การล่วงหรือไม่ล่วงศีลข้อที่ 2 พิจารณาอย่างไร
โดย natural  22 พ.ย. 2555
หัวข้อหมายเลข 22080

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ ช่วยอธิบาย เกี่ยวกับการนำเอาสิ่งที่มีลิขสิทธิ์ ไปใช้ประโยชน์โดยไม่เกี่ยวเนื่อง กับการค้าเพื่อผลกำไร เช่น การ download program ที่มีการ share โดยผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ จะผิดศีลข้อที่ ๒ คือ การลักทรัพย์หรือไม่ และการล่วงหรือไม่ล่วงศีลข้อที่ ๒ พิจารณาอย่างไรคะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 23 พ.ย. 2555

สำหรับศีลข้อสอง คือ มีเจตนาที่ทุจริต คิดจะลักขโมย โดยมีเจตนาที่จะลักขโมย และองค์อีกประการหนึ่ง คือ ทรัพย์นั้นเจ้าของหวงแหน

ซึ่งในกรณีที่ถาม สำหรับโปรแกรมที่เป็น แชร์แวร์ คือ อนุญาตให้ใว้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็แสดงครับว่าเจ้าของไม่ได้หวงแหน เพราะมีเจตนาให้ทดลองใช้อยู่แล้ว จึงไม่ผิดศีลข้อ อทินนาทานแต่อย่างใด ครับ และที่สำคัญ ผู้ที่ดาวน์โหลดก็มีเจตนานำไปใช้โดยไม่ใช่เพื่อการค้า อันไม่ได้มีเจตนาขโมย เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้ผิดศีลข้อสองอีกเช่นกันครับ

เพราะฉะนั้น จะผิดศีลหรือไม่ สำคัญที่เจตนา และสำคัญที่องค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น ทรัพย์นั้น เจ้าของหวงแหนหรือไม่ ครับ แต่หากว่ามีเจตนา ขโมย ทุจริต ดาวน์โหลดโปรแกรมที่เขาไม่ได้มีไว้ให้ใข้ฟรี แล้วไปทำขาย อันนี้เป็นการผิดศีลข้อสอง ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา


ความคิดเห็น 2    โดย natural  วันที่ 23 พ.ย. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย daris  วันที่ 23 พ.ย. 2555

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับ

บางกรณี เป็นของมีลิขสิทธิ์ เช่น ตำราเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็น pdf file ที่มีคนซื้อแต่ในข้อกำหนดตอนซื้อ คือ ห้ามแจกจ่ายให้คนอื่น แต่คนซื้อก็ไป upload ขึ้นเว็บไซต์ ให้คนอื่น download ฟรีๆ (หรืออาจเป็นโปรแกรมที่ ไม่ใช่ shareware เช่น photoshop ก็โดยลักษณะเดียวกัน) หรือบางที มหาวิทยาลัยก็ซื้อลิขสิทธิ์ หนังสือเรียนที่เป็น pdf จำนวนมาก (โดยเสียเงินมาก อาจเป็นหลักแสน หรือหลักล้าน) เพื่อให้นักศึกษา เฉพาะของมหาวิทยาลัยนั้น download จาก server ของมหาวิทยาลัย แต่นักศึกษาที่โหลดมาแล้ว ก็อาจจะไปแจกจ่าย ให้เพื่อนมหาวิทยาลัยอื่นๆ หลายๆ คน หลายๆ ที่ ผ่าน email ผ่าน facebook ฯลฯ ให้ download กันได้ฟรีๆ กรณีเหล่านี้ บางทีก็พิจารณายากเหมือนกัน (ผมก็เคยทำ เคยทั้งเป็นคนโหลด และคนแชร์) หลังๆ เลยพยายามหลีกเลี่ยง (ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นผิดศีล ก็เป็นอกุศล จะสะสมเป็นอุปนิสัยที่ไม่ดี) อยากขอความเห็นเพิ่มเติมด้วยครับ

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย prachern.s  วันที่ 23 พ.ย. 2555

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำสาวกทั้งหลายให้เป็นผู้ตรง อกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรรังเกียจ ไม่ควรพอใจในอกุศลนั้น ควรละ ควรขัดเกลา ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง เป็นการสะสมอุปนิสัยที่ไม่ดี ใกล้ต่อทุจริต ก็ไม่ควรทำ ควรละเว้นครับ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย daris  วันที่ 23 พ.ย. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาอาจารย์ประเชิญครับ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 24 พ.ย. 2555

เรียน คุณ daris ครับ

จากตัวอย่างที่ยกมานั้น แสดงถึงความละเอียดของจิต และความละเอียดของศีล เจตนาที่ดีมี ที่อยากจะให้ผู้อื่น ซึ่งในกรณีนี้ ไม่ผิดศีลแน่นอน ควรจะเป็นผู้ละเอียดว่า การจะทำอะไรนั้น จะต้องพิจารณาเสียก่อนจึงควรทํา และจะทำให้ไปกระทบกับผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ครับ


ความคิดเห็น 8    โดย daris  วันที่ 25 พ.ย. 2555

กราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมครับ


ความคิดเห็น 9    โดย khampan.a  วันที่ 26 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่มีความเข้าใจถูกเห็นถูก คล้อยตามความเข้าใจพระธรรมที่ค่อยๆ เจริญขึ้น ก็จะค่อยๆ ละเว้นจากสิ่งที่ไม่ดี ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความเดือนร้อนใจในภายหลัง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่จะคิด จะพูด และทำในสิ่งที่ดีเท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 10    โดย natre  วันที่ 3 ธ.ค. 2555

ขอบคุณและอนุโมทนาในแง่มุมต่างๆ ทางธรรมะโดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ทำให้ผู้ศึกษาได้ประโยชน์จากการปรารถนาเป็นคนดีให้ถึงที่สุด


ความคิดเห็น 11    โดย chatchai.k  วันที่ 8 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ