เดรัจฉานกถาแน่ๆ ?
โดย สารธรรม  17 ธ.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 10702

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอนจาก แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๙๑๖ บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

เดรัจฉานกถาแน่ๆ

ถ. ในเรื่องของการเจริญกุศล ก็มีอยู่อย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวกับเรื่องของวาจาในพระสูตรบทหนึ่ง ผมก็จำไม่ได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคจะเสด็จไปบิณฑบาต ก็ยังเห็นว่าเช้านัก จึงเสด็จไปยังหมู่พราหมณ์ ก็ได้ยินหมู่พราหมณ์นั้นสนทนากันอยู่ด้วยเรื่องเดรัจฉานกถา เรื่องยาน ท่าน้ำ เรื่องบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องรบ เรื่องกษัตริย์ เรื่องกองทัพ ผมก็มาสงสัยว่า อย่างนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรา คำพูดต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่เป็นเดรัจฉานกถาหรอกหรือครับ ที่เราพูดเรื่องเขมรรบกัน น้ำมันขึ้นราคา หรืออะไรจำพวกนี้

อ. ไม่ต้องสงสัย ...เป็นแน่ค่ะ

ถ. ผมนึกว่า แบ่งแยกเฉพาะของสมณะเท่านั้นหรือเป็นของเราด้วย

อ. เหมือนกันค่ะ

ถ. เพราะฉะนั้น อย่างของเรา ทุกๆ วัน เราพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยขาดสติ

อ. ขณะใดที่สนทนาธรรม ขณะนั้นไม่ใช่เดรัจฉานกถา

ถ. อย่างบางครั้งเวลาที่เราเข้าสังคม เราก็ต้องพูดอะไรๆ ที่ตามๆ กันไป แต่เรารู้ลักษณะที่ปรากฏในขณะนั้น

อ. ยังเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานอยู่ ใช่ไหมคะ ก็มีปัจจัยที่จะให้พูดเรื่องต่างๆ แต่สติก็ยังสามารถที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมไปเรื่อยๆ

ถ. แต่ในคราวใดที่สติเกิด รู้ลักษณะในขณะนั้น แล้วคำพูดในขณะนั้นจะเป็น

อ. แล้วแต่เหตุปัจจัยค่ะ

ถ. ถ้าอย่างนั้นจะเป็นเดรัจฉานกถาไหม

อ. ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็ยังมีคำพูดอย่างนั้นอยู่ ท่านพระอานนท์พูดถึงเรื่องเดียรถีย์ต่างๆ หรือเปล่าคะ หรือตั้งแต่เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ได้พูดเลย หรือว่าท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ เมื่อท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านไม่พูดเรื่องเหล่านี้เลย หรือว่าท่านพูด

ถ. อย่างนี้ ในบางครั้งท่านต้องพูด นั่นซิครับ แล้วอย่างนี้เป็นเดรัจฉานกถาหรือเปล่าครับ

อ. จุดประสงค์ต่างกัน แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าเป็นพระอรหันต์ที่พูดกับปุถุชนที่พูด จิตที่พูดคำเดียวกัน เรื่องเดียวกัน จิตนั้นต่างกัน

ถ. แม้กระทั่ง ที่เรารู้ลักษณะที่ปรากฏในขณะนั้นด้วย

อ. ก็ยังต่างกันตามขั้น ถ้าเป็นพระโสดาบันพูดกับพระอรหันต์พูด จิตก็ยังต่างกัน เพราะจิตของพระโสดาบันยังมีกุศลและอกุศล แต่สำหรับพระอรหันต์ไม่มีกุศลและอกุศล มีแต่กิริยาจิตและวิบากจิต กิริยาจิต คือจิตที่ไม่ใช่กรรมที่จะทำให้เกิดวิบากข้างหน้าในอนาคต


คลิกเพื่ออ่าน -->

ดิรัจฉานกถา [ติรัจฉานกถาสูตร]

คลิกเพื่ออ่าน -->

กถาวัตถุ ๑๐


ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์



ความคิดเห็น 1    โดย พุทธรักษา  วันที่ 17 ธ.ค. 2551

เพราะถ้อยคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 17 ธ.ค. 2551

ถ้าไม่ได้พูดเกี่ยวกับธรรมะ ส่วนมากที่พูดก็เป็นเดรัจฉานกถาทั้งหมด แต่ถ้าพูดว่าคนนี้รวยเป็นผลของทานที่เคยทำไว้ หรือพูดว่าคนนี้สวยเป็นผลของการรักษาศีล หรือคนนี้มีปัญญา เป็นผลของการถามธรรมะ บัณฑิตพูดเรื่องเหล่านี้ จึงไม่เป็นเดรัจฉานกถาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย พุทธรักษา  วันที่ 17 ธ.ค. 2551

จากความเห็นของพี่วรรณีหมายความว่า การพูดด้วยเจตนาที่ดี เป็นเรื่องความจริง เพื่อประโยชน์ ดูให้เหมาะกับกาละ เทศะ เจตนาในการพูดประกอบด้วยความเห็นถูก ไม่เป็นเดรัจฉานกถา ถูกต้องไหมคะ...?


ความคิดเห็น 4    โดย suwit02  วันที่ 17 ธ.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 5    โดย prachern.s  วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ขอเสริมความเห็นที่ ๑ และ ๒ คือ อยู่ที่สภาพจิตเป็นสำคัญ แม้จะพูดเรื่องเดียวกัน แต่จิตผู้พูดเป็นกุศลและน้อมไปในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นกถาวัตถุ ไม่เป็นเดรัจฉาน กถาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย พุทธรักษา  วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ขอขอบพระคุณ อาจารย์ประเชิญ ค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ดิรัจฉานกถา โดยศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นไปทางขวาง กล่าวคือ เป็นถ้อยคำที่ขวางทางสวรรค์และทางนิพพาน เพราะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้ออกไปจากทุกข์"
ในชีวิตประจำวัน มีเรื่องทีจะต้องพูดมากมาย แต่เมื่อได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาธรรมเป็นปกติ มีความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น ก็จะได้ทราบว่าสิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะพูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นเรืองที่ไร้สาระแล้ว ก็ไม่ควรที่จะพูดดีกว่า เพราะเหตุว่าจะได้เป็นอกุศลทั้งคนที่พูดและคนที่ฟังด้วย

"คำพูดที่เมื่อพูดไปแล้วอกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อมไป คำนั้นไม่ควรพูด ส่วนคำพูดที่เมื่อพูดไปแล้วกุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมไป คำนั้น ควรพูด" ดังนั้นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนอย่างดียิ่งในชีวิตประจำวันครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ


ความคิดเห็น 8    โดย ไม่มีเรา  วันที่ 30 ธ.ค. 2551

โมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย SURAPON  วันที่ 5 ม.ค. 2552
สาธุ

ความคิดเห็น 10    โดย pornpaon  วันที่ 5 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 11    โดย oom  วันที่ 8 ม.ค. 2552

ช่างเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ เพราะในชีวิตประจำวัน การที่จะมีสติระลึกรู้ว่าสิ่งที่ควรพูด ไม่ควรพูด พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์นั้น ทำได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ก็จะพูดไปตามอารมณ์สนุกสนาน มีทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ น้อยครั้งที่จะเป็นไปในทางธรรม แต่ก็พยายามสะสมอยู่ค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย คุณ  วันที่ 21 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนามาก มาก ค่ะ

ความคิดเห็น 13    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 22 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 14    โดย เซจาน้อย  วันที่ 27 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"คำพูดที่เมื่อพูดไปแล้วอกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อมไป คำนั้นไม่ควรพูด ส่วนคำพูดที่เมื่อพูดไปแล้วกุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมไป คำนั้น ควรพูด"

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย jaturong  วันที่ 28 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ