๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
โดย บ้านธัมมะ  28 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42323

[เล่มที่ 89] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๕

อนุโลมทุกปัฏฐาน (ต่อ)

๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 596

๑. เหตุปัจจัย 541/596

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 597

๑. เหตุปัจจัย 542/597

๒. อารัมมณปัจจัย 543/597

๓. อธิปติปัจจัย 544/598

๔. อนันตรปัจจัย 545/600


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 89]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 596

๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๕๔๑] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อาศัยโลภะ. พึงกระทำจักรนัย.

๒. ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกิเลสทั้งหลาย.

๓. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม และ ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งกิเลส และสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยโลภะ.

โดยนัยดังกล่าวมานี้ ปฏิจจวาระก็ดี สหชาตวาระก็ดี ปัจจัยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับกิเลสทุกะ ไม่มี ต่างกัน.

หลักการจำแนกวาระ ต่างกัน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 597

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๕๔๒] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุ ปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัย กิเลสทั้งหลายที่เป็นสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

โดยนัยดังกล่าวมานี้ มี ๔ วาระ เหมือนกับกิเลสทุกะ.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๕๔๓] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกรรม ด้วยอำนาจของ อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภกิเลสทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกิเลส ย่อม เกิดขึ้น.

พึงกระทำมูล (วาระที่ ๒)

เพราะปรารภกิเลสทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสิกะ แต่ไม่ใช่ กิเลสธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

พึงกระทำมูล (วาระที่ ๓)


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 598

เพราะปรารภกิเลสทั้งหลาย กิเลสและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อม เกิดขึ้น.

๔. ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกธรรม แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกธรรม แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมที่ได้สั่งสม ไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน, ย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ฯลฯ

ครั้นเมื่อฌานเสื่อมไป โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีความ เดือดร้อนใจ.

พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน.

พิจารณาจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสิกะ แต่ ไม่ใช่กิเลสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ อารัมมณปัจจัย.

สองนัยนอกนี้ เหมือนกับกิเลสทุกะ แม้อารัมมณปัจจัย ที่เป็นปัจจัย สงเคราะห์ ก็เหมือนกับกิเลสทุกะ.

๓. อธิปติปัจจัย

[๕๔๔] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของ อธิปติปัจจัย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 599

มีอย่างเดียว คือที่เป็นอารัมมณาธิปติ มี ๓ วาระ.

๒. ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะ แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะ แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ด้วยอำนาจ ของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมที่ได้สั่งสม ไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

พระเสขบุคคลทั้งหลายกระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสังกิเลสิกะ แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมเป็นสังกิเลสิกะ แต่ไม่ใช่กิเลสธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

แม้สองวาระนอกนี้ ก็เหมือนกับกิเลสทุกะ แม้อธิปติปัจจัย ที่เป็น ปัจจัยสงเคราะห์ ก็เหมือนกัน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 600

๔. อนันตรปัจจัย

[๕๔๕] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งกิเลสและสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ เหมือนกับกิเลสทุกะ

๒. ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสิกะแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน, อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิเลสแต่ไม่ใช่กิเลสธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

สองวาระนอกนี้ เหมือนกับอนันตรปัจจัยในกิเลสทุกะ ไม่มีแตกต่าง กัน.

แม้ปัจจัยสงเคราะห์ในอนันตรปัจจัย เพราะปัจจัยทั้งปวง ก็เป็นเช่น กับกิเลสทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.

ในอุปนิสสยปัจจัย โลกุตตรธรรม ไม่มี ทุกะนี้ เหมือนกับกิเลสทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน

กิเลสสังกิเลสิกทุกะ จบ