Thai-Hindi 18 Aug 2023
- วันนี้มีอะไรจะถามบ้างไหม (ไม่มีคำถามอะไร)
- ถ้าอย่างนั้นขณะนี้มีจิตอะไร (เห็น) ก่อนเห็นเป็นจิตอะไร (อาวัชชนะ) ก่อนเห็นเป็นอาวัชชนจิตทางไหน (จักขุทวาร)
- ถ้าตาบอดจะมีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม (ถ้าตาบอดไม่มีจักขุทวาราวัชชนจิตแต่มีอาวัชชนจิตทางอื่น)
- เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (มี ๕) บอกว่ามี ๑ แต่รู้ได้ ๕ ทวารได้ไหม (ใช่) นี่แสดงถึงความเข้าใจว่า “ชื่อ” เรียกอะไรก็ได้แต่จิตนี้เกิดขึ้นต้องทำกิจนี้ก่อนเห็น ก่อนได้ยินก่อนได้กลิ่น ก่อนลิ้มรส ก่อนรู้สิ่งกระทบสัมผัส
- จักขุวิญญาณจิตดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ) สัมปฏิจฉันนจิตไม่เกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เหตุผลหลายอย่าง เช่น อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย และกรรมยังให้ผลเป็นวิบากต่อและยังมีปัจจัยอื่น) เก่งมาก ถูกต้อง
- เพราะฉะนั้น ขณะนี้สัมปฏิจฉันนะปรากฏหรือเปล่า (ไม่ปรากฏ) เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เห็นปรากฏเป็น “นิมิตของเห็น” แต่ไม่ใช่นิมิตของปัญจทวาราวัชชนะกับสัมปฏิจฉันนะใช่ไหม (ใช่)
- สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (มี ๑) สัมปฏิจฉันนะมี ๑ หรือ (ถ้าถามถึงหลังจักขุวิญญาณดับแล้วมีสัมปฏิจฉันนะ ๑ แต่ถ้าถามว่ามีทั้งหมด ๒ เป็นผลของกุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้น…ท่านอาจารย์ถามว่าหลังจักขุวิญญาณดับไปแล้วมีสัมปฏิจฉันนะกี่ดวง)
- ไม่ใช่ค่ะ สัมปฏิจฉันนะต้องเกิดต่อ ดิฉันถามว่า สัมปฏิจฉันนะไม่เกิดได้ไหม เขาตอบว่าไม่เกิดไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยหลายอย่าง และถามว่า สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (ถ้านัยของจักขุวิญญาณเป็นผลของกุศลหรืออกุศลสัมปฏิจฉันนะก็มี ๒) ทำไมเป็นนัย (จากคำถาม) จากคำถามอย่างไรก็ตามถ้าถามว่าสัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวงจะต้องตอบว่าอย่างไร ไม่ใช่นัยนี้หรือนัยนั้นแต่ถามว่า “สัมปฏิจฉันนะ” มีกี่ดวง (ยังตอบแบบเดิมว่ามี ๑ แต่ถ้าเป็นกุศลหรืออกุศลก็ต้องมี ๒) อกุศลสัมปฏิจฉันนะจะเป็นกุศลสัมปฏิจฉันนะได้ไหม ถามว่า สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (ยังตอบว่า ๑)
- สัมปฏิจฉันนกุศลวิบากจะเป็นสัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (๒) ต้องไม่ลืมไม่ว่าจะถามอย่างไรต้องฟังคำถาม ตอบให้ตรงคำถาม
- ปัญจทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (มี ๑) ทำไมไม่มี ๒ (เพราะว่าเป็นกิริยาจิต) หมายความว่าอย่างไรกิริยาจิต (เพราะว่าเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เป็นกุศลวิบากไม่ได้ เป็นอกุศลวิบากไม่ได้) เพราะอะไร (ไม่ทราบ) เพราะเพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทวาร “เพียงรู้ว่า” ไม่ใช่ไม่รู้ เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทวารไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีเป็นผลของกุศลกรรมหรืออารมณ์ที่ไม่ดีที่เป็นผลของอกุศลกรรมที่เป็นวิบากที่จะต้องเกิดขึ้น แต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ทั้งที่ดีและไม่ดี
- ใครไม่มีจิตนี้ (ถ้ามีชีวิตก็ต้องมีจิตนี้ ไม่มีใครที่ไม่มีจิตนี้) เพราะฉะนั้น ต่อไปก็ต้องทราบว่าในโลกที่มีรูปธรรมต้องมีจิตนี้ แต่ในโลกที่ไม่มีรูปเลย อรูปพรหม ไม่มีจิตนี้แน่นอน
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นหลายโลกและแต่ละ ๑ ก็เป็นโลก เพราะฉะนั้น เราเรียนเพื่อให้รู้ในคุณที่ไม่สิ้นสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เราทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะมั่นคง
- ขอพูดเรื่องความต่างของจิตที่เป็นอเหตุกะนิดหน่อยไม่มากแต่ให้รู้ถึงความละเอียดลึกซึ้งของธรรม จิตอะไรมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด (ปัญจวิญญาณ) เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเท่าไหร่ ไม่ใช่ถามจำนวนแต่ถามเพื่อเทียบกับจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ (ตามที่เข้าใจน่าจะเท่ากัน)
- ถ้าอย่างนั้นทำไมพูดว่า จิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดถ้ามีเจตสิกเท่ากัน (ตอนนั้นไม่ได้คิดถึงปัญจทวาราวัชชนจิตแต่พอถามแล้วคิดว่า น่าจะเท่ากัน) ถ้า “น่าจะ” แล้วจะมีคำว่า จิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดได้อย่างไร “จิต ๑๐ ดวง” หมายความว่าอะไร (ไม่เคยได้ยินเรื่องจิต ๑๐ ดวง) แต่เราเคยพูดแต่ไม่ได้บอกชื่อเจตสิกใช่ไหม
- เขาอาจจะไม่ทันฟังหรือดิฉันอาจจะพูดไม่บ่อยก็ได้ แต่ ณ บัดนี้ให้ทราบว่า จิตทั้งหมดมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่า ๑ ดวงแน่นอนแต่ว่าจำนวนน้อยที่สุดที่จิตจะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ๗ ดวง เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ทุกคำที่ได้ฟัง เข้าใจขึ้นได้ที่จะค่อยๆ รู้ความต่างกัน แสดงให้เห็นว่า แต่ละ ๑ จะเป็นเราหรือเป็นอะไรไม่ได้เลย
- เราฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลึกซึ้งและทำให้เราสามารถเริ่มเข้าใจความจริงตามลำดับขั้น เพื่อเป็นความเข้าใจที่มั่นคงเป็นพื้นฐานเพื่อรู้ในความละเอียดของแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมแต่ละ ๑ ถ้าไม่พูดอย่างนี้จะเริ่มเห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม (ก็ไม่รู้)
- กว่าจะเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยว่า ไม่มีเรา จนกว่าจะหมดความเห็นผิดว่า “เป็นเรา” ในทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏ
- ปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเกิดมากกว่าหรือน้อยกว่าจักขุวิญญาณ (ต้องมากกว่า) เพราะอะไร (เพราะจิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ๗ ดวง จิตอื่นๆ จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่ากับหรือน้อยกว่าจิต ๑๐ ดวงไม่ได้ต้องมากกว่า) และเพราะเหตุว่า จักขุวิญญาณสามารถเกิดได้ทวารเดียว แสดงให้เห็นว่า สั้นแสนสั้นที่สุดคือ จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ
- สัมปฏิจฉันนะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ (มากกว่า ๗) สัมปฏิจฉันนกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่ากันไหม (ไม่เท่ากัน) เดี๋ยวก่อนฟังดีๆ กุศลวิบากอกุศลวิบากไม่ใช่กุศลกรรมและอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากมีเจตสิกเท่ากันไหม (ไม่น่าจะต่างกัน)
- นี่เป็นความคิดว่า “ไม่น่า” แต่ความจริงต้องไม่ต่างกัน เหมือนกับกรรมที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เบียดเบียนทำทุจริตกรรม ทำพระบาทของพระพุทธเจ้าให้ห้อ ฯลฯ ให้ผลเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเท่ากันหมดไม่ว่ากรรมเล็กหรือกรรมน้อย แต่เวลาให้ผลๆ คือ เพียงทำให้จิตนี้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ
- สัมปฏิจฉันนะที่โลกมนุษย์กับสัมปฏิจฉันนะที่เทวโลกต่างกันหรือเหมือนกัน (เหมือนกัน) มีเจตสิกประกอบเท่ากันไหม (เท่ากัน) สัมปฏิจฉันนะในเทวโลกมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวงได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้องนี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องพิจารณาหัดคิดไตร่ตรองละเอียดขึ้นๆ และก็จะเข้าใจในเหตุและผลเพิ่มขึ้น
- อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) เราพูดถึงอเหตุกวิบากจิตทั้งหมดกี่ดวงแล้ว (ตอนนี้พูดถึง๑๒) เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เราจะพูดถึงสันตีรณะที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ ๓ จิตนี้เป็นจิตสุดท้ายของการให้ผลของกรรม เพราะฉะนั้น ๓ จิตนี้เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม อย่าลืม ที่ไม่เกิดกับเหตุ ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย หมายความว่า เราพูดถึงอเหตุกะที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้นจิต ๓ ดวงนี้เป็นอเหตุกะ ๓ ดวงสุดท้าย
- จักขุวิญญาณมีกี่ดวง (มี ๒) รวมทั้งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเป็น ๑๐ และอะไรอีก ๒ ที่เป็นวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ (สัมปฏิจฉันนะ ๒ สันตีรณะ ๓)
- เพราะฉะนั้น สันตีรณะพิเศษกว่าวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดใช่ไหม (ใช่ มีอะไรต่างกัน) ต่างกันตรงไหน (ต่างกันที่ถ้าเป็นผลของอกุศลมี ๑ ถ้าเป็นผลของกุศลมี ๒)
- แสดงว่า ผลของกรรมที่ดีให้ผลอย่างอ่อนไม่ประกอบด้วยเหตุ แต่ถึงอย่างนั้นฐานะที่กุศลเกิดยากกว่าอกุศล เพราะฉะนั้น เวลาให้ผลกุศลวิบากแม้ไม่ประกอบด้วยเหตุก็ยังมีมากกว่าในขณะที่เป็นสันตีรณจิตซึ่งเป็นวิบากสุดท้ายของอเหตุกจิต
- เพราะฉะนั้นวิบากอื่นๆ ที่เป็นกุศลวิบากมี ๑ แต่สันตีรณะมีกุศลวิบาก ๒ อกุศลวิบาก ๑เพราะฉะนั้น กรรมให้ผลรู้อารมณ์ที่น่าพอใจเป็นผลของกุศลกรรม รู้อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นผลของอกุศลกรรม
- สันตีรณะที่เป็นอเหตุกะมี ๓ เป็นอกุศลวิบาก ๑ เป็นกุศลวิบาก ๒ ต่างกันที่ ๑ ดวงเป็นสันตีรณะที่เกิดกับอุเบกขาเวทนา อีก ๑ ดวงเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา
- เท่าที่เราพอจะเข้าใจได้เราก็รู้ว่า อารมณ์ที่ดีหลากหลายมาก บางอย่างดีมาก บางอย่างก็ดีพอสมควรไม่เท่ากัน แม้ว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีมากจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น สัมปฏิจฉันนะเพียงเกิดขึ้นรับ สันตีรณะเกิดขึ้นรู้มากกว่าในอารมณ์นั้นจึงเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาในอารมณ์ที่ดียิ่ง
- อุเบกขาสันตีรณะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีที่น่าพอใจต่อจากสัมปฏิจฉันนะ แต่เมื่ออารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีมากถึงวาระที่สัมปฏิจฉันนะจะรู้ในอารมณ์มากกว่าสัมปฏิจฉันนะขณะนั้นสันตีรณะจึงรู้อารมณ์นั้นด้วยโสมนัสเวทนา
- ไม่มีใครรู้ได้ว่า ขณะนี้จักขุวิญญาณรู้อารมณ์ที่ดีหรือดีมาก หรือว่าสัมปฏิจฉันนะรับอารมณ์ที่ดีต่อ หรือว่า สันตีรณะรับรู้อารมณ์ที่ดีมากด้วยโสมนัสเวทนา ไม่สามารถจะรู้ได้เลยเพราะสั้นมากและเป็นเพียง ๑ ขณะจิต
- เคยรับดอกไม้ที่สวยมากไหม (เคย) ขณะนั้นหลังจากที่จักขุวิญญาณดับแล้วสัมปฏิจฉันนะดับแล้วอะไรเกิดต่อ (เกิดกับโสมนัสเวทนา) ขณะนั้นต้องเป็นโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากที่รู้อารมณ์ที่ดีนั้น
- โสมนัสสันตีรณะเกิดได้กี่ทวาร อันนี้ยังไม่ได้เรียนจริงๆ แต่เท่าที่เขาทราบ (๕ ทวาร) เท่าที่เขาทราบแต่ยังมีพิเศษ เพราะว่าสันตีรณะมีถึง ๓ ดวง เพราะฉะนั้น เราจะค่อยๆ พูดถึงให้รู้ว่าต่างกัน ค่อยๆ ต่างกันทีละน้อย
- เพราะฉะนั้น สันตีรณะเกิดได้เท่าที่ทราบคือ ๕ ทวาร ทำกิจอะไร เพราะฉะนั้น เราพูดเท่าที่เรากล่าวถึงแล้ว สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจอย่าลืม ทำสันตีรณกิจกี่ทวารเท่าที่ทราบ (๕ ทวาร)
- เพราะฉะนั้น มีจิตไหนบ้างที่เป็นผลของกรรมที่ทำกิจปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกะ (สันตีรณะ) สันตีรณะมี ๓ ดวง ดวงไหนทำกิจปฏิสนธิ (อกุศลวิบากกับกุศลวิบาก)
- อกุศลวิบากสันตีรณะเกิดที่ไหน (อบายภูมิ) แสดงให้เห็นว่า จิตอื่นที่เป็นวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุไม่สามารถจะทำกิจปฏิสนธิได้เลย นอกจากสันตีรณอกุศลวิบากซึ่งเป็นจิตสุดท้ายของอเหตุกอกุศลวิบากเท่านั้นที่รู้อารมณ์มากกว่าปัญจทวาราวัชชนะ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ เพราะฉะนั้น จิตนี้สามารถที่จะให้ผลเพราะไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะเป็นอกุศลวิบากต้องจิตนี้ที่รู้อารมณ์มากกว่า สุดท้ายทำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิเท่านั้น
- ขณะเกิดเป็นช้างขณะนั้นจิตอะไรทำกิจปฏิสนธิ (สันตีรณอกุศลวิบาก) และเกิดเป็นมดอะไรเป็นจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ (สันตีรณอกุศลวิบาก) เกิดเป็นเปรตปฏิสนธิเป็นอะไร (สันตีรณอกุศลวิบาก) เกิดในนรกทุกสิ่งที่มีชีวิตในนรกปฏิสนธิจิตเป็นอะไร (ที่นั่นทุกคนก็เกิดด้วยสันตีรณอกุศลวิบาก) และอกุศลวิบากจิตจะทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม (ไม่ได้) นี่เป็นอเหตุกอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก
- อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดในนรกได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นอุเบกขาสันตีรณอเหตุกกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (ได้) ปฏิสนธิที่ไหน (เป็นมนุษย์แต่พิการ) เก่งมากไม่ลืม เพราะฉะนั้น ต้องจำละเอียดในเหตุผลด้วย เพราะเหตุว่า เป็นมนุษย์ก็จริงแต่เป็นผลของกุศลอย่างอ่อน เพราะฉะนั้น จิตที่ทำปฏิสนธิได้ก็คือ สันตีรณะ เพราะฉะนั้น สันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดเป็นมนุษย์แต่ทำให้เกิดในอบายไม่ได้แต่เป็นมนุษย์พิการ
- เมื่อเป็นกุศลแม้ว่าเป็นกุศลอย่างอ่อนให้ผล กุศลที่มีกำลังไม่ได้ให้ผล ไม่ถึงเวลาแต่ถึงเวลาของกุศลกรรมอย่างอ่อนทำให้เกิดในภูมิมนุษย์และภูมิต่ำของสุคติภูมิแต่ว่าไม่ปกติเป็นคนพิการบ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นผลของกุศลต้องไม่ไปเกิดในพรหมหรือในอบายภูมิ กุศลกรรมแม้อย่างอ่อนก็ไม่สามารถที่จะให้ผลไปเกิดในนรกหรืออบายภูมิได้เพราะฉะนั้นต้องให้ผลทำให้เกิดได้แต่เป็นผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิด
- ปฏิสนธิจิตของคุณอาช่าเป็นสันตีรณกุศลวิบากหรือเปล่า (ไม่) คุณอาคิ่ล (ไม่) เพราะฉะนั้นเป็นจิตอะไร (เป็นสันตีรณะไม่ได้แต่ต้องเป็นผลของกุศลกรรมที่มีเหตุ) ก็เก่งนะคะ คือ ถึงอย่างไรก็พยายามคิดออกมาจนได้
- เพราะฉะนั้นสันตีรณอกุศลวิบากมีกี่กิจ (๕ กิจ) อะไรบ้าง ตอนนี้เท่าที่ทราบมีกี่กิจ (ทบทวนแล้วมี ๔ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ และสันตีรณะ) ดีมาก เพราะฉะนั้นตอนนี้เราพูดเรื่องอเหตุกะที่เป็นวิบากพอสมควรแล้วใช่ไหม
- เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงกิริยาจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดได้กี่ทวาร (๕) ทำได้กี่กิจ (๑) สัมปฏิจฉันนะเกิดได้กี่ทวาร (๕) ทำกิจได้กี่กิจ (๑) อเหตุกจิตทั้งหมดจิตอะไรทำกิจได้มากกว่า ๑ กิจ (สันตีรณะ) นี่เป็นจิตที่สำคัญ เรามีเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงสันตีรณจิตอีกต่อไปแต่ให้รู้ว่า อเหตุกะที่เป็นอกุศลวิบากต้องมีเพียง ๗ และสุดท้ายคือ สันตีรณจิตที่เป็นอกุศลวิบากอเหตุกะที่ทำปฏิสนธิได้ อันอื่นทำไม่ได้
- เราเรียนเรื่องจิตแต่ละ ๑ เพื่อไม่ปะปนกันว่าเป็นแต่ละ ๑ จริงๆ ขณะนี้เราจะเริ่มพูดถึง “เหตุกกิริยาจิต” ซึ่งมี ๓ ปัญจทวาราวัชชนจิตพูดแล้ว ก่อนเห็น ก่อนได้ยิน ฯลฯ ต้องมีจิตนี้ ถ้าไม่มีจิตนี้เกิดขึ้นก็จะไม่มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้นทั้ง ๕ ทวาร
- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราจะเริ่มพูดถึงจิตที่เป็นกิริยาจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ใครไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิต (คุณมธุตอบว่าไม่มี) ในภูมิที่มี ๕ มีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสจะต้องมีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนเพราะฉะนั้นจิตนี้ก็คือเกี่ยวข้องกับปัญจทวารเท่านั้น
- อย่าลืมเราไม่เรียกชื่อเฉยๆ แต่เรารู้ความหมายว่า จิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลชื่อ “กิริยาจิต” เพราะสามารถที่จะรู้อารมณ์ที่เป็นผลของกุศลและอกุศลได้แต่ว่าสำหรับจิตนี้คือ ปัญจทวาราวัชชนจิตต้องมีในขณะเห็น ได้ยิน เท่านั้น เพราะฉะนั้นอีก ๒ จิตซึ่งเป็นอเหตุกะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยแล้วไม่ใช่วิบากแต่ว่าเป็นกิริยาจิตคืออะไร
- เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า เราจะไม่พูดถึงวิบากผลของกรรม เราจะไม่พูดถึงกุศลและอกุศลซึ่งเป็นเหตุแต่เราจะพูดถึงจิตอีกประเภท ๑ ซึ่งเป็นกิริยาจิตเพราะไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก แต่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนตามปัจจัย
- สำหรับกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมี ๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ กล่าวถึงแล้วและจิตของพระอรหันต์ที่ทำให้เกิดการยิ้มแย้มหสิตุปปาทจิต ๑ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็เพียงแต่รู้ว่า พระอรหันต์ยิ้มก็ไม่เหมือนยิ้มของปุถุชนเพราะการยิ้มก็มีหลายอย่าง เพราะฉะนั้น จิตนี้ก็ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์ซึ่งเรายังไม่พูดถึง
- เราจะพูดถึง “มโนทวาราวัชชนจิต” ซึ่งไม่ประกอบด้วยเหตุแต่เป็นกิริยาจิต เราใช้ชื่อเรียกจิตนี้ว่า“มโนทวาราวัชชนจิต” เพราะเป็นชื่อที่แสดงว่า เป็นอาวัชชนจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์เป็นวิถีจิตแรกทางใจจึงเป็น “มโน” ทางใจ “ทวาราวัชชนะ” จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ขณะแรกทางใจ
- เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์จะขาดมโนทวาราวัชชนจิตไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตนี้เป็น “วิถีจิต” เป็นจิตที่ต้องณเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ถ้าใช้ชื่อว่า “มโน” ก็หมายความว่า ทางใจ เพราะวันนึงๆ ไม่มีแต่เห็น ไม่มีแต่ได้ยิน แต่มีคิดนึกด้วย
- เพราะฉะนั้น ธรรมดาจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นเรามีชื่อเรียก “จักขุทวาร” "โสตทวาร” แสดงว่า จิตรู้อารมณ์ได้ทุกอย่างแต่แล้วแต่ปัจจัย ถ้าเป็นทางตามีสิ่งที่กระทบตาก็เป็นทางตาและทางหู จมูก ลิ้น กาย แต่ทางใจทันทีที่คิดนึกจะต้องมีจิตที่รู้อารมณ์ที่คิด
- จิตเป็นสภาพที่ไม่มีรูปร่างเลยแต่เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นแต่หลากหลายมากเป็นประเภทต่างๆ แสดงความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธาตุรู้ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การที่จะรู้จักจิตนี้ ต้องเริ่มทีละเล็กทีละน้อย เพราะเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ปรากฏทุกทวาร ทุกอย่าง ทุกขณะ เพราะฉะนั้น เริ่มรู้จักจิตนี้ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะต้องมีจิตนี้เกิด
- เรียกชื่อนี้ก็จริง (มโนทวาราวัชชนจิต) แต่ความหมายของลักษณะของจิตนี้คือ สามารถรู้อารมณ์ได้ทั้ง ๖ ทาง เริ่มเห็นความละเอียดความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงซึ่งถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้เลย
- เริ่มต้นฟังเพื่อไม่ลืมทีละเล็กทีละน้อย มโนทวาราวัชชนจิต มีคำว่า “มโน” “ทวาร” “อาวัชชนะ” แต่ว่าจิตนี้สามารถรู้อารมณ์ได้ทั้ง ๖ ทาง ในสังสารวัฏฏ์สะสมกุศลกรรมอกุศลกรรมมากมาย แต่ถ้าจิตนี้ไม่เกิดขึ้นสิ่งที่สะสมมาไม่สามารถจะเกิดปรากฏในชีวิตประจำวันได้ คุณอาช่า คุณอาคิ่ล คุณมานิชและทุกคนสะสมกุศลอกุศลมามากเท่าไหร่ แต่จะเกิดไม่ได้เลยถ้าจิตนี้ไม่เกิดก่อน
- เพราะฉะนั้น เราจะลำดับการเกิดขึ้นของจิตนี้ตามทวารต่างๆ รูปเกิดดับเร็วมาก รูปๆ หนึ่งเกิด จะดับเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะรูปจึงดับ ถ้ารูปที่เกิดไม่กระทบตาจะไม่เห็นสิ่งนั้นเลย
- ก่อนรูปกระทบตาขณะนั้นจิตเป็นอะไร (ภวังค์) เพราะฉะนั้นรูปกระทบภวังค์ก่อน ๑ ขณะ จิต ๑ ขณะดับรูปยังไม่ดับเพราะขณะต่อไปเริ่มที่จะเป็นภวังค์ไหวเพราะมีสิ่งกระทบ เพราะฉะนั้นกระทบเพียง ๑ ขณะจะรู้อารมณ์ไม่ได้เพราะจิตเกิดดับเร็วมาก
- (คุณมธุสงสัยเรื่องภวังค์ไหว ภวังคจลนะ) เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถรู้การกระทบและเพียงชื่อ ความรวดเร็วแค่ไหน เดี๋ยวนี้กี่ขณะของภวังค์ กี่ขณะของเห็น วาระต่างๆ ในสิ่งที่ปรากฏเป็นทุกสิ่งทุกอย่างหมด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความละเอียดยิ่งอย่างรวดเร็วของจิตแสดงให้เห็นความเกิดดับอย่างรวดเร็วที่สุด เพียงแค่คิดว่ากระทบ กระทบภวังค์ถึง ๓ ขณะก่อนที่วิถีจิตจะเกิดรู้อารมณ์นั้น
- เพราะฉะนั้น เราพูดสั้นๆ ว่า “รูปกระทบภวังค์” แต่คำว่า กระทบภวังค์นี้คือกระทบภวังค์แรกที่ถูกกระทบและภวังค์ที่ ๒ ก็เริ่มไหวที่จะเปลี่ยนอารมณ์และภวังค์ที่ ๓ คือ สิ้นสุดของความเป็นภวังค์เพราะเริ่มรู้อารมณ์ เป็นจิตขณะแรกที่เป็นวิถีจิตเพราะรู้อารมณ์ที่กระทบทางทวาร
- เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตเกิดก่อนเป็นภวังค์สุดท้าย เพราะภวังค์จะเป็นภวังค์ต่อไปอีกไม่ได้ เพราะอารมณ์กระทบ ภวังค์สุดท้ายดับแล้วจิตที่จะเกิดต่อเป็นจิตอื่นไม่ได้นอกจากจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายก็ต้องเป็นอาวัชชนจิตแล้วแต่ว่าจะเป็นทางไหน เป็นกิริยาจิต
- เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น รู้ไหมว่า ก่อนเห็นเป็นอาวัชชนจิต ก่อนอาวัชชนจิตเป็นภวังค์ ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วจิตเห็นเกิดต่อ จิตเห็นดับแล้วสัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ สัมปฏิจฉันนะดับแล้วสันตีรณะเกิดต่อ รูปดับหรือยัง (ยัง) ยังไม่ดับแต่จิตที่เป็นอเหตุกะดวงสุดท้ายคือสันตีรณะดับแล้ว
- เพราะฉะนั้น จิตต่อไปไม่ใช่ผลของกรรมเหมือนอย่างจิต ๑๐ ดวงนั้นและจิตอื่นๆ ที่เป็นอเหตุกะ แต่เป็นกิริยาจิตที่ทำกิจเปิดทางให้กุศลและอกุศลที่มีสะสมมา เมื่อสันตีรณะรู้อารมณ์นั้นมากกว่าจิตอื่นที่เป็นอเหตุกะและจิตต่อไปเปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิด เพราะฉะนั้นเหมือนกับว่า พอเห็นแล้วก็ชอบหรือไม่ชอบ แต่ต้องมีจิตที่เกิดก่อนที่เปิดทางให้ จิตนั้นก็คือทำ “โวฏฐัพพนกิจ” หมายความว่า เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดทางปัญจทวาร
- หมดทางที่กรรมให้ผลเมื่อสันตีรณจิตดับ แต่ว่ากุศลอกุศลที่สะสมมาสามารถที่จะพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งที่จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะรู้ในสิ่งที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจที่ “เปิดทาง” ให้กุศลและอกุศลทำ “โวฏฐัพพนกิจ” ทางปัญจทวารทำกุศลและอกุศลเปิดทางให้กุศลและอกุศลที่สะสมมาเกิด
- จิตนี้อย่าลืมจิตนี้เป็นจิตเดียวที่เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่คิดก็คิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่รู้อารมณ์ทาง ๕ ทวารแต่คิดรู้ทางใจ แต่ถ้าจิตนี้ไม่เกิดไม่คิดไม่เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดทางใจ จิตนี้เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดได้ที่สะสมมามากพร้อมที่จะเกิดๆ ได้เมื่อจิตนี้เกิดแล้วดับไปไม่ว่าจะเป็นทาง ๕ ทวารหรือทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นจิตนี้ต้องเกิดก่อนกุศลและอกุศลทุกครั้งแต่สำหรับพระอรหันต์จิตนี้ต้องเกิดก่อนกิริยาจิตของพระอรหันต์
- (คุณอาช่าจำได้ว่า ชวนจิตเท่ากับคิด แล้วชวนจิตที่เกิดทางปัญจทวารจะเป็นคิดด้วยไหม) ยังไม่ต้องบอกอะไรเลย ถ้าถามมาอย่างนี้จะถามว่า คุณจะรู้จักชื่อจิตหรือคุณจะเข้าใจจิต (สำคัญที่เข้าใจ) เพราะฉะนั้น ยังไม่พูดชื่อแต่มีจิตแน่นอนและจิตเกิดขึ้นหลากหลายทำกิจต่างๆ ไม่มีใครเลยและให้รู้ว่า ไม่ใช่เรา
- เพราะฉะนั้น ทางตาวิบากจิตสุดท้ายจะเป็นวิบากจิตต่อไปอีกไม่ได้เมื่อมีการรู้อารมณ์ที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น ไม่ลืม “วิบากจิตสุดท้าย” ในวิถีจิตที่เริ่มตั้งแต่ ปัญจทวาราวัชชนะ จักขุวิญญาณสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ต่อจากนั้นจะเป็นวิบากจิตอีกได้ไหม (ไม่ได้)
- เพราะฉะนั้น ถึงเวลาที่จิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลที่เป็นวิบากเกิด แต่เป็นจิตที่ “เปิดทาง” เป็นกิริยาจิตเพราะไม่ใช่กุศล อกุศล วิบาก เพื่อที่จะให้การสะสมความพอใจ ไม่พอใจ ปัญญาและอื่นๆ ทุกอย่างที่สะสมมาที่จะเกิดรู้อารมณ์นั้น ไม่ใช่เกิดเฉยๆ เกิดรู้อารมณ์นั้น
- ถ้าไม่รู้จิตแต่ละ ๑ ปนกันหมดก็เป็นเราตลอดไป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรียกชื่อจิตให้จำแต่ให้รู้ว่า วิบากหมดแล้วแต่อารมณ์ยังอยู่ การสะสมความชอบ ไม่ชอบ ฯลฯ ทุกอย่างที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดแต่เกิดทันทีไม่ได้ แต่ต้องมีจิต ๑ ที่ไม่ใช่วิบากไม่ใช่กุศลอกุศลเกิดแล้วเปิดทาง เกิดก่อนจึงเปิดทางกระทำทางให้กุศลและอกุศลพร้อมที่จะเกิดออกมาได้เกิด
- เห็นไหม เรียกชื่อเก่ง จำได้ เรียกได้ แต่ถ้าถามให้บอกเรื่องราวความเป็นจริงได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตนี้จึงใช้ภาษาบาลีว่า “โวฏฺฐพฺพน” แปลว่าอะไร หมายความว่าอะไร (โวฏฐัพพนะต้องเกิดทำกิจอาวัชชนะเพราะถ้าไม่มีอาวัชชนะกุศลอกุศลเกิดไม่ได้)
- ขอโทษนะคะ อาวัชชนะหมายความว่า เกิดทางทวารนั้นเป็นขณะแรก แต่จิตนี้ไม่ได้เกิดทางทวารนี้เป็นขณะแรก ปัญจทวาราวัชชนะเกิดก่อนเพราะฉะนั้นจิตนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อาวัชชนะเลย (คุณอาช่าเข้าใจแล้วว่าทำไมทำอาวัชชนกิจไม่ได้)
- เพราะฉะนั้น ไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตที่เกิดก่อนกุศลและอกุศล กุศลอกุศลสะสมมามากมายในจิตออกไม่ได้ ถ้าไม่มีอะไรกระทบทำให้รู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นการรู้อารมณ์มีทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางซึ่งเรากำลังกล่าวถึงทางปัญจทวาร เพราะฉะนั้น ต้องทีละทาง
- เพราะฉะนั้น เปลี่ยนไม่ได้ความเข้าใจต้องมั่นคง จิตที่เกิดก่อนกุศลและอกุศลไม่ใช่กุศลและอกุศลกิเลสสะสมมามากมายจะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเป็นผลของกรรมก็ต้องเป็นผลของกรรมไม่ใช่กุศลและอกุศล ต้องละเอียดมากเพราะฉะนั้นคราวหน้า ได้ยินได้ฟังอะไรมาแล้วแต่เข้าใจแค่ไหน เราจะถาม
- ต้องไม่ลืม ไม่ใช่เพียงพูดหรือคิดว่า มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่ต้องรู้ว่า พึ่งเมื่อไหร่และพึ่งอะไร สำหรับวันนี้ถึงเวลาแล้ว ยินดีในกุศลของทุกคนที่ต้องละเอียดขึ้นและเป็นความเข้าใจไม่ใช่เพียงจำชื่อ
กราบเท้าบูชาคุณ กราบยินดีในกุศลท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณอัญชิสา (คุณสา) ในความอนุเคราะห์ตรวจทานข้อความ
กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นและคณะอาจารย์ มศพ. ทุกท่านในกุศลทุกประการครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ กุลพิเนต เป็นอย่างยิ่ง สำหรับการถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ มาบันทึกไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่สนใจ ครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ