ช่วยซื้อ
โดย ajarnkruo  20 มิ.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 16541

การช่วยซื้อ เป็นทานได้ไหมครับ เช่น เห็นเด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยกไฟจราจร

แล้วช่วยซื้อให้เขาขายหมดไวๆ หรือเห็นของที่เหลือขายอีกนิดหน่อย แล้วช่วยซื้อจาก

คนขายให้หมดๆ ไป



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 20 มิ.ย. 2553
ควรทราบว่าการให้ที่จะเป็นทานได้นั้นต้องมีจาคเจตนา คือมีเจตนาสละให้ ในกรณีการช่วยอุดหนุน ช่วยซื้อของแก่คนขายของ น่าจะต่างกับการซื้อของทั่วๆ ไป เพราะต้องการช่วยเหลือคนขายของ โดยไม่ได้ให้เงินและรับของนั้นมาใช้ประโยชน์ด้วย ถ้าถามว่า จะเหมือนกับการบริจาคทานโดยไม่ได้รับของหรือไม่ เจตนาก็ต้องต่างกัน ดังนั้นการให้ทานจึงมีหลายรูปแบบตามอัธยาศัยและกาลที่ต่างกันครับ

ความคิดเห็น 2    โดย ajarnkruo  วันที่ 20 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย sirijata  วันที่ 20 มิ.ย. 2553

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นค่ะ การช่วยซื้อ ในช่วงขณะนั้นน่าจะมีเจตสิกฝ่ายกุศลหลายตัว เช่น เมตตา กรุณา ไม่ตระหนี่ ไม่มีโทสะ มีโสมนัส เป็นต้น ขออนุโมทนาด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 20 มิ.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กุศลหรืออกุศลสำคัญที่เจตนา เช่นเดียวกับ ทาน สำคัญที่เจตนาเช่นกัน ทานคือ

เจตนาที่สละ อันมีความไม่ติดข้องคืออโลภะเป็นเหตุ ทานคือเจตนาในการสละวัตถุ

เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ขณะที่ไม่ช่วยซื้อกับขณะที่ช่วยซื้อ เจตนาและจิตต่างกันแล้ว

ใช่ไหมครับ ขณะที่ไม่ช่วยซื้อ มีเจตนาที่จะสละวัตถุคือทรัพย์ของตนเพื่อประโยชน์

ของผู้อื่นหรือเปล่า ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ทาน แต่ขณะที่ช่วยซื้อ เพราะอะไร

เพราะคิดถึงประโยชน์ของผู้อื่น จึงมีเจตนาสละวัตถุคือทรัพย์ของตนเอง อันเป็น

เจตนาที่ประกอบด้วยอโลภะคือความไม่ติดข้อง จึงสละทรัพย์ช่วยซื้อ จึงเป็นทานได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 171

ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าสิ่งของเป็นเครื่องให้. มีคำอธิบายว่าสิ่งของของตนอันบุคคลย่อมมอบให้แก่ผู้อื่น.

เจตนาเป็นเครื่องบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมี

ความยินดีในเบื้องต้น เจาะจงผู้อื่น ชื่อว่า ทาน.

อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า

บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 5    โดย ajarnkruo  วันที่ 20 มิ.ย. 2553

ของที่ช่วยซื้อ บางทีเราก็อยากได้ บางทีก็ไม่อยากได้ แสดงว่าระดับความประณีตของ

กุศลตามที่อาจารย์ประเชิญได้กล่าว จะเป็นไปในลักษณะที่กุศลนั้น มีอกุศลเป็นบริวารมากหรือน้อยหรือไม่มีเลย หรือจะเป็นไปในลักษณะของกุศลเจตนา ที่มีกำลังมากกว่าขณะที่เราไม่ช่วยซื้อ ตามที่คุณเผดิมกล่าวไว้ หรือไม่ อย่างไรครับ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 20 มิ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 5

ครับ ของบางอย่างเราก็ไม่อยากได้ แต่ขณะที่เราช่วยซื้อ ถ้าไม่มีอโลภเจตสิกที่คิด

สละแล้วก็คงจะไม่ช่วยซื้อแน่นอน ขณะที่กุศลไม่มีกำลังหรือกุศลมีกำลังอ่อน ขณะนั้น

ก็ต้องมีอโลภเจตสิกที่เป็นไปในความไม่ติดข้อง ซึ่งอโลภเจตสิกเกิดจิตที่เป็นธรรม

ฝ่ายดีทุกประเภท และขณะที่เป็นกุศลขณะนั้นต้องอโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอครับ

ไม่เช่นนั้นก็คงไม่สละทรัพย์ตัวเองที่จะช่วยซื้อเพราะคิดถึงความสุขของบุคคลนั้น ซึ่ง

ไม่ว่าเป็นกุศลระดับใดจะมีกำลังอ่อนหรือมีมีกำลังมากที่ประณีต จะต้องมีอโลภเจตสิก

เกิดร่วมด้วยเสมอ จึงมีการสละ มีความไม่ติดข้องในวัตถุนั้นครับ แม้ของนั้นเราจะไม่

อยากได้ทำให้กุศลมีกำลังอ่อน หรือมีอกุศลอื่นๆ เป็นบริวารมีความเสียดาย ไม่ชอบของ

ที่ซื้อก่อนซื้อ แต่ขณะที่ช่วยซื้อ เป็นการสละวัตถุคือทรัพย์ของตนอันเป็นกุศลซึ่งมี

อโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ ดังนั้นธรรมจึงพิจารณาทีละขณะจิต ขณะที่

ไม่อยากได้ ไม่ชอบของที่ซื้อกับขณะที่คิดช่วยซื้อหรือขณะที่ช่วยซื้อเป็นคนละขณะจิต

กันครับ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 171

อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า

บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น


ความคิดเห็น 7    โดย ajarnkruo  วันที่ 21 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 21 มิ.ย. 2553

การซื้อกับการให้เปล่าต่างกันค่ะ

ขณะที่ซื้อ เพราะเกิดเมตตา กรุณาได้มั้ยค่ะ

ท่านน่าจะทราบสภาพจิตของตัวเองได้ดีกว่าผู้อื่น


ความคิดเห็น 9    โดย ajarnkruo  วันที่ 21 มิ.ย. 2553

แม้แต่กุศลขั้นทาน ก็ยังมีความละเอียดที่แตกต่างกันไปตามสภาพของจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวันจริงๆ อาศัยพระธรรมและกัลยาณมิตรเกื้อกูลให้เข้าใจ จึงจะค่อยๆ เข้าใจได้ถูกต้องได้ .....ขออนุโมทนาทุกๆ ความเห็นอีกครั้งครับ


ความคิดเห็น 10    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 21 มิ.ย. 2553


นโม ตัสส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

.ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

----------

โดยส่วนตัว มีความเห็นว่า เป็นการให้อย่างหนึ่ง คือ ให้การอุดหนุน

แม้จะเป็นการซื้อ แต่ก็มีเจตนาที่จะให้ความช่วยเหลือด้วย ต่างจากการซื้อทั่วๆ ไป ครับ

แต่ก็มีความแตกต่างจากการให้วัตถุทาน

เพราะในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เวยยาวัจจมัย หรือ การขวนขวายให้ความช่วยเหลือ

จัดเข้าใน ศีลมัย ซึ่งเป็น จาริตศีล หรือสิ่งที่ควรประพฤติอันเป็นไปในกุศล ครับ

อนึ่ง อภัยทาน ก็จัดเป็นทานอย่างหนึ่งด้วย แม้จะไม่ได้ให้เป็นวัตถุทานก็ตาม

จึงเป็นความละเอียดของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง โดยนัยต่างๆ

ขออนุโมทนาครับ

----------

.ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านไปเสีย.


ความคิดเห็น 11    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 22 มิ.ย. 2553

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เรา เมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบส ได้คิดว่า (เป็นข้อความที่

ท่านสุเมธดาบสสอนตนเอง)

“… ธรรมดาว่า น้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอ

กัน ชะล้างมลทินคือธุลี (สิ่งสกปรก) ออกได้ แม้ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึง

เจริญเมตตาบารมี เจริญเมตตาไปสม่ำเสมอในชนผู้ทำประโยชน์และผู้ไม่ทำประโยชน์

แล้ว ท่านจักบรรลุสัมโพธิญาณ”

(ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)

จิตที่คิดช่วยซื้อ.เป็นเมตตา..เป็นกุศลจิต..ขณะนั้นแม้ไม่อยากได้ของก็รับเพราะเกรงว่า

ผู้ขายจะคิดว่าดูถูก...บางครั้งคนขายไม่ยอมรับเงินถ้าไม่เอาของก็มี...การขายของได้

เป็นกำลังใจของผู้ขาย.....นิสัยคนไทยเวลาเห็นคนสูงอายุหรือเห็นคนขายที่ขายไม่

ได้..มักช่วยซื้อคะ...เป็นทานหรือไม่ มักไม่ได้คิดแต่รู้ว่าทำแล้วจิตผ่องใสมีความสุข...ก็

ทำต่อไปเถอะคะ


ความคิดเห็น 12    โดย pamali  วันที่ 22 มิ.ย. 2553
ขณะที่คิดช่วยซื้อ จิตมีเมตตาแม้ซื้อเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นการสะสมกุศลจิตที่ดีใช่ไหมคะ

ความคิดเห็น 13    โดย choonj  วันที่ 22 มิ.ย. 2553

กุศลทั้งหลายเมื่อให้ผลก็วิจิตรแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย แต่ที่แน่ๆ อยู่ใน ทาน ศีล ภาวนา ให้ผลเป็นสุขติดีทั้งนั้น ครับ


ความคิดเห็น 14    โดย pamali  วันที่ 23 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย saifon.p  วันที่ 23 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย ชีวิตคือขณะจิต  วันที่ 26 มิ.ย. 2553

ไม่พึงสรุปโดยง่ายขณะที่ช่วยซื้อ คนขายเข้าใจว่าขายได้ ย่อมเิกิด Demand เหมือนล่อซื้อยาบ้า ไม่ระบาดก็เหมือนระบาด ไม่มีคนเสพก็เหมือนมีคนเสพขณะเมตตา กรุณา คิดสงเคราะห์เป็นกุศลจิต ขณะช่วยซื้อก็เป็นกุศลจิตแต่กอปรด้วยทิฎฐิ มานะ


ความคิดเห็น 17    โดย wannee.s  วันที่ 26 มิ.ย. 2553

ทาน หมายถึงการให้ การสละกิเลส โดยไม่เอาสิ่งของมาแลกเปลี่ยน

การช่วยซื้อ เกิดจากกุศลจิต ที่ช่วยเหลือบุคคลอื่น ให้เขาได้รับความสุข


ความคิดเห็น 18    โดย paderm  วันที่ 26 มิ.ย. 2553
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16541 ความคิดเห็นที่ 16 โดย ชีวิตคือขณะจิต

ไม่พึงสรุปโดยง่ายขณะที่ช่วยซื้อ คนขายเข้าใจว่าขายได้ ย่อมเิกิด Demand เหมือนล่อซื้อยาบ้า ไม่ระบาดก็เหมือนระบาด ไม่มีคนเสพก็เหมือนมีคนเสพขณะเมตตา กรุณา คิดสงเคราะห์เป็นกุศลจิต ขณะช่วยซื้อก็เป็นกุศลจิตแต่กอปรด้วยทิฎฐิ มานะ


เป็นบุญหรือบาปสำคัญที่จิตเป็นสำคัญ ขณะที่ช่วยซื้อด้วยจิตสงสาร อนุเคราะห์ เป็น

กุศล พิจารณาจากจิตของคนที่ช่วยซื้อ ไม่ได้พิจารณาจากจิตคนที่ขาย ขณะที่ช่วยซื้อ

ด้วยจิตตามที่กล่าวมาจึงเป็นกุศล ส่วนคนขายจะมีความต้องการอยากจะขายเพิ่ม

อย่างไร เป็นจิตของคนขายครับ ส่วนการล่อซื้อยาบ้า ไม่ไ่ด้มีความช่วยซื้อเพื่อช่วย

เหลือ ด้วยจิตที่เป็นกุศล แต่มีความต้องการจับคนขาย จิตจึงต่างกันกับการช่วยซื้อใน

ข้างต้นที่กล่าวมาครับ ดังนั้นการกระทำเหมือนกัน จิตต่างกันก็ได้ และขณะที่เมตตา คิด

สงเคราะห์ด้วยจิตที่เป็นกุศลในการช่วยซื้อ ขณะนั้นเป็นกุศลจะไม่ประกอบด้วยทิฏฐิและ

มานะเลยเพราะเจตสิกทั้งสองประเภทที่กล่าวมาเป็นอกุศลเจตสิก จะไม่เกิดกับจิตที่

เป็นกุศลในขณะนั้นครับ แต่อาจเป็นคนละขณะจิตกันได้ เช่นหลังซื้อแล้วก็สำคัญตนว่า

เราเป็นคนช่วยเหลือเขา มีมานะเกิดขึ้นได้หลังจากช่วยซื้อแล้วครับ ธรรมจึงต้อง

พิจารณาที่จิตและพิจารณาทีละขณะจิตครับ


ความคิดเห็น 19    โดย khampan.a  วันที่ 26 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 20    โดย ชีวิตคือขณะจิต  วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ผู้เจริญสติย่อมระลึกได้ในสัมมาอาชีวะ พึงอุดหนุนซื้อด้วยความยินดี ไม่มีความสำคัญตนทั้งก่อนและหลัง เป็นผู้มีความสงบกายสงบใจด้วยกัมมัสสกตาธรรม


ความคิดเห็น 21    โดย พุทธรักษา  วันที่ 2 ก.ค. 2553

ขณะจิตที่ประกอบด้วยเจตนาที่สละความตระหนี่... (เช่น ตระหนี่ทรัพย์ เป็นต้น) ขณะนั้น เป็น ทาน
ส่วนขณะจิตที่เกิดสลับต่อไปนั้น...แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา.
แต่สิ่งที่น่าพิจารณา คือ กุศลจิตและกุศลกรรม ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ในชีวิตประจำวันเพราะฉะนั้น...เห็นด้วยกับความเห็นที่ ๑๐ ที่กล่าวว่า
.ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านไปเสีย..
ขออนุโมทนาค่ะ