การวางเฉย
โดย natural  19 ต.ค. 2548
หัวข้อหมายเลข 459

ขอเรียนถามว่า

การวางเฉยต่อสี่งที่ปรากฏตามความเป็นจริงเรียกว่าอุเบกขา หรือเป็นสภาวะที่เรียกว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์ ใช่ไหมคะ?

อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นอย่างไร?



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 19 ต.ค. 2548

ขณะที่วางเฉยต่อสิ่งที่ปรากฏทางทวาร ๖ อารมณ์ เรียกว่า ฉฬังคุเปกขา เป็นภาวะจิตของพระอรหันต์ ขณะนั้นมีรูป เสียงเป็นอารมณ์ก็ได้

อุเบกขาในพรหมวิหารเป็นความวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย โดยพิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน


ความคิดเห็น 2    โดย unknown  วันที่ 10 ก.พ. 2550

สรุปก็คือการวางเฉยในขณะที่เป็นพรหมวิหาร และในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณมีอารมณ์ต่างกันนั่นเอง คือ เป็นสัตวบัญญัติและปรมัตถ์


ความคิดเห็น 3    โดย PUM  วันที่ 11 ก.พ. 2550

มีนิพพานเป็นอารมณ์ น่าจะหมายถึง ผู้ที่เห็นภัยของวัฏฎสงสารแล้วมีจิตที่มุ่งตรง จะทำมรรคผล นิพพานให้แจ้ง


ความคิดเห็น 4    โดย devout  วันที่ 11 ก.พ. 2550

ขณะที่ได้มรรคผล ขณะนั้นกำลังมีนิพพานเป็นอารมณ์ค่ะ

นิพพานนั้นไม่สาธารณะกับปุถุชนนะคะ


ความคิดเห็น 5    โดย PUM  วันที่ 12 ก.พ. 2550

อุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์ จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ในอารมณ์ที่มากระทบ เห็นความไม่มีสาระแก่นสารจึงปล่อยวางได้ แต่ผู้ที่มีอุเบกขาอาจเป็นผู้ที่ยังไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็ได้ แต่ผู้ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ผู้เห็นภัยของวัฏฎสงสารแล้วมีจิตที่มุ่งตรงต่อการทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง สร้างบุญกุศลหรือบารมีก็เพื่อขัดเกลากิเลสและบ่มปัญญาให้เป็นเหตุให้ถึงซึ่งนิพพานเท่านั้น มิได้หวังมนุษย์สมบัติ หรือมิได้หวังสวรรค์สมบัติเป็นสำคัญ เท่าที่ได้ฟังมาผู้ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ก็คือพระโสดาบันบุคคลขึ้นไป ทั้งหมดนี้คือความเข้าใจของกระผมเองครับผิดถูกอย่างไร ก็ต้องเรียนเชิญท่านผู้รู้แสดงหลักฐานจากพระไตรปิฏกด้วยครับจะเป็นพระคุณยิ่ง

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย study  วันที่ 13 ก.พ. 2550

อุเบกขามีหลายประเภท เช่น อุเบกขาพรหมวิหาร, อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์, สังขารุเปกขาญาณ เป็นต้น ซึ่งแต่ละระดับมีความต่างกัน ส่วนผู้มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ถ้าว่าโดยละเอียด โคตรภูญาณ วิปัสสนาญาณก่อนเป็นพระโสดาบัน ก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้


ความคิดเห็น 7    โดย PUM  วันที่ 14 ก.พ. 2550

ขอบพระคุณครับ อนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 17 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ