[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ทุติยภาค
ภิกขุนิกขันธกวรรณนา 498
ว่าด้วยครุธรรม ๘ 498
ว่าด้วยอุปสัมปทาแห่งภิกษุณีเป็นต้น 499
ว่าด้วยอวันทิยกรณ์เป็นต้น 500
ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น 502
ว่าด้วยการปลงบริขาร 503
ว่าด้วยอามิสที่เขาถวายเฉพาะตน 504
ว่าด้วยฐานะแห่งของที่รับประเคน 505
ว่าด้วยการนั่ง 505
ว่าด้วยการอุปสมบทด้วยทูต 506
ว่าด้วยโรงเก็บของเป็นต้น 506
ว่าด้วยลาสิกขาเป็นต้น 507
ยินดีการอภิวาทเป็นต้น 507
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 498
ภิกขุนิกขันธก วรรณนา
[ว่าด้วยครุธรรม ๘]
วินิจฉัยในภิกขุนิกขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามว่า อย่าเลย โคตมี (บรรพชาของมาตุคาม) อย่าได้ชอบใจแก่ท่านเลย, บริษัทของ พระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวง ย่อมมี ๔ มิใช่หรือ
ตอบว่า บริษัทของพระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวงมี ๔ ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะยังพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ลำบาก แล้ว จึงทรงอนุญาตทำให้เป็นของสำคัญ (อย่างนี้) ว่า สตรีทั้งหลายจักคิดว่า บรรพชานี้ เราได้ยาก ดังนี้ แล้วจักบริบาลไว้โดยชอบ ซึ่งบรรพชา อันเรา ถูกวิงวอนแล้วมากครั้งจึงอนุญาต ดังนี้ จึงทรงห้ามเสีย.
กถาว่าด้วยครุธรรม ๘ ได้กล่าวไว้แล้ว ในมหาวิภังค์ (๑) แล.
บทว่า กุมฺภเถนเกหิ ได้แก่ โจรผู้ตามประทีปในหม้อแล้ว ค้น สิ่งของในเรือนของชนอื่น ด้วยแสงนั้น ลักเอาไป.
ข้อว่า เสตฏฺิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ ชื่อสัตว์มีชีวิต ชนิดหนึ่ง. รวงข้าวสาลีแม้พลุ่งแล้ว ไม่อาจเลี้ยงน้ำนมไว้ได้ เพราะถูกสัตว์ใด เจาะแล้ว สัตว์นั้น ย่อมเจาะไส้ซึ่งยังอยู่ในปล้อง.
ข้อว่า มญฺเชฏฺิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ การที่อ้อยเป็น โรคไส้แดง.
(๑) มหาวิภงฺค. ทุติย. ๒๗๐. ๒. องฺกุร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 499
ก็แล ด้วยคำว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลึ นี้ พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า เมื่อชอบแห่งสระใหญ่แม้ไม่ได้ก่อแล้ว น้ำน้อยหนึ่งพึงขังอยู่ได้, แต่เมื่อได้ก่อขอบไว้เสียก่อนแล้ว น้ำใดไม่พึงขังอยู่ เพราะเหตุที่มิได้ก่อขอบไว้, น้ำแม้นั้นพึงขังอยู่ได้ เมื่อได้ก่อขอบแล้ว ข้อนี้ ฉันใด; ครุธรรมเหล่านี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อ กันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง, เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มี พระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี เพราะ เหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.
แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความ แตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่ สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วย อำนาจแห่งพระอนาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน, รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรม จักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้.
ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้. แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนานฉะนี้แล.
[ว่าด้วยอุปสัมปทาแห่งภิกษุณีเป็นต้น]
ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทนางสากิยานีห้าร้อย ทำให้เป็นสัทธิวิหารินี ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี โดยพระอนุญาตนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 500
ให้ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทนางภิกษุณี. นางสากิยานีแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้ เป็นผู้ชื่อว่า อุปสมบทแล้วพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.
พระนางโคตมี บรรลุพระอรหัตด้วยพระโอวาทนี้ว่า เย โข ตฺวํ โคตมิ (เป็นอาทิ).
ข้อว่า กมฺมํ น กริยติ มีความว ่า ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมทั้ง ๗ อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นอาทิ.
บทว่า ขมาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้ ย่อมขอโทษว่า เราทั้งหลาย จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้อีก.
วินิจฉัยในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนํ กมฺมํ อโรเปตฺวา ภิกฺขุนียํ นิยิยาเทตุํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
อันภิกษุทั้งหลายพึงยกขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดากรรมมีตัชชนียกรรม เป็นต้น กรรมชื่อนี้ พึงทำแก่ภิกษุณีนั่น แล้วพึงมอบหมายว่า บัดนี้ ท่าน ทั้งหลายนั่นแล จงทำกรรมนั้น.
ก็ถ้าว่า ภิกษุณีทั้งหลายทำกรรมอื่น ในเมื่อกรรมอื่น อันภิกษุยก ขึ้นแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมถึงความเป็นผู้อันสงฆ์ควรปรับโทษ ตามนัยที่ กล่าวแล้วในบาลีนี้ว่า ทำนิยสกรรม แก่บุคคลผู้ควรแก่ตัชชนียกรรม ทีเดียว.
[ว่าด้วยอวันทิยกรณ์เป็นต้น]
วินิจฉัยในคำว่า กทฺทโมทเกน นี้ พึงทราบดังนี้:-
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รดด้วยน้ำโคลนอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ เมื่อรด แม้ด้วยน้ำใส น้ำยอมและตมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ข้อว่า อวนฺทิโย โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภิกฺขุนิสงฺเฆน กาตพฺโพ มีความว่า ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกัน ในสำนักภิกษุณี สวดประกาศ ๓ ครั้ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 501
อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ชื่อโน้น แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีไม่พึงไหว้ ย่อมชอบใจแก่สงฆ์ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อัน ภิกษุณีทั้งหลายกระทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ด้วย สวดประกาศเพียงเท่านี้ จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีแม้เห็นแล้วไม่พึง ไหว้อย่างที่เห็นสามเณรแล้วไม่ไหว้ฉะนั้น.
อันภิกษุนั้น เมื่อจะประพฤติชอบ ไม่พึงไปสู่สำนักภิกษุณี พึงเข้าไป หาสงฆ์หรือบุคคลผู้หนึ่ง ในสำนักนั่นแล นั่งกระโหย่งประนมมือ ขอขมา โทษว่า ขอภิกษุณีสงฆ์จงอดโทษแก่ข้าพเจ้า. ภิกษุนั้น พึงไปสู่สำนักภิกษุณี กล่าวว่า ภิกษุนั้น ขอโทษพวกท่าน. จำเดิมแต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้ ภิกษุนั้น. ความสังเขปในภิกขุนิกขันธกะนี้ เท่านี้ แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวความ พิสดาร ในกัมมวิภังค์.
บทว่า โอภาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัคพัคคีย์ย่อมชักชวนภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยอสัทธรรม.
หลายบทว่า ภิกฺขุนีหิ สทฺธึ สมปฺโยเชนฺติ มีความว่า ภิกษุ ฉัพพัคคีย์ช่วยชักจูงบุรุษกับภิกษุณีด้วยอสัทธรรม. การทำให้เป็นผู้อันภิกษุณี ทั้งหลายไม่พึงไหว้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อาวรณํ ได้แก่ การกีดกัน มีการห้ามมิให้เข้าในสำนัก เป็นต้น.
บทว่า น อาทิยนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัพพัคคีย์ ไม่ยอม รับเองโดยชอบ.
วินิจฉัยในคำว่า โอวาทํ เปตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 502
โอวาทอันภิกษุไม่พึงไปงดที่สำนักภิกษุณี แต่พึงบอกภิกษุณีทั้งหลาย ผู้มาเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ว่า ภิกษุณีชื่อโน้น มีอาบัติติดตัว เรางดโอวาท แก่ภิกษุณีนั้น เธอทั้งหลายอย่าทำอุโบสถกับภิกษุณีนั้น. ทัณฑกรรมแม้ในการ เปิดกายเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
คำว่า น ภิกฺขเว ภิกฺขุนิยา โอวาโท น คนฺตพฺโพ เป็น อาทิข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวรรณนาแห่งภิกขุนีวิภังค์.
[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]
ข้อว่า ผาสุเก นเมนฺติ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้ประคดอก คาดซี่โครง เพื่อประโยชน์ที่จะดัด อย่างหญิงคฤหัสถ์เพิ่งรุ่นสาว คาดด้วย ผ้าคาดนมฉะนั้น.
บทว่า เอกปริยายกตํ ได้แก่ ประคดที่คาดได้รอบเดียว.
สองบทว่า วิลิเวน ปฏฺเฏน ได้แก่ ผ้าแถบที่ทอด้วยตอกไม้ไผ่ อย่างละเอียด.
บทว่า ทุสฺสปฏเฏน. ได้แก่ ผ้าแถบขาว
บทว่า ทุสฺสเวณิยา ได้แก่ ช้องที่ทำด้วยผ้า.
บทว่า ทุสฺสวฏฺฏิยา ได้แก่ เกลียวที่ทำด้วยผ้า. ในผ้าแถบเล็กเป็นต้น ผ้ากาสาวะผืนเล็ก พึงทราบว่า ชื่อว่าผ้าแถบเล็ก.
บทว่า อฏฺิลฺเลน ได้แก่ กระดูกแข้งแห่งโค. บั้นสะเอวเรียก ตะโพก.
สองบทว่า หตฺถํ โกฏฺฏาเปนฺติ ได้แก่ ให้ทุบปลายแขนแต่งให้ งามด้วยชนนกยูงเป็นต้น.
บทว่า หตถฺโกจฺฉํ ได้แก่ หลังมือ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 503
บทว่า ปาทํ ได้แก่ แข้ง.
บทว่า ปาทโกจฺฉํ ได้แก่ หลังเท้า. การไล้หน้าเป็นต้น มีนัยดัง กล่าวแล้วนั้นแล.
สองบทว่า อวงฺคํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัคพัคคีย์เขียน ลวดลายหันหน้าลงล่างที่หางตา ด้วยไม้ป้ายยาตา.
บทว่า วิเสสกํ มีความว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ทำรูปสัตว์แปลกๆ มี ทรวดทรงงดงาม ที่แก้ม.
บทว่า โอโลกนเกน มีความว่า เปิดหน้าต่างแลดูถนน.
สองบทว่า สาโกเก ติฏฺนฺติ มีความว่า เปิดประตู ยืนเยี่ยมอยู่ ครึ่งตัว.
บทว่า สนจฺจํ มีความว่า ให้ทำการมหรสพด้วยนักระบำ.
สองบทว่า เวสึ วุฏฺเปนฺติ มีความว่า ได้ทั้งหญิงนครโสเภณี.
สองบทว่า ปานาคารํ เปนฺติ มีความว่า ย่อมชายสุรา.
สองบทว่า สูนํ เปนฺติ มีความว่า ย่อมชายเนื้อ.
บทว่า อาปณํ มีความว่า ย่อมออกร้านสินค้าต่างๆ หลายอย่าง.
สองบทว่า ทาสํ อุปฏฺาเปนฺติ มีความว่า ย่อมรับทาสแล้วยัง ทาสนั้น ให้ทำการรับใช้สองของตน. แม้ในทาสีเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า หริตกปตฺติกํ ปกีณนฺติ มีความว่า ย่อมขายของสด และของแห้ง. มีคำอธิบายว่า ย่อมออกร้านขายของเปิดแล้วแล.
กถาว่าด้วยจีวรเขียวทั้งปวงเป็นต้น ได้กล่าวแล้วแล.
[ว่าด้วยการปลงบริขาร]
ในข้อว่า ภิกฺขุนี เจ ภิกฺขเว กาลํ กโรนฺติ เป็นอาทิ มี วินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 504
ก็ถ้าว่า ในสหธรรมิกทั้ง ๕ ผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อจะท่ากาลกิริยาจึงสั่งว่า โดยสมัยที่ข้าพเจ้าล่วงไป บริขารของข้าพเจ้าจงเป็นของพระอุปัชฌาย์ หรือว่า จงเป็นของพระอาจารย์ หรือว่า จงเป็นของสัทธิวิหาริก หรือว่า จงเป็นของ อันเตวาสิก หรือว่า จงเป็นของมารดา หรือว่า จงเป็นของบิดา หรือว่า จงเป็นของใครๆ อื่น บริขารของผู้นั้น ไม่เป็นของชนเหล่านั้น คงเป็นของ สงฆ์เท่านั้น เพราะว่าการให้โดยกาลที่ล่วงไป (แห่งตน) ของสหธรรมิกทั้ง ๕ ย่อมใช้ไม่ได้ ของพวกคฤหัสถ์ ใช้ได้.
ภิกษุทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุณี บริขารของเธอ ย่อมเป็นของ ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. ภิกษุณีทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุบริขารของเธอ ย่อม เป็นของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า ปุราณมลฺลี มีความว่า เป็นภริยาของนักมวย ในกาลก่อน คือ ในครั้งเป็นคฤหัสถ์.
บทว่า ปุริสพฺยญฺชนํ มีความว่า นิมิตของบุรุษ จะเป็นอวัยวะที่ ปกปิดก็ตาม มิได้ปกปิดก็ตาม คือ จะเป็นของที่สิ่งไรๆ กำบังก็ตาม มิได้ กำบังก็ตาม. ถ้าภิกษุณี เพ่งดูความคิดให้เกิดขึ้นว่า นิมิตของบุรุษอยู่ที่นี่ ต้อง ทุกกฏ.
[ว่าด้วยอามิสที่เขาถวายเฉพาะตน]
อามิสใดที่เขาบอกถวายว่า ท่านจงบริโภคเอง อามิสนั้นชื่อว่าของ ที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคเฉพาะตน เมื่อภิกษุให้อามิสนั้นแก่ผู้อื่น เป็นทุกกฏ. แต่ถือเอาส่วนดีเสียก่อนแล้ว จึงให้ควรอยู่.
ถ้าว่า อามิสนั้นไม่เป็นที่สบาย จะสละเสียทั้งหมด ก็ควร. จะบริโภค จีวรเสียวันหนึ่ง หรือ ๒ วันแล้วจึงให้ ก็ควร. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็มี นัยเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 505
[ว่าด้วยฐานะแห่งของที่รับประเคน]
ข้อว่า ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนีหิ ปฏิคฺคหาเปตฺวา มีความว่า อามิสที่ภิกษุ รับประเคนเก็บไว้เมื่อวันวาน เมื่ออนุปสัมบันอื่นไม่มีในวันนี้ภิกษุณีทั้งหลาย พึงให้ภิกษุรับประเคนแล้วฉัน. เพราะว่า อามิสที่ภิกษุรับประเคนแล้ว ย่อม ตั้งอยู่ ในฐานะแห่งอามิสที่ยังมิได้รับประเคน สำหรับภิกษุณี. แม้สำหรับ ภิกษุ ก็มีนัยเหมือนในภิกษุณีนั่นแล.
[ว่าด้วยการนั่ง]
สองบทว่า อาสนํ สงฺคายนฺติโย มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อ ยังกันและกันให้ถือเอาที่นั่ง.
สองบทว่า กาลํ วีตินาเมสุํ ความว่า มัวให้รูปหนึ่งลุกขึ้น ให้ อีกรูปหนึ่งนั่งอยู่ ได้ยังเวลาฉันให้ล่วงเลยไปเสีย.
วินิจฉัยในคำว่า อฏฺนฺนํ ภิกขุนีนํ ยถาวุฑฺฒํ นี้ พึงทราบ
หากว่า ภิกษุณี ๘ รูปนั่งในที่ใกล้ ภิกษุณีอื่นที่เป็นไปภายในแห่ง ภิกษุณีเหล่านั้นมา. เธอย่อมได้เพื่อยังภิกษุณีผู้อ่อนกว่าตนให้ลุกขึ้นแล้วนั่ง แทน.
ฝ่ายภิกษุณีใด เป็นผู้อ่อนกว่าภิกษุณีทั้ง ๘ รูป ภิกษุณีนั้น แม้หากจะ มีพรรษา ๖๐ ย่อมได้เพื่อนั่งตามลำดับแห่งผู้มาเท่านั้น.
ข้อว่า อญฺญตฺถ ยถาวุฑฺฒํ น ปฏิพาหิตพฺพํ มีความว่า ใน ที่แจกปัจจัย ๔ แห่งอื่น นอกจากโรงเลี้ยง ใครจะห้ามภิกษุแก่ว่า เรามาก่อน แล้วถือเอาสิ่งไรๆ ไม่ได้. การถือเอาตามลำดับผู้แก่นั่นแลจึงควร.
กถาว่าด้วยปวารณา ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 506
ยานทุกชนิด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ด้วยคำว่า อิตฺถียุตฺตํ เป็นอาทิ.
บทว่า ปาฏงฺกึ ได้แก่ เปลผ้า.
[ว่าด้วยการอุปสมบทด้วยทูต]
การอุปสมบทด้วยทูต ย่อมควร เพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอันตราย ๑๐ อย่าง. ในเวลาจบกรรมวาจา ภิกษุณีนั้นจะยืนหรือนั่งอยู่ ก็ตาม ตื่นอยู่หรือหลับอยู่ก็ตาม ในสำนักภิกษุณี, เธอย่อมเป็นผู้อุปสมบทแล้ว แท้. ในทันทีนั้น ภิกษุสงฆ์พึงบอกส่วนแห่งวันมีคำว่า เงา เป็นต้น แก่ ภิกษุณีทูตผู้มาแล้ว.
[ว่าด้วยโรงเก็บของเป็นต้น]
บทว่า อุทฺโทสิโต ได้แก่ โรงเก็บของ.
บทว่า น สมฺมติ ได้แก่ ไม่พอ.
บทว่า อุปสฺสยํ ได้แก่ เรือน.
บทว่า นวกมฺมํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุณีทำการสร้างใหม่ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์.
สองบทว่า ตสฺสา ปพฺพชิตาย ได้แก่ ในเวลาที่หญิงนั้นบวชแล้ว. หลายบทว่า ยาว โส ทารโก วิญฺญุตํ ปาปุณาติ มีความว่า (เราอนุญาตให้เลี้ยงดู) จนกว่าทารกนั้นจะสามารถขบเคี้ยวบริโภคและอาบได้ ตามธรรมดาของตน.
สองบทว่า เปตฺวา สาคารํ ได้แก่ เว้นเพียงห้องเรือนที่เป็น สหไสย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน พึงปฏิบัติใน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 507
ทารกนั้น เหมือนที่ปฏิบัติในบุรุษอื่น. ภิกษุณีผู้เป็นมารดา ย่อมได้เพื่อยัง ทารกนั้นให้อาบ ให้ดื่ม และให้บริโภค เพื่อแต่งตัวทารกและให้เพื่อนอนกก ทารกนั้นไว้ที่อก.
[ว่าด้วยลาสิกขาเป็นต้น]
ด้วยคำว่า ยเทว สา วิพฺภนฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เพราะภิกษุณีนั้น สึกแล้วนุ่งผ้าขาว ด้วยความยินดีพอใจของตน ฉะนั้นแล เธอจึงมิใช่ภิกษุณี, เธอมิใช่ภิกษุณี เพราะการลาสิกขาหามิได้. เธอย่อมไม่ได้ อุปสมบทอีก.
ข้อว่า สา อาคตา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า ก็ภิกษุณี นั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบทอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ล เธอย่อมไม่ได้แม้ ซึ่งบรรพชา. ฝ่ายนางผู้นุ่งขาวสึกไป ย่อมได้เพียงบรรพชา.
[ว่าด้วยยินดีการอภิวาทเป็นต้น]
ในบทว่า อภิวาทนํ เป็นอาทิ มีความว่า บุรุษทั้งหลาย เมื่อจะ นวดเท้า ย่อมไหว้ ย่อมปลงผม, ย่อมตัดเล็บ, ย่อมทำการรักษาแผล, ภิกษุณีทั้งหลาย รังเกียจการนั้น ทั้งหมด จึงไม่ยินดี.
ในคำว่า อภิวาทนํ เป็นต้นนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าว่า เป็นผู้อันราคะครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดกล้า ข้างภิกษุณีฝ่ายเดียวหรือ ทั้ง ๒ ข้าง, เป็นอาบัติตามวัตถุแท้
พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในการไหว้เป็นต้นนี้ ไม่มีอาบัติ. พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายแสดงอาจริยวาทอย่างนี้ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า การไหว้เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจำเพาะแก่ภิกษุณีทั้งหลาย จึง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 508
สมควร. คำแห่งอรรถกถานี้ เป็นประมาณ. เพราะว่าการบุรุษทั้งหลายไหว้ เป็นต้น เป็นกิจสมควร โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณี ยินดี ดังนี้แล.
สองบทว่า ปลฺลงฺเกน นิสีทนฺติ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ.
บทว่า อฑฺฒปลฺลงฺกํ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิทบเท้าข้างเดียว. วินิจฉัยในคำว่า เหฏฺาวิวเฏ อุปริปฏิจฺฉนฺเน นี้ พึงทราบ ดังนี้ :-
ถ้าว่า เป็นหลุมที่เขาขุด และเพียงแต่ไม้เรียบข้างบนเท่านั้น ปรากฏ ในทิศทั้งปวง จะถ่ายอุจจาระในหลุมแม้เห็นปานนั้น ก็ควร.
สองบทว่า กุกฺกุสํ มตฺติกํ ได้แก่ รำและดินเหนียว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ดินทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
ภิกขุนิกขันธกวรรณนา จบ