[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 443
ปัณณาสก์
คหปติวรรคที่ ๓
๖. ชีวกสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 443
๖. ชีวกสูตร
[๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอุบาสก.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.
พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วย ตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุมี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 444
ประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น.
พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย จาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการ เห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่น ในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณา อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา อรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
จบ ชีวกสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 445
อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล และจาคะ คละกัน.
จบ อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖