อุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓ ว่าด้วยปัญหาของท่านอุทยะ
โดย บ้านธัมมะ  22 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40792

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 309

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

อุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓

ว่าด้วยปัญหาของท่านอุทยะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 309

อุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓

ว่าด้วยปัญหาของท่านอุทยะ

[๔๓๓] (ท่านอุทยะทูลถามว่า)

ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณกเจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ (อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[๔๓๔] คำว่า ผู้มีฌาน ในอุเทศว่า ฌายี วิรชมาสีนํ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน แม้ด้วยทุติยฌาน แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน แม้ด้วยฌานอันมีวิตกวิจาร แม้ด้วยฌาน (ทุติยฌานในปัญจกนัย) สักว่าไม่มีวิตกแต่มีวิจาร แม้ด้วยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร แม้ด้วยฌานมีปีติ แม้ด้วยฌานอันไม่มีปีติ แม้ด้วยฌานอันประกอบด้วยสุข แม้ด้วยฌานอันประกอบด้วยอุเบกขา แม้ด้วยฌานอันเป็นสุญญตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกุตระ ทรงยินดีในฌาน ทรงขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว หนักอยู่ในอรหัตผล ซึ่งเป็นประโยชน์ของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีฌาน.

คำว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นดังธุลี กิเลสดังธุลีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 310

ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีธุลี ปราศจากธุลี ไปปราศแล้วจากธุลี ละธุลีเสียแล้ว พ้นขาดแล้วจากธุลี.

ราคะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของราคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

โทสะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโทสะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

โมหะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโมหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี คำว่า ผู้ประทับอยู่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับอยู่.

เชิญดูพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับอยู่ที่ภูเขา พระสาวกทั้งหลายผู้ได้ไตรวิชชา เป็นผู้ละมัจจุเสีย นั่งห้อมล้อมอยู่.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 311

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่แม้อย่างนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวาย (ด้วยกิเลส) ทั้งปวงแล้ว มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พระองค์อยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีสงสารคือ ชาติ ชรา และมรณะ มิได้มีภพใหม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อุทโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ.

คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.

คำว่า อุทโย เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุทยะทูลถามว่า.

[๔๓๕] คำว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ความว่า กิจ คือ กรรมที่ควรทำและกรรมไม่ควรทำ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.

ทิฏฐิเป็นเครื่องตกไปรอบ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุใด ผู้มีกระแสอันตัดขาดแล้ว ละแล้วซึ่งกิจที่ควรทำและกิจที่ไม่ควรทำ ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 312

อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ชื่อว่า อาสวะ ในคำว่า อนาสวํ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.

[๔๓๖] คำว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ถึงฝั่งแห่งปริญญา ถึงฝั่งแห่งปหานะ ถึงฝั่งแห่งภาวนา ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติแห่งธรรมทั้งปวง คือ ทรงถึงฝั่งแห่งความรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งความกำหนดรู้ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการละกิเลสทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการเจริญมรรค ๔ ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ถึงฝั่งแห่งการเข้าสมาบัติทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงถึงความชำนาญและความสำเร็จในอริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปสู่ฝั่ง ทรงถึงฝั่งแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุด ทรงถึงส่วนสุดแล้ว เสด็จไปสู่ที่สุด ทรงถึงที่สุดแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุดรอบ ทรงถึงส่วนสุดรอบแล้ว เสด็จไปสู่ที่จบ ทรงถึงที่จบแล้ว เสด็จไปสู่ที่ต้านทาน ทรงถึงที่ต้านทานแล้ว เสด็จไปสู่ที่เร้น ทรงถึงที่เร้นแล้ว เสด็จไปสู่จรณะ ทรงถึงจรณะแล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่มีภัยแล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่เคลื่อน ทรงถึงที่ไม่เคลื่อนแล้ว เสด็จไปสู่อมตะ ทรงถึงอมตะแล้ว เสด็จไปสู่นิพพาน ทรงถึงนิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้มีสงสาร คือชาติ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 313

ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง.

[๔๓๗] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ความว่า พวกข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือ เป็นผู้จะทูลถามปัญหา มาเฝ้าแล้ว เป็นผู้ใคร่ฟังปัญหามาเฝ้าแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.

อีกอย่างหนึ่ง ความมา ความมุ่งมา ความมาเฝ้า ของพวกข้าพระองค์ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา คือ ต้องการจะทูลถามปัญหา ใคร่ฟังปัญหา มีอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.

อีกอย่างหนึ่ง ความมาแห่งปัญหาของพระองค์มีอยู่ ทั้งพระองค์มีความเป็นผู้องอาจ ให้ผู้อื่นมีความเพียร สามารถเพื่อจะตรัสถาม ตรัสบอก ทรงแก้ ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ทรงเฉลยกับข้าพระองค์ได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.

[๔๓๘] อรหัตวิโมกข์ ท่านกล่าวว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า อญฺาวิโมกฺขํ สํพฺรูหิ ดังนี้ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ ขอจงบอก... ขอจงทรงประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์.

[๔๓๙] คำว่า ทำลายอวิชชา คือ ทุบ ต่อย ทำลาย ละ สงบ สละคืน ระงับ ซึ่งอวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายอวิชชา เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 314

ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าพระองค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณกเจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ (อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[๔๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ)

เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ เป็นเครื่องละซึ่งกามฉันทะและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง เป็นเครื่องกั้นความรําคาญ.

[๔๔๑] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความสิเนหาในกาม ความกระหายในกาม ความเร่าร้อนในเพราะกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า ฉันทะ ในอุเทศว่า ปหานํ กามฉนฺทานํ ดังนี้.

คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ ความว่า ธรรมเป็นเครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับกามฉันทะทั้งหลาย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุทยะ ในอุเทศว่า อุทยาติ ภควา ดังนี้.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 315

[๔๔๒] ความไม่แช่มชื่นในทางใจ เจตสิกทุกข์ ความเสวยอารมณ์ เป็นทุกข์ไม่แช่มชื่น เกิดจากสัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่น เกิดจากสัมผัสทางใจ ชื่อว่า โทมนัส ในอุเทศว่า โทมนสฺสานํ จูภยํ ดังนี้.

คำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับซึ่งกามฉันทะและโทมนัสทั้งสองประการ เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และโทมนัสทั้งสองอย่าง.

[๔๔๓] ความที่จิตไม่ควร ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน ความท้อ ความถอย ความกลับ ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ความเป็นผู้หดหู่ ชื่อว่า ถีนะ ในอุเทศว่า ถีนสฺส จ ปนูทนํ ดังนี้.

คำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง ความว่า เป็นเครื่องบรรเทา เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ความง่วง เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง.

[๔๔๔] ความรำคาญมือ ความรำคาญเท้า ความรำคาญมือและเท้า ความรำคาญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความคะนอง กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนแห่งจิต ความขัดใจเห็นปานนี้ๆ ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ ในคำว่า กุกฺกุจฺจานํ ในอุเทศว่า กุกฺกุจฺจานํ นิวารณํ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญเป็นความเดือดร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะกระทำ ๑ เพราะไม่กระทำ ๑ ความรำคาญอันเป็นความเดือดร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 316

ย่อมเกิดขึ้นด้วยเพราะกระทำ ๑ เพราะไม่กระทำ ๑ อย่างไร ความรำคาญอันเป็นความเดือดร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณวาจา เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา เราทำผรุสวาจา เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ทำอนภิชฌา เราทำพยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญอันเป็นความเดือดร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะกระทำและไม่กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญอันเป็นความเดือดร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราไม่ได้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราไม่ได้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เราไม่ได้ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 317

คำว่า เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ ความว่า เป็นเครื่องปิด คือ เป็นเครื่องกั้น เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับความรำคาญทั้งหลาย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องละซึ่งกามฉันทะ และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ.

[๔๔๕] เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันมีอุเบกขาและสติหมดจดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรม แล่นไปข้างหน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[๔๔๖] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพิกเฉย ความสงบแห่งจิต ความที่จิตเลื่อมใส ความที่จิตเป็นกลางด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในอุเทศว่า อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ ดังนี้ ความระลึก ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ เพราะปรารภถึงอุเบกขาในจตุตถฌาน ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุเบกขาและสติ.

คำว่า หมดจดดี ความว่า อุเบกขาและสติในจตุตถฌานเป็นความหมดจด หมดจดดี ขาวรอบ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอุเบกขาและสติหมดจดดี.

[๔๔๗] ความดำริชอบ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรมในคำว่า ธมฺมตกฺกปุเรชวํ ดังนี้ ความตรึกประกอบด้วยธรรมนั้น มีใน


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 318

เบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.

อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม สัมมาทิฏฐินั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.

อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม วิปัสสนานั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.

[๔๔๘] อรหัตวิโมกข์ ตรัสว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า อญฺาวิโมกฺขํ สํพฺรูมิ ดังนี้ เราขอบอก... ขอประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์.

[๔๔๙] ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ อวิชชาเป็นดังลิ่มสลัก ความหลง อกุศลมูล ชื่อว่า อวิชชา ในอุเทศว่า อวิชฺชาย ปเภทนํ ดังนี้.

คำว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความว่า เป็นเครื่องทุบ ต่อย เครื่องทําลาย เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่งอวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราขอบอกอัญญาวิโมกข์อันมีอุเบกขาและสติ หมดจดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 319

[๔๕๐] โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้.

[๔๕๑] คำว่า โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ความว่า อะไรเป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องพัวพัน เครื่องมัวหมอง ของโลก โลกอันอะไรประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง ยึดไว้ คล้องไว้ เกี่ยวไว้ พัวพันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้.

[๔๕๒] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น ความว่า อะไรเป็นเครื่องสัญจร เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ของโลกนั้น โลกย่อมสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.

[๔๕๓] คำว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้ ความว่า พระองค์ย่อมตรัส ย่อมบอก ย่อมเล่า ย่อมกล่าว แสดง บัญญัติว่า นิพพาน เพราะละ สงบ สละคืน ระงับ อะไรเสียได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้.

[๔๕๔] โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตก เป็น


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 320

เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้.

[๔๕๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความเพลิน ในอุเทศว่า นนฺทิสญฺโชโน โลโก ดังนี้ ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องมัวหมองของโลก โลกอันความเพลินนี้ประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง ผูกไว้ คล้องไว้ พันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้.

[๔๕๖] วิตก ๙ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก วิตกถึงญาติ วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่น วิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และสรรเสริญ วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่อยากให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน. เหล่านี้เรียกว่าวิตก ๙.

ชื่อว่า วิตก ในอุเทศว่า วิตกฺกสฺส วิจารณา ดังนี้ วิตก ๙ อย่างนี้เป็นเครื่องสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยวิตก ๙ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.

[๔๕๗] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหาย วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ ดังนี้.

คำว่า เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้ ความว่า เราย่อมกล่าว ย่อมบอก เล่า ขาน แสดง บัญญัติว่า เพราะละ สงบ สละคืน ระงับตัณหาเสียได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 321

โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้.

[๔๕๘] เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.

[๔๕๙] คำว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ความว่า เมื่อโลกมีสติสัมปชัญญะอย่างไรเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป.

[๔๖๐] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ.

[๔๖๑] คำว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า พวกข้าพระองค์มาแล้ว คือ มาถึง เข้ามาถึง ถึงพร้อม มาประชุมกับพระองค์เพื่อจะทูลถาม คือเพื่อสอบถาม ทูล ขอ ทูลเชื้อเชิญ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว คือขอให้ทรงประสาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๖๒] คำว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ ความว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟัง ศึกษา ทรงจำ เข้าไป กำหนด พระดำรัส ถ้อยคำ ทางถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์ เพราะ-


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 322

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสของพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.

[๔๖๓] เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภายนอก เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.

[๔๖๔] คำว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภายนอก ความว่า เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจเวทนา คือ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เมื่อโลกเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรม


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 323

คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา คือ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา ฯลฯ ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความไม่เที่ยง ย่อมไม่เพลิดเพลิน... เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก ย่อมไม่เพลิดเพลิน... เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายโดยอาการ ๔๒ นี้อยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจในเวทนา คือ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก.

[๔๖๕] คำว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป ความว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอย่างนี้เที่ยวไป คือเที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 324

[๔๖๖] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วยปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร ย่อมดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.

จบอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓

อรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในอุทยสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺาวิโมกฺขํ คือ อรหัตวิโมกข์ อุทยมาณพทูลถามถึงวิโมกข์อันสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัต.

บทว่า ปเมนปิ ฌาเนน ฌายี พระผู้มีพระภาคเจ้ามีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพ่งด้วยปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา.

บทว่า ทุติเยน คือ เพ่งด้วยทุติยฌาน สัมปยุตด้วยปีติ สุข จิตเตกัคคตา.

บทว่า ตติเยน คือ เพ่งด้วยตติยฌาน สัมปยุตด้วยสุข และจิตเตกัคคตา.

บทว่า จตุตฺเถน คือ เพ่งด้วยจตุตถฌาน สัมปยุตด้วยอุเบกขาจิตเตกัคคตา.

บทว่า สวิตกฺกสวิจาเรนปิ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 325

ฌาเนน ฌายี เพ่งด้วยฌานแม้มีวิตกมีวิจาร คือ ชื่อว่ามีฌานเพราะเพ่งฌานมีวิตกมีวิจาร ด้วยปฐมฌานในจตุกกนัยและปัญจกนัย.

บทว่า อวิตกฺกวิจารมตฺเตน ด้วยฌานสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร คือ ด้วยทุติยฌานในปัญจกนัย.

บทว่า อวิตกฺกอวิจาเรน ด้วยฌานอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร คือ ด้วยฌานที่เหลือ มีทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น.

บทว่า สปฺปีติเกน ด้วยฌานมีปีติ คือ ด้วยทุกฌานและติกฌานอันสัมปยุตด้วยปีติ.

บทว่า นิปฺปีติเกน ด้วยฌานไม่มีปีติ คือ ด้วยฌานอันเหลือจากนั้น เว้นแล้วจากปีติ.

บทว่า สาตสหคเตน ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข คือ ด้วยติกฌานจตุกกฌานอันสหรคตด้วยสุข.

บทว่า อุเปกฺขาสหคเตน ด้วยฌานอันสหรคตด้วยอุเบกขา คือ ด้วยจตุตถฌานและปัญจมฌาน.

บทว่า สุญฺเตน ด้วยฌานอันเป็นสุญญตะ คือ ด้ายฌานอันประกอบด้วยสุญญตวิโมกข์.

บทว่า อนิมิตฺเตนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ.

ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพิกนิมิตว่าเที่ยง นิมิตว่ายั่งยืน และนิมิตว่าตนออกเสีย แล้วเพ่งด้วยฌานอันเป็นอนิมิตที่ตนได้แล้ว.

บทว่า อปฺปณิหิเตนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ คือ ด้วยฌานอันไม่มีที่ตั้ง เพราะผลสมาบัติ เพราะชำระถือเอาซึ่งความปรารถนาด้วยการถึงมรรค.

บทว่า โลกิเยปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ คือ ด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานอันเป็นโลกิยะ.

บทว่า โลกุตฺตเรนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกุตระ คือ ด้วยฌานอันสัมปยุตด้วยโลกุตระนั่นเอง.

บทว่า ฌานรโต คือ เป็นผู้ยินดีแล้วในฌานทั้งหลาย.

บทว่า เอกตฺตมนุยุตฺโต ทรงขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว คือ ทรงขวนขวายประกอบความเป็นผู้เดียว.

บทว่า สทตฺถครุโก คือ เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน. แปลง


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 326

อักษรเป็น อักษร.

อนึ่ง บทว่า สทตฺโถ พึงทราบว่า คือ พระอรหัต.

จริงอยู่ พระอรหัตนั้นท่านกล่าวว่า ประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า เข้าไปผูกพันกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน. เป็นผู้หนักในประโยชน์ตน ด้วยอำนาจการเข้าถึงผลสมาบัติ. อาจารย์พวกนี้กล่าวว่า เป็นผู้หนักในนิพพาน.

บทว่า อรโช คือ ไม่มีกิเลส.

บทว่า วิรโช คือ ปราศจากกิเลส.

บทว่า นิรโช คือ นำกิเลสออกไปแล้ว. ปาฐะว่า วีตรโช บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน.

บทว่า รชาปคโต คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส.

บทว่า รชวิปฺปหีโน คือ เป็นผู้ละกิเลสได้แล้ว.

บทว่า รชวิปฺปมุตฺโต คือ เป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า ปาสาณเก เจติเย ณ ปาสาณกเจดีย์ คือ ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรบนหลังแผ่นหิน.

บทว่า สพฺโพสฺสุกฺกปฏิปสฺสทฺธตฺตา เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวายทั้งปวงแล้ว คือ พระองค์ชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวาย คืออาสวะทั้งปวงได้แล้ว คือทำให้สูญสิ้นไป.

บทว่า กิจฺจากิจฺจํ กิจน้อยใหญ่ คือ พึงคิดด้วยใจอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ดังนี้.

บทว่า กรณียากรณียํ คืล กรรมที่ควรทำและกรรมที่ไม่ควรทำอย่างนี้ว่า กรรมนี้เป็นไปทางกายทวารควรทำ กรรมนี้ไม่ควรทำ.

บทว่า ปหีนํ ละแล้ว. คือสละแล้ว.

บทว่า วสิปฺปตฺโต ถึงความชำนาญ คือ ถึงความเป็นผู้คล่องแคล่ว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอุทยมาณพได้จตุตถฌาน ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงวิโมกข์คือพระอรหัตโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งฌานที่อุทยมาณพนั้นได้แล้ว จึงตรัสพระคาถาทั้งหลายต่อไป.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 327

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปหานํ กามฉนฺทานํ เป็นเครื่องละกามฉันทะทั้งหลาย คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอุทยมาณพว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์เป็นเครื่องละกามฉันทะแก่ผู้ที่ยังปฐมฌานให้เกิด. พึงประกอบบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ยาจิตฺตสฺส อกลฺลตา ความที่จิตไม่ควร คือ ความที่จิตเป็นไข้. เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก.

แม้ในวินัยท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลิโก กระผมมิได้เป็นไข้ขอรับ.

บทว่า อกมฺมญฺตา ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน คือ ความที่จิตเป็นไข้.

บทว่า โอลิยนา ความท้อ คือ อาการท้อ.

จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในอิริยาบถ ไม่สามารถจะทรงอิริยาบถไว้ได้ ย่อมติดแน่นดุจค้างคาวติดที่ต้นไม้ และดุจน้ำอ้อยแขวนอยู่ที่เสา ท่านกล่าวว่า โอลิยนา หมายถึงอาการของจิตนั้น.

บทที่ ๒ เพิ่มอุปสัคลงไปเป็น สลฺลียนา ความถอย.

บทว่า ถีนํ ความหดหู่ คือ ความเป็นผู้ก้มหน้าไม่ผึ่งผาย.

อีก ๒ บทแสดงความเป็นอาการ.

บทว่า ถีนํ ความง่วงเหงา คือ ตั้งอยู่เป็นก้อนไม่กระจายดุจก้อนเนยใส.

บทว่า ถียนา อาการง่วงเหงา แสดงถึงอาการ.

ความเป็นผู้ง่วงเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺตํ อธิบายว่า ติดแน่นไม่กระจัดกระจาย.

บทว่า อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ อันมีอุเบกขาและสติหมดจดดี คือ หมดจดด้วยอุเบกขาและสติในจตุตถฌาน.

ท่านกล่าวถึงอรหัตวิโมกข์ที่ได้บรรลุอย่างวิเศษ ถึงองค์ฌานอันตั้งอยู่แล้วในวิโมกข์ คือจตุตถฌานนั้น ด้วยบทนี้ว่า ธมฺมตกฺกปุเรชวํ มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.

บทว่า อวิชฺชาย ปเภทนํ เป็นเครื่องทำลายอวิชชา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์นั้นนั่นแลว่า เป็นเครื่อง


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 328

ทำลายอวิชชา โดยการณะและอุปจาระอันเกิดเพราะอาศัยนิพพานอันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาให้สิ้นไป.

ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเห็นตั้งแต่การเกิดขึ้นในบทนี้ว่า ยา จตุตฺเถ ฌาเน อุเปกฺขา ความวางเฉยในฌานที่ ๔. อธิบายว่า เห็นชอบ คือ เห็นโดยไม่ตกไปเป็นฝักฝ่าย.

บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่วางเฉยแสดงถึงอาการ.

บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา ความเพิกเฉย เป็นบทเพิ่มอุปสัค.

บทว่า จิตฺตสมโถ ความสงบแห่งจิต คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

บทว่า จิตฺตปฺปวตฺติตา ความที่จิตเป็นไป คือ ความที่จิตเว้นจากความพร่องความเกินและความเปล่า.

บทว่า มชฺฌตฺตา ความที่จิตเป็นกลาง คือ ความที่จิตตั้งอยู่ในท่ามกลาง.

อุทยมาณพครั้นสดับถึงนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยพระดำรัสอันเป็นประเภทแห่งอวิชชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูลถามว่า พระองค์ตรัสว่านิพพานเพราะละอะไรเสียได้ จึงกล่าวคาถาว่า กิํสุ สญฺโชโน โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า วิจารณํ อะไรเป็นเครื่องเที่ยวไป คือ ทำการท่องเที่ยว.

บทว่า กิสฺสสฺส วิปฺปหาเนน คือ เพราะละธรรมชื่ออะไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่อุทยมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า นนฺทิสญฺโชโน โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิตกฺกสฺส คือ วิตกมีกามวิตกเป็นต้นพึงมี บัดนี้อุทยมาณพเมื่อจะทูลถามทางแห่งนิพพานนั้น จึงกล่าวคาถาว่า กถํ สตสฺส เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ดังนี้เป็นต้น.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 329

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิญฺาณํ คือ วิญญาณอันเป็นอภิสังขาร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบอกทางแก่อุทยมาณพนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ในภายใน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอวํ สตสฺส คือ มีสติรู้อยู่อย่างนี้.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวมาแล้วในครั้งก่อนๆ นั้นแล.

จบอรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓