากเพราะน้ำ ปรับที่ไม่เสมอให้เสมอ เวทนา ที่เป็นกุศล ย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. แต่ เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมด่า บริภาษ ฆ่าและจองจำพวกสัมมาทิฏฐิ. ฆ่าสัตว์บวงสรวงเทวดา. เวทนาเป็นอกุศลย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. ส่วนเวทนาเป็นวิบาก ย่อมมีแก่ผู้ไปใน ภพอื่น.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 931

อนึ่ง มิจฉาทิฏฐินั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันเกิดร่วมกัน ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. มิจฉาทิฏฐิดับไปทันทีนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุต ด้วยมิจฉาทิฏฐิในปัจจุบัน ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาสหรคตด้วยโลภะของ ผู้ยินดีทำมิจฉาทิฏฐิให้หนัก ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย และ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย. มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤตของ ผู้ทำมิจฉาทิฏฐิให้เป็นเพียงอารมณ์ ด้วยอกุศลทั้งปวงผู้พิจารณาเห็น แจ้งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยเวทนาเป็นอกุศลทั้งปวง ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย เท่านั้น. มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาเป็นกุศลและอกุศล อัน เกิดขึ้นด้วยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย และแก่เวทนาเป็นวิบากในภพอื่น ด้วย อำนาจอุปนิสัยปัจจัย. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา - เพราะความสงบแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความว่า สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า เป็นความสงบแห่งมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น พึงทราบบทที่ท่านกล่าวว่า เพราะสัมมาทิฏฐิเป็น


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 932

ปัจจัย ย่อมมีกุศลเวทนาว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ความสงบแห่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีในขณะแห่งวิปัสสนา และในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค. แม้ในบทนี้ว่า สมฺมาทิฏฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ - เพราะมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา มีอธิบายดังต่อไปนี้ เวทนาสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิบ้าง เวทนาเป็นกุศล อกุศลบ้าง เวทนาเป็นวิบากบ้าง เกิดขึ้นทำสัมมาทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อมควร. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นกุศลเท่านั้น. อนึ่ง พวกสัมมาทิฏฐิอาศัยสัมมาทิฏฐิทำบุญ มีอาทิอย่างนี้ คือ พุทธบูชาจัดประทีปและดอกไม้ ฟังมหาธรรม ก่อพระเจดีย์ในทิศที่ยังไม่ได้ก่อ ด้วยประการฉะนี้ กุศลเวทนาย่อมเกิดแก่สัมมาทิฏฐิชนเหล่านั้น. สัมมาทิฏฐิชนเหล่านั้นอาศัยสัมมาทิฏฐิด่าบริภาษ พวกมิจฉาทิฏฐิ, ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยประการฉะนี้ อกุศลเวทนา ย่อมเกิดแก่สัมมาทิฏฐิชนเหล่านั้น. ส่วนวิบากเวทนาย่อมมีแก่ผู้ไปในภพอื่น. อนึ่ง สัมมาทิฏฐินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ อันเป็นปัจจุบันเวทนาที่ดับไปใกล้ที่สุด ซึ่งเกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. โลกิยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตด้วยการพิจารณา อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา และอันสัมปยุตด้วยความใคร่ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย. โลกิยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็น


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 933

ปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิด้วยอุปนิสสยปัจจัย โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ สัมมาทิฏฐิอันเป็นมรรคผล ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตด้วยการพิจารณา ด้วยสามารถแห่งอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. บทว่า สมฺมาทิฏฺิวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ - เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ความว่า มิจฉาทิฏฐิชื่อว่า ความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น พึงทราบบทที่ท่านกล่าวว่า เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนานั่นแหละว่า สมฺมาทิฏิวูสสมปจฺจยา - เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย. แม้ในบทมีอาทิว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปปจฺจยา มิจฺฉาสงฺกปฺปวูปสมปจฺจยา - เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า วูปสมปจฺจยา - เพราะความสงบเป็นปัจจัยแห่งธรรมใดๆ ท่านประสงค์เอาเวทนานั้นๆ เพราะมีธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัย. อนึ่ง พึงทราบความในมิจฉาญาณเป็นต้นดังต่อไปนี้ ความคิดเพื่อหาอุบายในการทำบาป ชื่อว่า มิจฉาญาณ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาญาณ คือ ญาณในการพิจารณาผิด. ญาณอันเป็นกุศลและอัพยากฤต ที่เหลือเว้นวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ และโลกุตรสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า สัมมาญาณ. ความพ้นจากบาป ชื่อว่า มิจฉาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ความ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 934

พ้นที่ไม่เป็นจริง ความพ้นที่ไม่นำออกไป ผู้ไม่พ้น สำคัญว่าพ้น. ความน้อมไปในกัลยาณธรรม และผลวิมุตติ ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ. สัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. ส่วนในบทมีอาทิว่า ฉนฺทปจฺจยาปิ - เพราะฉันทะเป็นปัจจัย พึงทราบดังต่อไปนี้ ความโลภ ชื่อว่า ฉันทะ. พึงทราบว่า เวทนาสัมปยุตด้วยจิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ เพราะมีฉันทะเป็นปัจจัย. เวทนาในปฐมฌาน ชื่อว่า มีความสงบแห่งฉันทะเป็นปัจจัย. เวทนาในปฐมฌาน ชื่อว่า มีวิตกเป็นปัจจัย. เวทนาในทุติยฌาน ชื่อว่า มี ความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย. เวทนาในสัญญาสมาบัติ ๖ ที่เหลือเว้นปฐมฌาน ชื่อว่า มีสัญญาเป็นปัจจัย. เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า มีความสงบแห่งสัญญาเป็นปัจจัย. ในบทมีอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสโม โหติ - ฉันทะเป็นธรรมไม่สงบ มีความว่า ถ้าฉันทะ วิตกและสัญญา เป็นธรรมไม่สงบ. บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความไม่สงบแห่งฉันทะ วิตกและสัญญาเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา - มีธรรมนั้นเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตปฺปจฺจยา - เพราะฉันทะ วิตกและสัญญานั้น เป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย. อธิบายว่า เพราะความไม่สงบฉันทะ วิตกและสัญญาเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. เวทนานั้น เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยจิตสหรคตด้วยโลภะ ๘. หากว่า ฉันทะสงบ วิตกและสัญญาไม่สงบ.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 935

บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความสงบแห่งฉันทะนั้น มีวิตกสัญญาไม่สงบเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา เพราะวิตกและสัญญานั้น เป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย. เวทนานั้น เป็นเวทนาในปฐมฌาน. หากว่า ฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบ สัญญาเป็นธรรมไม่สงบ. บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความสงบแห่งฉันทะและวิตกนั้น มีสัญญาไม่สงบเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา เพราะสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย. เวทนานั้น เป็นเวทนาในทุติยฌาน. หากว่า ฉันทะ วิตกและสัญญาเป็นธรรมสงบ. บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ฉันทะ วิตก สัญญา เป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา เพราะฉันทะ วิตกและสัญญานั้น เป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย เวทนานั้นเป็นเวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะแท้. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า "ความพอใจธรรมในส่วนเบื้องต้นด้วยคิดว่า เราจักบรรลุถึงอัปปนา ดังนี้ ชื่อว่า ฉันทะ ความพอใจของผู้บรรลุอัปปนา เป็นความสงบ. วิตกย่อมมีในปฐมฌาน วิตกของผู้บรรลุทุติยฌานเป็นอันสงบ. สัญญาย่อมมีในสมาบัติ ๗. สัญญาของผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ และเข้าถึงนิโรธเป็นอันสงบไป " ดังนี้ แต่ในที่นี้ นิโรธสมาบัติย่อมไม่ประกอบ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 936

บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา - เพื่อบรรลุอรหัตตผลที่ยังไม่บรรลุ คือ เพื่อต้องการบรรลุอรหัตตผล. บทว่า อตฺถิ อายวํ ได้แก่ ความเพียรมีอยู่. ปาฐะว่า อายาวํ บ้าง. บทว่า ตสฺมิมฺปิ ฐาเน อนุปฺปตฺ - แต่เมื่อยังไม่บรรลุฐานะนั้น คือ เมื่อยังไม่บรรลุอริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตตผลนั้น ด้วยสามารถแห่งการปรารภความเพียรนั้น. บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ คือ เพราะฐานะแห่งพระอรหัตเป็นปัจจัย ย่อมมีกุศลเวทนา ด้วยบทนี้ ท่านถือเอาโลกุตรเวทนาที่เกิดแล้ว เกิดพร้อมกับมรรค ๔. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า บทว่า อายวํ คือ การปฏิบัติ. บทว่า ตสฺมิมฺปิ าเน อนุปฺปตฺเต - เมื่อยังไม่บรรลุฐานะแม้นั้น คือ บรรลุภูมินั้น ดังนี้.

จบ อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส