๓. หิริชาดก การกระทําที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร
โดย บ้านธัมมะ  24 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35819

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 807

๓. หิริชาดก

การกระทําที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 807

๓. หิริชาดก

การกระทําที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร

[๗๖๓] ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมีเมตตา กล่าวอยู่ว่าเราเป็นมิตร. สหายของท่านไม่ได้เอื้อเฟื้อทําการงานที่ดีกว่า บัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดีว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหายของเรา.

[๗๖๔] เพราะว่าบุคคลทําอย่างไร ก็พึงกล่าวอย่างนั้น ไม่ทําอย่างไรก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นบัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทําให้สมกับพูด เป็นแต่กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของท่าน.

[๗๖๕] ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นมิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดาฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 808

[๗๖๖] กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อนําธุระของบุรุษไปอยู่ ย่อมทําฐานะ คือการทําความปราโมทย์ และความสุขอันนํามาซึ่งความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.

[๗๖๗] บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รสแห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมดบาป.

จบ หิริชาดกที่ ๓

อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชาวปัจจันตคามผู้เป็นสหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺตํ ดังนี้.

เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต ได้มีพิสดารแล้วในชาดกจบสุดท้ายแห่งนวมวรรค เอกนิบาต. แต่ในชาดกนี้ เมื่อคนมาบอกแก่พาราณสีเศรษฐีว่า คนของเศรษฐีชาวปัจจันตคามถูกชิงทรัพย์สมบัติ ไม่เป็นเจ้าของของที่เป็นของตน พากันหนีไปแล้วพาราณสีเศรษฐีจึงกล่าวว่า ธรรมดาคนผู้ไม่กระทํากิจที่จะพึงทําแก่คนผู้มายังสํานักของตน ย่อมไม่ได้คนผู้กระทําตอบแทนเหมือนกันแล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 809

ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมีเมตตา กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของท่าน แต่ไม่ได้เอื้อเฟื้อทําการงานที่ดีกว่าบัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดีกว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหายของเรา.

เพราะว่าบุคคลทําอย่างไร ก็พึงกล่าวอย่างนั้น ไม่ทําอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นบัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทําให้สมกับพูด เป็นแต่พูดอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของท่าน.

ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ. มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นมิตร ส่วนผู้ใดอื่นคนอันยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่รังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอด-ภัยเหมือนบุตรนอนแนบอกมารดาฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.

กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์เมื่อนําธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายไปอยู่ ย่อมทําเหตุ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 810

คือการทําความปราโมทย์ และความสุขอันนํามาซึ่งความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.

บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รสแห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมด

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิรินฺตรนฺตํ ได้แก่ ก้าวล่วงความละอาย. บทว่า วิชิคุจฺฉมนํ ได้แก่ ผู้เกลียดการเจริญเมตตา.บทว่า ตวาหมสฺมิ ความว่า พูดแต่คําพูดอย่างเดียวเท่านั้ว่า เราเป็นมิตรของท่าน. บทว่า เสยฺยานิ กมฺมานิ ความว่า ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่กระทํากรรมอันสูงสุดซึ่งสมควรแก่คําพูดว่า จักให้ จักทํา.บทว่า เนโส มมํ ความว่า พึงรู้แจ้งบุคคลเห็นปานนั้นว่า นั่นไม่ใช่มิตรของเรา. บทว่า ปาโมชฺชกรณํ านํ ได้แก่ ทาน ศีลภาวนา และความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะความเป็นมิตรซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. จริงอยู่ ความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมนําซึ่งความปราโมทย์ ทั้งนํามาซึ่งสรรเสริญ ท่านเรียกว่า ความสุขดังนี้ก็มี เพราะเป็นเหตุแห่งสุขทางกายและทางใจ ในโลกนี้และโลกหน้า. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เห็นผลและอานิสงส์นี้ ชื่อว่าผู้มีผลานิสงส์ เมื่อนํา


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 811

พาธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายทั้ง ๔ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา และมิตรภาพ ที่ลูกผู้ชายทั้งหลายจะพึงนําพา ย่อมยังเหตุเครื่องกระทําความปราโมทย์กล่าวคือมิตรภาพนี้ และสุขอันเป็นเหตุนํามาซึ่งสรรเสริญให้เกิด คือ ให้เจริญ ท่านแสดงว่า ไม่ทําลายมิตรภาพให้แตกจากบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปวิเวกรสํ ได้แก่ รสแห่งกายวิเวกจิตตวิเวก และอุปธิวิเวก คือ รสแห่งความโสมนัสอันอาศัยวิเวกเหล่านั้นเกิดขึ้น. บทว่า อุปสมสฺส จ ได้แก่ โสมนัสอันได้แล้วเพราะความสงบระงับกิเลส. บทว่า นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ความว่าชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความกระวนกระวายด้วยอํานาจของกิเลิสทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีบาป เพราะไม่มีกิเลส.บทว่า ธมฺมปีติรสํ ความว่า ดื่มรสกล่าวคือธรรมปีติ ได้แก่ ปีติอันเกิดแต่วิมุตติ.

พระมหาสัตว์สยดสยองการเกลือกกลั้วกับปาปมิตร จึงถือเอายอดแห่งเทศนา โดยให้บรรลุพระอมตมหานิพพาน ด้วยรสแห่งวิเวกด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นเศรษฐีชาวปัจจันตคามนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓