การติเตียน พระภิกษุ เป็นการบาปหรือไม่ครับ.
โดย chaiyakit  22 ก.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 16790

การติเตียน พระภิกษุ เป็นการบาปหรือไม่ครับ กรณีที่พระทำอะไรที่ผิดวินัย หรือทำอะไรที่ออกนอกลู่นอกทาง เรามีสิทธิ์ตักเตือนได้หรือเปล่าครับ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 23 ก.ค. 2553

บาปหรือไม่บาปอยู่ที่จิตครับ ปุถุชนทั้งหลาย ขณะที่ ติเตียนผู้อื่นส่วนใหญ่จิตเป็นอกุศล สำหรับฆราวาส ไม่ได้อยู่ในฐาน ที่จะติเตียนบรรพชิต การติเตียนหรืออบรมพระภิกษุเป็นหน้าที่ของพระเถระผู้อุปัชฌาย์อาจารย์ แต่ถ้าพระท่านเป็นลูกหลานของเราก็อาจจะพูดได้บ้างครับ


ความคิดเห็น 2    โดย chaiyakit  วันที่ 24 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ...เกือบไปแล้ว


ความคิดเห็น 3    โดย pamali  วันที่ 24 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย พระคุณเจ้า  วันที่ 27 ส.ค. 2553

การติเตียนพระภิกษุ กระทำได้โดยธรรม ที่อาศัยความสงเคราะห์ ติ ในที่นี้ไม่ใช่บริภาทคือโจทย์ประจาน ด่าทอ เป็นต้น แต่เป็นการติโดยธรรมเช่น "ไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่เอื้อเฟื้อ ในพระธรรมของพระศาสดา ข้อนี้เป็นการไม่สมควรนะ พระคุณเจ้า" การตินี้ต้องประกอบไปด้วยกาล บุคคล สถานที่ สมควร ไม่สมควร ต้องพิจารณาก่อนเพื่อไม่ให้เกิด อคติแต่มีข้อควรระวัง ถ้าท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่เราไม่รู้ ไปติท่านเข้า ย่อมได้รับโทษทางวาจา เรียกว่า อริยุปวาทะ มีโทษเท่าอนันตริยกรรม ต่างกันที่ อริยุปวาทะ แก้ได้ด้วยการขอขมา ส่วนอนันตริยกรรมแก้ไม่ได้

พระศาสนาต้องช่วยกันจึงจะเจริญอยู่ได้

เจริญพร


ความคิดเห็น 5    โดย เดียวดาย  วันที่ 31 ส.ค. 2553

ความจริงแล้วพระท่านเรียนมาเยอะ..รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วมากกว่าชาวบ้านอย่างเราๆ ถ้ารู้แล้วว่าอะไรไม่ดี ..แล้วยังทำ ก็ปล่อยท่านตกนรกไปเองเถอะบาปปากเปล่าๆ ไม่ใช่กิจของฆราวาส วางเฉยซะ


ความคิดเห็น 6    โดย หมอธรรม  วันที่ 1 ก.ย. 2553

ควรติคนอื่นหรือไม่ ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอันควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร เฉยๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้

พุทธดำรัสตอบ “.ดูก่อน โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้กล่าวติเตียน ผู้ควรติเตียน โดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญ

ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

ผู้กล่าวสรรเสริญ ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร (แต่) ไม่ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑

ผู้ไม่กล่าวติเตียน ผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญ ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าว ติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า บุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้นๆ ....”

โปตลิยสูตร จ. อํ. (๑๐๐) ตบ. ๒๑ : ๑๓๑-๑๓๔ ตท. ๒๑ : ๑๗๗-๑๗๙ตอ. G.S. II : ๑๐๘-๑๐๙


ความคิดเห็น 7    โดย อุตตมสารี  วันที่ 1 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนา

คุณหมอธรรม ช่วยขยายส่วนที่อ้างอิงด้วยค่ะ

ขอบพระคุณ


ความคิดเห็น 8    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 1 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย ภัสร์  วันที่ 3 ก.ย. 2553

สาธุ อนุโมทามิ

ที่ท่านผู้รู้ได้ให้ปัญญา เพราะบางครั้ง การเห็นแล้วด้วยความที่ว่าไม่น่าจะแสดงกริยา วาจา แบบชาวบ้าน ก็เคยมีการวิจารณ์ออกไปบ้าง ต่อไป จะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อโทษ เพราะจำคำตรัสของ พระพุทธองค์ ได้ว่า แม้ทำบุญกับภิกษุ ทุศีลก็ยังมีอานิสงส์มาก แต่การกระทำที่ไม่ควรของภิกษุนั้น เป็นกรรมของท่านเอง ที่ไม่ศึกษาให้เกิดศรัทธา เฉพาะตนได้ ดังที่พระพุทธองค์เคยตรัสว่า การกระทำของพระเทวทัตเป็นการกระทำเฉพาะตน ไม่ถือเป็นการกระทำของสังฆรัตนะ


ความคิดเห็น 10    โดย เดียวดาย  วันที่ 5 ก.ย. 2553

พุทธดำรัสที่กล่าวนั้น..ดิฉันคิดว่าถูกต้องแล้ว แต่พุทธดำรัสนั้นควรใช้ให้เหมาะสม หมายความว่า ควรใช้ในกรณีที่เป็นฆราวาสกับฆราวาส หรือสงฆ์กับสงฆ์

ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านคนหนึ่งศีล ๕ กระท่อนกระแท่น เห็นชาวบ้านด้วยกันทำตัวไม่เหมาะสมก็ติเตียนและตักเตือนด้วยความหวังดีและถูกกาลเทศะ อันนี้เปนเรื่องเหมาะสม แต่การที่ชาวบ้านไปติเตียนพระซึ่งมีรักษาศีลมากกว่า (ชี้โทษคนอื่น1นี้ว แต่เข้าตัว ๓ นิ้ว) บางครั้งการกระทำของท่าน ก็เป็นอะไรที่ชาวบ้านอย่างเรา อาจขัดหูขัดตาแล้วเข้าไปติเตียน โดยไม่รู้ธรรม โดยที่เราไม่รู้ว่า พระที่เรากำลังติอยู่นั้น เป็นพระอริยะเจ้าหรือไม่ ทางที่ดีคือ ต้องไปบอกกับพระ ที่เปนผู้ใหญ่กว่าว่าพระรูปนั้นกระทำการอย่างนี้ แล้วให้พระท่านพระท่านเห็นสมควรอย่างไร ก็จะตักเตือนกันเอง


ความคิดเห็น 11    โดย มหาแสนดี  วันที่ 5 ก.ย. 2553

อันตรายมาเยือน หากเป็นสมัยก่อนโดนคว่ำบาตรแน่ มีคำรับรองดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย

๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน

๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

๗. กล่าวติเตียนพระธรรม

๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตร แก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ใช่หรือไม่ ผู้รู้ช่วยขยายความด้วย ว่าองค์ไหนร้ายแรงที่สุด


ความคิดเห็น 12    โดย prachern.s  วันที่ 10 ก.ย. 2553

เข้าใจว่าองค์ทั้ง ๘ ที่ท่านยกมา น่าจะต่างกันกับจุดประสงค์ของผู้ตั้งกระทู้ถามครับ


ความคิดเห็น 13    โดย มหาแสนดี  วันที่ 22 ธ.ค. 2553

เตือนได้แต่ต้องดู กาละเทสะ เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา รู้ว่าพระสรงน้ำอย่างชีเปลือย ก็ไม่ตำหนิพระเหล่านั้น แต่กลับไปขอพร กับพระพุทธเจ้า เพื่อให้พระสามารถใช้ผ้าวัสสาวาสิกสาดกได้ ข้อนี้เข้ากันได้กับความเห็นของคุณ prachern.s


ความคิดเห็น 14    โดย เซจาน้อย  วันที่ 22 ธ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย wannee.s  วันที่ 24 ธ.ค. 2553

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ ภิกษุปวารนาไว้กับเพื่อนภิกษุด้วยกัน เวลาที่ใครทำผิด ก็ยินดีให้ตักเตือน และผู้ที่ตักเตือนก็เปรียบเหมือนผู้ที่ชี้ขุมทรัพย์ แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการเตือนตัวเอง แสวงหาโทษของตัวเองเพื่อจะได้แก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 3 เม.ย. 2554
จำเรื่อง ว่า ว่า ว่า ว่า ว่า ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านในจิตที่เป็นกุศลครับ

ความคิดเห็น 17    โดย มหาแสนดี  วันที่ 22 ต.ค. 2554

ปัจจุบันนี้มีพระภิกษุทำผิดวินัย และมีผู้หวังดีออกมาเตือนกันหลายรูปแบบ เช่น ด่าว่าไม่สมควร ติเตียน นินทา ว่าร้าย ฯลฯ และอีกมากมาย หลายเรื่องราวที่เกิดขี้นในสังคม หากเรื่องนั้นไม่ดีเราอย่าเอามาใส่ใจเพียงแค่รับรู้ไว้ เพื่อระวังภัยเท่านั้น (อุเบกขาธรรม) คนเราจะดีหรือไม่ดีไม่ใช่อยู่ที่ปากคนอื่นพูด อยู่ที่การกระทำมากกว่า ฉะนั้น ใครจะผิดหรือถูกเราไม่มีสิทธิ์ไปตัดสิน เจริญพร หากจะว่ากล่าวตักเตือนต้องมองตัวเองว่าอยู่ในฐานะอะไร หากเราหวังดีไปตักเตือนแล้วกลับเป็นโทษกับตัวเราหรือไม่ ขณะจิตของเราที่ตักเดือนมีอคติหรือไม่ หากมีคงไม่พ้นโทษหรอก เจริญพร กายกรรม/วจีกรรม/มโนกรรม ทำไปแล้วหมดทางแก้ไขนะ จะบอกให้รับเละ เจริญพร แต่ชลอการให้ผลได้ด้วย กุศลกรรม (วิปัสสนาภาวนา) ฉะนั้น ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า


ความคิดเห็น 18    โดย jaturong  วันที่ 17 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 19    โดย pitthaya  วันที่ 7 ก.ย. 2559

โยมเตือนพระได้ตามวินัย เพราะพระคือผู้ปฏิญาณตนว่าจะทำตามพระวินัย


ความคิดเห็น 20    โดย Somporn.H  วันที่ 12 พ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 21    โดย chatchai.k  วันที่ 8 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 22    โดย Pornvipa  วันที่ 20 ก.ย. 2563
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 4 โดย พระคุณเจ้า

การติเตียนพระภิกษุ กระทำได้โดยธรรม ที่อาศัยความสงเคราะห์ ติ ในที่นี้ไม่ใช่บริภาทคือโจทย์ประจาน ด่าทอ เป็นต้น แต่เป็นการติโดยธรรมเช่น "ไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่เอื้อเฟื้อ ในพระธรรมของพระศาสดา ข้อนี้เป็นการไม่สมควรนะ พระคุณเจ้า" การตินี้ต้องประกอบไปด้วยกาล บุคคล สถานที่ สมควร ไม่สมควร ต้องพิจารณาก่อนเพื่อไม่ให้เกิด อคติแต่มีข้อควรระวัง ถ้าท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่เราไม่รู้ ไปติท่านเข้า ย่อมได้รับโทษทางวาจา เรียกว่า อริยุปวาทะ มีโทษเท่าอนันตริยกรรม ต่างกันที่ อริยุปวาทะ แก้ได้ด้วยการขอขมา ส่วนอนันตริยกรรมแก้ไม่ได้

พระศาสนาต้องช่วยกันจึงจะเจริญอยู่ได้

เจริญพร

คือมีเรื่องกลุ้มใจมากค่ะวันนี้ไปวัดมาแล้วเห็นพระกำลังจะปลูกผักหรืออะไรนี่แหละค่ะแล้วแล้วพระก็ใส่จีวรอยู่ใช่ไหมค่ะแล้วพระก็เอาจีวรทำเป็นโจงกระเบนแล้วก็เลยพูดดับเพื่อนว่าพระใส่โจงกระเบนจะบาปไหมค่ะกลุ้มใจมาดเลยค่ะไม่กล้าถามใครเลยกลัวบาปมากเๆ ลยค่ะ