[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
[๗๔๐] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าโลกมีที่สุด นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าโลกไม่มีที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะนี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี
ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่าดังนี้ก็ดี
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ จัดเป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ