เหตุอะไรให้เกิดสติปัฎฐาน
โดย เมตตา  24 ก.พ. 2552
หัวข้อหมายเลข 11338

มีสหายธรรมหลายท่านมักจะถามหาวิธีที่จะให้สติปัฎฐานเกิด

ขอเชิญสหายธรรมทุกท่านร่วมกันแสดงความเห็น

ร่วมกันสนทนาธรรมว่า

เหตุอะไรให้เกิดสติปัฎฐาน

ขออนุโมทนาค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย orawan.c  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขอเชิญคลิกอ่าน...

อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ๔


ความคิดเห็น 2    โดย พุทธรักษา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์.
.
.
.

แต่ละท่าน ควรเปรียบเทียบความตรง ของท่านเองกับพระธรรมเทศนา ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง.
แม้แต่เรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐานท่านต้องการอะไร...?
ถ้าท่านต้องการปัญญาจริงๆ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจปรากฏให้ระลึก ศึกษาและรู้ได้ตามปกติ ตามความเป็นจริงไม่มีการบังคับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสร้างสิ่งอื่นขึ้นมารู้.
เมื่อมีความตรงต่อสภาพธรรมที่ปรากฏก็จะสามารถ ละความเห็นผิด ความสงสัย ความไม่รู้ ที่เคยยึดถือ สภาพธรรมต่างๆ ว่าเป็นตัวตน ได้.
.
.
.
เหตุ และ ผล ในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน.
.
.

. อยากทราบว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติอย่างไร.? โดยมาก คำถามที่ได้รับบ่อยๆ คือ......จะปฏิบัติอย่างไร .............แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ตั้งแต่ต้น. แทนที่จะถาม หรือ คิดว่า จะปฏิบัติอย่างไร................?.
.
.
ขณะนี้ กำลังเห็น กำลังได้ยิน ฯลฯ เป็นสภาพธรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า
..........ไม่ใช่ตัวตนเลย.
เพราะว่า ขณะที่กำลังเห็น เป็นชั่วขณะจิตหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้น เพราะมีเหตุปัจจัย............แล้วก็ดับไปทันที. ฉะนั้น แทนที่จะคิดว่า จะปฏิบัติอย่างไร....................?
.
.
.
ขณะที่เห็น ก็เป็นธรรม ขณะได้ยิน ฯลฯ
.....ก็เป็นธรรม

คิดนึก ก็เป็นธรรม ทุกอย่าง เป็นธรรม ไม่ขาดธรรมเลย.
ปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วหรือยัง
.............?
ไม่ใช่เรื่องที่จะปฏิบัติ ให้ผิดปกติ
.......

............แต่เป็นการอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริงให้ปัญญาเพิ่มขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อย.
.
.
.
ควรเข้าใจ....ก่อนไปปฏิบัติ.
ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย sopidrumpai  วันที่ 24 ก.พ. 2552

สติ...มีความจำมั่นคง หรือสัญญา เป็นเหตุใกล้


ความคิดเห็น 4    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ตาม ความคิดเห็นที่ 2 ผมเข้าใจว่ารู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับเรา ยังมีความเห็นผิด เป็นบัญญัติส่วนรู้ลักษณะตามความเป็นจริงเป็นผล ซึ่งไม่มีเรา เป็นปรมัตถ์ ครับ


ความคิดเห็น 5    โดย เมตตา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

เรียนคุณจำแนกไว้ดีจ๊ะ ตาม ความคิดเห็นที่ 2 โดยคุณพุทธรักษา ดิฉันอ่าน

หลายรอบรู้สึกซาบซึ้ง และเกิดความศรัทธาในเนื้อความเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีข้อความใดเลยที่บ่งถึง รู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับเรา ยังมีความเห็นผิด เป็น-บัญญัติ ตามที่คุณจำแนกเข้าใจเลยค่ะ การศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจพระธรรม

จึงเป็นสาระสำคัญของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ควรที่จะประมาทน่ะค่ะ

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษา และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย Sam  วันที่ 24 ก.พ. 2552

เหตุอะไรให้เกิดสติปัฎฐาน

ผมคิดว่า...ปัญญาเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดครับ ปัญญาขั้นต้นคือความเข้าใจจาก

การฟังธรรมด้วยความใส่ใจ

เมื่อปัญญาขั้นฟังมั่นคงขึ้น (ความสงสัยในอรรถะน้อยลง) ก็จะเป็นเหตุให้สติปัฏฐาน

เกิดขึ้นทำกิจระลึกศึกษาสภาพธรรม ทีละเล็ก ทีละน้อย ทีละนิด ทีละหน่อย จนกว่าสติ

ที่เกิดพร้อมด้วยปัญญาจะมั่นคงจนเป็นปกติในชีวิตประจำวันครับ


ความคิดเห็น 7    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 24 ก.พ. 2552

เรียนคุณเมตตาครับ ขอขอบคุณที่สนทนาด้วยครับ ผมหมายถึง ความเข้าใจของผมเอง และจะขอความเห็นจาก คุณ พุทธรักษา ครับ

เพราะคนทั่วไปเข้าใจว่าสภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ปนกัน ทั้งรูปทั้งนามเป็น

ตัวตน ซึ่งสหายธรรมหลายท่านคงไม่ปฏิเสธว่าในการเจริญสติปัฏฐานยังปนกันอยู่

ต่อเมื่อสติระลึกได้จึงรู้สภาพธรรมที่เป็นจริง ประจักษ์แจ้งในลักษณะที่ต่างกันของ

นาม-รูป จึงเป็นการรู้สภาพธรรมตามเป็นจริง

ผมติดตามกระทู้ของคุณ พุทธรักษา และท่านวิทยากรอยู่หลายท่านเพื่อซ้อมความเข้า

ถูกต้องของตนเองครับครับ และผมยังมีความเห็นว่าถ้าแยก ๒ คำ นี้และให้คำนิยาม

เฉพาะของคำ จะเป็นประโยชน์ในการศึกษา ดังนี้

สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็น บัญญัติ

สภาพธรรมที่เป็นจริง เป็น ปรมัตถ์

ท่านทั้งหลายเห็นด้วยไหมครับ


ความคิดเห็น 8    โดย suwit02  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ใจผมรักกระทู้นี้ครับ

01614 อาหารของสติปัฏฐาน โดย kanchana.c

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ .........

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 24 ก.พ. 2552
รู้สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นเหตุรู้สภาพธรรมที่เป็นจริง เป็นผล

ความคิดเห็น 10    โดย พุทธรักษา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขอร่วมสนทนา กับคุณ จำแนกไว้ดีจ้ะ
.
.
.

สภาพธรรมที่ปรากฏ ต้องหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริง เพราะมี "ลักษณะ" จึงปรากฏให้รู้ได้จึงเป็นปรมัตถ์แน่นอน...อันนี้จริงไหมคะ.?
.

เพราะปรมัตถ์ หมายถึง สิ่งที่มีจริงแต่จะปรากฏให้จิตรู้หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะถ้าวิถีจิตไม่เกิด ก็ไม่รู้อารมณ์ทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ละทางๆ จริงไหมคะ.?.
เมื่อสภาพธรรม คือปรมัตถ์ มีจริงก็ต้องเป็นพิจารณาว่า เป็นจิต เจตสิก หรือรูป...ในขณะที่ปรากฏเป็นอารมณ์..
ขอย้ำว่า สภาพธรรมมีจริงจะปรากฏให้จิตรู้ได้เมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดคือมีการกระทบกันของอายตนะ เช่นการเห็นในขณะนี้

ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูป อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเห็นการเห็นก็เกิดไม่ได้หรือถ้ารูป ไม่ปรากฏ การเห็น ก็เกิดไม่ได้ เป็นต้น.หรือในขณะที่หลับสนิท จิตเป็นภวังค์ ขณะนั้น วิถีจิตไม่เกิดก็รู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตาไม่ได้ เป็นต้น.
วิถีจิตนั้นแยกกันโดยการเกิดคือ ทางกายทวาร และ มโนทวารเรียกว่า ทางปัญจทวารวิถีจิต และ ทางมโนทวารวิถีจิต.
อารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวารวิถีจิต มีปรมัตถ์ เป็นอารมณ์.
.
หากสติเกิด ระลึกรู้อารมณ์ใดๆ ทางปัญจทวาร ทวารใดทวารหนึ่งคือ สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น ปรากฏทางปัญจทวารวิถีจิต ก็ต้องมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีบัญญัติเป็นอารมณ์..
อารมณ์ ที่จิตรู้ทางปัญจทวารวิถีจิต สืบต่อไปยังมโนทวารวิถีจิต อย่างรวดเร็วสามัญบุคคลอย่างเรา เมื่อเห็นอะไรแล้ว รู้ว่าเป็นอะไร (บัญญัติ) ทันทีจนเสมือนว่า.....เห็นแล้ว รู้เลย ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน สิ่งของใดๆ ซึ่งเป็นปกติธรรมดา ของสามัญบุคคล...แสดงให้เห็นว่า จิตเกิดดับเร็วมากและยังรู้การเกิดดับไม่ได้ ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ..
และสำหรับเราๆ ที่สติปัฏฐานยังเกิดน้อยมากจึงไม่มีปัจจัยที่จะทำให้สามารถแยกรูปธรรม และ นามธรรมได้.อาจจะมีสติปัฏฐานเกิดได้บ้าง เมื่อมีเหตุปัจจัย (ในกรณีที่ไม่สับสนระหว่างลักษณะของนามธรรม-รูปธรรม) แต่ปัญญา ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานของผู้ที่ได้อบรมมาดีแล้ว จนมีความคล่องแคล่ว ก็เป็นปัจจัยให้สามารถที่จะเห็นความแตกต่าง ระหว่างนามและรูปได้..
การที่เราแยกไม่ออก
ก็เพราะสติปัฏฐานเกิดน้อย จนไม่มีกำลังพอ ที่จะเป็นเหตุให้ปัญญารู้ชัด ในความต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมจนกว่าจะประจักษ์ได้ โดย "วิปัสสนาญาณ"จึงต้องอบรมเจริญวิปัสสนา หรือ การเจริญสติปัฏฐาน นั่นเอง..

และต้องค่อยๆ อบรม ตามกำลังปัญญา โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นนอกจากฟังพระธรรมให้เข้าใจเสียก่อนคือ ความเข้าใจที่เกิดจากการฟังพระธรรม เป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดปัจจัยแก่สติปัฏฐานและไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ... จึงเป็น จิรกาลภาวนาเพราะถ้าง่าย...คงจะมีพระโสดาบัน ประจักษ์การเกิดดับของนามธรรม และ รูปธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ) เป็นจำนวนมากทีเดียวซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ง่ายขนาดนั้น...จริงไหมคะ.?.
ดังนั้น สภาพธรรมที่ปรากฏ จึงไม่ใช่บัญญัติ.

เพราะบัญญัติ เป็นสมมติที่ใช้เรียกสภาพธรรมเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันแล้วแต่ว่า จะใช้ภาษาอะไรบัญญัติ ก็ได้บัญญัติจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง เมื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง ก็ไม่ใช่สภาพธรรมและถ้าไม่มีสภาพธรรม (นามธรรม รูปธรรม) ก็ไม่มีบัญญัติ..
ส่วนสภาพธรรมที่มีจริง
มี"ลักษณะ" เฉพาะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่ไม่ซ้ำ...ไม่เปลี่ยนแม้ไม่มีชื่อ (บัญญัติ) ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละประเภท ก็ต้องเป็นเช่นนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง.
เช่น นามธรรม ก็ต้องเป็นสภาพรู้ จะเป็นสภาพที่ไม่รู้ คือ รูปธรรมนั้น เป็นไปไม่ได้ เป็นต้น..
ส่วนบัญญัติ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ว่า โดยปรมัตถ์แล้ว ไม่มี.
ที่เห็นว่ามี เพราะเป็นสัญญาวิปลาส คือความเห็นผิด ที่ยึดมั่นว่าเป็นตัวตน ที่สะสมมานานแสนนานนั่นเองเมื่อไม่มี ก็ไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นจริง ไม่ใช่ปรมัตถ์..
ส่วนสภาพธรรมที่ปรากฏ.
ก็ต้องปรากฏโดยความเป็นนามธรรม หรือ รูปธรรมจึงไม่เป็นบัญญัติ..


และอารมณ์ จะปรากฏให้จิตรู้ได้ ก็เมื่ออารมณ์นั้นๆ เกิดขึ้นและมีการกระทบกันระหว่างจิต และ อารมณ์ที่กำลังปรากฏสภาพธรรมที่รู้ คือจิตและเจตสิกสภาพธรรมที่ถูกจิตรู้ เป็นจิตก็ได้ เจตสิกก็ได้ รูปก็ได้ นิพพานก็ได้จิต และ เจตสิก ซึ่งเป็นสภาพรู้ จึงรู้ได้ทุกอย่าง (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) .
ส่วนสภาพธรรมที่เป็นจริงก็ต้องเป็นปรมัตถ์
เพราะปรมัตถ์ คือสิ่งที่มีจริง มี ๔ ประเภท ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ นิพพานแยกโดยย่อ ก็คือ นามธรรม เป็นสภาพรู้ และรูปธรรม คือ สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย.
.
.
.ต้องเป็นปัญญาขั้น "วิปัสสนาญาณ" จึงจะประจักษ์ การเกิดดับ ของนามธรรม และ รูปธรรมได้
ปัญญาจากการเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่ วิปัสสนาญาณ แต่ ปัญญาขั้นสติปัฏฐาน ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ไปถึงปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณได้.
.
.
.
ขออนุโมทนา ที่สนใจศึกษาพระธรรมอันเป็นเหตุที่จะทำให้เห็นคุณค่าของพระธรรมยิ่งขึ้นค่ะ.



ความคิดเห็น 11    โดย พุทธรักษา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

ถ้า ผล คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน..
.
.เหตุ ก็คือ การระลึกรู้ ตรง ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังที่ปรากฏในขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ.


ความคิดเห็น 12    โดย เมตตา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

เรียนคุณจำแนกไว้ดีค่ะ ยินดีที่ได้สนทนาธรรมด้วยค่ะ แต่ที่กล่าวว่า

สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็น บัญญัติ

สภาพธรรมที่เป็นจริง เป็น ปรมัตถ์

ท่านทั้งหลายเห็นด้วยไหมครับ

ไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะสภาพธรรมที่ปรากฎต้องเป็นปรมัตถ์จะเป็นบัญญัติไม่ได้แน่-

นอน บัญญัติไม่มีสภาวะ หรือสภาพธรรม แต่บัญญัติเป็นอารมณ์ของจิตได้

หมายถึงขณะคิดนึกมีบัญญัติเป็นอารมณ์ค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 25 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาและไม่สงสัยที่คุณ พุทธรักษา กรุณาอธิบายครับ ถ้าสนใจศึกษาพระธรรมเราคงต้องศึกษาเรื่องญาณ ๑๖ กันต่อไปอีก เพราะต้องยกมากล่าวในการสนทนาตามที่คุณได้ยกมานั้นขอขอบคุณ คุณ เมตตา ที่แสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ผมขอแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ที่ตั้งกระทู้ถามว่าสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นบัญญัติ เป็นเหตุ "เป็นเหตุ" ในที่นี้คือ "การฟัง การศึกษา สภาพธรรมที่ปรากฏ"เพราะในการสื่อความหมายกันทั่วไป น่าจะมีคำเรียกสภาพธรรม ที่ยังมีความเป็นตัวตนสัตว์ บุคคล เรา เขาอยู่ว่า "สภาพธรรมที่ปรากฏ" ส่วนเมื่อสติระลึกได้ว่าไม่ใช่เรา ฯลฯเป็นปรมัตถ์ น่าจะใช้คำเรียกว่า "สภาพธรรมที่เป็นจริง" อันเป็นผล ซึ่งผมมีความเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ในขั้นศึกษามาก หรือว่า จะเรียกสภาพธรรมที่ปนกันของนาม-รูป ว่าอย่างไรดีครับ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจเจตนานะครับเพราะผมเห็นว่าเป็นการสนทนา จึงแสดงความคิดเห็น ถ้าจะเป็นการทำให้ความเข้าใจความหมายที่ใช้เรียกชื่อ คำศัพท์ผิดไป ไม่ถูกต้องอย่างไร ผมขอขมาอภัยไว้ก่อนครับ

ความคิดเห็น 14    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 25 ก.พ. 2552
คุณ เมตตา ครับคุณตั้งกระทู้ว่า เหตุอะไรให้เกิดสติปัฎฐานผมขอแสดงความคิดเห็นว่า คือ การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง โดยศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏ ซึ่งปนกันอยู่สองสภาพ คือ สภาพที่ถูกรู้ และสภาพที่รู้ ถูกไหมครับ

ความคิดเห็น 15    โดย sopidrumpai  วันที่ 25 ก.พ. 2552

คำว่าสภาพธรรมไม่ว่าที่ปรากฏ ณ ปัจจุบันขณะ หรือที่เป็นจริงตามสภาวะ จะเป็นเหตุ

คือการปฏิบัติก็ดี ผลก็ดี สภาพธรรมทั้งปวงเป็นปรมัตถ์ค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 25 ก.พ. 2552

ถ้าอยากได้สติปัฏฐาน....จะทำอย่างไร


ความคิดเห็น 17    โดย คุณ  วันที่ 25 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 18    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 25 ก.พ. 2552

ดังนั้น บัญญัติคือความนึกคิดเท่านั้น ใช่ไหมครับ?

เมื่อหยุดคิด ก็จะพบปรมัตถธรรมใช่ไหมครับ


ความคิดเห็น 19    โดย เมตตา  วันที่ 25 ก.พ. 2552

เรียนคุณจำแนกไว้ดีจ๊ะ สภาพธรรมที่กำลังปรากฎขณะนี้ยังเข้าใจได้ยาก ควรที่

จะฟังพระธรรมให้เข้าใจ และอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะ

สภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ถ้าขณะนี้ปัญญายังไม่สามารถรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฎได้ ปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณไม่ต้องไปพูดถึงเลยค่ะ เพราะรู้ได้แต่เพียงเรื่อง-

ราว และชื่อของสภาพธรรมเท่านั้น

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่.......

ธรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในหนังสือ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 20    โดย พุทธรักษา  วันที่ 26 ก.พ. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11338 ความคิดเห็นที่ 18 โดย จักรกฤษณ์

ดังนั้น บัญญัติคือความนึกคิดเท่านั้น ใช่ไหมครับ?

เมื่อหยุดคิด ก็จะพบปรมัตถธรรมใช่ไหมครับ


บัญญัติ ไม่ใช่ความนึกคิดค่ะ.

เพราะบัญญัติ เป็นชื่อ ที่ใช้สมมติเรียกสภาพธรรมต่างๆ เพื่อใช้สื่อความหมายให้ตรงกันในการสนทนาบัญญัติไม่มีจริง คือไม่มีสภาวะไม่มีลักษณะแต่ความคิดนึก มีสภาวะ มีลักษณะ.
.
สติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะของความคิดนึกได้แต่ ระลึกรู้ลักษณะของบัญญัติไม่ได้ เพราะบัญญัติไม่มีลักษณะให้ระลึก.
.
ปัญญา จึงรู้ลักษณะของบัญญัติไม่ได้

แต่ปัญญารู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่ถูกบัญญัติได้.โดยรู้ว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่บัญญัติเรียกเป็นชื่อต่างๆ ก็คือ สภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่งที่ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก รูป และนิพพานหรือ ปรมัตถ์ธรรม ๔หรือ นามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้น
.เช่น คำว่า สัตว์ บุคคล เป็นบัญญัติที่ใช้เรียก สิ่งที่ประชุมรวมกันของ ขันธ์ ๕

ถ้าแยกขันธ์ ๕ ออกจากกันแล้ว จะไม่มีสิ่งใดที่ยึดถือได้ว่าเป็นสัตว์ บุคคลไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีสัตว์ บุคคล ใดๆ เลย.

.
ส่วนคำถามที่ว่าหยุดคิดแล้ว จะพบปรมัตถธรรมนั้น ขอเรียนถามว่า
เมื่อหยุดคิด จะพบปรมัตถธรรมได้อย่างไรคะ.?
สามารถที่จะหยุดคิดได้หรือ...ถ้ามีเหตุปัจจัยให้คิด.?
ถ้าหยุดคิดได้ สภาพธรรมก็ไม่เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญญชาได้และความจริงที่ทรงแสดง ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.!
ความคิดจะไม่เกิด ก็ต่อเมื่อขณะที่จิตเป็นภวังค์ และ ขณะที่จิตรู้อารมณ์ทางปัญจทวารเช่น ขณะหลับสนิท โดยไม่ฝัน...ถ้าฝัน ขณะนั้นก็เป็นความคิดแล้วจะกล่าวไปใย ถึงขณะที่ตื่น..................................ที่จะไม่คิดถึงเรื่องราวต่างๆ มากมายในชีวิตประจำวัน.
.
การพบ หรือ รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมนั้น ก็มีหนทางเดียว คือ ศึกษาพระอภิธรรม ให้เข้าใจก่อน ว่า ปรมัตถธรรมคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หมายถึงอะไร.
พระพุทธองค์ ทรงแสดงปรมัตถธรรม เพื่อ ให้ทราบว่าการยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเรา เป็นสิ่งใดๆ นั้นเป็นความเห็นผิด เพราะว่า แท้จริงแล้ว เป็นปรมัตถธรรม หรือนามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้น.


การไม่ยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นตัวตนด้วยการรู้ว่า ลักษณะของรูปธรรม และ นามธรรม นั้นต่างกันนามธรรม และรูปธรรมจะไม่ปะปนกัน...มีการเกิดดับ และ ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ต้องระลึกรู้ จนกว่าจะประจักษ์แจ้งว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...คืออย่างไร.! ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง บ่อยๆ เนืองๆ จนชินขึ้นๆ จนกว่าจะหมดความสงสัย หมดความเห็นผิดในสภาพธรรมทั้งหลายโดยประจักษ์การเกิดดับ ของนามธรรม และ รูปธรรม (ปรมัตถธรรม) .
ปัญญาขั้นฟัง ก็ขาดไม่ได้ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจฟังเท่าไรก็ไม่พอถ้ายังไม่เข้าใจ....หรือแม้เข้าใจบ้างก็ยังไม่พอเพราะปัญญาขั้นฟัง ละความไม่รู้ในสิ่งที่ไม่เคยฟังไม่เคยเข้าใจแต่ ไม่ได้ละความยึดถือสภาพนามธรรม และ รูปธรรม ว่า เป็นตัวตนปัญญาขั้นฟัง...ยังไม่สามารถละคลายความเห็นผิดความยึดมั่นในความเป็นตัวตนได้.
การฟัง เป็นขั้นปริยัติ คือศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรม เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม อันเป็นเหตุปัจจัยของ"การปฏิบัติ"คือ การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม

และสามารถที่จะประจักษ์แจ้ง ในความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรม ได้จริงๆ ในสักวันหนึ่ง....เมื่อเหตุสมควรแก่ผล.
เพราะเหตุว่า เมื่อความเข้าใจขั้นฟังหรือศึกษาถึงพร้อม ก็เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง.
และสติก็ระลึกรู้ได้ โดยไม่ต้องหยุดคิดเสียก่อน.
แม้แต่ความคิด ก็เป็นปรมัตถธรรม เพราะมีสภาวะ หรือลักษณะ ความคิด เกิดทางใจเท่านั้น แล้วแต่ว่าจิตคิดจะรู้อามรณ์อะไร. การคิด คือ การคิดถึงลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ที่รู้ต่อมาจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย (ปัญจทวาร) ในขณะที่ไม่ฝัน. ลักษณะคิด คือ คิดเป็นคำๆ ทางมโนทวาร (ทางใจ) เพื่อรู้ ความหมาย ของสิ่งปรากฏ ทางปัญจทวาร (เช่น ทางตา...กาย) ขณะที่สติปัฏฐานเกิดปัญญาจะรู้ว่า เป็นจิตที่ทำกิจคิด ไม่ใช่เราคิด.
และจิตคิด ก็เป็นามธรรมที่มีจริงประเภทหนึ่ง ต่างกับขณะที่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น เป็นต้น.

ซึ่งตามหลักธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความคิด มีจริง เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น เพราะมีเหตุปัจจัยจึงไม่ใช่เราที่คิดแต่เป็นกิจของสภาพธรรม คือ จิตคิดที่ทำกิจของตนๆ เท่านั้น.
.
.
.
ขออนุโมทนาค่ะ.


ความคิดเห็น 21    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 27 ก.พ. 2552
เรียนคุณ เมตตา ครับ ขอบคุณมากสำหรับความปราถนาดีในเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏครับ ส่วน ธรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในหนังสือ ผมไปอ่านแล้วครับขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 22    โดย akrapat  วันที่ 27 ก.พ. 2552

เหตุให้เกิดสติปัฏฐาน มีได้หลายกรณี แต่ต้องมีความเห็นถูกเป็นหลัก โดยเห็นว่าเป็นธรรมะไม่ใช่เรา ส่วนการสร้างเหตุมีหลาย อย่าง เช่นการฟังธรรม การอ่านหนังสือ การสนทนาธรรม เป็นสร้างปัญญาขั้นการ ฟังกับการคิด เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด จริงแล้วสำหรับผู้ที่สติปัฏฐานเกิดแล้วจะรู้เองว่าจะเจริญสติ ในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม อย่างไรโดยอาจจะใช้เพียงฐานใดฐานหนึ่งเป็นหลัก แต่ผลก็คือถ้าทำถูกสติจะครอบคลุมทุกฐานทุกทวาร โดยไม่ได้จงใจ หมายความว่าสติปัฎฐานจะเกิดระลึกที่ ฐานใด ทวารใด ไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เพราะสติก็เป็นอนัตตา

แต่สำคัญที่สุดต้องเข้าใจว่า สติปัฏฐาน ทำขึ้นไม่ได้ แต่สร้างเหตุได้ สติที่เกิดจากการจงใจ ไม่ใช่สติปัฏฐาน เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

ถูกผิดต้องขอ อโหสิกรรมด้วย อนุโมทนาต่อกุศลจิตทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 23    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 27 ก.พ. 2552

เหตุอะไรให้เกิดสติปัฎฐาน

เปิดประเด็นสนทนาใหม่ครับ กุศลจิต คือ การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ ฯลฯ เป็นเหตุให้ สติเกิดกับจิต


ความคิดเห็น 24    โดย คุณ  วันที่ 1 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 25    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 2 มี.ค. 2552

ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญ คุณพุทธรักษา ที่กรุณาให้คำชี้แนะ และให้

ความกระจ่าง โดยละเอียดและชัดเจน ครับ


ความคิดเห็น 26    โดย sopidrumpai  วันที่ 3 มี.ค. 2552

สิ่งที่นึกคิดเป็นบัญญัติ

แต่สภาพที่นึกคิดเป็นปรมัตถ์


ความคิดเห็น 27    โดย paderm  วันที่ 4 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ