ได้ยินแล้วคิด_9
โดย Khaeota  9 ต.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 10092

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ แสดงอยู่บ่อยๆ

"ลักษณะ"

ได้ยินแล้วคิด

อย่างไร...

ขออนุโมทนาในกูศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย wannee.s  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ลักษณะมี 2 อย่างคือ

1. สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่เสมอกันของสังขารธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

2. วิเสสลักษณะ คือ ลักษณะเฉพาะตนของธรรมะแต่ละอย่าง ซึ่งแตกต่างจากสภาพ ธรรมะอื่น เช่น ลักษณะของจิตคือเป็นใหญ๋ในการรู้แจ้งอารมณ์ หรือเสียงมีการกระทบ โสตปสาทเป็นลักษณะ ฯลฯ


ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 9 ต.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 3    โดย orawan.c  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ลักษณะของโลภเจตสิก คือพอใจ ติดข้อง ต้องการ จะรู้หรือไม่ก็ตาม ในชีวิตประจำวันโลภมูลจิตเกิดบ่อยมากและเป็นไตรลักษณะคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และอนัตตา

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย ปริศนา  วันที่ 9 ต.ค. 2551

หากเข้าใจ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมต่างๆ แต่ละประเภท ที่ต่างมีกิจของตนๆ ไม่ปะปนกันที่เกิด และปรากฏให้จิตรู้ได้ ตามปกติ ในชีวิตประจำวันแม้ไม่ใช้ "ชื่อ" อะไรเลยสภาพธรมนั้นๆ ก็มี "ลักษณะ" อย่างนั้นๆ ไม่พ้นไปจาก "ลักษณะ" ของปรมัตถธรรม ๔ ประเภทใด ประเภทหนึ่ง


ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ถึงแม้ว่าจะใช้ชื่ออย่างไรก็ตาม แต่ลักษณะของสภาพธรรม ย่อมไม่มีวันเปลี่ยนแปลง คำว่า ลักษณะ นั้น ตามศัพท์หมายถึง เครื่องหมายรู้ ดังนั้น สภาพธรรมแต่ละอย่าง ย่อมมีเครื่องหมายให้รู้ว่า เป็นสภาพธรรมอะไร ซึ่งไม่ปะปนกันกับลักษณะของสภาพธรรมอย่างอื่น เช่น จิต ถึงแม้ว่าจะจำแนกเป็นจิตประเภทต่างๆ มากมาย เป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา แต่จิตก็มีลักษณะอย่างเดียว คือมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเจตสิก เพราะจิตไม่ใช่เจตสิก เจตสิกนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น โทสะ มีความดุร้ายเป็นลักษณะ ปัญญามีการแทงตลอดสภาพธรรมเป็นลักษณะ เป็นต้น เมื่อได้ศึกษาถึงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ย่อมจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สามารถระลึกศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน และจะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ยิ่งขึ้น

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สิ่งใดมีจริงเพราะอะไร? เพราะมีลักษณะ เพราะมีลักษณะให้รู้ จึงสามารถปรากฎให้รู้ได้ สิ่งนั้นจึงมีจริง จึงบัญญัติเรียกว่าเป็นธรรม ดังนั้นธรรม คือสิ่งที่มีจริง เพราะมีลักษณะให้รู้ เพราะสภาพธรรมมีลักษณะให้รู้ ธรรมมีอยู่แล้วมีลักษณะให้รู้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะไม่เรียกชื่อก็ตาม แข็งมีจริง รู้ว่าแข็งมีจริงเพราะอะไร เพราะมีลักษณะปรากฏให้รู้ว่าแข็ง เจ็บมีจริง ปรากฎได้เพราะมีลักษณะ


ความคิดเห็น 7    โดย paderm  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ดังนั้นการเข้าใจธรรมคือ ต้องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เข้าใจชื่อธรรม เพราะ ที่บัญญัตว่าเป็น จิต เจตสิก เป็นโลภะ เป็นโทสะ ก็เพราะมีลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างของสภาพธรรมที่แตกต่างกัน การอบรมปัญญาจึงเป็นการเข้าใจตัวธรรมนั่นคือ รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นไม่มีชื่อ ไม่มีใคร ไม่มีสัตว์ บุคคล เพราะขณะนั้นรู้ตรงลักษณะอันเป็นการแสดงถึงความเป็นธรรมและเป็นอนัตตา จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมก็คือ เพื่อเข้าใจตัวธรรมที่มีในขณะนี้ก็คือ การรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 8    โดย nida  วันที่ 9 ต.ค. 2551

ถ้าเดินไปแล้วหัวไปชนกับไม้คานอย่างแรงจนเจ็บมากๆ ที่หัว แล้วระลึกที่ลักษณะเจ็บ (เจ็บเป็นเจ็บไม่เป็นอื่นและเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ด้วย) ไม่ต้องไปยึด ถือเจ็บว่าเป็นเราเจ็บ เป็นเราเมื่อไรเป็นเรื่องราวเมื่อนั้น ก่อนหน้านี้ที่ยังไม่เจ็บ เราไปอยู่ที่ไหน มีไหม แล้วหลังจากเจ็บหายไปหมดไปแล้ว เราไปอยู่ที่ไหน ไม่มีเหลือและจะให้เจ็บกลับมาได้ไหม ไม่ได้เพราะเป็นอนัตตา

ขออนุโมทนากับจิตที่เป็นกุศลทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 9    โดย เมตตา  วันที่ 10 ต.ค. 2551

สังขารธรรมคือ จิต เจตสิก รูป มีลักษณะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ส่วนนิพพานนั้นมีลักษณะ เที่ยง เป็นสุข เป็นอนัตตา

สภาพธรรมทั้งหลายที่มีจริง ได้แก่ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเฉพาะของตน เช่น จิตทุกประเภทมีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เช่น โลภ มีลักษณะ ติดข้อง ต้องการ โทสะมีลักษณะประทุษร้าย เดือดร้อน ขุ่นเคือง เป็นต้น รูปมี ๒๘ ประเภทมี ลักษณะ เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์แต่ละประเภทก็มีลักษณะแตกต่างกัน นิพพานมีลักษณะไม่เกิดไม่ดับ เป็นสุข อนัตตา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 10 ต.ค. 2551

สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะสามัญทั่วๆ ไป ลักษณะตามธรรมชาติ ตามปกติปรมัตถธรรมจะต้องมีเหมือนๆ กันอยู่ ๓ อย่าง คืออนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล

ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับเสื่อมสลายสูญหายไป

อนัตตลักษณะ เป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ จะให้เป็นไปตามที่ใจชอบไม่ได้

วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งไม่เหมือนกันเลย วิเสสลักษณะ มี ๔ ประการ คือลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐานลักษณะ คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง หรือสภาพโดยเฉพาะที่มีประจำตัวของธรรมนั้นๆ รสะ คือ กิจการงาน หรือหน้าที่ของธรรมนั้นๆ ปัจจุปัฏฐาน คือผลของรสะ หรืออาการปรากฏของธรรมนั้นๆ ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น

บัญญัติ ไม่มี วิเสสลักษณะที่จะนำมาพิจารณาได้ นิพพาน มีวิเสสลักษณะ ๓ ประการเท่านั้น คือ มีลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน แต่ไม่มีปทัฏฐาน คือเหตุใกล้ให้เกิด ด้วยเหตุว่า "พระนิพพาน" นั้น เป็นธรรมที่พ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง


ความคิดเห็น 11    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 10 ต.ค. 2551

ได้ยินแล้วคิด เป็นบัญญัติ เป็นเราคิด คิดเป็นตัวตน ไม่ใช่การระลึกได้ (สติ) ไม่ใช่สภาพที่รู้ตามเป็นจริง (สัมปชัญญะ) ไม่ใช่ปัญญา

สาธุ


ความคิดเห็น 12    โดย สุภาพร  วันที่ 10 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย orawan.c  วันที่ 10 ต.ค. 2551

ธรรมหรือธาตุ คือสิ่งที่มีจริงเพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของตน เกิดดับตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครสามารถบันดาลให้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงได้


ความคิดเห็น 14    โดย Sam  วันที่ 10 ต.ค. 2551

" ลักษณะ"

แม้ว่าธรรมะทั้งปวงจะมี "ลักษณะ" แต่ผู้ที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องก็ไม่อาจรู้ได้ว่าลักษณะแต่ละอย่างเป็นลักษณะของธรรมะ จึงมีความเห็นผิดยึดถือว่าเป็นตัวตน สัตว์และสิ่งของต่างๆ

แม้ว่า "ลักษณะ" จะกำลังมีอยู่จริงๆ แต่การจะรู้ลักษณะที่มีอยู่จริงได้ ต้องอาศัยความเข้าใจพื้นฐาน อันเกิดจากการศึกษาเรื่องราวที่อธิบายลักษณะของธรรมประการต่างๆ ตามที่ทรงแสดงไว้ จนมีความเข้าใจที่มากพอ มั่นคงพอจึงจะเป็นปัจจัยให้เริ่มระลึกถึงธรรมและเริ่มรู้ลักษณะของธรรมได้จริงๆ

และแม้ว่าจะเริ่มระลึกรู้ "ลักษณะ" ได้บ้าง แต่ขั้นต้นจะรู้ไม่ชัดเจนและมักมีความสงสัย - ไม่แน่ใจแทรกอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟัง การสนทนา การถามตอบ ฯลฯ ต่อไป เพื่ออุปการะให้เกิดการระลึกรู้ต่อไปอีกและค่อยๆ รู้ชัดขึ้นทีละน้อยๆ จนกว่าจะรู้ลักษณะของธรรมะได้ชัดเจนจริงๆ เป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ซึ่งก็คือการรู้แจ้งใน"ลักษณะ" นั่นเอง


ความคิดเห็น 15    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 10 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 16    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 10 ต.ค. 2551

วิสุทธิมรรค กุศลจิต สติ สัมปชัญญะ ปัญญา การฟังธรรม การเป็นผู้มีบุญ อันทำไว้ก่อนแล้ว


ความคิดเห็น 17    โดย pornpaon  วันที่ 11 ต.ค. 2551

ลักษณะ...?

ลักษณะ...?

ลักษณะ...?

ถามตัวเองแล้ว คิดว่าสีสันที่มองเห็นอยู่นี้ยังเห็นเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล สิ่งหนึ่งสิ่งใด เต็มๆ

"ลักษณะ" ของความยึดติด ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทุกข์สุข ชัดเจนดี

ทั้งๆ ที่ลักษณะของสังขารขันธ์ทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง

เกิดแล้ว ดับแล้วๆ ๆ ๆ

ลักษณะของสังขารทั้งปวงเป็นอย่างนี้

แต่ ความเป็นเราก็ยังยึด ว่าเที่ยง เป็นตัวตน อยู่อย่างนั้น

ขออนุโมทนาคุณแก้วตา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 18    โดย เซจาน้อย  วันที่ 12 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 19    โดย Khaeota  วันที่ 14 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ