[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 790
ทุติยปัณณาสก์
เทวตาวรรคที่ ๒
๖. สติสูตร
ว่าด้วยฐานะ และอฐานะ สําหรับผู้มีสมาธิ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 790
๖. สติสูตร
ว่าด้วยฐานะ และอฐานะ สำหรับผู้มีสมาธิ
[๓๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอันประณีต ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 791
เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอจักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจว่า จิตมีราคะ จักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น จักรู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ จักรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีสมาธิอันสงบ มีสมาธิอันประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ มีสมาธิที่ถึง ความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ จักใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจว่า จิตมีราคะ ก็จักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็จักรู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 792
จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
จบสติสูตรที่ ๖
อรรถกถาสติสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า น สนฺเตน ความว่า ไม่สงบไปจากกิเลส ที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย. บทว่า น ปุณีเตน ความว่า ไม่ใช่ด้วยสมาธิ อันไม่เร่าร้อน. บทว่า น ปฏิปสฺสทฺธิลทฺเธน ความว่า ด้วยสมาธิที่ไม่ได้ คือ ไม่ได้บรรลุ เพราะความสงบระงับแห่งกิเลส. บทว่า น เอโกทิภาวาธิคเตน ความว่า สมาธิ ที่ไม่เข้าถึง ความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นเอก.
จบอรรถกถา สติสูตรที่ ๖