กัปปปัญหาที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40235

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 936

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

กัปปปัญหาที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 936

กัปปปัญหาที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง

[๔๓๔] กัปปมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอกซึ่งธรรมอันเป็นที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำแล้ว ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในท่ามกลาง สาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่ฉะนั้น อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกที่พึ่งแก่ข้าพระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนกัปปะ

เราจะบอกธรรม อันเป็นที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำแล้ว ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้อยู่ในท่ามกลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่แก่ท่าน ธรรมชาติไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีความถือมั่น นี้เป็นที่พึ่ง หาใช่อย่างอื่นไม่ เรากล่าวที่พึ่งอันเป็นที่สิ้นไปแห่งชรา และมรณะว่านิพพาน ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 937

แล้ว ชนเหล่านั้นไม่อยู่ใต้อำนาจของมาร ไม่เดินไปในทางของมาร.

จบกัปปมาณวกปัญหาที่ ๑๐

อรรถกถากัปปสูตร (๑) ที่ ๑๐

กัปปสูตร มีคำเริ่มต้นว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสาครอันเป็นท่ามกลางเพราะไม่มีเบื้องต้นที่สุดปรากฏ. บทว่า ติฏฺนฺตํ คือผู้ตั้งอยู่. บทว่า ยถายิทํ นาปรํ สิยา กัปปมาณพทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกที่พึ่งแก่ข้าพระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่กัปปมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกิญฺจนํ ไม่มีเครื่องกังวล คือตรงกันข้ามกับที่มีเครื่องกังวล. บทว่า อนาทานํ ไม่ยึดมั่น คือตรงกันข้ามกับ ความยึดมั่น ท่านอธิบายว่า เข้าไปสงบความกังวลและความยึดมั่น. บทว่า อนาปรํ หาใช่อย่างอื่นไม่ คือเว้นจากที่พึ่งอันไม่เป็นข้าศึกกับที่พึ่งอื่น. ท่านอธิบายว่า เป็นที่พึ่งประเสริฐที่สุด. บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺคู (๒) ได้แก่ชนเหล่านั้นไม่เดินไปในทางของมาร คือไม่เป็นศิษย์คอยบำรุงบำเรอมาร. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากัปปสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา


(๑) บาลีเป็นกัปปปัญหา

(๒) ม. ปทฺธคู.