[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80
๓. นัตถิปุตตสมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่มีอะไรเปรียบ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80
๓. นัตถิปุตตสมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่มีอะไรเปรียบ
[๒๘] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ความรักเสมอด้วยบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง.
[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81
อรรถกถานัตถิปุตตสมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บาทคาถาว่า นตฺถิ ปุตฺตสมํ เปมํ ความว่า บุตรทั้งหลายของคนแม้พิการ มารดาหรือบิดาก็ยังสำคัญดุจแท่งทองคำ มีการกระทำการหยอกล้อที่ศีรษะ เป็นต้น ราวกะว่าพวงดอกไม้ บุตรเหล่านั้นแม้อันมารดาบิดาชำระร่างกายแล้วก็นำมาห่อหุ้มไว้แล้วก็เกิดโสมนัส เหมือนบุคคลห่ออยู่ซึ่งของหอมและเครื่องลูบไล้ ฉะนั้น.
ด้วยเหตุนั้นแหละ เทวดาจึงกล่าวว่า นตฺถิ ปุตฺตสมํ เปมํ ความรักเสมอด้วยบุตรย่อมไม่มี คือ ขึ้นชื่อว่า ความรักอื่นเสมอด้วยความรักบุตรหามีไม่ ดังนี้.
บทว่า โคสมิกํ แปลว่า เสมอด้วยโคทั้งหลาย เทวดากราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมดาว่าทรัพย์อื่นเช่นกับโคย่อมไม่มี ดังนี้.
บทว่า สุริยสมา อาภา นี้ เทวดากราบทูลว่า ชื่อว่า แสงสว่างอื่นที่เสมอด้วยแสงพระอาทิตย์ย่อมไม่มี ดังนี้.
บทว่า สมุทฺทปรมา ความว่า ชื่อว่า สระทั้งหลายเหล่าอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง สระทั้งหมดเหล่านั้นมีสมุทร (ทะเล) เป็นอย่างยิ่ง คือ สมุทรประเสริฐกว่าสระทั้งหมดเหล่านั้น เทวดาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ที่เป็นที่เกิดแหล่งน้ำอื่นเช่นกับด้วยสมุทร หามีไม่ ดังนี้.
ก็ที่ชื่อว่า ความรักเสมอด้วยตนไม่มีนั้น มีอธิบายว่าสัตว์ทั้งหลายละทิ้งปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ก็มี ละทิ้งบุตรธิดา เป็นต้น ให้พำนักอยู่ย่อมหาเลี้ยงชีวิตตนนั่นแหละ ก็มี.
ก็ชื่อว่าทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมไปสู่สำนักของเจ้าของทรัพย์ แล้วจึงถือ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82
เอาวัตถุทั้งหลายมีเงินและทอง เป็นต้นบ้าง และถือเอาโคและกระบือ เป็นต้นบ้าง ก็เพื่อถือเอาข้าวเปลือกนั่นแหละ.
ชื่อว่าแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ถึงแม้จะเป็นดวงอาทิตย์ เป็นต้น ก็ย่อมส่องแสงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ ย่อมกำจัดความมืดอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น. ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่าง อันประเสริฐ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้ ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีต เป็นต้น ได้ด้วย.
ชื่อว่า สระเสมอด้วยเมฆฝนย่อมไม่มี. แม้แม่น้ำ หรือหนองน้ำ หรือทะเลสาบ เป็นต้นก็ตาม ที่ขึ้นชื่อว่าสระแล้ว ที่จะเสมอด้วยฝน ย่อมไม่มี เพราะเมื่อเมฆฝนตัดขาดแล้ว น้ำแม้เพียงสักว่าข้อองคุลีหนึ่งให้เปียกในมหาสมุทร ย่อมไม่มี. แต่เมื่อฝนตกแล้วเป็นไปอยู่ น้ำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมมีถึงพิภพแห่งพรหมชั้นอาภัสสรา.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสตอบถ้อยคำของเทวดา จึงตรัสพระคาถาว่า
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ นตฺถิ ธญฺสมํ ธนํ นตฺถิ ปญฺาสมา อาภา วุฏฺิ เว ปรมา สรา
ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนเท่านั้นเป็นสระอันยอดเยี่ยม ดังนี้.
จบอรรถกถานัตถิปุตตสมสูตรที่ ๓