การวางตัวของ สมมติสงฆ์ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ควรวางตัวอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพศบรรพชิต จุดประสงค์ของการบวชคือ เป็นไปเพื่อละคลายกิเลสจนหมดสิ้น และการบวชคือ การสละเพศคฤหัสถ์ การกระทำดังเช่นคฤหัสถ์แล้ว ไม่สามารถประพฤติได้ดังเช่นคฤหัสถ์ เพราะเป็นเพศที่สละขัดเกลากิเลส การกระทำดังเช่นคฤหัสถ์ ย่อมเพิ่มกิเลส ย่อมถูกติเตียนจากผู้พบเห็น ทำให้ไม่มีผู้เลื่อมใส หรือเสื่อมความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ ควรเข้าใจความจริงว่า ขณะที่ประท้วงเรียกร้อง ดังเช่นคฤหัสถ์ กระทำด้วยจิตอะไร เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลและละอกุศลหรือไม่ หรือทำแล้วอกุศลเจริญขึ้น หากทำแล้ว อกุศลของตนเองเจริญขึ้น ก็ไม่ควรทำ ดังนั้นพระภิกษุเมื่อบวชแล้ว มีกิจสองอย่างคือ ศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้า และอีกกิจหนึ่งคือ ปฏิบัติธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง กิจอื่นนอกนี้ไม่สมควรกับพระภิกษุเลย ครับ
สังคมคฤหัสถ์ก็ต้องแก้ด้วยส่วนของคฤหัสถ์ หากจะแก้ก็ต้องเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่เพศบรรพชิต แต่เมื่อเป็นบรรพชิต มีสังคมใหม่แล้วก็ควรเป็นผู้ประพฤติตามหน้าที่ของสังคมบรรพชิตคือ การดูแลอุปัชฌาย์อาจารย์ให้เหมาะสม ดูแลพระอาคันตุกะ นี่คือการประพฤติในสังคมที่ถูกต้องของบรรพชิต และเมื่อมีการทำผิดในกลุ่มสงฆ์ ก็มีการทำตามกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง เพื่อความอยู่ผาสุกของหมู่สงฆ์ แต่ไม่ใช่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ ครับ
กิจหรือภาระหน้าที่ที่สำคัญของเพศบรรพชิต คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม น้อมประพฤติตามพระธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการศึกษาพระวินัยให้เข้าใจก็จะทำให้รู้ได้ถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้ และในส่วนที่พระองค์ทรงอนุญาต ก็จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดีให้ได้กระทำเฉพาะในสิ่งที่ถูกที่ควร และเว้นในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับเพศของตนซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่ง ถ้าย่อหย่อนไม่สำรวมตามพระธรรมวินัย ย่อมมีแต่จะเพิ่มโทษคือ อกุศลธรรมให้ตนเองโดยส่วนเดียว และถ้าได้มีความเข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้องแล้ว ก็สามารถเกื้อกูลผู้อื่นทั้งที่เป็นบรรพชิตด้วยกัน และคฤหัสถ์ให้มีความเข้าใจธรรมอย่างถูกต้องได้ ความเข้าใจพระธรรมนี้แหละ ที่จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตที่ดี ที่ทำให้แต่ละคนเป็นคนดี ซึ่งถ้าแต่ละคนเป็นคนดี ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นเลยครับ ถ้าจะต่อต้านคนไม่ดี หนทางมีอยู่คือ คนไม่ดีที่อยู่ในจิตใจของตนเองคือ อกุศล กิเลสประการต่างๆ ด้วยการอบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม ในการแก้กิเลสอกุศลที่ไม่ดีอยู่ในจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ ครับ
[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 14
มหาปาละบรรพชาอุปสมบท
เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เที่ยว เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว ทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ครบ ๕ พรรษาแล้ว ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้ มีธุระกี่อย่าง"
ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา
พระศาสดาตรัสตอบว่า "ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ (กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น"
พระมหาปาละทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร"
ศ. ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฏกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า คันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
ความเข้าใจพระธรรม ทำให้คิดถูกในเหตุบ้านการเมือง
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณในความคิดเห็นและตัวอย่างจากพุทธพจน์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การกระทำกิจอย่างที่กล่าวไว้ในประเด็นคำถามนั้น ไม่ใช่กิจของพระภิกษุสามเณร พระภิกษุสามเณรเป็นเพศบรรพชิต ที่มีศรัทธา มีความจริงใจในการที่จะสละอาคารบ้านเรือน เพื่อมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง เพื่อฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้ว จะทำอะไรก็ได้ จะทำเหมือนอย่างคฤหัสถ์ทุกอย่างก็ได้ อย่างนี้ ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการย่ำยีธรรมวินัย
กิจหรือภาระหน้าที่ที่สำคัญของเพศบรรพชิต คือ ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม น้อมประพฤติตามพระธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกาศึกษาพระวินัยให้เข้าใจก็จะทำให้รู้ได้ถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้ และในส่วนที่พระองค์ทรงอนุญาตก็จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดีให้ได้กระทำเฉพาะในสิ่งที่ถูกที่ควร และเว้นในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับเพศของตนซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่ง และเมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้วก็ประกาศความจริงตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ก็ย่อมเป็นสิ่งที่สมควร เป็นการเกื้อกูลให้เข้าใจเข้าใจถูกเห็นถูกซึ่งจะเป็นที่พึ่งของแต่ละคนอย่างแท้จริง แต่ถ้าย่อหย่อนไม่สำรวมตามพระธรรมวินัยย่อมมีแต่จะเพิ่มโทษคือ อกุศลธรรมให้ตนเองโดยส่วนเดียวครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
พระภิกษุ ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองพระภิกษุ มีกิจสองอย่าง คือ ศึกษาพระธรรม และอบรมปัญญา ค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ