๕. ทัพพเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระทัพพเถระ
โดย บ้านธัมมะ  18 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40403

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 79

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑

๕. ทัพพเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระทัพพเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 79

๕. ทัพพเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระทัพพเถระ

[๑๔๒] ได้ยินว่า ท่านพระทัพพเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่น ฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้น เป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝน ด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว.

อรรถกถาทัพพมัลลปุตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระทัพพเถระเริ่มต้นว่า โย ทุทฺทมโย. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล กรุงหงสาวดี ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาโดยดังกล่าวแล้วในบทหลังนั่นแล เห็นพระบรมศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ปูลาดเสนาสนะ จึงเสริมสร้างอธิการ ปรารถนาฐานันดรนั้น เป็นผู้อันพระบรมศาสดา ทรงพยากรณ์แล้ว บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายบวชในเวลาที่ศาสนาของพระทศพล พระนามว่ากัสสปะ เสื่อมโทรม


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 80

ในครั้งนั้น ยังมีคนอีก ๖ คน พร้อมทั้งท่านจึงรวมเป็น ภิกษุ ๗ รูป เป็นผู้มีความคิดอย่างเดียวกัน เห็นภิกษุเหล่าอื่นไม่กระทำความเคารพในพระศาสนา จึงคิดกันว่า ในที่นี้ พวกเราจักทำอะไรได้ พวกเราจักบำเพ็ญสมณธรรมในที่ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้แล้ว จึงผูกบันได ปีนขึ้นสู่ยอดเขาสูง พูดกันว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตนๆ จักผลักบันไดลง ผู้ที่ยังมีความอาลัยในชีวิตจงลงไปเสีย อย่าเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย ดังนี้แล้ว ทุกรูปร่วมใจกันผลักบันไดลง ต่างโอวาทกันและกันว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วนั่งในที่ๆ ตนชอบใจ เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม.

พระเถระบรรลุพระอรหัตตผล ในวันที่ ๕ ในที่นั้นแหละ คิดว่า กิจของเราสำเร็จแล้ว เราจักกระทำอะไรในที่นี้ ดังนี้แล้ว นำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปด้วยฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านจงฉันบิณฑบาตนี้ กิจด้วยภิกษาจารจงเป็นหน้าที่ของเรา พวกท่านจงทำหน้าที่ของตนๆ เถิด. ภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส พวกเราผลักบนไดลง ได้พูดตกลงกันอย่างนี้ว่า ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้นจงนำอาหารมา ภิกษุที่เหลือจะบริโภคอาหารที่นำมาแล้วบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้หรืออย่างไร? พระเถระตอบว่า ไม่มีข้อตกลงดังนั้นหรอกอาวุโส. ภิกษุทั้งหลายจึงพูดว่า ท่านได้ (บรรลุธรรม) ด้วยบุพเหตุของตน แม้พวกเราทั้งหลายก็จักสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ท่านจงไปเถิด ดังนี้. พระเถระเมื่อไม่อาจจะยังภิกษุเหล่านั้นให้ ยินยอมได้ จึงบริโภคบิณฑบาตในที่ๆ ผาสุกแล้วหลีกไป. พระเถระอีกรูปหนึ่ง บรรลุอนาคามิผล ในวันที่ ๗ จุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในพรหมโลกชั้น สุทธาวาส. พระเถระนอกนี้ จุติจากภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอดกาลพุทธันดรหนึ่ง แล้วต่างเกิดในตระกูลนั้นๆ ในกาล


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 81

เป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ คือ รูปหนึ่ง เกิดในราชตระกูล ในตักกศิลานคร แคว้นคันธาระ. รูปหนึ่ง เกิดในท้องของนางปริพาชิกาในมัชฌันติกรัฐ. รูปหนึ่ง เกิดในเรือนของกุฏุมพี แคว้นพาหิยะ. รูปหนึ่ง เกิดในสำนักของนางภิกษุณี.

ส่วนพระทัพพเถระนี้ ถือปฏิสนธิในเรือนของเจ้ามัลละ องค์หนึ่งในอนุปิยนคร แคว้นมัลละ. มารดาของท่าน ตลอดลูกตาย (ตายทั้งกลม) คนทั้งหลายจึงนำเอาร่างที่ตายไปป่าช้า ยกขึ้นสู่เชิงตะกอน ใส่ไฟแล้ว. เพราะกำลังความร้อนของไฟ ทำให้พื้นท้องของนางแยกออกเป็นสองส่วน. ทารกลอยขึ้นด้วยกำลังบุญของตนแล้วตกลงที่กองไม้. คนทั้งหลายจึงนำทารกนั้นมามอบให้ยาย. ผู้เป็นยาย เมื่อจะขนานนามของทารกนั้น ได้ตั้งชื่อว่า ทัพพะ เพราะตกไปที่เสาไม้มีแก่น จึงรอดชีวิต.

ก็ในวันที่ทารกนั้นมีอายุได้ ๗ ขวบ พระบรมศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ ประทับอยู่ในอนุปิยัมพวัน. ทัพพกุมารเห็นพระศาสดาแล้ว เลื่อมใสด้วยการเห็นเท่านั้น ประสงค์จะบวช บอกลายายว่า ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักของพระทศพล. ยายพูดว่า ดีแล้ว พ่อคุณ แล้วพาทัพพกุมาร ไปยังสำนักของพระบรมศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงยังกุมารนี้ให้บรรพชาเถิด. พระศาสดาทรงให้สัญญา แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงยังทารกนี้ให้บรรพชา พระเถระ นั้นฟังคำของพระศาสดาแล้ว เมื่อจะยังทัพพกุมารให้บรรพชา บอกตจปัญจกัมมัฏฐานแล้ว.

สัตว์ผู้สมบูรณ์ด้วยบุรพเหตุ มีอภินิหารอันกระทำแล้ว ดำรงอยู่แล้ว ในโสดาปัตติผล ในขณะปลงเกลียวผมครั้งแรก เมื่อเกลียวผมที่สองถูกยกขึ้น ก็ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล เมื่อเกลียวผมที่สามถูกยกขึ้น ก็ดำรงอยู่ในอนาคามิผล


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 82

ก็เวลาที่ปลงผมเสร็จ และการทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตตผล ได้มีในเวลาไม่ก่อน ไม่หลังกัน. พระบรมศาสดา เสด็จประทับสำราญพระอิริยาบถ ในแคว้นมัลละ แล้ว เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในเวฬุวันมหาวิหาร.

ท่านพระทัพพมัลลบุตรนี้ เร้นอยู่แล้วในที่ลับ ณ กรุงราชคฤห์นั้น ตรวจดูความสำเร็จกิจของตน ประสงค์จะอุทิศกายช่วยขวนขวายกิจของสงฆ์ จึงคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงปูลาดเสนาสนะ และจัดภัตตาหารเพื่อพระภิกษุสงฆ์ ท่านไปยังสำนักของพระศาสดาแล้ว กราบทูลถึงปริวิตกของตน. พระบรมศาสดา ทรงประทานสาธุการแล้ว ทรงมอบตำแหน่งปูลาดเสนาสนะ และตำแหน่ง ภัตตุทเทสก์ แก่ท่าน.

ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ทรงพระดำริว่า ทัพพสามเณรนี้ยังเล็กแท้ แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งใหญ่ ดังนี้แล้ว จึงโปรดให้ท่านอุปสมบท ในเวลาที่มี อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น. นับจำเดิมแต่อุปสมบทแล้ว พระเถระจัดแจงเสนาสนะ และแจกภิกษาแด่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ความที่ท่านเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะ ได้ปรากฏกระฉ่อนไปทั่วทุกทิศว่า ได้ยินว่า พระทัพพมัลลบุตร จัดแจงเสนาสนะแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน ไว้ในที่เดียวกัน จัดแจงเสนาสนะ ในที่ใกล้บ้าง ไกลบ้าง (บางครั้ง) เมื่อไม่สามารถจะไปได้ ก็ต้องนำไปด้วยฤทธิ์.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ขอให้ท่านทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ ทั้งในเวลา ทั้งนอกเวลา อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านจงจัดแจงเสนาสนะในชีวกัมพวันวิหารให้พวกเรา ท่านจงจัดเสนาสนะในมัทธกุจฉิมิคทายวันให้พวกเรา ต่างพากันเห็นฤทธิ์ของพระทัพพมัลลบุตรนั้นแล้วจึงไป. แม้ท่านพระทัพพมัลลบุตรก็เนรมิตกาย อันสำเร็จด้วยมโนมยิทธิ ให้ภิกษุที่เหมือนตนแต่ละรูป แก่พระเถระแต่ละองค์ เดินนำหน้าใช้นิ้วมือที่เรืองแสงชี้ว่า นี้เตียง นี้ตั่ง


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 83

จัดแจงเสนาสนะแล้วจึงกลับยังที่อยู่ของตน นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. แต่โดยพิสดาร เรื่องนี้ จะมีมาในพระบาลีเท่านั้น พระบรมศาสดา ทรงกระทำ เหตุนี้แหละ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในเวลาต่อมา เสด็จประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยสงฆ์ แต่งตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่ง ภิกษุผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พระทัพพมัลลบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้จัดแจงเสนาสนะ. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระพิชิตมาร พระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลกทั้งหมด เป็นมุนี มีพระจักษุ ได้เสด็จอุบัติ ขึ้นในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระองค์ตรัสสอน ทำให้สัตว์รู้ชัด ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น (สงสาร) พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทุกคนให้ดำรงอยู่ในเบญจศีล เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงหมดความอากูล ว่างจากพวกเดียรถีย์ และวิจิตรด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหามุนีพระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ครั้งนั้นเหล่าสัตว์มีอายุขัยแสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น ดำรงพระชนม์อยู่ โดยกาลประมาณเท่านั้น ทรงยังประชาชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้ ครั้งนั้น เราเป็นบุตร


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 84

เศรษฐีมียศใหญ่ ในพระนครหงสาวดี เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ส่องโลกให้สว่างไปทั่ว แล้วได้สดับพระธรรมเทศนา เราได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้ตรัสสรรเสริญสาวกของพระองค์ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะให้ภิกษุทั้งหลาย ก็ชอบใจ จึงทำอธิการแด่พระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น. ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราไว้ว่า เศรษฐีบุตรนี้ ได้นิมนต์พระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน เขามีดวงตาดุจกลีบบัว มีจะงอยบ่าเหมือนของราชสีห์ มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้าของเราปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคดม ผู้สมภพในวงศ์ของพระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตรนี้จักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปรากฏโดยชื่อว่า "ทัพพะ" เป็นภิกษุผู้เลิศฝ่ายเสนาสนปัญญาปกะเหมือนปรารถนา ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เสวยเทพสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 85

โดยคณนานับมิได้ เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงมีความสุขในที่ทุกสถาน.

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระผู้เป็นนายกทรงพระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวงได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เราเป็นผู้มีจิต ขัดเคือง ได้พูดตู่สาวกของพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ และเราจับสลากแล้ว ถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนมแก่พระเถระทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้เป็นสาวกของพระผู้แกล้วกล้ากว่านรชนพระองค์นั่นแหละ ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่าวิญญูชน ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ทรงยังศาสนธรรมให้รุ่งโรจน์ ข่มขี่เดียรถีย์ผู้หลอกลวงเสีย ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ แล้วเสด็จปรินิพพานพร้อมทั้งพระสาวก ครั้นเมื่อพระโลกนาถ พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว ครั้นเมื่อศาสนธรรม กำลังจะสูญสิ้นอันตรธาน ทวยเทพและมนุษย์พากันสลดใจ สยายผม มีหน้าเศร้าคร่ำครวญว่า ดวงตา คือ พระธรรมจักดับแล้ว เราจักไม่ได้เห็นท่านผู้มีวัตรดีงามทั้งหลาย เราจักไม่ได้ฟังพระสัทธรรม โอหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้ทั้งใหญ่ทั้งหนา ได้ไหวสั่นสะเทือน สาครสมุทรดุจ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 86

เหือดแห้ง แม่น้ำครวญครางน่าสงสาร อมนุษย์ตีกลอง ดังทั่ว ๔ ทิศ อสนีบาตอันน่ากลัวตกลงโดยรอบ อุกกาบาตตกจากท้องฟ้า ดาวหางปรากฏ เกลียวแห่งเปลวไฟ มีควันพวยพุ่ง หมู่มฤคร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร ครั้งนั้น เราทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูป ด้วยกัน ได้เห็นความอุบาทว์อันร้ายแรง แสดงเหตุว่าพระศาสนาจะสิ้นสูญ จึงเกิดความสังเวช คิดกันว่า เว้นพระศาสนาเสีย ไม่ควรที่เราจะมีชีวิตอยู่ เราทั้งหลายจึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่ บำเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์ ครั้งนั้น เราทั้งหลายได้พบภูเขาหินในป่าสูงลิ่ว เราไต่ภูเขาขึ้นทางพะอง แล้วผลักพะองให้ตกลงเสีย ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนเราว่า การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยาก อีกประการหนึ่ง ความเชื่อที่บุคคลได้แล้วหาได้ยาก และพระศาสนา ยังเหลืออีกเล็กน้อย ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเสีย จะต้องตกลงไปในสาคร คือ ความทุกข์อันไม่มีสิ้นสุด เพราะฉะนั้น พวกเราควรกระทำความเพียรตลอดเวลา ที่พระศาสนายังดำรงอยู่เถิด ดังนี้. ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์ พระอนุเถระได้เป็นพระอนาคามี พวกเราที่เหลือจากนี้ เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ประกอบ ความเพียร จึงได้ไปยังเทวโลก องค์ที่ข้ามส่งสารไปได้ปรินิพพานแล้ว อีกองค์หนึ่งเกิดในชั้นสุทธาวาส เราทั้งหลาย คือตัวเรา ๑ พระปุกกุสาติ ๑ พระสภิยะ ๑


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 87

พระพาหิยะ ๑ พระกุมารกัสสปะ ๑ เกิดในที่นั้นๆ อันพระโคดมบรมศาสดาทรงอนุเคราะห์ จึงหลุดพ้นไปจากเครื่องจองจำ คือ วัฏสงสารได้ เราเกิดในพวกมัลลกษัตริย์ ในพระนครกุสินารา เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์นั่นแล มารดาได้ถึงแก่กรรม เขาช่วยกันยกขึ้นสู่เชิงตะกอน เราตกลงมาจากเชิงตะกอนนั้นตกลงไปในกองไม้ ฉะนั้น จึงปรากฏนามว่าทัพพะ ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เรามีอายุได้ ๗ ขวบ ก็หลุดพ้นจากกิเลส ด้วยผลที่ถวายข้าวสุกผสมน้ำมัน เราจึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. ด้วยบาปเพราะกล่าวตู่พระขีณาสพ เราจึงลูกคนโจทมากมาย บัดนี้ เราล่วงบุญและบาปได้ทั้งสองอย่างแล้ว ได้บรรลุบรมสันติธรรม เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราแต่งตั้งเสนาสนะให้ท่านผู้มีวัตรอันดีงามทั้งหลายยินดี พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น จึงได้ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้ว วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว คุณพิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 88

บาปกรรมที่ท่านการทำไว้ ด้วยสามารถแห่งการกำจัดพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพรูปหนึ่งในกาลก่อน ซึ่งเป็นเหตุให้หมกไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี อันมีมาแล้วเหมือนภิกษุชื่อว่า เมตติยะ และภุมมชกะ ที่ถูกเตือนด้วย กมฺมปิโลติกาย นั้นแหละ เข้าใจผิดว่า พวกเราถูกพระเถระนี้ ทำให้แตกกับคฤหบดี ชื่อว่า กัลยาณภัตติยะ จึงกำจัดเสียด้วยปาราชิกธรรมอันหามูลมิได้. และเมื่อ อธิกรณ์นั้น อันสงฆ์ระงับแล้วด้วยสติวินัย พระเถระนี้ เมื่อจะประกาศคุณ ของตน เพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้นเป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.

ศัพท์ว่า โย ในคาถานั้น แสดงถึงบุคคลผู้ไม่ได้กำหนดแน่นอน. ด้วยบทว่า โส นี้ พึงทราบว่า ท่านกำหนดความแน่นอนของบุคคลนั้นไว้ แล้ว. แม้ด้วยบททั้งสอง พระเถระ กล่าวหมายถึงตนเอง โดยทำให้เป็นดุจคนอื่น. บทว่า ทุทฺทมโย ความว่าฝึกได้โดยยาก คือ ไม่อาจเพื่อจะฝึกได้. และพระเถระกล่าวบทนี้ไว้ เพราะคิดถึงความดิ้นรนแห่งจิตที่เคลื่อนไปด้วยความเมาของเหล่ากิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ทิฏฐิ และความไม่สงบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย. บทว่า ทเมน ได้แก่ ฝึกฝนด้วยมรรคอันเลิศ สูงสุด อธิบายว่า ผู้ที่ฝึกแล้วด้วยการฝึกด้วยมรรคอันเลิศนั้น สมควรกล่าวได้ว่า มีตนอันฝึกแล้ว


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 89

ด้วยการฝึกด้วยมรรคอันเลิศนั้น สมควรกล่าวได้ว่า มีตนอันฝึกแล้ว เพราะไม่มีสิ่งที่จะต้องฝึกอีก ไม่ใช่ฝึกด้วยอย่างอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทเมน ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ฝึกแล้ว. บทว่า ทพฺโพ เท่ากับ ทฺรพฺโย ความว่า สมควร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายถึงพระเถระนี้แหละ จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนทัพพะ ผู้ที่สมควรจะไม่กล่าวแก้อย่างนี้ เลย. บทว่า สนฺตุสฺสิโต ความว่า สันโดษ แล้ว ด้วยสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้ ด้วยสันโดษในฌานสมาบัติ และด้วยสันโดษในมรรคผล. บทว่า วิติณฺณกงฺโข ความว่า ชื่อว่า มีความสงสัยปราศไปแล้ว ด้วยความสงสัยในวัตถุ ๑๖ และในวัตถุ ๘ เพราะเพิกถอนความสงสัยได้แล้วด้วยปฐมมรรคนั่นแหละ. บทว่า วิชิตาวี ความว่า ชื่อว่า ชนะแล้ว เพราะชนะแล้ว คือกำจัดได้แล้ว ซึ่งธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลส แม้ทั้งหมด อันบุรุษชาติอาชาไนย พึงชนะ

บทว่า อเปตเภรโว ความว่า ชื่อว่า ปราศจากความขลาด คือ ชื่อว่า ปราศจากภัย เพราะภัย ๒๕ อย่าง ปราศไปแล้ว โดยประการทั้งปวง. บทว่า ทพฺโพ เป็นคำระบุถึงชื่อ ซ้ำอีก. ในบทว่า ปรินิพฺพุโต นี้ ปรินิพพาน มี ๒ คือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ขันธปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในคาถานี้ท่านหมายเอากิเลสปรินิพพาน เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า ชื่อว่า ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปรินิพพาน เพราะปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ.) อันมรรคละได้แล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า ิตตฺโต ความว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่สั่นสะเทือนด้วยโลกธรรมทั้งหลาย เพราะถึงความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น. ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งเหตุ. ด้วย หิ นิบาตนั้น ส่องความว่า เพราะเหตุที่เมื่อก่อน


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 90

พระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้อันบุคคลอื่นสอนได้ยาก แต่ท่านอันพระศาสดาทรง ฝึกด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันสูงสุด เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด ฉะนั้น พระทัพพมัลลบุตรนั้น จึงดับกิเลสได้แล้ว และต่อแต่นั้น ก็เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ทำจิตให้เลื่อมใสในปรินิพพานนั้น ที่มีแล้วอย่างนี้ ไม่ใช่ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างอื่น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อจะอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ เพราะการแนะนำของผู้อื่น จึงพยากรณ์อรหัตตผล.

จบอรรถกถาทัพพมัลลปุตตเถรคาถา