ตติยปาราชิกกัณฑ์
โดย บ้านธัมมะ  9 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42733

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๒

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

ตติยปาราชิกกัณฑ์

นิทานปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป 176/254

รับสั่งให้เผดียงสงฆ์ 177/255

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา 178/257

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท 179/259

พระปฐมบัญญัติ 260

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 180/260

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ 262

อนุบัญญัติ 264

สิกขาบทวิภังค์ 181/264

บทภาชนีย์มาติกา 187/267

มาติกาวิภังค์สาหัตถิกประโยคทําเอง 188/268

อาณัตติกประโยค สั่งทูต 189/268

สั่งทูตต่อ 190/269

ทูตไม่สามารถ 191/269

ทูตไปแล้วกลับมา 192/270

ที่ไม่ลับสําคัญว่าที่ลับ 193/270

ที่ลับสําคัญว่าที่ไม่ลับ 270

ที่ไม่ลับ สําคัญว่าที่ไม่ลับ 271

ที่ลับ สําคัญว่าที่ลับ 271

พรรณนาด้วยกาย 194/271

พรรณนาด้วยวาจา 271

พรรณนาด้วยกายและวาจา 271

พรรณนาด้วยทูต 195/272

พรรณนาด้วยหนังสือ 272

หลุมพราง 196/272

วัตถุที่พิง 197/273

การลอบวาง 198/273

เภสัช 199/274

การนํารูปเข้าไป 200/274

การนําเสียงเข้าไป 274

การนํากลิ่นเข้าไป 275

การนํารสเข้าไป 275

การนําโผฏฐัพพะเข้าไป 276

การนําธรรมารมณ์เข้าไป 276

กิริยาที่บอก 201/276

การแนะนํา 277

การนัดหมาย 202/277

การทํานิมิต 277

อนาปัตติวาร 203/278

วินีตวัตถุอุทานคาถา 204/278

วินีตวัตถุเรื่องพรรณนา 205/279

เรื่องนั่ง 206/279

เรื่องสาก 207/280

เรื่องครก 280

เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง 208/281

เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง 209/282

เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง 210/283

เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง 211/284

เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง 285

เรื่องมีด ๓ เรื่อง 286

เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง 287

เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง 288

เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง 212/289

เรื่องตก ๒ เรื่อง 213/290

เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง 214/291

เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง 292

เรื่องนวด ๓ เรื่อง 293

เรื่องให้อาบน้ํา ๓ เรื่อง 294

เรื่องทาน้ํามัน ๓ เรื่อง 295

เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง 296

เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง 298

เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง 299

เรื่องให้ตายด้วยน้ําฉัน ๓ เรื่อง 300

เรื่องหญิงมีครรภ์กับชู้ 215/301

เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง 301

เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย 302

เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย 302

เรื่องให้รีด 303

เรื่องให้ร้อน 303

เรื่องหญิงหมัน 303

เรื่องหญิงมีปกติคลอด 304

เรื่องจี้ 216/304

เรื่องทับ 217/304

เรื่องฆ่ายักษ์ 218/305

เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุฯ 219/305

เรื่องสําคัญแน่ ๔ เรื่อง 220/307

เรื่องประหาร ๓ เรื่อง 221/309

เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง 222/309

เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง 310

เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี๓ เรื่อง 223/311

เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง 224/312

เรื่องอย่าให้ลําบาก 225/313

เรื่องไม่ทําตามคําของท่าน 314

เรื่องให้ดื่มเปรียง 226/314

เรื่องให้ดื่มยาดองโลณะโสจริกะ 315


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 2]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 254

ตติยปาราชิกกัณฑ์

นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป

[๑๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นพระองค์ทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ- กรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุ- ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะ หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นรับๆ สั่งแล้ว ไม่มีใครกล้าเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา ทรง พรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วพากัน ประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือ บุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า มีซากศพงู ซากศพ สุนัข หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ * กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ปลงชีวิต พวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ อันภิกษุ


* คนโกนผมไว้จุก นุ่งผ้ากาสาระผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ทำนองเป็นตาเถน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 255

ทั้งหลายจางด้วยบาตรจีวร จึงปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมากแล้ว ถือดาบเปื้อนเลือด เดินไปทางแม่น้ำวัคคุมุทา ขณะเมื่อมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กำลังล้างดาบที่ เปื้อนเลือดนั้น อยู่ ได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เราสร้างบาป ไว้มากจริงหนอ เพราะเราได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ขณะนั้นเทพดาคนหนึ่งผู้นับเนืองในหมู่มาร เดินมาบนน้ำมิได้แตก ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภท่านๆ ได้ดีแล้ว ท่านได้สร้างสมบุญไว้มาก เพราะท่านได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้นได้ ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ได้ทราบว่าเป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว เราได้ สร้างสมบุญไว้มาก เพราะเราได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้น ได้ ดังนี้ จึงถือดาบอั้นคม จากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่บริเวณ แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ใครยังข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุ เหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะ แล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นใน เวลานั้น ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง.

รับสั่งให้เผดียงสงฆ์

[๑๗๗] ครั้นล่วงกึ่งเดือนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ ประทับเร้นแล้ว รับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุไฉนหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนน้อยไป.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 256

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะ พระองค์ทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญ คุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า และภิกษุเหล่านั้นก็พากัน พูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภ- กรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณ แห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยาย จึงพากันประกอบความเพียรในการ เจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ เธอเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการ ตกแต่งกาย อาบน้ำ สระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์ มาคล้องอยู่ที่คอ จะพึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิต ตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตร จีวรนี้จะเป็นของท่าน พระพุทธเจ้าข้า ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ได้บาตรจีวร เป็นค่าจ้างแล้ว จึงปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสงฆ์นี้จะพึงดำรงอยู่ในพระอรหัตตผลด้วยปริยาย ใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยายอื่นนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียง ภิกษุที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งหมด ให้ประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา.

เป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธพจน์ แล้ว จึงเผดียงภิกษุสงฆ์ที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งสิ้น ให้ประชุมที่อุปัฏฐาน-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 257

ศาลาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์ ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบกาลอันควร ใน บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้งขึ้น ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่น นั้นๆ ให้อันตรธานสงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้า สู่กรรมฐาน ภิกษุนั้น ย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจ ออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อม สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก ระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 258

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง ซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิต สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำ เหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำหนียกว่า เราจักจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิต หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น วิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม สำหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก พิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏิ- นิสสัคคะหายใจออก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปไค้โดยฉับพลัน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 259

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

[๑๗๙] ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกัน และกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน ให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ พูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้เล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายแล้ว จึงทรงติโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ทรงสรรเสริญคุณแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความ เป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 260

การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย แล้วทรงแสดงธรรมีกถาที่สมควรแก่ เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด อาสวะจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระปฐมบัญญัติ

๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวง หาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๘๐] ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งเป็นไข้ ภริยาของเขาเป็น คนสวย น่าเอ็นดู น่าชม พวกพระฉัพพัคคีย์มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนั้นจึงดำริ ขึ้นว่า ถ้าอุบาสกสามียังมีชีวิตอยู่ พวกเราจักไม่ได้นาง ผิฉะนั้น พวกเราจัก


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 261

พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น ครั้นดำริฉะนั้นแล้ว จึงเข้าไปหา อุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเป็นผู้ทำความดีไว้แล้ว ทำกุศล ไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย ทำแค่ความดี ไม่ได้ทำบาป จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอ เพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.

ครั้งนั้น อุบาสกนั้นเห็นจริงว่า ท่านพูดจริง เพราะเราทำความดีไว้ แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย เราทำแต่ความดี เรามิได้ทำความชั่ว จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ เราตายเสียดีกว่า เป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราจักเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็น ทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น ดังนี้แล้ว เขาจึงรับประทานโภชนะที่แสลง เคี้ยวขาทนียะที่แสลง ลิ้มสายนียะที่แสลง และดื่มปานะที่แสลง เมื่อเป็นเช่นนั้น ความป่วยหนักก็เกิดขึ้น เขาถึงแก่กรรมเพราะความป่วยไข้นั่นเอง ภริยาของ เขาจึงเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะเหล่านี้หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพระ สมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระ-


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 262

สมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจาก ความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์เสียแล้ว เพราะสมณะเหล่านี้ ได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่สามีของเรา สามีของเราถูกพระสมณะเหล่านี้ ทำให้ตายแล้ว.

แม้คนเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของสมณะเหล่านี้ หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระ สมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะ เหล่านี้ จะมีแค่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความ เป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์เสียแล้ว เพราะพระสมณะเหล่านี้ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกๆ ถูกพระสมณะเหล่านี้ทำให้ตายแล้ว ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จำพวก ที่มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ เป็นผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้พรรณนาคุณ แห่งความตายแก่อุบาสกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 263

เหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอพรรณนาคุณแห่งความตาย แก่อุบาสกจริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสก เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม ใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมัก มาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียรโดยอเนกปริยาย ทรงแสดงธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่ง ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 264

เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

อนุบัญญัติ

๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์ จากชีวิต หรือแสวง หาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้เก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่ง ความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยถ้อยคำว่า แนะนายผู้เป็น ชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความ หมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวน เพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส มีได้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ คือ ผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มี ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภีกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 265

อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วย ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่า ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่ กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ใน อรรถนี้.

บทว่า จงใจ ความว่า ภิกษุใดรู้อยู่ รู้ดีอยู่ พรากกายมนุษย์จาก ชีวิต การกระทำของภิกษุนั้น เป็นความตั้งใจ พยายาม ละเมิด.

ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่จิตแรกเกิดขึ้น คือ ปฐมวิญญาณปรากฏ ขึ้นในท้องแห่งมารดา ตราบเท่าถึงกาลเป็นที่ตาย อัตภาพในระหว่างนี้ ชื่อว่า กายมนุษย์.

บทว่า พรากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นรอน ซึ่งอินทรีย์ คือชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ.

บทว่า หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์ นั้น ได้แก่ ดาบ หอก ฉมวก หลาว ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก.

[๑๘๒] บทว่า หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย ได้แก่แสดง โทษในความเป็นอยู่ พรรณนาคุณในความตาย.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 266

[๑๘๓] บทว่า หรือชักชวนเพื่ออันตาย คือชักชวนว่า จงนำมีด มา จงกินยาพิษ หรือจงแขวนคอตายด้วยเชือก.

[๑๘๔] บทว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย นี้เป็นคำสำหรับเรียก คือคำ ทักทาย.

คำว่า จะประโยชน์ อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบาก ยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ นั้น อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อ ว่ายากแค้น คือเทียบชีวิตของตนมั่งคั่ง ชีวิตของตนเข็ญใจ ก็ชื่อว่ายากแค้น เทียบชีวิตของตนมีทรัพย์ ชีวิตของตนไร้ทรัพย์ ก็ชื่อว่ายากแค้น เทียบชีวิต ของเหล่าเทพเจ้า ชีวิตของพวกมนุษย์ ก็ชื่อว่ายากแค้น ชีวิตของตนมีมือขาด มีเท้าขาด มีทั้งมือทั้งเท้าขาด มีหูขาด มีจมูกขาด มีทั้งหูทั้งจมูกขาด ชื่อว่า ชีวิตอันแสนลำบาก จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันแสนลำบากและยากแค้น เช่นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้.

บทว่า มีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ ความว่า ธรรมชาติอันใดเป็นจิต ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่าใจ ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่าจิต.

บทว่า มีความมุ่งหมายหลายอย่าง อย่างนี้ คือมีความหมายใน อันตาย มีความจงใจในอันตาย มีความประสงค์ในอันคาย.

บทว่า โดยหลายนัย คือ โดยอาการมากมาย.

บทว่า พรรณนาคุณในความตายก็ดี ได้แก่ แสดงโทษในความ เป็นอยู่ พรรณนาคุณในความตายว่า ท่านตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อม อิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 267

[๑๘๕] บทว่า ชักชวนเพื่ออันตรายก็ดี คือชักชวนว่า จงนำมีดมา จงกินยาพิษ จงแขวนคอตายด้วยเชือก หรือจงโจนลงในบ่อ ในเหว หรือ ในที่ชัน.

[๑๘๖] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเดียะภิกษุ ๒ รูปแรก.

คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็น ของกลับต่อให้ติดสนิทอีกไม่ได้แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงใจ พรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราซิก.

บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาสนั้น ได้แก่กรรมที่ พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

บทภาชนีย์

มาติกา

[๑๘๗] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนาด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง วัตถุที่พิง


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 268

การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้าไป การนำเสียงเข้าไป การนำกลิ่นเข้าไป การนำรสเข้าไป การนำโผฏฐัพพะเข้าไป การนำธรรมารมณ์เข้าไป กิริยาที่บอก การแนะนำ การนัดหมาย การทำนิมิต.

มาติกาวิภังค์

สาหัตถิกประโยค ทำเอง

[๑๘๘] คำว่า ทำเอง คือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหาร ที่ เนื่องด้วยกาย หรือด้วยเครื่องที่ประหารซัดไป

ยืนอยู่ใกล้

คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือยืนสั่งอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า จงยิงอย่างนี้ จงประหาร อย่างนี้ จงฆ่าอย่างนี้.

อาณัตติกประโยค สั่งทูต

[๑๘๙] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงชีวิตบุคคลนั้น ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.

ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ แต่ปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้อง อาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 269

ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลอื่น แต่ปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้น ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.

ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลอื่น และปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.

สั่งทูตต่อ

[๑๙๐] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไป บอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง บอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ภิกษุ ผู้สั่งเติม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาราชิกทุกรูป.

ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้ จงไปบอกแก่ ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ผู้รับคำสั่ง สั่งภิกษุรูปอื่นต่อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งเติม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ ผู้รับคำสั่งและภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.

ทูตไม่สามารถ

[๑๙๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่สามารถปลงชีวิตเขาได้ ภิกษุผู้สั่งสั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงปลงชีวิตเขาเสียเมื่อนั้น ดังนี้


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 270

ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.

ทูตไปแล้วกลับมา

[๑๙๒] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ แต่พูดไม่ให้ได้ยินว่า อย่าฆ่า ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.

ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้น ภิกษุนั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้ รับคำสั่งกลับพูดว่า ท่านสั่งผมแล้ว จึงปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้นเสีย ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้น ส่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้รับคำสั่ง รับคำว่าดีแล้ว งดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.

ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ

[๑๙๓] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ที่ลับ สำคัญว่าไม่ลับ

ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 271

ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ

ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคล ชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ

ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พรรณนาด้วยกาย

[๑๙๔] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ภิกษุทำกายวิการว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา ให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้อง อาบัติปาราชิก.

พรรณนาด้วยวาจา

ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า ผู้ใด ตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนาต้องอาบัติถุลลัยจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก.

พรรณนาด้วยกายและวาจา

ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา อธิบายว่า ภิกษุทำวิการ ด้วยกายก็ดี กล่าวด้วยวาจาก็ดีว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 272

หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก.

พรรณนาด้วยทูต

[๑๙๕] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ภิกษุสั่งทูตไปว่า ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้น จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ใดผู้หนึ่งได้ทราบคำบอกของทูตแล้วคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา ให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้อง อาบัติปาราชิก.

พรรณนาด้วยหนังสือ

ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่า ผู้ใด ตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือแล้วคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา ให้เกิด ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติ ปาราชิก.

หลุมพราง

[๑๙๖] ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ภิกษุขุดหลุมพรางเจาะจงมนุษย์ ไว้ว่า เขาจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตกลงไปแล้วได้รับ ทุกขเวทนา ภิกษุผู้ขุด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุขุดหลุมพรางไว้มิได้เจาะจงว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 273

มนุษย์ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาตกลงไปแล้ว ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานแปลงเพศเป็นมนุษย์ก็ดี ตกลงไปในหลุมพราง นั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับความทุกขเวทนา ภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปใน หลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.

วัตถุที่พิง

[๑๙๗] ที่ชื่อว่า วัตถุที่พิง ได้แก่ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่สำหรับพิง ก็ดี ทายาพิษไว้ก็ดี ทำให้ชำรุดก็ดี วางไว้ริมบ่อ เหวหรือที่ชัน ด้วยหมาย ใจว่า บุคคลจักตกตายด้วยวิธีนี้ ดังนี้ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้รับทุกขเวทนา เพราะต้องศัสตราถูกยาพิษ หรือตกลงไป ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การลอบวาง

[๑๙๘] ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคล จักตายด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาคิดว่า เราจักตายด้วยของสิ่ง นั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้อง อาบัติปาราชิก.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 274

เภสัช

[๑๙๙] ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผ้า หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนำรูปเข้าไป

[๒๐๐] ที่ชื่อว่า การนำรูปเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่ ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจ ตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนำเสียงเข้าไป

ที่ชื่อว่า การนำเสียงเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำเสียงซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยทั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 275

เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา ตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนำกลิ่นเข้าไป

ที่ชื่อว่า การนำกลิ่นเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูลเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว จักตาย เพราะ เกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว ได้รับ ทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จะ ซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูดกลิ่นนั้นแล้วซูบ ผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนำรสเข้าไป

ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูลเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มรสนั้นแล้วได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติ ปาราชิก.

ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะ ซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาลิ้มรสนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 276

การนำโผฏฐัพพะเข้าไป

ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำโผฏฐัพพะ ซึ่ง ไม่เป็นที่พอใจ มีสัมผัสไม่สบายและกระด้างเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้อง สิ่งนี้เข้าแล้ว จักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้า ได้ รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ มีสัมผัสสบาย และอ่อนนุ่มเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกสิ่งนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เขาถูกต้องสิ่งนั้น เข้าแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนำธรรมารมณ์เข้าไป

ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไป ได้แก่ภิกษุแสวงเรื่องนรกแก่ คนผู้ควรเกิดในนรกด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนรกนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา ตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่อง สวรรค์นี้แล้ว จักน้อมใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องสวรรค์นั้น แล้วคิดว่า เราจักน้อมใจตาย แล้วยังทุก เวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

กิริยาที่บอก

[๒๐๑] ที่ชื่อว่า กิริยาที่บอก ได้แก่ ภิกษุถูกเขาถาม แล้วบอกว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใดตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 277

ต้องอาติทุกกฏ เพราะการบอกนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา ให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การแนะนำ

ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ ภิกษุอันเขาไม่ได้ถาม แต่แนะนำว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการแนะนำนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา ให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.

การนัดหมาย

[๒๐๒] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ ภิกษุทำการนัดหมายว่า จง ปลงชีวิตเขาเสียตามกำหนดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการนัดหมายนั้น ภิกษุผู้รับคำสั่ง ปลงชีวิตเขาสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาได้ก่อนหรือหลัง คำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.

การทำนิมิต

ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ ภิกษุทำนิมิตว่า ผมจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะ ท่านจงปลงชีวิตเขาตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งปลงชีวิตเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้สั่งเติม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 278

อนาปัตติวาร

[๒๐๓] ภิกษุไม่จงใจ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตพุ่งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ ดังนี้แล.

ปฐมภาณวาร

ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ

วินีตวัตถุ

อุทานคาถา

[๒๐๔] เรื่องพรรถเนา ๑ เรื่อง เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง เรื่องสาก ๑ เรื่อง เรื่องครก ๑ เรื่อง เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง เรื่องมีด ๓ เรื่อง เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง เรื่องตก ๒ เรื่อง เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง เรื่องนัดถุ์ยา ๓ เรื่อง เรื่องนวด ๓ เรื่อง เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง เรื่องมีครรภ์กับชู้ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย ๑ เรื่อง


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 279

เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย ๑ เรื่อง เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง เรื่องให้ร้อน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงมีปกติตลอด ๑ เรื่อง เรื่องจี้ ๑ เรื่อง เรื่องทับ ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง เรื่องประหาร ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง เรื่องอย่าให้ลำบาก ๑ เรื่อง เรื่องไม่ทำตามคำของท่าน ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง

เรื่องให้ดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ ๑ เรื่อง.

วินีตวัตถุ

เรื่องพรรณนา

[๒๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องนั่ง

[๒๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กชายที่เขาเอาผ้าเก่าคลุมไว้บนตั่งให้ตายแล้ว มีความรังเกียจว่า เรา


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 280

ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอไม่พิจารณาก่อนแล้วอย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

เรื่องสาก

[๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหาร ในละแวกบ้าน ได้หยิบสากอันหนึ่งในสากที่เขาพิงรวมกันไว้ สากอันที่สองได้ ล้มฟาดลงที่ศีรษะเด็กชายคนหนึ่ง เด็กชายนั้นตายแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องครก

ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวก บ้าน ได้เหยียบขอนไม้ที่เขานำมาเพื่อทำครก เซไปทับเด็กคนหนึ่งตาย แล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 281

เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง

[๒๐๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขาบอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ แล้วดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรนั้นมีดวามรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง แต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 282

รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง

[๒๐๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อ ติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับ โลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ่าข้า.

ภ. ภิกษุไม่มีความปะสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อ หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 283

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อคิดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อ หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง

[๒๑๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตเจือยาพิษมาแล้วนำไปสู่โรงฉัน ได้ถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบเกล้า พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะทดลอง ได้ให้ยาพิษ แก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ภิกษุนั้นถึงมรภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทดลอง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 284

เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง

[๒๑๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกัน สร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบน รับไว้ไม่มั่น ได้ตกทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างาถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหาร ที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบน มีความ ประสงค์จะให้ทาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่ อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์ จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 285

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย

เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง วิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้หล่นทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง วิหาร ภิกษุรปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไปภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึง มรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ คิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ทาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง วิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึง


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 286

มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถา ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ดูก่อนภิกษุ เธอไม้ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องมีด ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตก ลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยไม้มีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 287

จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึง มรณภาพ เธอความรังเกียจว่า เราไม่ต้องปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้ ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์ จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้าง ล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 288

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์ จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ ข้างล่างนั้นไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุ นั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธะจาข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 289

ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้น ยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึง มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลง แต่ไม่ถึง มรณภาพ ภิกษุผู้กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง

[๒๑๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงวิหารเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโสท่านจงลงทางนี้ ภิกษุนั้น ก็ลง ทางนั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพแล้ว รูปที่กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 290

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงวิหารเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีก รูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน จงลงทางนี้ ภิกษุนั้นก็ลงทางนั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพแล้ว รูปที่กล่าวมี ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร. ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีก รูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน จงลงทางนี้ ภิกษุนั้นก็ลงทางนั้น ได้พลัดตกลงแล้วแต่ไม่ถึงมรณภาพ รูปที่ กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องตก ๒ เรื่อง

[๒๑๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกความกระสันบีบคั้น จึง ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏแล้วโจนลงที่เขาขาด ทับช่างสานคนหนึ่งตาย เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 291

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุไม่ควรยังตนให้ตก รูปใดให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ แล้วพากันกลิ้ง ศิลาเล่น ศิลานั้นตกทับคนเลี้ยงโคคนหนึ่งตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวก เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุไม่ ควรกลิ้งศิลาเล่น รูปใดกลิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง

[๒๑๔] ๑. ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึง ให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 292

รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องนัดถุ์ยา ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายได้นัดถุ์ยา ให้แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงได้นัดถุ์ยาให้แก่ภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 293

รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงได้นัดถุ์ยาให้แก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวก เธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

เรื่องนวด ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงนวดฟั้น ภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 294

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงนวดฟั้นภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจ ว่าพวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงนวดฟั้นภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุนั้น อาบน้ำ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถาม ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 295

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นอาบน้ำ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นอาบน้ำ แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งลาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงเอาน้ำมัน ทาภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 296

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงเอาน้ำมันทาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมี ความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงเอาน้ำมันทาภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวก เธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุนั้น ลุกขึ้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 297

ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 298

เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายยังภิกษุนั้น ให้ล้มลง ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นล้มลง ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นล้มลง แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 299

เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้ให้ข้าว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร. ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ข้าวแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ข้าวแก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด อย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 300

เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้ให้น้ำมัน แก่ภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกรานทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงได้ให้น้ำมันแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอ มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงได้ให้น้ำมันแก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 301

เรื่องหญิงมีครรภ์กับชู้

[๒๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีคนหนึ่ง สามีเลิกร้างไปนาน จึงมี ครรภ์กับชายชู้ นางได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ขอท่าน จงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้วได้ให้เภสัช ที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น ทารกได้ถึงแก่ความตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คนๆ หนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น ทารกได้ถึงแก่ความตาย แต่มารดา ไม่ตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คนๆ หนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ทกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาได้ถึงแก่ความตาย แต่ทารก


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 302

ไม่ตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย

ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คนๆ หนึ่งเป็นหมัน อีก คนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้กรอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาและบุตรได้ตายทั้ง ๒ คน เธอ มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย

ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คนๆ หนึ่งเป็นหมัน อีก คนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาและบุตรไม่ตายทั้ง ๒ คน เธอ มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 303

เรื่องไห้รีด

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุผู้กุลุปกะ ว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นบอกว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นท่านจงรีด นางจึงได้รีดให้ครรภ์ตกไป เธอมีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องให้ร้อน

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนั้นกะภิกษุผู้กุลุปกะ ว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นบอกว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นท่านจงทำให้ครรภ์ร้อน นางจึงทำให้ครรภ์ร้อน ให้ครรภ์ตกไป เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จีงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องหญิงหมัน

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงหมันคนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุผู้กุลุปกะว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ดิฉันตลอดบุตร ภิกษุนั้นรับ คำว่า ดีละ น้องหญิง แล้วได้ให้เภสัชแก่นางๆ ถึงแก่กรรม เธอมีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 304

เรื่องหญิงมีปกติคลอด

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีปกติตลอดบุตรถี่คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะ ภิกษุผู้กุลุปกะว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำไม่ให้ดิฉัน ตลอดบุตร ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้วได้ให้เภสัชแก่นางๆ ได้ถึงแก่กรรม เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องจี้

[๒๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ยังภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ใน จำพวกพระสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุนั้นเหนื่อย หายใจ ออกไม่ทัน ได้ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เรื่องทับ

[๒๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ ช่วยกันขึ้นทับ ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ในจำพวกพระฉัพพัคคีย์ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษให้ถึงมรณภาพ แล้ว พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 305

เรื่องฆ่ายักษ์

[๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ปลงชีวิตยักษ์แล้วมี ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องส่งไปสู่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดู ๙ เรื่อง

[๒๑๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีดวามรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก.

๓. ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ แต่พวกยักษ์ไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 306

รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดาร ที่มีสัตว์ร้ายๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีสัตว์ร้ายๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีสัตว์ร้าย แต่สัตว์ร้ายไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอ มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 307

๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดาร ที่มีโจรๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๘. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีโจรๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๙. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีโจร แต่โจรไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอติดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง

[๒๒๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุผู้มีเวรแก่ ตนแน่ จึงปลงชีวิตภิกษุนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 308

แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุผู้มีเวรแก่ตนแน่ แต่ ปลงชีวิตภิกษุอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ แต่ปลงชีวิต ภิกษุผู้มีเวรแก่ตน แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ จึงปลงชีวิต ภิกษุอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 309

เรื่องประหาร ๓ เรื่อง

[๒๒๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ให้ประหารภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ประหารภิกษุนั้นๆ ถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ประหารภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ เธอมี ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง

[๒๒๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์แก่ คนผู้ทำความดี คนนั้นดีใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 310

แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง พรรณนาเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดี คนนั้นดีใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค เจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง พรรณนาเรื่องสวรรค์แก่ผู้ทำความดี คนนั้นดีใจ แต่ไม่ตาย เธอจึงมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย

เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกแก่ผู้ควรเกิดใน นรก คนนั้นตกใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราไม่ต้อง ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 311

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง พรรณนาเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก คนนั้นตกใจตาย เธอมีความรังเกียจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง พรรณนาเรื่องนรกแก่ผู้ควรเกิดในนรก คนนั้นตกใจ แต่ไม่ตาย เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง

[๒๒๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้ ทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งจึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนคัดที่ ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่ นั้นถึงมรณภาพ เธอมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 312

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้ทำ นวกกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่นั้นถึง มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้ทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่ถึง มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีดวามประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง

[๒๒๔] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์เผาป่า คนทั้งหลาย ถูกไฟไหม้ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313

ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ เจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง อาบัติ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะให้ตายจึงเผาป่า คนทั้งหลายถูกไฟไหม้ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคดีย์มีความประสงค์จะให้ตายจึงเผา ป่า คนทั้งหลายถูกไฟลวก แต่ไม่ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

เรื่องอย่าให้ลำบาก

[๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกะ นายเพชฌฆาตว่า อาวุโส ท่านอย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงปลงชีวิต ด้วยการฟันทีเดียวตายเถิด เพชฌฆาตรับคำว่า ดีละ ขอรับ แล้วปลงชีวิต ด้วยการฟันทีเดียวตาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 314

กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

เรื่องไม้ทำตามคำของท่าน

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกะนายเพชฌฆาต ว่า อาวุโส ท่านอย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงปลงชีวิตด้วยการฟันทีเดียว ตายเถิด นายเพชฌฆาตนั้นพูดว่า ผมจักไม่ทำตามคำของท่าน แล้วปลงชีวิต นักโทษนั้น ภิกษุนั้นมีความรั้งเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องให้ดื่มเปรียง

[๒๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีมือและเท้าด้วน หมู่ญาติ เลี้ยงดูไว้ในเรือนญาติ ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดกะคนพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายอยาก ให้บุรุษผู้นี้ตายหรือไม่.

ญ. ขอรับ กระผมอยากให้ตาย.

ภิ. ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มเปรียง. คนพวกนั้นจึงได้ให้บุรุษนั้นดื่มเปรียง บุรุษนั้นได้ตายแล้ว ภิกษุนั้น มีความรังเกียจวา เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 315

เรื่องให้ดื่มดองโลณะโสจิรกะ

ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีมือและเท้าด้วน หมู่ญาติเลี้ยงดูไว้ ในเรือนญาติ ภิกษุณีรูปหนึ่งได้พูดกะคนพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายปรารถนา ให้บุรุษนี้ตายหรือไม่.

ญ. ปรารถนาเจ้าข้า

ภิ. ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มยาดองชื่อโลณะโสจิรกะ. คนพวกนั้นได้ให้บุรุษนั้นดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ บุรุษนั้นได้ตายแล้ว ภิกษุณีนั้นมีความรังเกียจ จึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่อง นั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ