ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านผู้ฟัง ผมขอเรียนถามว่า ระวัง กับ สังวร เหมือน หรือ ต่างกัน อย่างไร
ท่านอาจารย์ "สังวร" หมายถึง สำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมายถึง สำรวมด้วยสติที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ การจงใจ ที่จะไปยืนสำรวม ไปเดินสำรวม ฯลฯ แต่ไม่ระลึกรู้ ตรงลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น
ท่านผู้ฟัง ผมอยากทราบว่า การสังวรกับการระวังทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นไม่เหมือนกันใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ จะใช้คำอะไรก็ได้แต่ต้องเข้าใจ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมในขณะนั้นๆ ว่าเป็นสติ ที่กำลังระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือเปล่า หรือว่า เป็น "ตัวตน" ที่กำลังระวัง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สติเท่านั้น ที่ระลึก ปัญญาเท่านั้น ที่รู้ว่าขณะนั้นๆ ที่กำลังปรากฏ (ที่ใช้คำว่า ระวัง หรือสังวร สัมปชัญญะ) เป็นตัวตน เป็นเราที่กำลังระลึกรู้หรือว่า เป็นสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏว่า ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านผู้ฟัง แล้ว "การสังวร" ที่จะไม่กระทำ อกุศลกรรม ทั้งหลายต้องอาศัย "สัมปชัญญะ" ทุกครั้ง หรือเปล่าครับ
ท่านอาจารย์ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน หรือ อบรมเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นผู้ที่ระลึกและรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏความรู้ต้อง เจริญขึ้น รู้มาก รู้น้อยไม่สำคัญแต่ต้องเป็น ความรู้ ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวตประจำวัน
ขออนุโมทนา
ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
สติปัฏฐานและสติสัมปชัญญะ
อินทรียสังวรและญาณสังวร
วิปัสสนากับสติปัฏฐาน
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ ให้รายละเอียดเพื่อเพิ่มความเข้าใจดีมากค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ