[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71
เริ่มเรื่องตติยสังคายนา
เริ่มเรื่องตติยสังคายนา หน้า 71
พราหมณ์ผู้บิดาของติสสมหาพรหมพบพระสิคควเถระ หน้า 71
โมคคลีพราหมณ์คอยจับมุสาของพระเถระ หน้า 71
โมคคลีพราหมณ์เลื่อมใสในพระเถระ หน้า 72
พระสิคควเถระเริ่มสนทนาปราศรัยกับติสสมาณพ หน้า 72
ติสสมาณพถามปัญหากับพระเถระ หน้า 73
พระสิคควเถระถามปัญหากับมาณพ หน้า 74
ติสสมาณพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์ หน้า 74
พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสำนักพระจัณฑวัชชีเถระ หน้า 75
สามเณรติสสะไปอยู่ในสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระ หน้า 76
สามเณรติสสะปฏิบัติกิจวัตรตามระเบียบพระวินัย หน้า 76
พระจัณฑวัชชีเถระให้สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์ หน้า 76
สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา หน้า 77
พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช หน้า 77
พระราชอำนาจแผ่ไปเบื้องบนเบื้องต่ำประมาณ ๑ โยชน์ หน้า 77
พระเจ้าอโศกรับสั่งพญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูปให้ดู หน้า 79
พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา หน้า 80
ประวัตินิโครธสามเณร หน้า 81
นิโครธกุมารบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ ๗ ปี หน้า 82
พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร หน้า 83
พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้นิมนต์สามเณรเข้ามา หน้า 84
พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม หน้า 84
พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตสามเณรเป็นทวีคูณ หน้า 85
พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตแก่ภิกษุหกหมื่นรูป หน้า 86
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสรา้งวัด และเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง หน้า 87
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทำการฉลองพระวิหาร หน้า 88
พระเจ้าอโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นทั่วทั้งชมพูทวีป หน้า 89
พระเจ้าอโศกยังไม่เป็นทายาทแห่งพระศาสนา หน้า 89
ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา หน้า 90
พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท หน้า 92
พระเจ้าอโศกทรงตั้งมูลนิธิถวายสงฆ์ห้าแสน หน้า 92
พวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา หน้า 93
พวกเดียรถีย์แสดงลัทธินอกพุทธศาสนา หน้า 94
พระเจ้าอโศกทรงใช้อำมาตย์ให้ระงับอธิกรณ์ หน้า 94
ประวัติของพระติสสเถระจะออกบวช หน้า 95
พระติสสเถระนั่งกันไม่ให้อำมาตย์ตัดศีรษะพระ หน้า 97
พวกภิกษุถวายความเห็นแด่พระราชาเป็น ๒ นัย หน้า 98
พระโมคคลีบุตรติสสเถระไม่มาเพราะอาราธนาไม่ถูกเรื่อง หน้า 99
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกล้วน หน้า 100
ราชบุรุษถือดาบจะตัดศีรษะพระโมคคลีบุตรติสสเถระ หน้า 100
พระเจ้าอโศกทรงสงสัยท่านพระโมคคลีบุตรติสสะเถระ หน้า 101
พระโมคคลีบุตรติสสเถระอธิษฐานให้แผ่นดินไหว หน้า 102
พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในเรื่องบาป หน้า 103
พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน หน้า 103
พระเจ้าอโศกทรงชำระเสี้ยนหนามแห่งพระพุทธศาสนา หน้า 104
พระเจ้าอโศกรับสั่งให้สึกพวกที่มิใช่ภิกษุหกหมื่นรูป หน้า 106
พระโมคคลีบุตรติสสเถระเลือกภิกษุพันรูปทำตติยสังคายนา หน้า 107
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71
เริ่มเรื่องตติยสังคายนา
[ติสสมหาพรหมเกิดในมนุษยโลก]
แม้ติสสมหาพรหมแล เคลื่อนจากพรหมโลกแล้ว ได้ถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์. ฝ่ายพระสิคควเถระ จําเดิมแต่ติสสมหาพรหมนั้นถือปฏิสนธิ ก็เข้าไปบิณฑบาตยังเรือนของพราหมณ์ตลอด ๗ ปี. แม้วันหนึ่ง ท่านก็ไม่ได้ข้าวต้มสักว่าหนึ่งกระบวย หรือข้าวสวยสักว่าหนึ่งทัพพี. ก็โดยล่วงไปถึง ๗ ปี ในวันหนึ่งท่านได้เพียงคําพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เจ้าข้า
[พราหมณ์ผู้บิดาของติสสมหาพรหมพบพระสิคควเถระ]
ในวันนั้นนั่นเอง แม้พราหมณ์ทํากิจที่ควรทําบางอย่างภายนอกบ้านแล้ว เดินกลับมา ก็พบพระเถระที่ทางสวน จึงเรียนถามว่า บรรพชิตผู้เจริญ ท่านได้มายังเรือนของกระผมแล้วหรือ?
พระเถระ. เออ รูปได้ไปแล้ว พราหมณ์
พราหมณ์. ท่านได้อะไรบ้างหรือ?
พระเถระ. เออ ได้ พราหมณ์
พราหมณ์นั้น ไปถึงเรือแล้วถามว่า ใครได้ให้อะไรๆ แก่บรรพชิตนั้นบ้างหรือ?
พวกชนในเรือนตอบว่า ไม่ได้ให้อะไรๆ.
[โมคคลีพราหมณ์คอยจับมุสาของพระเถระ]
ในวันที่ ๒ พราหมณ์นั่งอยู่ที่ประตูเรือนนั่นเอง ด้วยคิดว่า วันนี้เราจักข่มขี่บรรพชิตด้วยการกล่าวเท็จ. ในวันที่ ๒ พระเถระก็ไปถึงประตูเรือน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72
ของพราหมณ์. พราหมณ์พอเห็นพระเถระ ก็พูดอย่างนี้ว่า วานนี้ ท่านไม่ได้อะไรๆ ในเรือนของกระผมเลย ก็บอกว่า ได้ การกล่าวเท็จควรแก่ท่านหรือหนอ?
พระเถระ พูดว่า พราหมณ์ ในเรือนของท่าน ข้าพเจ้าไม่ได้แม้เพียงคําพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด ดังนี้ ถึง ๗ ปี วานนี้ได้เพียงคําพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้พูดอย่างนี้ หมายเอาการปฏิสันถารนั่น.
[โมคคลีพราหมณ์เลื่อมใสในพระเถระ]
ฝ่ายพราหมณ์คิดว่า สมณะเหล่านี้ ได้แม้เพียงการปฏิสันถารก็ยังสรรเสริญว่า ได้ (ถ้า) ได้ของที่ควรเคี้ยว ควรบริโภคอะไรอย่างอื่นแล้วทําไมจักไม่สรรเสริญเล่า. พราหมณ์เลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จึงสั่งให้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง และกับข้าวที่ควรแก่ภิกษานั้นจากภัตที่เขาจัดไว้เพื่อตน แล้วเรียนว่าท่านจักได้ภิกษาชนิดนี้ทุกๆ เวลา ดังนี้. จําเดิมแต่วันรุ่งขึ้น พราหมณ์นั้นได้เห็นความสงบเรียบร้อยของพระเถระผู้เข้าไปอยู่ ก็ยิ่งเลื่อมใสขึ้น แล้วขอร้องพระเถระเพื่อต้องการให้ทําภัตกิจในเรือนของตน ตลอดกาลเป็นนิตย์. พระเถระรับนิมนต์แล้ว ก็ได้ทําภัตกิจทุกวันๆ เมื่อจะกลับ ก็ได้แสดงพระพุทธพจน์บ้างเล็กน้อย จึงกลับไป.
[พระสิคควเถระเริ่มสนทนาปราศรัยกับติสสมาณพ]
มาณพแม้นั้นแล มีอายุได้ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ได้ถึงฝังแห่งไตรเพท. คนอื่นใครๆ จะนั่งหรือนอนบนอาสนะหรือที่นอนของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ซึ่งมาจากพรหมโลก ย่อมไม่ได้. เวลาใด ติสสมาณพนั้นไปเรือนของอาจารย์, เวลานั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73
พวกคนใช้ ก็เอาผ้าขาวคลุมเตียงและตั่งของเขาห้อยไว้. พระเถระดําริว่า บัดนี้เป็นกาลที่จะให้มาณพบวชได้ และเราก็มาที่นี้นานแล้ว, ทั้งการพูดจาอะไรๆ กับมาณพก็มิได้เกิดขึ้น, เอาเถิด บัดนี้การพูด (กับมาณพนั้น) จักเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยบัลลังก์ (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้. ท่านจึงไปเรือน (ของมาณพนั้น) แล้วอธิษฐานให้อาสนะอะไรๆ อย่างอื่นในเรือนนั้นไม่ปรากฏ ยกเว้นแต่บัลลังก์ของมาณพ. คนในเรือนของพราหมณ์เห็นพระเถระแล้ว เมื่อไม่เห็นที่นั่งอะไรๆ อย่างอื่น ก็ได้ปูลาดบัลลังก์ของมาณพ ถวายพระเถระ. พระเถระก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายมาณพแลก็กลับมาจากเรือนของอาจารย์ ในขณะนั้นนั่นเอง เห็นพระเถระนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตน ก็โกรธ เสียใจ จึงพูดว่าใครให้ปูบัลลังก์ของข้าพเจ้าแก่สมณะ? พระเถระทําภัตกิจเสร็จแล้ว เมื่อมาณพมีความดุร้ายสงบลงแล้ว จึงได้พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาณพ ก็ท่านรู้มนต์อะไรๆ บ้างหรือ?
มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ในเวลานี้ เมื่อกระผมไม่รู้มนต์, คนอื่นใครเล่าจึงจักรู้ได้ ดังนี้แล้ว ก็ (ย้อน) ถามพระเถระว่า ก็ท่านเล่า รู้มนต์หรือ?
พระเถระ พูดว่า จงถามเถิด มาณพ ท่านถามแล้ว อาจจะรู้ได้.
[ติสสมาณพถามปัญหากับพระเถระ]
ครั้งนั้นแล มาณพได้ถามพระเถระในข้อที่เป็นปม (ลี้ลับซับซ้อน) ซึ่งมีอยู่ในพระไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ (๑) เกฏุภศาสตร์ (๒) พร้อมทั้งอักษร
(๑) นิฆัณฑุศาสตร์ ว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น.
(๒) เกฏุภศาสตร์ ว่าด้วยกิริยาเป็นประโยชน์แก่กวี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74
ประเภทมีอิติหาส (๑) เป็นที่ห้า ซึ่งมาณพเอง แม้ทั้งอาจารย์ของเขาก็ไม่เห็นนัยด้วยตนเอง.
พระเถระ แม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝังแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น จึงไม่หนักสําหรับท่าน, ดังนั้น ท่านจึงแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้พูดกะมาณพว่า ดูก่อนมาณพ ท่านถามเรามากพอแล้ว คราวนี้แม้เราก็จะถามปัญหากะเธอสักข้อหนึ่ง เธอจักพยากรณ์แก่เราไหม?
มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ จงถามเถิด ขอรับ กระผมจักแก้.
[พระสิคควเถระถามปัญหากับมาณพ]
พระเถระ จึงถามปัญหานี้ ในจิตตยมกว่า จิตของบุคคลใดเกิดขึ้นอยู่ ไม่ดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ ไม่เกิดขึ้น ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตของบุคคลใด จักดับ ไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้น เกิดขึ้นอยู่ ไม่ดับ (๒) ดังนี้.
มาณพ ไม่สามารถจะกําหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ําได้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ นี้ชื่อมนต์อะไร?
พระเถระ. นี้ชื่อพุทธมนต์ มาณพ
มาณพ. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม?
พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มาณพ
[ติสสมาณพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์]
ต่อจากนั้น มาณพเข้าไปหามารดาบิดาแล้วพูดว่า บรรพชิตรูปนี้ย่อมรู้พุทธมนต์ และท่านก็ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่บวชอยู่ในสํานักของท่าน กระผมจักบวชในสํานักของท่านนั่น แล้วเรียนเอามนต์.
(๑) อิติหาส ชื่อหนังสือว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธเป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่กาลก่อน
(๒) อภิ. ยมก. ๓๙/๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75
คราวนั้น มารดาบิดาของเขา สําคัญอยู่ว่า ลูกของเราแม้บวชแล้วจงเรียนมนต์เถิด ครั้นเรียนแล้ว ก็จักกลับมาบ้านอีก ดังนี้ จึงอนุญาตว่า จงเรียนเถิด ลูก
พระเถระ บอกกรรมฐาน คืออาการ ๓๒ ก่อนแล้วให้เด็กบรรพชา. ติสสสามเณรนั้น ทําบริกรรมในกรรมฐานนั้นอยู่ ต่อกาลไม่นานนักก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล.
[พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสํานักพระจัณฑวัชชีเถระ]
ลําดับนั้น พระเถระดําริว่า สามเณรดํารงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว บัดนี้ เธอไม่ควรจะเคลื่อนจากพระศาสนา ก็ถ้าเราจะสอนกรรมฐานแก่เธอให้ยิ่งขึ้นไป เธอก็จะพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย เพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์, บัดนี้ ก็เป็นเวลาที่จะส่งเธอไปยังสํานักของพระจัณฑวัชชีเถระ.
ลําดับนั้น พระเถระก็พูดกะสามเณรนั้นว่า มาเถิด สามเณร เธอจงไปยังสํานักของพระเถระ เรียนเอาพระพุทธพจน์เถิด จงถามถึงความไม่มีโรคตามคําสั่งของเรา, และจงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะ (ของกระผม) ส่งกระผมมายังสํานักของใต้เท้า ขอรับ เมื่อท่านถามว่า พระอุปัชฌายะของเธอชื่ออะไร? พึงเรียนว่า ชื่อพระสิคควะขอรับ เมื่อท่านถามว่า ข้าพเจ้าชื่ออะไร? พึงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะของกระผม รู้จักชื่อของใต้เท้าขอรับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76
[สามเณรติสสะไปอยู่ในสํานักของพระจัณฑวัชชีเถระ]
สามเณรติสสะ รับว่า ดีละ ขอรับ แล้วกราบไหว้ทําประทักษิณพระเถระ แล้วเดินทางไปยังสํานักของพระจัณฑวัชชีเถระโดยลําดับ ไหว้แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระเถระ ถามว่า สามเณร เธอมาจากไหน?
สามเณร. พระอุปัชฌายะส่งกระผมมายังสํานักของใต้เท้า ขอรับ
พระเถระ. พระอุปัชฌายะของเธอ ชื่ออะไร?
สามเณร. ชื่อพระสิคควเถระ ขอรับ
พระเถระ. ข้าพเจ้าชื่ออะไร?
สามเณร. พระอุปัชฌายะของกระผมรู้จักชื่อของใต้เท้า ขอรับ
พระเถระ. จงเก็บบาตรและจีวรเสียในบัดนี้เถิด.
สามเณร. ดีละ ขอรับ
[สามเณรติสสะปฏิบัติกิจวัตรตามระเบียบพระวินัย]
สามเณรเก็บบาตรและจีวรแล้ว ในวันรุ่งขึ้นก็ปัดกวาดบริเวณ แล้วเข้าไปตั้งน้ำฉันและไม้ชําระฟันไว้.
พระเถระปัดกวาดสถานที่ที่สามเณรกวาดซ้ำอีก เทน้ำนั้นทิ้งแล้วนําน้ำอื่นมาไว้ และนําไม้ชําระฟันนั้นออกไปเสีย แล้วถือเอาไม้ชําระฟันอื่น. พระเถระทําอยู่อย่างนี้ถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงถาม (สามเณร) ซ้ำอีก. สามเณรก็เรียนท่านซ้ำอีก เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในก่อนนั้นแล.
[พระจัณฑวัชชีเถระให้สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์]
พระเถระรู้ได้ดีว่า พราหมณ์คนนี้เป็นผู้ว่าง่ายหนอ จึงถามว่า เธอมาเพื่อประสงค์อะไร?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77
สามเณรเรียนว่า เพื่อประสงค์จะเรียนพระพุทธพจน์ ขอรับ
พระเถระสั่งว่า เธอจงเรียนในบัดนี้เถิด สามเณร จึงเริ่มให้เรียนพระพุทธพจน์ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นไป.
[สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา]
ติสสะ ทั้งที่ยังเป็นสามเณรเทียว เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมดพร้อมทั้งอรรถกถา เว้นพระวินัยปิฎก. ก็ในเวลาอุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษาเลย ได้เป็นติปิฏกธร (ผู้ทรงไตรปิฎก). พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะมอบพระพุทธพจน์ทั้งสิ้นไว้ในมือของพระโมคคลีบุตรติสสเถระแล้ว ดํารงอยู่ตราบเท่าอายุ ก็ปรินิพพาน.
ฝ่ายพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เจริญกรรมฐานแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในสมัยต่อมา บอกสอนพระธรรมและพระวินัยแก่ภิกษุเป็นอันมาก.
[พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ พระเจ้าอโศกทรงสั่งให้สําเร็จโทษพระราชโอรสเหล่านั้นเสียทั้งหมด ยกไว้แต่เจ้าติสสกุมาร ผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์. ท้าวเธอเมื่อสั่งให้สําเร็จโทษ ยังมิได้ทรงอภิเษกเลย ครองราชย์อยู่ถึง ๔ ปี ต่อล่วงไปได้ ๔ ปี ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๒๐๐ ปี แต่ปีปรินิพพานของพระตถาคตมา จึงทรงถึงการอภิเษกเป็นเอกราช ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.
[พระราชอํานาจแผ่ไปเบื้องบนเบื้องต่ําประมาณ ๑ โยชน์]
ก็ด้วยอานุภาพแห่งการทรงอภิเษกของท้าวเธอ พระราชฤทธิ์ทั้งหลายเหล่านี้ ได้มาแล้ว. พระราชอํานาจแผ่ไปภายใต้มหาปฐพีประมาณหนึ่งโยชน์ ในอากาศเบื้องบน ก็เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78
พระราชา ทรงมีพระศรัทธาเกิดแล้วในพระศาสนา ได้ทรง (แบ่ง) น้ำ ๘ หม้อ จากน้ำดื่ม ๑๖ หม้อ ที่พวกเทวดานํามาจากสระอโนดาตวันละ ๘ หาบ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระไตรปิฎกประมาณ ๖๐ รูป (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่พระนางอสันธิมิตตาผู้เป็นพระอัครมเหษี (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่เหล่าสตรีนักฟ้อนหนึ่งหมื่นหกพันนาง (วันละ) ๒ หม้อ ทรงใช้สอยด้วยพระองค์เอง (วันละ) ๒ หม้อ. กิจคือการชําระพระทนต์และการชําระฟันทุกๆ วัน ของพระราชา พระมเหษี ของเหล่าสตรีนักฟ้อนหนึ่งหมื่นหกพันนาง และของภิกษุประมาณหกหมื่นรูป ย่อมสําเร็จได้ด้วยไม้ชําระฟันชื่อนาคลดาอันสนิทอ่อนนุ่ม มีรสซึ่งมีอยู่ในป่าหิมพานต์ที่เทวดาทั้งหลายนั่นเองนํามาถวายทุกๆ วัน.
อนึ่ง เทวดาทั้งหลาย นํามะขามป้อมที่เป็นพระโอสถ สมอที่เป็นพระโอสถ และมะม่วงสุกที่มีสีเหมือนทอง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรส มาถวายแด่พระราชาพระองค์นั้นทุกๆ วันเหมือนกัน ยังได้นําพระภูษาทรง พระภูษาห่ม เบญจพรรณ ผ้าเช็ดพระหัตถ์ที่มีสีเหลือง และน้ำทิพยบานจากสระฉัททันต์มาถวายทุกวันเหมือนอย่างนั้น.
ส่วนพญานาคทั้งหลายก็นําเครื่องพระสุคนธ์สําหรับสนานพระเศียร พระสุคนธ์สําหรับไล้พระวรกาย ผ้ามีสีคล้ายดอกมะลิ ที่มิได้ทอด้วยด้าย เพื่อเป็นพระภูษาห่ม และยาหยอดพระเนตรที่มีค่ามาก จากนาคพิภพมาถวายแด่พระราชาพระองค์นั้นทุกๆ วันเช่นกัน.
นกแขกเต้าทั้งหลาย ก็คาบข้าวสาลีเก้าพันเกวียนที่เกิดเอง ในสระฉัททันต์นั่นแล มาถวายทุกๆ วัน. หนูทั้งหลาย ก็เกล็ดข้าวเหล่านั้นให้หมดแกลบและรํา. ข้าวสารที่หักแม้เมล็ดเดียวก็ไม่มี. ข้าวสารนี้แล ถึงความเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79
พระกระยาหารเสวยแห่งพระราชาในที่ทุกสถาน. ตัวผึ้งทั้งหลายก็ทําน้ำผึ้ง. พวกหมีก็ผ่าฟืนที่โรงครัว. พวกนกการเวกก็บินมาร้องส่งเสียงอย่างไพเราะทําพลีกรรมถวายแด่พระราชา.
[พระเจ้าอโศกรับสั่งพญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูปให้ดู] (๑)
พระราชาผู้ทรงประกอบแล้วด้วยฤทธิ์เหล่านี้ วันหนึ่งทรงใช้สังขลิกพันธ์อันกระทําด้วยทอง ให้นําพญานาคนามว่า กาฬะ มีอายุตลอดกัปหนึ่ง ผู้ได้พบเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ เชิญให้ขนดเหนือบัลลังก์อันควรค่ามากภายใต้เศวตฉัตร ทรงกระทําการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำ ทั้งที่เกิดบนบก หลายร้อยพรรณและด้วยสุวรรณบุปผา ทรงแวดล้อมด้วยนางฟ้อน ๑๖,๐๐๐ ผู้ประดับแล้วด้วยอลังการทั้งปวงโดยรอบ ตรัสว่า เชิญท่านกระทําพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยังจักร คือพระสัทธรรมอันประเสริฐให้หมุนไป ทรงพระญาณอันหาที่สุดมิได้ ให้ถึงคลองแห่งดวงตาเหล่านี้ของข้าพเจ้าก่อนเถิด ดังนี้ ทอดพระเนตรพระพุทธรูปอันพญานาคนามว่า กาฬะ นั้นเนรมิตแล้ว ประหนึ่งว่าพื้นน้ำอันประดับแล้วด้วยดอกกมล อุบล และปุณฑริกซึ่งแย้มบาน ปานประหนึ่งว่าแผ่นฟ้า อันพราวพรายด้วยความระยิบระยับด้วยการพวยพุ่งแห่งข่ายรัศมีของกลุ่มดารา เพราะความที่พระพุทธรูปนั้น ทรงมีพระสิริด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับแล้วด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ซึ่งบังเกิดแล้วด้วยอํานาจแห่งบุญอันพรรณรายทั่วพระสรีระทั้งสิ้น งดงามด้วยจอมพระเศียรอันเฉิดฉายด้วยพระเกตุมาลา ซึ่งปราศจากมลทินสีต่างๆ ประหนึ่งยอดแห่งภูเขาทอง อันแวดวงด้วยสายรุ้งและสายฟ้า อันกลมกลืนกับแสงเงิน เป็นประหนึ่งจะดูดดึงดวงตา
(๑) องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80
แห่งคณะพรหมทวยเทพมวลมนุษย์ฝูงนาคและหมู่ยักษ์ เพราะพระพุทธรูปนั้นมีความแพรวพราวด้วยความฉวัดเฉวียนแห่งพระรัศมีอันแผ่ออกข้างละวา วงล้อมรัศมีอันวิจิตรด้วยสี มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น ได้ทรงกระทําการบูชาอันได้นามว่า บูชาด้วยดวงตา ตลอด ๗ วัน.
[พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา]
ได้ยินว่า พระราชาทรงรับการอภิเษกแล้ว ได้ทรงนับถือลัทธิพาเหียรปาสัณฑะ (๑) ตลอดเวลา ๓ ปีทีเดียว. ในปีที่ ๔ จึงได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา. ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรงนับถือพวกพราหมณ์. ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้แก่พวกพราหมณ์ และแก่ตาปะขาวและปริพาชกเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจําชาติพราหมณ์มีประมาณหกแสนคน. แม้พระเจ้าอโศก ก็ทรงถวายทานที่พระชนกให้เป็นไปแล้วในภายในบุรีของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ในวันหนึ่ง ได้ประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กําลังบริโภค (อาหาร) ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสํารวมอินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดอิริยาบถ (กิริยามารยาท) จึงทรงดําริว่า การที่เราใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตที่เหมาะสมจึงควร ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอํามาตย์ว่า ไปเถิด พนาย พวกท่านจงนําสมณะและพราหมณ์ของตนๆ ผู้สมมติกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวายทาน. พวกอํามาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วก็ได้นํานักบวชนอกศาสนามีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครนถ์เป็นต้นนั้นๆ มาแล้วทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์
(๑) ปาสัณฑะ คือลัทธิที่ถือผิด หรือเจ้าลัทธิผู้ถือผิดแปลตามรูปศัพท์ว่า ลัทธิขว้างบ่วง คือบ่วงคล้องจิตสัตว์ มีอยู่ ๒ คือ ตัณหาปาสะ บ่วงคือตัณหา ๑ ทิฏฐิปาสะ บ่วงคือทิฏฐิ ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81
ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชารับสั่งให้ปูลาดอาสนะทั้งสูงและต่ําไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญพวกนักบวชผู้มาแล้วๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตนๆ เถิด ดังนี้. บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่นกระดาน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่านักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควรบริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงส่งกลับไป.
เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กําลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง.
[ประวัตินิโครธสามเณร]
ถามว่า ก็ชื่อว่านิโครธนี้ คืออะไร? แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรสของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้นมีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ : -
ดังได้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร (ผู้พระชนก) ทรงทุพพลภาพนั่นแล (ทรงพระประชวรหนัก) อโศกกุมารได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนีที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้วได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา ของสุมนราชกุมารได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี เดินมุ่งไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้าน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82
คนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ขอจงเสด็จเข้ามาทางนี้เถิด ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น. เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า ขอพระแม่เจ้าจงประทับอยู่ที่ศาลาหลังนี้เถิด. พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนั้นแล้ว. ในวันที่พระนางเสด็จเข้าไปถึงนั่นเอง ก็ประสูติพระโอรส. เพราะเหตุที่พระโอรสนั้น อันเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้น จึงทรงขนานพระนามว่านิโครธ. หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้สําคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนายของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งข้อปฏิบัติประจําไว้. พระราชธิดาได้ประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นสิ้น ๗ ปี. ฝ่ายนิโครธกุมารก็มีชนมายุได้ ๗ ปีแล้ว.
[นิโครธกุมารบวชสําเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ ๗ ปี]
ในครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อมหาวรุณเถระ เป็นพระอรหันต์ ได้เห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุของทารก ได้พิจารณาคิดว่า บัดนี้ ทารกมีชนมายุได้ ๗ ปี, เป็นกาลสมควรที่จะให้เขาบวชได้ จึงทูลพระราชธิดาให้ทรงทราบ แล้วให้นิโครธกุมารนั้นบวช. ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง พระกุมารได้บรรลุเป็นพระอรหันต์. วันหนึ่งนิโครธสามเณรนั้น ได้ชําระร่างกายแต่เช้าตรู่ ทําอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวร คิดว่าเราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา แล้วก็ออกไป. ก็นิวาสสถานแห่งโยมมารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนคร ทางประตูด้านทิศทักษิณ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศปราจีน. ก็โดยสมัยนั้นพระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงเสด็จจงกรมอยู่ที่สีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทางทิศปราจีน. ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณร ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83
สายตาดูประมาณชั่วแอก เดินไปถึงพระลานหลวง. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กําลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง ดังนี้.
[พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร]
ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชาได้ทรงพระรําพึง ดังนี้ว่า ชนแม้ทั้งหมดนี้ มีจิตฟุ้งซ่าน มีส่วนเปรียบเหมือนมฤคที่วิ่งพล่านไป, ส่วนทารกคนนี้ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน, การมองดู การเหลียวดู การคู้แขน และการเหยียดแขนของเขางามยิ่งนัก, ภายในของทารกคนนี้ น่าจักมีโลกุตรธรรมแน่นอน ดังนี้ พร้อมกับการทอดพระเนตรเห็นของพระราชานั่นเอง พระหฤทัยก็เลื่อมใสในสามเณร, ความรักก็ได้ตั้งขึ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะได้ยินว่า แม้ในกาลก่อน ในเวลาทําบุญ นิโครธสามเณรนี้ได้เป็นพ่อค้าผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพระราชา.
สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ความรักนั้น ย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนอุบลและปทุมเป็นต้นที่เหลือ เมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตมฉะนั้น (๑)
(๑) ขุ. ชา. ๒๗/๙๑. ตทฏฺกถา. ๓/๓๑๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84
[พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้นิมนต์สามเณรเข้ามา]
ลําดับนั้น พระราชาทรงเกิดความรัก มีความนับถือมาก (ในสามเณรนั้น) จึงทรงสั่งพวกอํามาตย์ไปว่า พวกเธอจงนิมนต์สามเณรนั่นมา. ท้าวเธอทรงรําพึงว่า อํามาตย์เหล่านั้น มัวชักช้าอยู่ จึงทรงส่งไปอีก ๒ - ๓ นายว่า จงให้สามเณรนั้นรีบมาเถิด. สามเณรได้เดินไปตามปกติของตนนั่นเอง. พระราชาตรัสว่า ท่านทราบอาสนะที่ควรแล้ว นิมนต์นั่งเถิด. สามเณรนั้นเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้ทรงรับบาตร. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกําลังเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์นั่นแล จึงทรงดําริว่า วันนี้เอง สามเณรรูปนี้ จักเป็นเจ้าของราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้ สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชา แล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์. พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดคือข้าวต้ม ของควรเคี้ยวและข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ (แก่สามเณรนั้น). สามเณรรับอาหารพอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น.
[พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม]
ในที่สุดภัตกิจ พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณรรู้พระโอวาทที่พระศาสดาทรงประทาน แก่พวกพ่อเณรหรือ?
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพ ย่อมรู้โดยเอกเทศ (เท่านั้น).
พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ขอจงแสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้นั้นแก่โยมบ้าง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85
สามเณรทูลรับว่า ได้ มหาบพิตร ดังนี้แล้ว ได้กล่าวอัปปมาทวรรคในธรรมบท ตามสมควรแด่พระราชา เพื่อประโยชน์แก่การอนุโมทนา.
พระราชาพอได้ทรงสดับว่า
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย, ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย (๑) ดังนี้เป็นต้น
ก็ได้รับสั่งว่า พ่อเณร จงยังธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้รู้แล้วให้จบไว้ก่อน ดังนี้.
[พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตสามเณรเป็นทวีคูณ]
ในอวสานแห่งการอนุโมทนา พระราชารับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายธุวภัตแก่พ่อเณร ๘ ที่.
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายธุวภัตเหล่านั้นแก่พระอุปัชฌายะ (ของอาตมภาพ).
พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌายะนี้ ได้แก่คนเช่นไร?
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่แล้วตักเตือน และให้ระลึก ชื่อว่าพระอุปัชฌายะ.
พระราชารับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่ แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร.
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้นแก่พระอาจารย์ (ของอาตมภาพ).
(๑) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86
พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้ ได้แก่คนเช่นไร?
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร ผู้ที่ให้อันเตวาสิก และสัทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษาในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์.
พระราชารับสั่งว่า ดีละ พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร.
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้นแก่พระภิกษุสงฆ์.
พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ ได้แก่คนเช่นไร?
สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร บรรพชาและอุปสมบทของอาจารย์และอุปัชฌายะของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพ อาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์.
พระราชาทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร.
สามเณรทูลรับว่า ดีละ ในวันรุ่งขึ้นได้พาเอาภิกษุ ๓๒ รูป เข้าไปยังภายในพระราชวัง ฉันภัตตาหาร.
[พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตแก่ภิกษุหกหมื่นรูป]
พระราชาทรงปวารณาว่า ภิกษุ ๓๒ รูปแม้อื่น พร้อมทั้งพวกท่านจงรับภิกษาพรุ่งนี้เถิด ดังนี้ แล้วทรงให้เพิ่มภิกษุมากขึ้นทุกวันๆ โดยอุบายนั้นนั่นแล ได้ทรงตัดภัตของพวกนักบวชนอกศาสนา มีพราหมณ์และปริพาชก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87
เป็นต้น ตั้งหกหมื่นคนเสีย แล้วได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้สําหรับภิกษุหกหมื่นรูปในภายในพระราชนิเวศน์ เพราะความเลื่อมใสที่เป็นไปในพระนิโครธเถระ (๑) นั่นเอง, ฝ่ายพระนิโครธเถระก็ให้พระราชาพร้อมทั้งบริษัทดํารงอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล ทําให้เป็นผู้มีความเสื่อมใสไม่ไหวหวั่น ด้วยความเสื่อมใสอย่างปุถุชน แล้วให้ดํารงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา
[พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัด และเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง]
พระราชามีรับสั่งให้นายช่างสร้างมหาวิหาร ชื่อว่าอโศการาม แล้วก็ทรงตั้งภัตไว้เพื่อถวายภิกษุหกหมื่นรูปอีก และรับสั่งให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งประดับด้วยพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยความชอบธรรมนั่นเอง หาใช่โดยไม่ชอบธรรมไม่
ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระราชาถวายมหาทานที่อโศการาม ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งนับได้ประมาณหกหมื่นรูป ทรงปวารณาสงฆ์ ด้วยปัจจัย ๔ แล้วตรัสถามปัญหานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว มีประมาณไร? พระสงฆ์ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้น ว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ ว่าโดยขันธ์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรม แล้วรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลังๆ ดังนี้ ในวันเดียวเท่านั้น ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ แล้วได้ทรงบังคับพวกอํามาตย์ว่า ไปเถิดพนาย พวกท่านเมื่อให้สร้างวิหารในนครแต่ละนคร จงให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐
(๑) พระนิโครธเถระ ก็คือ นิโครธสามเณรนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88
หลัง ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ นครเถิด ดังนี้ ส่วนพระองค์เองได้ทรงเริ่มการงานเพื่อประโยชน์แก่อโศกมหาวิหาร ในอโศการาม. พระสงฆ์ได้ให้พระเถระชื่อว่า อินทคุตตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สิ้นอาสวะแล้วเป็นนวกัมมาธิฏฐายี. (๑) พระเถระได้ยังการงานที่ยังไม่สําเร็จนั้นๆ ให้แล้วเสร็จด้วยอานุภาพของตน. พระเถระได้ให้การสร้างพระวิหารสําเร็จลง ๓ ปีแม้ด้วยอานุภาพอย่างนั้น.
[พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทําการฉลองพระวิหาร]
ข่าวสารจากทุกๆ นคร ได้มาถึงวันเดียวกันนั่นเอง. พวกอํามาตย์ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังสร้างเสร็จแล้ว. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า ล่วงไป ๗ วันแต่วันนี้จักมีการฉลองพระวิหาร ขอให้ประชาชนทั้งหมด จงสมาทานองค์ศีล ๘ เตรียมการฉลองพระวิหาร ทั้งภายในพระนคร และภายนอกพระนคร ล่วงไป ๗ วัน แต่การฉลองพระวิหารนั้น พระราชาแวดล้อมด้วยหมู่เสนามีองค์ ๔ นับได้หลายแสน ซึ่งแต่งตัวด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เสด็จเที่ยวชมพระนคร ที่มหาชนผู้มีความอุตสาหะประสงค์ตกแต่งพระนคร ได้ตกแต่งประดับประดาแล้วให้เป็นเหมือนมีความสง่างามยิ่งกว่าสิริแห่งราชธานีชื่อ อมรวดี ในเทวโลก เสด็จพระราชดําเนินไปยังพระวิหาร ได้ประทับยืนอยู่ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์. ก็ภิกษุที่ประชุมกันในขณะนั้นมีประมาณ ๘๐ โกฏิ. ก็แลพวกนางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น เฉพาะภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพนับได้ประมาณแสนรูป. ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ได้มีความวิตกข้อนี้ว่า ถ้าพระราชาจะพึงทอดพระเนตรเห็นอธิการ (ทานอันยิ่ง)
(๑) นวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ดูแลควบคุมงานก่อสร้างใหม่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89
ไม่มีส่วนเหลือของพระองค์ ก็จะพึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ต่อจากนั้น จึงได้ทําปาฏิหาริย์ ชื่อว่าโลกวิวรณ์ (คือการเปิดโลก).
[พระเจ้าอโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นทั่วทั้งชมพูทวีป]
พระราชาประทับยืนอยู่ที่อโศการามนั้นแล ทรงเหลียวดูตลอดทั้ง ๔ ทิศ ได้ทอดพระเนตรเห็นชมพูทวีป ซึ่งมีมหาสมุทรเป็นที่สุดโดยรอบ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ที่รุ่งโรจน์อยู่ด้วยการบูชาในการฉลองพระวิหารอย่างโอฬาร.
ท้าวเธอเมื่อทอดพระเนตรสมบัตินั้น ก็ทรงประกอบด้วยปีติปราโมทย์อย่างโอฬาร ทรงพระดําริว่า ก็มีอยู่หรือที่ปีติปราโมทย์เห็นปานนี้ เคยเกิดขึ้นแก่ใครๆ อื่นบ้าง? จึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในพระศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีใครบ้างได้สละบริจาคอย่างมากมาย การบริจาคของใครเล่ายิ่งใหญ่. ภิกษุสงฆ์ได้มอบการวิสัชนาปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ให้เป็นหน้าที่ของท่านโมคคลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัย ในพระศาสนาของพระทศพลเช่นกับพระองค์ ในเมื่อพระตถาคตเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มีใครเลย พระองค์เท่านั้น ทรงมีการบริจาคยิ่งใหญ่.
[พระเจ้าอโศกยังไม่เป็นทายาทแห่งพระศาสนา]
พระราชา ทรงสดับคําของพระเถระแล้ว ได้มีพระวรกายอันปีติปราโมทย์อย่างโอฬารถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ จึงทรงพระดําริว่า ได้ยินว่า ผู้ที่ถวายปัจจัยเช่นกับเรา ไม่มี ได้ยินว่า เรามีการบริจาคยิ่งใหญ่ ได้ยินว่า เรากําลังยกย่องเชิดชูพระศาสนาด้วยไทยธรรม ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90
ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งพระศาสนาหรือไม่. ลําดับนั้น ท้าวเธอจึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หรือยังหนอ? ในลําดับนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ฟังพระราชดํารัสนี้แล้ว เมื่อเล็งเห็นอุปนิสัยสมบัติ แห่งพระมหินท์ผู้เป็นพระโอรส (ของท้าวเธอ) จึงดําริว่า ถ้าพระกุมารนี้ จักทรงผนวชไซร้ พระศาสนาก็จักเจริญอย่างยิ่ง จึงถวายพระพรเรื่องนี้กะพระราชาว่า มหาบพิตร ผู้ที่จะเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หาใช่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ก็อีกอย่างหนึ่งแล ผู้ถวายปัจจัยเช่นนั้น ย่อมถึงความนับว่า ปัจจัยทายก หรือว่า ผู้อุปัฏฐาก (เท่านั้น) มหาบพิตร แท้จริง แม้ผู้ใดพึงถวายปัจจัยกองตั้งแต่แผ่นดินขนาดจดถึงพรหมโลก แม้ผู้นั้น ก็ยังไม่ถึงความนับว่า เป็นทายาทในพระศาสนาได้.
[ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา]
ลําดับนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ทายาทแห่งพระศาสนา จะมีได้อย่างไรเล่า? พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นผู้มั่งคั่งก็ตาม จะเป็นผู้ยากจนก็ตาม ให้บุตรผู้เป็นโอรสของตนบวช (ในพระศาสนา) มหาบพิตร บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าเป็นทายาทแห่งพระศาสนา.
เมื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ถวายพระพรอย่างนั้นแล้ว พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงพระดําริว่า ได้ยินว่า เราแม้ทําการบริจาคเห็นปานนี้แล้ว ก็ยังไม่ถึงความเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้เลย ทรงปรารถนาความเป็นทายาทในพระศาสนาอยู่ จึงทรงทอดพระเนตรเหลียวดู ข้างโน้นและข้างนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหินทกุมาร (ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์) ซึ่งประทับยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ท้าวเธอก็ทรงพระรําพึงดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91
ว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตําแหน่งอุปราช จําเดิมแต่เวลาติสสกุมารผนวชแล้ว ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น การบรรพชาแลเป็นคุณชาติอุดมกว่าตําแหน่งอุปราชเสียอีก. ลําดับนั้น ท้าวเธอจึงมีพระราชดำรัสกะพระกุมารว่า พ่อ ลูกจะสามารถบวชได้ไหม? พระกุมาร แม้ตามปกติ จําเดิมแต่เวลาพระติสสกุมารผนวชแล้ว ก็มีพระประสงค์อยากจะผนวชอยู่ทีเดียว พอได้ทรงสดับพระราชดํารัสก็เกิดพระปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ สมมติเทพ หม่อมฉันจะบวช ทูลกระหม่อม ทรงพระบรมราชานุญาตให้กระหม่อมฉันบวชแล้ว จะได้เป็นทายาทในพระศาสนา.
ก็โดยสมัยนั้นแล แม้พระนางสังฆมิตตา พระราชธิดา (ของท้าวเธอ) ก็ประทับยืนอยู่ในสถานที่นั้นเอง. พระกุมารทรงพระนามว่า อัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตานั้นแล ก็ได้ผนวชร่วมกับพระติสสกุมารผู้เป็นอุปราชแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางสังฆมิตตานั้นแล้ว จึงมีพระราชดำรัสว่าว่า แม่ แม้ลูกสามารถจะบวชได้ไหม? พระนางทูลตอบว่า ดีละ ทูลกระหม่อมพ่อ หม่อมฉันสามารถ. พระราชาทรงขอบใจพระราชโอรสและธิดาแล้ว มีพระราชหฤทัยเบิกบาน จึงตรัสพระดํารัสนี้กะพระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้ทารกเหล่านี้บวช แล้วกระทําให้โยมเป็นทายาทในพระศาสนาเถิด. พระสงฆ์รับพระราชดํารัสแล้วก็ให้พระกุมารบรรพชา โดยมีพระโมคคลีบุตรติสสเถระเป็นพระอุปัชฌายะ และมีพระมหาเทวเถระเป็นอาจารย์ ให้อุปสมบท โดยมีพระมัชฌันติกเถระเป็นอาจารย์. ได้ยินว่า คราวนั้น พระกุมารมีพระชนมายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 92
[พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท]
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในมณฑลอุปสมบทนั้นนั่นแล. พระอาจารย์แม้ของพระนางสังฆมิตตาราชธิดา ชื่อว่าพระอายุปาลิตเถรี ส่วนพระอุปัชฌายะ ชื่อพระธัมมปาลิตเถรี. ได้ยินว่า คราวนั้นพระนางสังฆมิตตา มีพระชนมายุได้ ๑๘ ปี. ภิกษุสงฆ์ยังพระนางสังฆมิตตานั้น ผู้พอบรรพชาแล้ว ให้ดํารงอยู่ในสิกขา ในโรงสีมานั้นนั่นแล.
เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ องค์ผนวช พระราชาทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๖ ปี. ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัยอยู่ในสํานักพระอุปัชฌายะของตนนั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยพระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็นปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้นพระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๙ ปี.
[พระเจ้าอโศกทรงตั้งมูลนิธิถวายสงฆ์ห้าแสน]
ก็ในรัชกาลที่พระราชาทรงอภิเษกได้ ๘ ปีนั่นแล พระโกนตบุตรติสสเถระ เที่ยวไปเพื่อต้องการยาบําบัดพยาธิด้วยภิกขาจารวัตร ก็ไม่ได้เนยใสสักว่าฟายมือหนึ่ง เลยสิ้นอายุสังขาร เพราะกําลังแห่งพยาธิ ได้โอวาทภิกษุสงฆ์ด้วยความไม่ประมาท แล้วนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ เข้าเตโชธาตุปรินิพพานแล้ว.
พระราชาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ได้ทรงทําสักการะแก่พระเถระ แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ขึ้นชื่อว่า เมื่อเราครองราชย์อยู่ พวกภิกษุยังหา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 93
ปัจจัยได้ยากอย่างนี้ แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างสระโบกขรณีไว้ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนคร ให้บรรจุเต็มด้วยเภสัชถวายไว้. ได้ยินว่า สมัยนั้นเครื่องบรรณาการตั้งห้าแสน เกิดขึ้นแก่พระราชาทุกวันๆ คือ ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนครปาตลีบุตรสี่แสน ที่สภาหนึ่งแสน ครั้งนั้น พระราชาทรงสละถวายท่านนิโครธเถระ วันละหนึ่งแสน หนึ่งแสนเพื่อต้องพระราชประสงค์บูชาด้วยวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ที่พุทธเจดีย์ หนึ่งแสนเพื่อต้องพระราชประสงค์บูชาพระธรรม คือ ทรงน้อมถวายแสนนั้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย ๔ แก่พวกภิกษุผู้ทรงธรรมเป็นพหูสูต แสนหนึ่งถวายภิกษุสงฆ์ ถวายอีกแสนหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เภสัชที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน. ลาภและสักการะอันโอฬาร เกิดแล้วในพระศาสนาด้วยอาการอย่างนี้.
[พวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา]
เดียรถีย์ทั้งหลาย เสื่อมลาภและสักการะแล้ว ชั้นที่สุดไม่ได้แม้สักว่าของกินและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อปรารถนาลาภและสักการะ จึงปลอมบวชในพระพุทธศาสนา แล้วแสดงทิฏฐิ (ลัทธิ) ของตนๆ ว่า นี้ธรรม นี้วินัย. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้เมื่อไม่ได้บวชก็ปลงผมเสียเอง แล้วนุ่งผ้ากาสายะเที่ยวไปในวิหารทั้งหลาย เข้าไป (ร่วม) อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรมบ้าง คณะกรรมบ้าง. ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมทําอุโบสถร่วมกับพวกภิกษุเดียรถีย์เหล่านั้น. คราวนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ดําริว่า บัดนี้อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานเลย อธิกรณ์นั้นจักหยาบช้าขึ้น ก็เราอยู่ในท่ามกลางแห่งภิกษุเดียรถีย์เหล่านั้น จะไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ดังนี้ จึงมอบการคณะถวายท่านพระมหินทเถระ ประสงค์จะพักอยู่โดยผาสุกวิหารด้วยตนเอง แล้วได้ไปยังอโธคังคบรรพต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 94
[พวกเดียรถีย์แสดงลัทธินอกพุทธศาสนา]
พวกเดียรถีย์แม้เหล่านั้นแล ถึงถูกภิกษุสงฆ์ปรามปราบโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสนา ก็ไม่ยอมตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติอันคล้อยตามพระธรรมวินัย ทั้งได้ให้เสนียดจัญไร มลทิน และเสี้ยนหนาม ตั้งขึ้นแก่พระศาสนามิใช่อย่างเดียว บางพวกบําเรอไฟ บางพวกย่างตนให้ร้อนอยู่ในเครื่องอบตน ๕ อย่าง บางพวกประพฤติหมุนไปตามพระอาทิตย์ บางพวกก็ยืนยันพูดว่า พวกเราจักทําลายพระธรรมวินัยของพวกท่าน ดังนี้.
คราวนั้น ภิกษุสงฆ์ไม่ได้ทําอุโบสถ หรือปวารณาร่วมกับเดียรถีย์เหล่านั้นเลย. ในวัดอโศการาม อุโบสถขาดไปถึง ๗ ปี. พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นแม้แด่พระราชาแล้ว.
[พระเจ้าอโศกทรงใช้อํามาตย์ให้ระงับอธิกรณ์]
พระราชาทรงบังคับอํามาตย์นายหนึ่งไปว่า เธอไปยังพระวิหาร ระงับอธิกรณ์แล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้ทําอุโบสถเถิด ดังนี้. อํามาตย์ไม่อาจจะทูลย้อนถามพระราชาได้ จึงเข้าไปหาอํามาตย์พวกอื่นแล้วกล่าวว่า พระราชาทรงส่งข้าพเจ้าไปว่า เธอจงไปยังพระวิหาร ระงับอธิกรณ์แล้ว ทําอุโบสถเถิด ดังนี้ อธิกรณ์จะระงับได้อย่างไรหนอ? อํามาตย์เหล่านั้นพูดว่า พวกข้าพเจ้ากําหนดหมายได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ว่า พวกราชบุรุษเมื่อจะปราบปัจจันตชนบทให้ราบคาบ ก็ต้องฆ่าพวกโจร ชื่อฉันใด ภิกษุเหล่าใดไม่ทําอุโบสถ พระราชาจักมีพระราชประสงค์ให้ฆ่าภิกษุเหล่านั้นเสีย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ลําดับนั้น อํามาตย์นายนั้นไปยังพระวิหาร นัดให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้วเรียนชี้แจงว่า พระราชาทรงส่งข้าพเจ้ามาว่า เธอจงนิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 95
ทําอุโบสถเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ ขอพวกท่านจงทําอุโบสถกรรมเถิด. พวกภิกษุพูดว่า อาตมภาพทั้งหลาย จะไม่ทําอุโบสถร่วมกับเหล่าเดียรถีย์. อํามาตย์เริ่มเอาดาบตัดศีรษะ (ของเหล่าภิกษุ) ให้ตกไป ตั้งต้นแต่อาสนะของพระเถระลงไป. ท่านพระติสสเถระได้เห็นอํามาตย์นั้น ผู้ปฏิบัติผิดอย่างนั้นแล.
[ประวัติของพระติสสเถระจะออกบวช]
ชื่อว่า พระติสสเถระไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ คือพระภาดาร่วมพระราชมารดาเดียวกันกับพระราชา มีนามว่าติสสกุมาร. ได้ยินว่า พระราชาทรงอภิเษกแล้ว ได้ทรงตั้งติสสกุมารนั้นไว้ในตําแหน่งอุปราช. วันหนึ่ง ติสสกุมารนั้นเสด็จไปเที่ยวป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่มฤคฝูงใหญ่ ซึ่งเล่นอยู่ด้วยการเล่นตามความคิด (คือตามความใคร่ของตน). ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ติสสกุมารนั้นได้มีพระรําพึงดังนี้ว่า มฤคเหล่านี้มีหญ้าเป็นอาหาร ยังเล่นกันได้อย่างนี้ก่อน. ส่วนพระสมณะเหล่านี้ ฉันโภชนะอันประณีต ในราชตระกูลแล้ว จําวัดอยู่บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม จักเล่นการเล่นที่น่าชอบใจไม่ได้เทียวหรือ. ติสสกุมารนั้น เสด็จกลับมาจากป่านั้นแล้ว ได้กราบทูลความรําพึงของตนนี้แด่พระราชา. พระราชาทรงพระราชดําริว่า พระกุมารระแวงสงสัยในที่มิใช่ฐานะ (มิใช่เหตุ) , เอาเถอะ เราจักให้เขายินยอมด้วยอุบายอย่างนี้ ในวันหนึ่งทรงทําเป็นเหมือนกริ้วด้วยเหตุการณ์บางอย่าง แล้วทรงขู่ด้วยมรณภัยว่า เธอจงมารับเอาราชสมบัติตลอด ๗ วัน, หลังจากนั้นเราจักฆ่าเธอเสีย ดังนี้ แล้วให้รับรู้คําสั่งนั้น. ได้ยินว่า พระกุมารนั้นทรงดําริว่า ในวันที่ ๗ พระราชาจักให้ฆ่าเราเสีย ดังนี้ ไม่สรงสนาน ไม่เสวย ทั้งบรรทมก็ไม่หลับ ตามสมควรแก่พระหฤทัย ได้มีพระสรีระเศร้าหมองเป็นอย่างมาก. แต่นั้น พระราชา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 96
ตรัสถามติสสกุมารนั้นว่า เธอเป็นผู้มีรูปร่างอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร พระกุมารทูลว่า ขอเดชะ เพราะกลัวความตาย. พระราชารับสั่งว่า เฮ้ย อันตัวเธอเองเล็งเห็นความตายที่ข้าพเจ้าคาดโทษไว้แล้ว หมดสงสัยสิ้นคิด ยังจะไม่เล่นหรือ พวกภิกษุ เล็งเห็นความตายเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่ จักเล่นได้อย่างไร? จําเดิมแต่นั้นมา พระกุมารก็ทรงเลื่อมใสในพระศาสนา. ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระกุมารนั้นเสด็จออกไปล่าเนื้อ เที่ยวสัญจรไปในป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้นั่งให้พญาช้างตัวใดตัวหนึ่งจับกิ่งสาละพัดอยู่. พระกุมารครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วก็เกิดความปราโมทย์ดําริว่า เมื่อไรหนอแล แม้เราจะพึงบวชเหมือนพระมหาเถระนี้, วันนั้นจะพึงมีหรือหนอแล, พระเถระรู้อัธยาศัยของพระกุมารนั้นแล้ว เมื่อพระกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วได้ยืนอยู่บนพื้นน้ำที่สระโบกขรณี ในวัดอโศการาม ห้อยจีวรและผ้าอุตราสงค์ไว้ที่อากาศแล้วเริ่มสรงน้ำ. พระกุมารทอดพระเนตรเห็นอานุภาพของพระเถระนั้นแล้วก็ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ดําริว่า เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว แล้วเสด็จกลับ ได้ทูลลาพระราชาว่า ขอเดชะ หม่อมฉันจักบวช. พระราชาทรงยับยั้ง (ทรงขอร้อง) เป็นอเนกประการ เมื่อไม่ทรงสามารถเพื่อจะให้พระกุมารนั้นกลับ (พระทัย) ได้ จึงรับสั่งให้ตกแต่งทางที่จะไปสู่วัดอโศการาม ให้พระกุมารแต่งองค์เป็นเพศมหรสพ ให้แวดล้อมด้วยหมู่เสนาซึ่งประดับประดาแล้ว ทรงนําไปยังพระวิหาร. ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังว่า ข่าวว่าพระยุพราชจักผนวช ก็พากันตระเตรียมบาตรและจีวรไว้. พระกุมารเสด็จไปยังเรือนเป็นที่บําเพ็ญเพียร แล้วได้ทรงผนวชพร้อมกับบุรุษแสนหนึ่งในสํานักของพระมหาธรรมรักขิตเถระนั่นเอง. ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้บวชตาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 97
พระกุมาร จะกําหนดนับไม่ได้. พระกุมารทรงผนวชในเวลาที่พระราชาทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๔ ปี. ครั้งนั้น ยังมีพระกุมารองค์อื่น มีพระนามว่าอัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา ซึ่งเป็นพระภาคิไนยของพระราชา. พระนางสังฆมิตตาประสูติพระโอรสของอัคคิพรหมองค์นั้นเพียงองค์เดียวเท่านั้น. อัคคิพรหมแม้องค์นั้น ได้สดับข่าวว่า พระยุพราช ทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วทูลขอพระบรมราชานุญาตว่า ขอเดชะ แม้หม่อมฉันก็จักบวช ดังนี้. และอัคคิพรหมองค์นั้นได้รับพระบรมราชานุญาตว่า จงบวชเถิด พ่อ ก็ได้ผนวชในวันนั้นนั่นเอง. พระเถระผู้อันขัตติยชนซึ่งมีสมบัติอย่างโอฬาร บวชตามอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระติสสเถระ ผู้เป็นพระกนิษฐภาดาของพระราชา.
[พระติสสเถระนั่งกันไม่ให้อํามาตย์ตัดศีรษะพระ]
ท่านติสสเถระนั้น ครั้นเห็นอํามาตย์นายนั้นผู้ปฏิบัติผิดอย่างนั้นแล้ว จึงดําริว่า พระราชาคงจะไม่ทรงส่งมาเพื่อให้ฆ่าพระเถระทั้งหลาย เรื่องนี้จักเป็นเรื่องที่อํามาตย์คนนี้เข้าใจผิดแน่นอนทีเดียว ดังนี้ จึงได้ไปนั่งบนอาสนะใกล้อํามาตย์นั้นเสียเอง. อํามาตย์นายนั้นจําพระเถระนั้นได้ ก็ไม่อาจฟันศัสตราลงได้ จึงได้กลับไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ตัดศีรษะของพวกภิกษุชื่อมีประมาณเท่านี้ ผู้ไม่ปรารถนาทําอุโบสถให้ตกไป ขณะนั้นก็มาถึงลําดับแห่งท่านติสสเถระผู้เป็นเจ้าเข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะทำอย่างไร? พระราชาพอได้ทรงสดับเท่านั้น ก็ตรัสว่า เฮ้ย ก็ข้าได้ส่งเธอให้ไปฆ่าภิกษุทั้งหลายหรือ? ทันใดนั้นเอง ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในพระวรกาย จึงเสด็จไปยังพระวิหาร ตรัสถามพวกภิกษุผู้เป็นพระเถระว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 98
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อํามาตย์คนนี้ โยมไม่ได้สั่งเลย ได้ทํากรรมอย่างนี้แล้ว บาปนี้จะพึงมีแก่ใครหนอแล?
[พวกภิกษุถวายความเห็นแด่พระราชาเป็น ๒ นัย]
พระเถระบางพวกถวายพระพรว่า อํามาตย์นายนี้ได้ทําตามพระดํารัสสั่งของมหาบพิตรแล้ว, บาปนั่น จึงมีแก่มหาบพิตรด้วย. พระเถระบางพวกถวายพระพรว่า บาปนั่น ย่อมมีแด่มหาบพิตรและอํามาตย์แม้ทั้ง ๒ ด้วย. พระเถระบางพวกถวายพระพรอย่างนี้ว่า ขอถวายพระพร ก็มหาบพิตรทรงมีความคิดหรือว่า อํามาตย์นายนี้ จงไปฆ่าภิกษุทั้งหลาย พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไม่มี, โยมมีความประสงค์เป็นกุศล จึงได้ส่งเขาไปด้วยสั่งว่า ขอภิกษุสงฆ์จงสามัคคีกันทําอุโบสถเถิด. พระเถระทั้งหลายถวายพระพรว่า ถ้าว่า มหาบพิตร มีพระราชประสงค์เป็นกุศลไซร้, บาปก็ไม่มีแด่มหาบพิตร. บาปนั่นย่อมมีแก่อํามาตย์เท่านั้น. พระราชาทรงเกิดมีความสงสัยเป็นสองจิตสองใจจึงรับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ จะมีภิกษุบางรูปบ้างไหม ผู้สามารถเพื่อจะตัดข้อสงสัยนี้ของโยม แล้วยกย่องพระศาสนา. ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า มี มหาบพิตร ภิกษุนั้นชื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระ, ท่านสามารถที่จะตัดข้อสงสัยของมหาบพิตร แล้วยกย่องพระศาสนาได้. ในวันนั้นเอง พระราชาได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๔ รูป แต่ละรูปมีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร, และอํามาตย์ ๔ นายแต่ละนายมีบุรุษ ๑,๐๐๐ คนเป็นบริวาร ด้วยรับสั่งว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาพระเถระมาเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 99
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระไม่มาเพราะอาราธนาไม่ถูกเรื่อง]
พระธรรมกถึกและอํามาตย์เหล่านั้นไปแล้ว ได้เรียน (พระเถระ) ว่า พระราชารับสั่งให้หาท่าน ดังนี้. พระเถระมิได้มา. แม้ครั้งที่ ๒ พระราชาก็ได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๘ รูป และอํามาตย์ ๘ นาย ซึ่งมีบริวารคนละพันๆ ไป ด้วยรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกราบเรียน (พระเถระนั้น) ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชารับสั่งให้หา แล้วให้นิมนต์พระเถระมา. พระธรรมกถึกและอํามาตย์เหล่านั้น ได้กราบเรียน (พระเถระ) เหมือนอย่างที่รับสั่งนั้นแล. ถึงแม้ครั้งที่ ๒ พระเถระก็มิได้มา. พระราชาตรัสถามพระเถระทั้งหลายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมได้ส่งทูตไปถึง ๒ ครั้งแล้ว เพราะเหตุไร พระเถระจึงมิได้มา? พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ที่ท่านไม่มานั้น เพราะทูตเหล่านั้นกราบเรียนท่านว่า พระราชารับสั่งให้หา, แต่เมื่อทูตเหล่านั้นกราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระศาสนาเสื่อมโทรม, ขอพระคุณเจ้าได้โปรดเป็นสหายพวกข้าพเจ้าเพื่อเชิดชูพระศาสนาเถิด ดังนี้. พระเถระจะพึงมา, คราวนั้น พระราชารับสั่งเหมือนอย่างนั้นแล้ว จึงทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๑๖ รูป และอํามาตย์ ๑๖ นาย ซึ่งมีบริวารคนละพันๆ ไป ได้ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายอีกว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระเถระเป็นคนแก่ หรือยังหนุ่มแน่น?
ภิกษุ. แก่ มหาบพิตร
ราชา. พระเถระนั้น จักขึ้นคานหามหรือวอ เจ้าข้า
ภิกษุ. ท่านจักไม่ขึ้น (ทั้ง ๒ อย่าง) มหาบพิตร
ราชา. พระเถระพักอยู่ ณ ที่ไหน? เจ้าข้า.
ภิกษุ. ที่แม่น้ำคงคาตอนเหนือ มหาบพิตร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 100
พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงผูกเรือขนาน แล้วอาราธนาให้พระเถระนั่งบนเรือขนานนั้นนั่นแล จัดการอารักขาที่ฝังทั้ง ๒ ด้าน นําพระเถระมาเถิด. พวกภิกษุและเหล่าอํามาตย์ไปถึงสํานักของพระเถระแล้ว ได้เรียนให้ทราบตามพระราชสาสน์.
พระเถระได้สดับ (พระราชสาสน์นั้น) แล้วคิดว่า เพราะเหตุที่เราบวชมาก็ด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนาตั้งแต่ต้น ฉะนั้น กาลนี้นั้นก็มาถึงแก่เราแล้ว จึงได้ถือเอาท่อนหนังลุกขึ้น.
[พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกล้วน]
ครั้งนั้น พระราชาทรงใฝ่พระราชหฤทัยอยู่แล้วว่า พรุ่งนี้ พระเถระจักมาถึงพระนครปาฏลีบุตร ดังนี้ ก็ทรงเห็นพระสุบิน ในส่วนราตรี ได้มีพระสุบินเห็นปานนี้ คือพญาช้างเผือกปลอดมาลูบคลําพระราชา จําเดิมแต่พระเศียร แล้วได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวา. ในวันรุ่งขึ้น พระราชาได้ตรัสถามพวกโหรผู้ทํานายสุบินว่า เราฝันเห็นเช่นนี้ จักมีอะไรแก่เรา? โหรทํานายสุบินคนหนึ่ง ทูลถวายความเห็นว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระสมณะผู้ประเสริฐ จักจับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่พระหัตถ์ข้างขวา. คราวนั้น พระราชาก็ได้ทรงทราบข่าวว่า พระเถระมาแล้วในขณะนั้นนั่นเอง จึงเสด็จไปยังริมฝังแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จลงลุยแม่น้ำท่องขึ้นไปจนถึงพระเถระ ในน้ำมีประมาณเพียงพระชานุ แล้วได้ถวายพระหัตถ์แก่พระเถระผู้กําลังลงจากเรือ. พระเถระได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวาแล้ว.
[ราชบุรุษถือดาบจะตัดศีรษะพระโมคคลีบุตรติสสเถระ]
พวกราชบุรุษถือดาบ เห็นกิริยานั้นแล้ว ก็ชักดาบออกจากฝัก ด้วยคิดว่า พวกเราจักตัดศีรษะของพระเถระให้ตกไป ดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 101
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในราชตระกูลมีจารีตนี้ว่า ผู้ใดจับพระราชาที่พระหัตถ์ ราชบุรุษพึงเอาดาบตัดศีรษะของผู้นั้นให้ตกไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเงา (ดาบ) เท่านั้น ก็รับสั่งว่า แม้ครั้งก่อน เราไม่ประสบความสบายใจเพราะเหตุที่ผิดในภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าทําผิดในพระเถระเลย ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้จับพระราชาที่พระหัตถ์? แก้ว่า เพราะเหตุที่พระเถระนั้น อันพระราชาให้อาราธนามาเพื่อต้องการจะตรัสถามปัญหา ฉะนั้น พระเถระใฝ่ใจอยู่ว่า พระราชาพระองค์นี้เป็นอันเตวาสิกของเรา จึงได้จับ.
[พระเจ้าอโศกทรงสงสัยท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ]
พระราชาทรงนําพระเถระไปสู่ราชอุทยานของพระองค์ แล้วทรงให้ตั้งการอารักขาล้อมไว้แต่ภายนอกถึง ๓ ชั้น ส่วนพระองค์เองก็ทรงล้างเท้าพระเถระแล้วทาน้ำมันถวาย ประทับนั่งอยู่ในสํานักของพระเถระ แล้วทรงพระดําริว่า พระเถระจะเป็นผู้สามารถไหมหนอ เพื่อตัดความสงสัยของเรา ระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น แล้วยกย่องพระศาสนา ดังนี้ เพื่อต้องการจะทรงทดลองดูจึงเรียนถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมมีความประสงค์ที่จะเห็นปาฏิหาริย์สักอย่างหนึ่ง.
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ประสงค์จะทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ชนิดไหน?
พระราชา. อยากจะเห็นแผ่นดินไหว เจ้าข้า
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ประสงค์จะทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินไหวทั้งหมด หรือจะทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินไหวบางส่วน?
พระราชา. ก็บรรดา ๒ อย่างนี้ อย่างไหนทํายาก เจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 102
พระเถระ. ขอถวายพระพร เมื่อถาดสําริดเต็มด้วยน้ำ จะทําให้น้ำนั้นไหวทั้งหมด หรือให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เป็นของทําได้ยาก.
พระราชา. ให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เจ้าข้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ด้วยประการดังถวายพระพรมาแล้วนั่นแล การให้แผ่นดินไหวบางส่วนทําได้ยาก.
พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น โยมจักดูแผ่นดินไหวบางส่วน (เท่านั้น)
พระเถระ. ขอถวายพระพร ถ้าเช่นนั้น ในระยะแต่ละโยชน์โดยรอบ รถจงจอดทับแดนด้วยล้อข้างหนึ่งด้านทิศบูรพา ม้าจงยืนเหยียบแดนด้วยเท้าทั้งสองด้านทิศทักษิณ บุรุษจงยืนเหยียบแดนด้วยเท้าข้างหนึ่งด้านทิศปัจฉิม ถาดน้ำถาดหนึ่งจงวางทาบส่วนกึ่งกลางด้านทิศอุดร. พระราชารับสั่งให้กระทําอย่างนั้นแล้ว.
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอธิษฐานให้แผ่นดินไหว]
พระเถระเข้าจตุตถฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้ว ได้อธิษฐานให้แผ่นดินไหวมีประมาณโยชน์หนึ่ง ด้วยความรําพึงว่า ขอให้พระราชาจงทอดพระเนตรเห็น ดังนี้. ทางทิศบูรพา ล้อรถที่หยุดอยู่ภายในเขตแดนนั่นเองไหวแล้ว นอกนี้ไม่ไหว. ทางทิศทักษิณและทิศปัจฉิม เท้าของม้าและบุรุษที่เหยียบอยู่ภายในเขตแดนเท่านั้น ไหวแล้ว และตัว (ของม้าและบุรุษ) ก็ไหวเพียงกึ่งหนึ่งๆ ด้วยประการอย่างนี้. ทางทิศอุดร น้ำที่ขังอยู่ภายในเขตแม้แห่งถาดน้ำ ไหวกึ่งส่วนเท่านั้น ที่เหลือไม่มีไหวเลยแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 103
[พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในเรื่องบาป]
พระราชาทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ก็ตกลงพระทัยว่า บัดนี้ พระเถระจักสามารถเพื่อจะยกย่องพระศาสนาได้ จึงตรัสถามความสงสัยของพระองค์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมได้ส่งอํามาตย์นายหนึ่งไปด้วยสั่งว่า เธอไปยังพระวิหารระงับอธิกรณ์แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์ทําอุโบสถเถิด ดังนี้ เขาไปยังพระวิหารแล้ว ได้ปลงภิกษุเสียจากชีวิตจํานวนเท่านี้รูป บาปนั้นจะมีแก่ใคร?
พระเถระทูลถามว่า ขอถวายพระพร ก็พระองค์มีความคิดหรือว่า อํามาตย์นี้ จงไปยังพระวิหารแล้วฆ่าภิกษุทั้งหลายเสีย.
พระราชา. ไม่มี เจ้าข้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเห็นปานนี้ไซร้ บาปไม่มีแด่พระองค์เลย.
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน]
ลําดับนั้น พระเถระ (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยเนื้อความนี้ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทํากรรมด้วยกาย วาจา ใจ (๑) ดังนี้. เพื่อแสดงเนื้อความนั้นนั่นแล พระเถระจึงนําติตติรชาดกมา (๒) (เป็นอุทาหรณ์) ดังต่อไปนี้.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ในอดีตกาล นกกระทาชื่อ ทีปกะ เรียนถามพระดาบสว่า
(๑) องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๔.
(๒) ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๐ - ๑๔๑. ชาตกฏฺกถา. ๔/๓๗๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 104
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นกเป็นอันมากเข้าใจว่า ญาติของพวกเราจับอยู่แล้ว จึงพากันมา นายพรานอาศัยข้าพเจ้าย่อมถูกต้องกรรม เมื่อนายพรานอาศัยข้าพเจ้าทําบาปนั้น ใจของข้าพเจ้าย่อมสงสัย (ว่าบาปนั้นจะมีแก่ข้าพเจ้า หรือหนอ?).
พระดาบสตอบว่า ก็ท่านมีความคิด (อย่างนี้) หรือว่า ขอนกทั้งหลายเหล่านี้มา เพราะเสียงและเพราะเห็นรูปของเราแล้วจงถูกแร้ว หรือจงถูกฆ่า.
นกกระทา เรียนว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ.
ลําดับนั้น ดาบสจึงให้นกกระทานั้นเข้าใจยินยอมว่าถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หาถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่.
ถ้าใจของท่าน ไม่ประทุษร้าย (ในการทําความชั่ว) ไซร้ กรรมที่นายพรานอาศัยท่านกระทํา ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็ไม่ติดเปื้อนท่าน ผู้มีความขวนขวายน้อย ผู้เจริญ (คือบริสุทธิ์).
[พระเจ้าอโศกทรงชําระเสี้ยนหนามแห่งพระพุทธศาสนา]
พระเถระ ครั้น (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยอย่างนั้นแล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยานในพระนครนั้นนั่นแล ตลอด ๗ วัน แล้วให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 105
พระราชาทรงเรียนเอาลัทธิสมัย (แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า). ในวันที่ ๗ พระราชารับสั่งให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันที่วัดอโศการาม ให้ขึงม่านผ้ากั้นไว้ แล้วประทับนั่งอยู่ภายในม่านผ้า รับสั่งให้จัดพวกภิกษุผู้มีลัทธิเดียวกันให้รวมกันอยู่เป็นพวกๆ แล้วรับสั่งให้นิมนต์หมู่ภิกษุมาทีละหมู่แล้วตรัสถามว่า
กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร?
ลําดับนั้น พวกภิกษุสัสสตวาที ทูลว่า สัสสตวาที มีปกติตรัสว่า เที่ยง.
พวกภิกษุเอกัจจสัสสติกา ทูลว่า เอกัจจสัสสติกวาที มีปกติตรัสว่า บางอย่างเที่ยง.
พวกภิกษุอันตานันติกา ทูลว่า อันตานันติกวาที มีปกติตรัสว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
พวกภิกษุอมราวิกเขปิกา ทูลว่า อมราวิกเขปิกวาที มีปกติตรัสถ้อยคําซัดส่ายไม่ตายตัว.
พวกภิกษุอธิจจสมุปปันนิกา ทูลว่า อธิจจสมุปปันนิกวาที มีปกติตรัสว่า ตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีเหตุ.
พวกภิกษุสัญญิวาทะ ทูลว่า สัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนมีสัญญา.
พวกภิกษุอสัญญีวาทะ ทูลว่า อสัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนไม่มีสัญญา.
พวกภิกษุเนวสัญญินาสัญญิวาทะ ทูลว่า เนวสัญญินาสัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 106
พวกภิกษุอุจเฉทวาทะ ทูลว่า อุจเฉทวาที มีปกติตรัสว่า ขาดสูญ.
พวกภิกษุทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ทูลว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาที มีปกติตรัสว่า พระนิพพานมีอยู่ในปัจจุบัน (ภพปัจจุบัน) (๑)
[พระเจ้าอโศกรับสั่งให้สึกพวกที่มิใช่ภิกษุหกหมื่นรูป]
พระราชาทรงทราบว่า เหล่านี้ไม่ใช่ภิกษุ, เหล่านี้เป็นอัญเดียรถีย์ ก็เพราะพระองค์ได้ทรงเรียนเอาลัทธิมาก่อนนั่นเอง จึงพระราชทานผ้าขาวแก่เธอเหล่านั้น แล้วให้สึกเสีย. เดียรถีย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมดมีจํานวนถึงหกหมื่นคน.
ลําดับนั้น พระราชารับสั่งให้อาราธนาภิกษุเหล่าอื่นมา แล้วตรัสถามว่า
กึวาที ภนฺเต สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า วิภชฺชวาที มีปกติตรัสจําแนก มหาบพิตร
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนั้นแล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวิภัชชวาที (มีปกติตรัสจําแนก) หรือ? พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ลําดับนั้น พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์แล้ว, ขอภิกษุสงฆ์จงทําอุโบสถเถิด ดังนี้ พระราชทานอารักขาไว้แล้ว เสด็จเข้าไปยังพระนคร. สงฆ์พร้อมเพรียงได้ประชุมกันทําอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาตนั้นมีภิกษุจํานวนถึงหกสิบแสนรูป.
(๑) พวกภิกษุที่แสดงทิฏฐิความเห็นทั้ง ๑๐ อย่างนี้ พึงดูพิสดารในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธกถา เล่ม ๙ ตั้งแต่หน้า ๑๘ ถึงหน้า ๖๘ เมื่อจําแนกออกโดยละเอียดก็ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒ นั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 107
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระเลือกภิกษุพันรูปทําตติยสังคายนา]
พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะย่ํายีคํากล่าวติเตียนของชนเหล่าอื่นจึงได้แสดง (๑) กถาวัตถุปกรณ์ในสมาคมนั้น. ลําดับนั้น พระเถระได้คัดเลือกบรรดาภิกษุซึ่งนับได้มีจํานวนหกสิบแสนรูป เอาเฉพาะภิกษุหนึ่งพันรูป ผู้ทรงปริยัติ คือพระไตรปิฎก แตกฉานในปฏิสัมภิทา ชํานาญในไตรวิชชาเป็นต้น เมื่อจะสังคายนาธรรมและวินัย ได้ชําระมลทินในพระศาสนาทั้งหมด จึงได้ทําตติยสังคีติเหมือนอย่างพระมหากัสสปเถระ และพระยสเถระ สังคายนาธรรมและวินัย ฉะนั้น. ในที่สุดแห่งสังคีติ ปฐพีก็ได้หวั่นไหวเป็นอเนกประการ. สังคีติซึ่งทําอยู่ ๙ เดือน จึงสําเร็จลง นี้
ที่ท่านเรียกในโลกว่า สหัสสิกสังคีติ เพราะภิกษุพันรูปกระทํา และเรียกว่า ตติยสังคีติ เพราะเทียบกับสังคีติ ๒ คราวที่มีมาก่อน ด้วยประการฉะนี้.
ตติยสังคีติจบ
(๑) สารัตถทีปนี ๑/๒๒๘ เป็น อภาสิ.