[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๙
กิเลสชหนกถาและอรรถกถา 1771/595
สุญญตากถาและอรรถกถา 1775/600
สามัญญผลกถาและอรรถกถา 1779/605
ปัตติกถาและอรรถกถา 1781/608
ตถตากถาและอรรถกถา 1785/614
กุสลกถาและอรรถกถา 1778/618
อัจจันตนิยามกถาและอรรถกถา 1792/621
อินทริยกถาและอรรถกถา 1801/629
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 595
วรรคที่ ๑๙
กิเลสชหนกถา
[๑๗๗๑] สกวาที บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ยังธรรมที่ดับแล้วให้ดับไป ยังธรรมที่ปราศไปแล้วให้ ปราศไป ยังธรรมที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไป ยังธรรมที่อัสดงคตแล้ว ให้ อัสดงคตไป ยังธรรมที่อัสดงคตลับไปแล้ว ให้อัสดงคตลับไป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละกิเลสเป็นอดีต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อดีตดับไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อดีตดับไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ กิเลสที่เป็นอดีต.
ส. ละกิเลสที่เป็นอดีต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อดีตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อดีตไม่มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ กิเลสที่เป็นอดีต.
[๑๗๗๒] ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 596
ส. ยังธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด ยังธรรมที่ยังไม่เกิด พร้อมไม่ให้เกิดพร้อม ยังธรรมที่ยังไม่บังเกิดไม่ให้บังเกิด ยังธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏไม่ให้ปรากฏ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ก็ต้องไม่กล่าว ว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต.
ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อนาคตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อนาคตไม่มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ กิเลสที่เป็นอนาคต.
[๑๗๗๓] ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้กำหนัดแล้วละราคะ เป็นผู้อันโทสะ ประทุษร้ายแล้วละโทสะ เป็นผู้หลงแล้วละโมหะ เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว ละกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 597
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว อัน เป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ ธรรมดำ และธรรมขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้ากับ แผ่นดิน นี้ประการแรกที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรม ของสัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 598
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมเป็นกุศลและ ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน น่ะสิ.
[๑๗๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต ละกิเลสที่ เป็นอนาคต ละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลที่ละกิเลสได้ ไม่มี หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสที่เป็นอดีต ละกิเลสที่ เป็นอนาคต ละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน น่ะสิ.
กิเลสชหนกถา จบ
อรรถกถากิเลสัปปชหนกถา
ว่าด้วย การละกิเลส
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการละกิเล
ส. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวกว่า ชื่อว่าการละกิเลส ของผู้มีกิเลสอันละได้แล้วมีอยู่ ด้วยว่ากิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดี เป็น อนาคตก็ดี และปัจจุบันก็ดี เป็นสภาพที่ต้องละทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลจึงต้องละกิเลสที่เป็นอดีตด้วย ที่เป็นอนาคตด้วย ที่เป็นปัจจุบันด้วย ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลละกิเลสแม้ที่เป็นอดีต เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ พึงทราบ ตามพระบาลีนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 599
อนึ่ง ในปัญหาของปรวาทีว่า บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีหรือ นี้ อธิบายว่า เมื่อบุคคลละกิเลสทั้งหลายอยู่ หาได้มีความพยายามละกิเลส อันต่างด้วยอดีต เป็นต้น เหมือนความพยายามที่จะทิ้งหยากเยื่อของผู้ทิ้ง อยู่ซึ่งหยากเยื่อไม่ ก็แต่ว่า ครั้นเมื่ออริยมรรคอันมีพระนิพพานเป็น อารมณ์เป็นไปแล้ว กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดนั่นแหละ หมายถึงกิเลส ที่เป็นอนุสัย ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าการละกิเลสมีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. ข้อว่า ก็ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสที่เป็นอดีต เป็นต้น ปรวาทีกล่าว โดยการฉ้อฉล คือลวงโดยอุบายแห่งคำพูด ด้วยคำว่า ก็ถ้าอย่างนั้น ไม่ พึงกล่าวว่า การละกิเลสไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลย่อมละกิเลส ทั้งหลายอันต่างด้วยกิเลสที่เป็นอดีตเป็นต้น ดังนี้แล.
อรรถกถากิเลสัปปชหนกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 600
สุญญตากถา
[๑๗๗๕] สกวาที ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ธรรมหานิมิตมิได้ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมหาที่ตั้งมิได้ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมหานิมิตได้ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างก็ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมหาที่ตั้งมิได้ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างก็ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 601
ส. สังขารขันธ์ มิใช่ธรรมไม่เที่ยง มิใช่ธรรมอันปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว มิใช่ธรรมอิงอาศัยเกิดขึ้น มิใช่ธรรมที่มีความสิ้นไปเป็น ธรรม มิใช่ธรรมที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความคลายไป เป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความดับไปเป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความแปรไป เป็นธรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่เที่ยง เป็นธรรมอันปัจจัย ปรุงแต่ง เป็นธรรมอิงอาศัยเกิดขึ้น เป็นธรรมมีความสิ้นไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความคลายไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความดับไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความแปรไปเป็นธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรไป เป็นธรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์.
[๑๗๗๖] ส. ความว่างแห่งรูปขันธ์ นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ นับเนื่องในรูปขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ ความว่างแห่งสัญญา- ขันธ์ ฯลฯ ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 602
หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๗๗] ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่อง ในรูปขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน สังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่อง ในเวทนาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจากตน หรือจากความเป็นตน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้นความว่าง ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ น่ะสิ. สุญญตากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 603
อรรถกถาสุญญตากถา
ว่าด้วย สุญญตา
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสุญญตา คือความว่าง. ในเรื่องนั้น คำว่า สุญญตา ได้แก่สุญญตา ๒ คือ อนัตตลักขณะของขันธ์ทั้งหลาย และพระนิพพาน. ในสุญญตาเหล่านั้น อนัตตลักขณะอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่นับเนื่องด้วย สังขารขันธ์ โดยปริยายหนึ่ง พระนิพพานเป็นปริยาปันนะ คือเป็นธรรม ที่นับเนื่องด้วยสุญญตา โดยปริยายหนึ่ง ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า สุญญตาเป็นธรรมนับ เนื่องด้วยสังขาร ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ธรรมหานิมิตมิได้ ได้แก่ พระนิพพานอันเว้นจากนิมิต ทั้งปวง แม้คำว่า ธรรมอันหาที่ตั้งมิได้ คืออัปปณิหิตะ ก็เป็นชื่อของ พระนิพพานนั้นนั่นแหละ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงนำพระนิพพาน นี้มากล่าว ตอบว่า เพื่อจะยกโทษของลัทธิอันไม่กล่าวจำแนกธรรม. ด้วยว่า ลัทธิของผู้ใดว่า สุญญตาเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ โดยส่วนเดียว ดังนี้ เพราะไม่จำแนกออกไป ลัทธิแห่งชนนั้นก็ย่อม ปรากฏว่า แม้แต่พระนิพพานก็เป็นธรรมที่นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ ดังนี้. เพื่อจะยกขึ้นซึ่งโทษของลัทธินี้ สกวาทีจึงนำคำว่า อนิมิต และอัปปณิหิตะ มากล่าว. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่พระนิพพานนั้นเป็นธรรม นับเนื่องด้วยสังขารนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สังขารขันธ์มิใช่ธรรม ไม่เที่ยง เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงความผิดอันถึงความเป็นของ ไม่เที่ยงแห่งสุญญตาอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าพระนิพพาน. คำว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 604
ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์หรือ สกวาทีกล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าสุญญตาของขันธ์อื่นนับเนื่องด้วยขันธ์อื่นไซร้ แม้สุญญตาของสังขารขันธ์ ก็พึงนับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือได้ ดังนี้. ข้อว่า ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในรูปขันธ์หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโดยปฏิโลมว่า ถ้าว่าสุญญตาของสังขารขันธ์ไม่ นับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือไซร้ แม้สุญญตาของขันธ์ที่เหลือก็ชื่อว่านับเนื่อง ในสังขารขันธ์หรือ ดังนี้. พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร เหล่านี้ว่างจากตนหรือจากความเป็นตน ปรวาทีนำมาจากลัทธิอื่น. ใน คำเหล่านั้น คำว่า สังขารเหล่านี้ อธิบายว่า การหยั่งลงในพระศาสนา ว่า ปัญจขันธ์เหล่านั้นเทียวชื่อว่าเป็นสภาพว่าง เพราะว่างจากตน และ ของที่เนื่องด้วยตน ดังนี้ ย่อมไม่ผิด ดุจอาคตสถานว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตไว้. แต่ พระสูตรนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่แห่งสุญญตาเป็นธรรมที่นับเนื่องด้วย สังขารขันธ์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตรนี้ จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า พระนิพานมิใช่สุญญตา คือความว่าง ดังนี้แล.
อรรถกถาสุญญตากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 605
สามัญญผลกถา
[๑๗๗๙] สกวาที สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๐] ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สามัญญะ เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สามัญญะ เป็นสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 606
ส. สามัญญผล เป็นสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติมรรค เป็นสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผล เป็นสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็น อสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรหัตตมรรค เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อรหัตตมรรค เป็นสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรหัตตผล เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 607
ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๕ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๕ อย่าง ที่พึ่ง ก็เป็น ๕ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๕ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๕ อย่าง อมตะก็เป็น ๕ อย่าง นิพพานก็เป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สามัญญาผลกถา จบ
อรรถกถาสามัญญผลกถา
ว่าด้วย สามัญญผล
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสามัญญผล คือผลแห่งความเป็นสมณะ. ในเรื่อง นั้น การสันนิษฐาน คือการลงความเห็น ในลัทธิของสกวาทีว่า วิปากจิต ของอริยมรรคในมัคควิถีก็ดี ในผลสมาบัติก็ดี ชื่อว่าสามัญญาผล ดังนี้. อนึ่ง ชนเหล่าใดไม่ถือเอาอย่างนั้น มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ ทั้งหลายว่า การละกิเลสด้วย การเกิดขึ้นแห่งผลด้วยเป็นสามัญญผล เหตุใด เพราะเหตุนั้น สามัญญผลนั้นจึงเป็นอสังขตะ คือพระนิพพาน. ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยตามที่กล่าว แล้วในหนหลังนั่นแล.
อรรถกถาสามัญญผลกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 608
ปัตติกถา
[๑๗๘๑] สกวาที การได้ เป็นอสังขตะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. การได้ เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่ง ก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๒] ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 609
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่ง ก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. การได้บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชช- บริขาร เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส การได้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เป็นอสังขตะ นิพพาน ก็เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 610
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. การได้จีวรเป็นอสังขตะ การได้บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ การได้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็ เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๕ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๕ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๓] ส. การได้ปฐมฌานเป็นอสังขตะ หรือ พึงให้พิสดาร เหมือนกันทุกอย่าง การได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญ- จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญา- นาสัญญายตนฌาน ฯลฯ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เป็น อสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 611
ส. การได้อรหัตตผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. การได้โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ การได้โสดา- ปัตติผล เป็นอสังขตะ ฯลฯ การได้อรหัตตมรรค เป็นอสังขตะ การได้ อรหัตตผลเป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๙ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๙ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การได้เป็นอสังขตะ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 612
ส. ถูกแล้ว.
ป. การได้ เป็นไป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น การได้เป็นอสังขตะ น่ะสิ.
ปัตติกถา จบ
อรรถกถาปัตติกถา
ว่าด้วย ปัตติ คือการได้
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการได้. ในเรื่องนั้น บุคคลย่อมได้ซึ่งสิ่งใดๆ การได้ซึ่งสิ่งนั้นๆ ชื่อว่า ปัตติ. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า การได้ เป็นอสังขตะ ดังนี้ ดุจจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละ คำถาม ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ ในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแหละ.
คำว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น ปรวาทีกล่าวคำบัญญัติว่า ปัตติคือ การได้จัดเป็นอสังขตะของลัทธิใดเพื่อประกาศลัทธินั้น. ในปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คือไม่รับรองซึ่งความที่การได้ ทั้งสิ้นว่าเป็นสภาวธรรมมีรูปเป็นต้น จริงอยู่ ธรรมอะไรๆ ชื่อว่า ปัตติ คือการได้หามีไม่ ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิทรงบัญญัติซึ่งความที่การ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 613
ได้นั้นเป็นอสังขตะ. แต่ว่าปรวาทีได้ให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ว่า ปัตติ คือการ ได้นั้นเป็นอสังขตะด้วยเพียงการปฏิเสธสภาพธรรมดังกล่าวนั่นแหละ. ลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะความเป็นลัทธิอันตั้งอยู่แล้วโดยไม่ พิจารณา ดังนี้แล.
อรรถกถาปัตติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 614
ตถตากถา
[๑๗๘๕] สกวาที ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๖] ส. รูปมีความเป็นรูป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็น อมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปมีความเป็นไป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ นิพพาน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 615
ก็เป็นอสังขตะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เวทนามีความเป็นเวทนา ความเป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา มีความเป็นสัญญา ความเป็นสัญญา ฯลฯ สังขารมีความเป็นสังขาร ความ เป็นสังขาร ฯลฯ วิญญาณมีความเป็นวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็น อสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปมีความเป็นไป ความเป็นไปเป็นอสังขตะ ฯลฯ วิญญาณมีความเป็นวิญญาณ ความเป็นวิญญาณ เป็นอสังขตะ ฯลฯ. นิพพานก็เป็นอสังขตะ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น ๖ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 616
ส. อสังขตะเป็น ๖ อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น ๖ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๖ อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นรูป เป็น เวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง ก็ เป็นอสังขตะ น่ะสิ. ตถตากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 617
อรรถกถาตถตากถา
ว่าด้วย ตถตา คือความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ตถตา คือความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรม หรือ ความเป็นจริงแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสัจจธรรม. ในเรื่องนั้นชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า ชื่อว่าตถตา คือความเป็นอย่างนั้นอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าความเป็นสภาวะแห่งรูป เป็นต้นแห่งธรรมทั้งปวงมีรูปเป็นต้น อันใด มีอยู่อันตถตานั้นเป็นอสังขตะ เพราะความเป็นธรรมไม่นับเนื่องในรูปเป็นต้นที่เป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ชัดเจนแล้วนั่นแหละ เพราะมีลักษณะตามที่ข้าพเจ้า กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
อรรถกถาตถตากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 618
กุสลกถา
[๑๗๘๘] สกวาที นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล.
[๑๗๘๓] ส. อโลภะ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 619
ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโลภะ. เป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา วิริย สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้น ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๙๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล. กุลสกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 620
อรรถกถากุสลกถา
ว่าด้วย กุสล
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลเป็นธรรมไม่มีโทษด้วย เป็นธรรมมีผลที่น่าปรารถนาด้วย ทั้งเป็นธรรมที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส จึงชื่อว่าเป็นธรรมหาโทษมิได้ โดยนัยนี้ บุคคลเว้นอกุศลเสียแล้วชื่อว่า ย่อมเสพธรรมทั้งปวงอันไม่มีโทษ. กุศลชื่อว่าผลที่น่าปรารถนา คือเป็น บุญอันให้ความสำเร็จซึ่งอิฏฐผลในความเป็นไปแห่งความเกิดขึ้นในภพ ต่อไป โดยนัยนี้ บุคคลย่อมเสพธรรมอันเป็นบทต้นนั่นแหละในกุศลติกะ๑. ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลาย ว่า พระนิพพานเป็นกุศล ด้วยเหตุเพียงความเป็นธรรมไม่มีโทษเท่านั้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงซึ่งความที่พระนิพพานไม่เป็นกุศล ด้วยอรรถว่าเป็นอิฏฐวิบาก. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยอำนาจ ลัทธิของตน. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะความมีนัยเช่นกับ ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ดังนี้แล.
อรรถกถากุสลกถา จบ
๑. บทต้นแห่งกุสลติกะ ได้แก่ กุสลา ธัมมา แปลว่าสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลมีอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 621
อัจจันตนิยามกถา
[๑๗๙๒] สกวาที ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลทำมาตุฆาตเป็นแน่นอนโดยส่วนเดียว บุคคล ผู้ทำปิตุฆาต ฯลฯ บุคคลผู้ทำอรหันตฆาต ฯลฯ บุคคลทำโลหิตุปบาท บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน เดียว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.
[๑๗๙๓] ส. วิจิกิจฉา ไม่พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 622
ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ละได้ด้วยอนาคา- มิมรรค ฯลฯ ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละได้ด้วยมรรคไหน.
ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
ส. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นธรรมนำออก ให้ถึงความสิ้น ทุกข์ ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิจิกิจฉา อันบุคคลผู้แน่นอน โดยส่วนเดียวละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
[๑๗๙๔] ส. อุจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อุจจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดย สัสสตทิฏฐิ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.
[๑๗๙๕] ส. อุจจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 623
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละได้ด้วยมรรคไหน.
ป. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อุจเฉททิฏฐิ อันบุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
[๑๗๙๖] ส. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจ- เฉททิฏฐิ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.
[๑๗๙๗] ส. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 624
ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยมรรคไหน?
ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัสสตทิฏฐิ อันบุคคลผู้แน่นอนโดยอุจจเฉททิฏฐิ ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.
[๑๗๙๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสได้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ โดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมลงอยู่นั่นเอง ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
๑. อง. สัตตก. ๒๓/๑๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 625
ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็มีความแน่นอนโดยส่วนเดียว น่ะสิ.
[๑๗๙๙] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ โดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะ ทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความ แน่นอนโดยส่วนเดีว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ผุดขึ้นแล้ว กลับจมลง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว กลับจมลงทุกครั้ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๐] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ โดยส่วนเดียว เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำโดย ส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะ ทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านจึงสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความ แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 626
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผุดขึ้นแล้วทรงตัวอยู่ ผุดขึ้นแล้วเห็นแจ้งเหลียวแล ดูว่ายข้ามไป ผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ทุกครั้ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ
อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา
ว่าด้วย ความแน่นอนโดยส่วนเดียว
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความแน่นอนโดยส่วนเดียว คือนิยามอันเป็นที่สุด มีอย่างเดียว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ บางพวกว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว เพราะอาศัยพระสูตร ว่า บุคคลนั้น คือผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศลเป็นธรรมดำโดยส่วน เดียว เป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายชนเหล่านั้น คำตอบเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลผู้ทำมาตุฆาต เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า เมื่อมิจฉัตตนิยามแห่งนิยตมิจฉาทิฏฐิ บุคคลด้วย บุคคลผู้ทำกรรมทั้งหลายมีฆ่ามารดาเป็นต้นด้วย มีอยู่ แม้ บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นต้นเหล่านั้นก็พึงเป็นผู้แน่นอนที่สุดมิใช่หรือ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะลัทธิว่า บุคคลผู้เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นผู้มั่นคงในสังสารวัฏฏ์ เป็นผู้เที่ยงแท้แม้ในภพที่สอง แต่ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้เที่ยงแท้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 627
คำว่า วิจิกิจฉาพึงเกิดแล้วแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ความว่า สกวาทีย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้เป็นเที่ยงก็ตามไม่เที่ยงก็ตาม วิจิกิจฉา ก็พึงเกิดอย่างนี้ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นเหตุอันไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉา จึงตอบรับรอง. ถูกถามว่า วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่ บุคคลซ่องเสพทิฏฐิใดแล้วก้าวลงสู่นิยามในนิยามนั้น. แต่นั้นถูกถามว่า ผู้นั้น ละวิจิกิจฉาได้หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความที่วิจิกิจฉานั้นละ ไม่ได้ด้วยมรรค คือมิจฉามรรค แต่ก็ตอบรับรองว่าละได้ เพราะความ ที่บุคคลปรารภทิฏฐินั้นแล้ว หมายเอาทิฏฐิเป็นประธาน มิได้หมายเอา โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาก็ไม่เกิดขึ้น. ลำดับนั้น สกวาที กล่าวคำว่า ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอำนาจ แห่งโสดาปัตติมรรคนั้น เพราะขึ้นชื่อว่าการละวิจิกิจฉานั้นถ้าเว้นจาก อริยมรรคแล้วย่อมละไม่ได้ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่ วิจิกิจฉานั้นละไม่ได้ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง และถูกถามอีกว่า ละได้ด้วย มรรคไหน ปรวาทีหมายเอามิจฉามรรค จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วย มรรคฝ่ายอกุศล ดังนี้.
คำว่า อุจเฉททิฏฐิเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิหรือ ความว่า สกวาทีย่อมถามซึ่งความเกิดขึ้นแห่งนิยามที่ ๒. ปรวาทีตอบรับรอง เพราะพระบาลีว่า นัตถิกวาทะ อกิริยวาทะ อเหตุกวาทะเหล่านี้มีอยู่แก่ บุคคลผู้มีหูชัน คือหูชันหมายถึงการไม่รับรู้เหตุผลอะไรทั้งนั้น แม้เหล่าใด เหล่านั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้ง ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดียวได้. ลำดับ นั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ก็ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 628
บุคคลผู้หนึ่งผู้มีความเห็นผิดนั้นย่อมไม่ใช่ผู้เที่ยงที่สุดหรือ. จริงอยู่ นิยามที่ ๒ มิใช่จุดหมายของผู้มีความเห็นว่าเที่ยงแท้. ในปัญหาว่า อุทเฉททิฏฐิไม่พึงเกิด เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความ ไม่เกิดขึ้นแห่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความเห็นว่า ความเที่ยงของ สัสสตทิฏฐิอันใดมีอยู่ (อุจเฉท) ทิฏฐิอันนั้นแหละอันเขาขจัดเสียแล้ว. ถูกถามว่า ละอุจเฉททิฏฐิได้หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอุจเฉททิฏฐิ นั้นยังไม่ได้ละด้วยมรรค และตอบรับรองว่าละได้เพราะความไม่เกิดขึ้น โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิด เป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในวาระว่าด้วย วิจิกิจฉานั่นแหละ.
คำถามว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น เป็นของปรวาที. คำตอบรับรอง ว่า ใช่ เพราะความที่พระสูตรเช่นนั้นมีอยู่ เป็นของสกวาที. ในอธิการ นี้มีอธิบายว่า ก็บุคคลผู้ไม่จมลงแม้ในภพถัดไปนั่นแหละ มีอยู่ เพราะว่า เขาเป็นอภัพพบุคคลไม่อาจเพื่อละทิฏฐินั้นในภพนี้เท่านั้น ดังนี้. เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนี้ไม่สำเร็จว่าความแน่นอนมีอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง นั้นหมายถึงอริยมรรค. คำว่าข้อกำหนดที่สุดมีอย่างเดียวนี้ ท่านกล่าว เพื่อแสดงว่า ปรวาทีพึงแสวงหาอรรถกระทำซึ่งสักแต่คำว่า บุคคล นั้นโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงตลอดกาล ดังนี้ ให้เป็นที่อาศัยตั้งลัทธิ ด้วย ประการฉะนี้แล.
อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 629
อินทริยกถา
[๑๘๐๑] สกวาที สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยินทรีย์ สัทธินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๒] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัทธินทรีย์เป็นโลกิยะมี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๓] ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 630
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๔] ส. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ ฯลฯ ชีวตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็ มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๕] ส. ครัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 631
ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่โสมนัสสินทรีย์ที่เป็น โลกิยะไม่มี หรือ ฯลฯ ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 632
ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๖] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระ มีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๗] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็น โลกุตตระไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ มีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 633
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็น โลกุตตระไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐๘] ส. อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นแล้วแลซึ่งสัตว์ทั้งหลาย บางพวก เป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย บางพวกเป็นผู้มีธุลีในดวงตามาก บางพวก เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บางพวกเป็นผู้มี อาการดี บางพวกเป็นผู้มีอาการทราม บางพวกเป็นผู้ที่จะให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกเป็นผู้ที่จะให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยใน ปรโลกอยู่ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นอินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ น่ะสิ.
อินทริยกถา จบ
อรรถกถาอินทริยกถา
ว่าด้วย อินทรีย์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะและมหิสาสกะทั้งหลายว่า
๑. ม.มู. ๑๒/๓๒๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 634
ศรัทธาที่เป็นโลกียะชื่อว่าเป็นศรัทธาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ วิริยะที่เป็นโลกียะสติที่เป็นโลกียะสมาธิที่เป็นโลกียะปัญญาที่เป็นโลกียะ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นปัญญาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นปัญญินทรีย์ ดังนี้ คำถามของ สกวาทหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ศรัทธาที่เป็นโลกีย์ไม่มีหรือ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดง ซึ่งความที่ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น แม้เป็นโลกีย์ก็ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ ด้วยเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ยิ่ง มิใช่ธรรมอื่นนอกจากศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่าสัทธินทรีย์เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายมีศรัทธา เป็นต้นนั่นแหละ แม้เป็นโลกิยะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ เป็นต้น. คำว่า มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่ออธิบายเนื้อความนั้น ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีมโนเป็นต้นเป็นโลกียะ ก็ชื่อว่ามนินทรีย์เป็นต้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้มีศรัทธาเป็นต้น ที่เป็น โลกียะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์เป็นต้น ฉันนั้นดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ ตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาอินทริยกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑.กิเลสชหนกถา๑ ๒. สุญญตากถา ๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา ๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา ๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา.
วรรคที่ ๑๙ จบ
๑. อรรถกถาว่า "กิเลสัปปชหนกถา."