[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 381
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๘
๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 381
๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ
[๒๑๔] ได้ยินว่า พระหัตถาโรหบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง นี้ว่า
แต่ก่อน จิตนี้เคยจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างตกมันไว้ได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 382
อรรถกถาหัตถาโรหปุตตเถรคาถา
คาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ เริ่มต้นว่า อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี. ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดา แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จออกจากพระวิหาร กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลแห่งนายควาญช้าง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ถึงความสำเร็จในหัตถิศิลปศาสตร์ วันหนึ่ง เขาฝึกช้างไปสู่ฝั่งแม่น้ำ อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ คิดว่า การฝึกช้างนี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา การฝึกตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ดังนี้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาจิตบวชแล้ว เรียนกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต เจริญวิปัสสนา ข่มจิตที่วิ่งไปในภายนอกจากกรรมฐาน ได้ด้วยขอสับคือการพิจารณา เพราะได้อบรมมาเป็นเวลานาน ดุจนายหัตถาจารย์ฝึกช้างตัวประเสริฐที่ตกมันดุร้ายได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ได้กล่าวคาถาว่า
แต่ก่อน จิตนี้ เคยท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราจักข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 383
นายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้าง ตกมันไว้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ พระเถระกล่าวไว้ เพราะเหตุที่จิต ซึ่งจะกล่าวต่อไปประจักษ์แก่ตน.
บทว่า ปุเร ได้แก่ ในกาลก่อนแต่การที่ข่มจิต.
บทว่า อจาริ ได้แก่ ท่องเที่ยวไปแล้ว. คือหมุนไปแล้วในอารมณ์ ต่างๆ เพราะความเป็นจิตที่ยังไม่ตั้งมั่น.
บทว่า จาริกํ ได้แก่ ท่องเที่ยวไปตามความปรารถนา ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า (จิตนี้เคยจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ) ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย ดังนี้. บทว่า ตํ ได้แก่ จิตนั้น. บทว่า อชฺช ได้แก่ ในบัดนี้.
บทว่า นิคฺคณฺหิสฺสามิ แปลว่า เราจักข่ม คือกระทำให้ปราศจากการเสพผิด.
บทว่า โยนิโส ได้แก่ โดยอุบาย. ถามว่า เหมือนอะไร? ตอบว่า เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างตกมันไว้ได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ท่านกล่าว อธิบายไว้ ดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า จิตของเรานี้ ก่อนแต่นี้ ได้ท่องเที่ยวไปตลอด กาลนาน ตามปรารถนา โดยประการที่มันปรารถนา เพื่อจะยินดีในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น ตามความต้องการ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่มันต้องการ ชื่อว่า ตามสบาย เพราะท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ที่ให้เกิดความสุข แม้บัดนี้ เราจัก ข่มจิตนั้น ด้วยโยนิโสมนสิการ เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด กล่าวคือนาย หัตถาจารย์ ข่มขี่ช้างตกมันด้วยขอสับ ฉะนั้น ดังนี้. ก็พระเถระกล่าวอยู่ อย่างนี้แหละ เจริญวิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 384
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้ควรแก่ทักษิณา แวดล้อมด้วยพระสาวกเป็นอันมาก เสด็จออกจากพระอาราม เราได้เห็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หาอาสวะมิได้ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาด้วยพวงดอกไม้ ด้วยจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นจอมนระ ผู้คงที่นั้น เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ถวายบังคมพระตถาคตอีก ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๔๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมกษัตริย์ มีนามว่า จรณะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็คาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาหัตถาโรหปุตตเถรคาถา