ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 573
๗. ทุติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย
[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอ
จงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราหรือ
เธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.
[๔๙๐] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความ
เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือน
พระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล จากรัศมี จาก
ความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน
ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความพากเพียร...
ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา
เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญ
ไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มี
ศรัทธานี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็นความ
เสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อมโทรม
ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษ
บุคคลมีปัญญาทรามนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธนี้
เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม
ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อมโทรม.
[๔๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน มีศรัทธา มีหิริ
มีโอตตัปปะ มีความเพียร มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืน
หรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น
ย่อมเปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความยาวและความ
กว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา...
มีหิริ... มีโอตตัปปะ... มีความเพียร ... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศล
ธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม
ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมี
โอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีความพากเพียรนี้
ไม่เป็นความเสื่อมโทรม. ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็นความเสื่อม
โทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษ
บุคคลไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้
ไม่เป็นความเสื่อมโทรม.
[๔๙๒] พ. ดีแล้ว ดีแล้ว กัสสป บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา...
ไม่มีหิริะ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญา ในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความ
เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือน
พระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล จากรัศมี จาก
ความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน
ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวัง
ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย
เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความ
เสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลผู้ไม่มี
โอตตัปปะ ฯ ลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้าน ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษ
บุคคลมีปัญญาทราม ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธ ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษ
บุคคลผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้
เป็นความเสื่อมโทรม.
[๔๙๓] ดูก่อนกัสสป บุคคลบางคน มีศรัทธา... มีหิริ... มีโอต-
ตัปปะ... มีความเพียร... มีปัญญา ... ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือ
วันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น ย่อม
เปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความยาวและความกว้าง
ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา... มีหิริ...
มีโอตตัปปะ... มีความเพียร... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอด
คืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป
ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีความ
เพียร ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญา ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่
มักโกรธ ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม
โทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ดังนี้.
จบทุติยโอวาทสูตรที่ ๗
อรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาที่มั่นคง. บทว่า วิริยํ ได้แก่
ความเพียรทางกายและทางจิต. บทว่า ปญฺญา ได้แก่ ปัญญรู้กุศลธรรม.
บทว่า น สนฺติ ภิกฺขู โอวาทกา ท่านพระกัสสปแสดงว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ว่า บุคคลนี้ไม่มี ภิกษุผู้โอวาท พร่ำสอน กัลยาณมิตร
ดังนี้ เป็นความเสื่อม.
จบอรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอด้วยครับ
ขอบพระคุณ และ อนุโมทนาคุณเซจาน้อย และ ทุกท่านครับ