อรรถกถาอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘.. ธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนื่อง ๆ ๑๐ ประการ (๓)
โดย pirmsombat  16 ส.ค. 2555
หัวข้อหมายเลข 21568

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในบทว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้. กรรม

เป็นของเรา คือเป็นสมบัติของตน เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีกรรมเป็น

ของของเรา. ผลที่กรรมพึงให้ ชื่อว่าผลทายะ ผลแห่งกรรม ชื่อว่า

กรรมทายะ ผลแห่งกรรม เราย่อมรับผลแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น เราจึงเป็น

ผู้รับผลแห่งกรรม. กรรมเป็นกำเนิด คือเหตุของเรา เหตุนั้น เราจึงเป็น

ผู้มีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นญาติของเรา เหตุนั้น เราจึง

เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. กรรมเป็นที่พึ่งอาศัยของเรา เหตุนั้น เราจึงเป็น

ผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ ได้แก่ เราจัก

เป็นทายาท คือเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้แล้ว. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณา

ถึงความที่เรามีกรรมเป็นของของตนอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่ากระทำบาป.

บทว่า กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา วีติปตนฺติ ความว่า คืนวัน

ล่วงไป เปลี่ยนแปลงไป เราเป็นอย่างไร คือเรากำลังทำวัตรปฏิบัติอยู่

หรือๆ ว่าไม่ทำ ท่องบ่นพระพุธวจนะอยู่หรือๆ ว่าไม่ท่องบ่น กำลังทำกิจกรรมในโยนิโสมนสิการอยู่หรือๆ ว่าไม่ทำ. ด้วยว่า บรรพชิต

พิจารณาอยู่อย่างนี้ ความไม่ประมาท ย่อมบริบูรณ์.

บทว่า สุญฺญาคาเร อภิรมานิ ความว่า เราแต่ผู้เดียวอยู่ในทุก

อิริยาบถ ในโอกาสอันสงัด ยังยินดียิ่งอยู่หรือหนอ. ด้วยว่า บรรพชิต

พิจารณาอยู่อย่างนี้ กายวิเวก ย่อมบริบูรณ์.

บทว่า อุคิตริมนุสฺสธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหลายมีฌานเป็นต้น

ของท่านผู้ได้ฌาน และพระอริยะ เป็นมนุษย์ที่ยิ่ง เป็นมนุษย์ชั้นอุกฤษฏ์

หรือธรรมทั้งหลายที่ยิ่งยวด ที่ประเสริฐกว่ามนุษย์ธรรม กล่าวคือกุศล

กรรมบถ ๑๐ มีอยู่ คือ เป็นอยู่ในสันดานของเราหรือ. บทว่า อลมริย-

ญาณทสฺสนวิเสโส ความว่า ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่าให้เกิดมหัคต-

ปัญญาและโลกุตรปัญญา ชื่อว่า ทัสสนะ เพราะอรรถว่าเห็นธรรมโดย

ทำให้ประจักษ์เหมือนดังเห็นด้วยจักษุ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณทัสสนะ.

ญาณทัสสนะอันเป็นอริยะ คือบริสุทธิ์สูงสุด เหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยญาณ-

ทัสสนะ. อริยญาณทัสสนะอันอาจ คือเป็นอริยสามารถกำจัดกิเลส มีอยู่

ในธรรมนั้น หรือแก่ธรรมนั้น เหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า อลมริย-

ญาณทัสสนะ ได้แก่ธรรมของมนุษย์ผู้ยิ่ง ต่างโดยฌานเป็นต้น. อลมริย-

ญาณทัสสนะนั้นด้วย วิเศษด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า อลมริยญาณทัสสน-

วิเสส. อีกนัยหนึ่ง คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ สามารถกำจัด

กิเลสได้นั้นนั่นเอง เหตุนั้น จึงชื่อว่า อลมริยญาณทัสสนวิเสส ก็ได้. บทว่า

อธิคโต ได้แก่ ความวิเศษที่เราได้ไว้แล้ว มีอยู่หรือหนอ. บทว่า โสหํ

ได้แก่ เรานั้นมีคุณวิเศษอันได้ไว้แล้ว. บทว่า ปจฺฉิเม กาเล ได้แก่ ใน

เวลานอนบนเตียงสำหรับ. บทว่า ปุฏฺโฐ ได้แก่ ถูกเพื่อนสพรหมจารีถามถึงคุณวิเศษที่บรรลุ. บทว่า น มงฺกุ ภวิสฺสามิ ได้แก่เราจักไม่เป็นผู้

คอตก หมดอำนาจ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า

ตายเปล่า.

จบอรรถกถาอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘



ความคิดเห็น 1    โดย nong  วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 17 ส.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และทุกๆ ท่านครับ


ความคิดเห็น 3    โดย kinder  วันที่ 17 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ