๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสัมพุลกัจจานเถระ
โดย บ้านธัมมะ  19 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40560

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 167

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๔

๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมพุลกัจจานเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 167

๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมพุลกัจจานเถระ *

[๒๙๒] ได้ยินว่า พระสัมพุลกัจจานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืนๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว หรือสะดุ้งหวาดเสียว นี้เป็นของธรรมดาของเรา.


* อรรถกถาเป็น สัมพุลกัจจายนเถระ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 168

อรรถกถาสัมพุลกัจจายนเถรคาถา

คาถาของพระสัมพุลกัจจายนเถระ เริ่มต้นว่า เทโว จ. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในที่สุดแห่งกัป ที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า สตรังสี ออกจากนิโรธแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้ถวายผลตาล.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลคฤหบดี แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า สัมพุละ เพราะความที่ท่านเป็นกัจจายนโคตร จึงมีนามปรากฏว่า สัมพุลกัจจายนะ.

เขาเจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาชื่อว่า เภรวะ ครั้นวันหนึ่ง เมฆที่เกิดขึ้นในสมัยมิใช่กาลกลุ่มใหญ่ หนาตั้งร้อยชั้นพันชั้น ร้อง คำราม ยังสายฟ้าให้แลบแปลบปลาบ ร้องครืนๆ ตั้งขึ้น ตั้งท่าจะตก. สัตว์ ทั้งหลาย มีหมี หมาไน ควายป่า และช้างเป็นต้น ฟังเสียงนั้นแล้ว สะดุ้ง ตกใจกลัว รองลั่น อย่างหวาดกลัว.

ส่วนพระเถระ ไม่มีความอาลัยในร่างกายและชีวิต ปราศจากความขนพองสยองเกล้า ไม่สนใจเสียงนั้น มุ่งกระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว เท่านั้น เพราะความเป็นผู้มีวิปัสสนาอันปรารภแล้ว เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความร้อนในฤดูร้อนผ่านไป และเพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในขณะนั้นเอง. สมดัง คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 169

พระผู้มีพระภาค ผู้สยัมภู นามว่า สตรังสี ไม่พ่ายแพ้อะไรๆ ใคร่ต่อความวิเวก ตรัสรู้ด้วยตนเอง ออกบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลตาล ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลตาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลตาล. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน เกิดความโสมนัส เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยสามารถแห่งอุทาน ได้กล่าว คาถา ๒ คาถา ความว่า

ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืนๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความหวาดกลัว หรือสะดุ้ง หวาดเสียว นี้ เป็นธรรมดาของเรา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทโว จ วสฺสติ เทโว จ คฬคฬายติ ความว่า ฝนคือเมฆ ก็ตก ฟ้าก็ร้องเสียงดังครืนๆ ก็บทว่า คฬคฬา นี้ กระทำเสียง ตามเสียงฟ้าร้องคำราม. บทว่า เอกโก จาหํ เภรเว พิเล วิหรามิ ความว่า ก็เราตัวคนเดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ในถ้ำ แห่งภูเขา อันมีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า เมื่อเรานั้นเป็นอย่างนี้ ความกลัว


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 170

ความหวาดเสียว ความขนลุกขนพอง ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีสติ ได้แก่ ความ กลัวที่หมายรู้กันว่า ความสะดุ้งแห่งจิตก็ดี ความหวาดเสียวแห่งร่างกาย อัน มีความกลัวนั้นเป็นนิมิตก็ดี ความเป็นผู้มีขนพองสยองเกล้าก็ดี ย่อมไม่มี (แก่เรา). เพราะเหตุไร? เพราะ พระเถระกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า ธมฺมตา มเมสา (นี้เป็นธรรมดาของเรา).

แท้จริง พระเถระพยากรณ์พระอรหัตตผลว่า อันภัยเป็นต้น พึงมี แก่บุคคลผู้ไม่ได้กำหนดรู้วัตถุ เพราะยังละฉันทราคะในวัตถุนั้นไม่ได้ แต่ ภัยในวัตถุนั้น เรากำหนดรู้แล้วโดยประการทั้งปวง ทั้งฉันทราคะในวัตถุนั้น เราก็ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ภัยเป็นต้นจึงไม่มี นี้เป็นธรรมดาของเรา คือ ข้อนี้ เป็นสภาพแห่งธรรมของเรา.

จบอรรถกถาสัมพุลกัจจยนเถรคาถา