โมฆราชปัญหาที่ ๑๕ ว่าด้วยเรื่องมัจจุราชไม่เห็น
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40240

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 954

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

โมฆราชปัญหาที่ ๑๕

ว่าด้วยเรื่องมัจจุราชไม่เห็น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 954

โมฆราชปัญหาที่ ๑๕

ว่าด้วยเรื่องมัจจุราชไม่เห็น

[๔๓๙] โมฆราชมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยะ ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเทพฤาษี จะทรงพยากรณ์ในครั้งที่สาม (ข้าพระองค์จึงขอทูลถามว่า)

โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ผู้โคดม ผู้เรืองยศ ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงได้มาเฝ้า พระองค์ ผู้มีปรกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 955

ว่างเปล่าเถิด จงถอนความตามเห็นว่าเป็นตัวตนเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น.

จบโมฆราชมาณวกปัญหาที่ ๑๕

อรรถกถาโมฆราชสูตร (๑) ที่ ๑๕

โมฆราชสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวาหํ สกฺกํ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทฺวาหํ คือข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้ง. อันที่จริงโมฆราชมาณพนั้นได้เคยทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงสองครั้ง เมื่อจบอชิตสูตรและติสสเมตเตยยสูตร. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรอให้โมฆราชมาณพมีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จึงยังมิได้ทรงพยากรณ์. ด้วยเหตุนั้นโมฆราชมาณพจึงได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว. บทว่า ยาวตติยญฺจ เทวิสิ พฺยากโรตีติ เม สุตํ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพฤษีจะทรงพยากรณ์ในครั้งที่สาม คือ ข้าพระองค์ได้สดับมาอย่างนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณ ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้เป็นวิสุทธิเทพ ผู้อันข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว จะทรงพยากรณ์กะสหธรรมิกในครั้งที่สาม. นัยว่า โมฆราชมาณพนั้นได้ฟังอย่างนี้ ณ ฝั่งแม่น้ำโคธาวรีนั่นเอง ด้วยเหตุนั้นโมฆราชมาณพนั้นจึงทูลว่า


๑. บาลีเป็น โมฆราชปัญหา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 956

พฺยากโรตีติ เม สุตํ ข้าพระองค์สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงพยากรณ์ ดังนี้. บทว่า อยํ โลโก ได้แก่ มนุษยโลก. บทว่า ปโร โลโก โลกอื่น ได้แก่ โลกที่เหลือเว้นมนุษยโลกนั้น. บทว่า สเทวโก พร้อมด้วยเทวโลกได้แก่โลกที่เหลือ ประกอบด้วยอุปัตติเทพและสมมติเทพเว้นพรหมโลก. บทว่า พฺรหฺมโลโก สเทวโก นี้ เพียงแสดงถึงนัยเป็นต้นว่า สเทวเก โลเก ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ด้วยเหตุนั้น พึงทราบโลกดังที่ได้กล่าวแล้วอย่างนั้นทั้งหมด. บทว่า เอวํ อภิกฺกนฺตทสฺสาวึ ได้แก่พระองค์ผู้มีปรกติ เห็นธรรมอันงาม คือ ธรรมเลิศอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงผู้สามารถเห็นอัธยาศัยอธิมุติและคติอันเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สุญฺโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ ท่านจงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่าเถิด คือจงพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่าด้วยเหตุสองประการ คือด้วยลักษณะอันเป็นไปแล้วไม่มีเหลือ ๑ ด้วยพิจารณาเห็นเนืองๆ ถึงสังขารเป็นของว่างเปล่า ๑. บทว่า อตฺตานุทิฏฺึ อูหจฺจ คือ จงถอนความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นั่นแล.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโมฆราชสูตรที่ ๑๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา