อาสวักขยญาณนิทเทส
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40940

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1036

อาสวักขยญาณนิทเทส

๕๕. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1036

อาสวักขยญาณนิทเทส

[๒๕๘] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณอย่างไร?

อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร?

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1037

[๒๕๙] ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นกุศลทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

[๒๖๐] ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทริย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร... ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติผลทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะโสดาปัตติผล


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1038

อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร... ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.

[๒๖๑] ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะอนาคามิผล ฯลฯ

ในขณะอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตมรรค นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดนั่นแลเป็นกุศลล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร... ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.

[๒๖๒] ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในการสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤตนอกจากรูปที่มีจิตเป็น


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1039

สมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดเหล่านี้ รวมเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๒๖๓] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน? อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบๆ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้น ไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมในรูปเพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัตตมรรคนี้.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1040

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ.

๕๕. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส

๒๕๘ - ๒๖๓] พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทมีอาทิว่า อนญฺาตญฺสฺสามีตินฺทฺริยํ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

บทว่า กติ านานิ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะเท่าไร เป็นคำถามเพื่อกำหนดฐานะที่เกิดของอินทรีย์หนึ่งๆ.

บทว่า เอกํ านํ คจิฉติ - ย่อมถึงฐานะ ๑ ท่านอธิบายว่า ย่อมเกิดในฐานะ ๑. ฐานะโอกาสที่เกิด ท่านกล่าวว่า ฐานะ เพราะมีที่ตั้ง

บทว่า ฉ านานิ - ฐานะ ๖ คือ ในขณะมรรคและผล ๖. ในอินทรีย์ ๓ มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้นแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพื่อแสดงว่า อินทรีย์หนึ่งๆ เป็นอินทรีย์ยิ่ง. ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร. ท่านกล่าวอธิโมกข์เป็นต้น ด้วยสามารถกิจแห่ง


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1041

สัทธินทรีย์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโ (๑) - มีอรรถว่าน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฉันใด. แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ท่านกล่าวว่า บทว่า อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - เป็นบริวารของการน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์เป็นบริวารด้วยกิจแห่งการน้อมใจเชื่อ. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้.

บทว่า ปริวารํ เป็นลิงควิปลาศ.

บทว่า ปญฺินฺทิริยํ - ปัญญินทรีย์ ท่านกล่าว อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั่นแหละทำไว้ต่างหากเพื่อแสดงสภาพรู้. แม้ในอภิธรรม ท่านก็จำแนกปัญญาหนึ่งไว้ ๘ ส่วน ในขณะมรรคและในขณะผล เพื่อแสดงความพิเศษของกิจด้วยปัญญา.

บทว่า อภิสนฺทนปริวารํ - มีความยินดีเป็นบริวาร คือ โสมนัสสินทรีย์เป็นบริวารแห่งจิตและเจตสิก ด้วยกิจคือความสิเนหาดุจน้ำเป็นบริวารแห่งจุณเครื่องฟอกตัวในเวลาอาบน้ำ. บทนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถมรรคอันสัมปยุตด้วยโสมนัส. พึงเห็นอุเบกขินทรีย์ในฐานะแห่งโสมนัสสินทรีย์ ในมรรคอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา.

อนึ่ง พึงถือเอาอุเบกขินทรีย์นั้นว่า มีความไม่เพิ่มขึ้นเป็นบริวารของสัมปยุตธรรมทั้งหลาย.


๑. ขุ. ป. ๓๑/๓๒.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1042

บทว่า ปวตฺตสนฺตตาธิปเตยฺยปริวารํ - ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร คือความสืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตี. อธิบายว่า สันดานที่กำลังเป็นไปอยู่. ความเป็นแห่งอธิบดี ชื่อว่า อธิปเตยยะ ความเป็นอธิบดีแห่งความสืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตาธิปเตยยะ.

ชีวิตินทรีย์เป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เบื้องบนของชีวิตนทรีย์ที่กำลังเป็นไปอยู่ และเพราะความเป็นอธิบดีของความสืบต่อที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

บทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺคกฺขเณ ชาตา ธมฺมา - ธรรมทั้งหลายเกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงคุณแห่งธรรมสัมปยุตด้วยมรรคทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกฺขเณ ชาตา - ธรรมทั้งหลายเกิดในขณะแห่งมรรค คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในมรรคอย่างนั้น. มิใช่ธรรมอื่น. เพราะรูปแม้ตั้งอยู่ในมรรค ก็ไม่ได้ชื่อว่ากุศลเป็นต้น. ฉะนั้น เมื่อนำรูปนั้นออกไป จึงกล่าวว่า เปตฺวา จิตฺตสมุฏฺานํ รูปํ - นอกจากรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน. เพราะว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นเป็นกุศล ด้วยอรรถว่ามีการทำลายสิ่งน่าเกลียดเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้น


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1043

ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นไปอยู่. ชื่อว่า อนาสวา - เพราะไม่มีอาสวะ.

ธรรมทั้งหลายตัดมูลแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า นิยฺยานิกา เพราะนำออกจากวัฏฏะ.

ธรรมที่กล่าวคือ กุศล อกุศล ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะทำนิพพาน กล่าวคือ ความไม่สะสม เพราะความปราศจากไปให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไป ย่อมถึงความไม่สะสม.

ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะไม่สะสม คือ กำจัดสิ่งที่เป็นไปอยู่บ้าง.

ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะข้ามออกไปจากโลก โดยความไม่เกี่ยวเนื่องในโลก.

ชื่อว่า นิพฺพานารมฺมณา เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์.

บทมีอาทิว่า อิมานิ อฏฺินฺทฺริยานิ มีอินทรีย์ ๘ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเป็นบริวารดังกล่าวแล้วในตอนก่อน ความเป็นธรรม มีอาทิ สหรคตด้วยอินทรีย์นั้น และอาการดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺินฺทฺริยานิ คือ อินทรีย์ ๘ พร้อมด้วยปัญญินทรีย์ มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.

บทว่า สหชาตปริวารา - มีสหชาตเป็นบริวาร คือ อินทรีย์ ๗ นอกนั้น พร้อมด้วยอินทรีย์หนึ่งๆ ในอินทรีย์ ๘ เป็นสหชาต จึงชื่อว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1044

มีสหชาตของอินทรีย์นั้นเป็นบริวาร. อนึ่ง ธรรมอื่นๆ เป็น อญฺมญฺปริวารา คือ มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร ด้วยประการฉะนี้. ธรรมทั้งหลาย มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวารของกันและกันก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สหคตา คือ ถึงภาวะมีเกิดร่วมกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า สหชาตา คือ เกิดพร้อมกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า สํสฏฺา คือ เกี่ยวข้องกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า สมฺปยุตฺตา คือ ประกอบด้วยประการมีเกิดร่วมกันเสมอกับด้วยอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า เตว ได้แก่ ธรรม คือ อินทรีย์ ๘ เหล่านั้นนั่นเอง.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์.

บทว่า อาการา คือ ส่วนที่เป็นบริวาร.

บทว่า ผลกฺขเณ ชาตา ธมฺมา สพฺเพว อพฺยากตา โหนฺติ - ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะผล ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต คือ ท่านกล่าวพร้อมกับรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะแม้รูปก็เป็นอัพยากฤต. ท่านไม่กล่าวว่า เป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี ในขณะ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1045

ผล เพราะมรรคเป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี.

บทมีอาทิว่า อิติ เป็นบทสรูป มีประการดังกล่าวแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏฺกานิ - อินทรีย์ ๘ หมวด คือ หมวด ๘ แห่งอินทรีย์ อย่างละ ๘ ด้วยสามารถหมวด ๘ หมวดหนึ่งๆ ในมรรคและผล ๘.

บทว่า จตุสฏฺี โหนฺติ คือ รวมเป็นอาการ ๖๔.

บทมีอาทิว่า อาสวา มีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงอาสวะอันทำลายด้วยอรหัตตมรรคเท่านั้น กล่าวถึงการทำลายด้วยมรรค ๓ หมวดที่เหลือ โดยเพียงเป็นคำกล่าวธรรมดาถึงความสิ้นอาสวะ. เพราะท่านกล่าวถึงอรหัตตมรรคญาณว่า ขเย าณํ - ญาณในความสิ้นไป เพราะสิ้นอาสวะไม่มีอาสวะไรๆ เหลือเลย. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันต์ขีณาสพ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส