เมื่อคืนนี้ได้ฟังเทปวิทยุแผ่นที่ 2 ตอนที่ 151 152 153 ทำให้ทราบชัดว่า ตนเองเป็นผู้ฟังมาน้อย ปัญญาก็ยังน้อย เมื่อพิจาราณาจากครั้งพุทธกาลผู้ฟังโดยมากคงจะเข้าใจตรงตามอรรถและพยัญชนะ กล่าวโดยเฉพาะที่พระสูตร แม้ว่าจะมีอรรถกถา บางทีก็ยังไม่เข้าใจชัดเจน แต่เมื่อได้ฟังท่านอาจารย์ฯ บรรยายเรื่องรูปและสติปัฏฐาน บรรพกายานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยละเอียด จึงจะพอเข้าใจพยัญชนะที่มีในพระสูตรได้ชัดขึ้น อาทิอิริยาบถบรรพ
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเดิน หรือเมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน หรือเมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง หรือเมื่อนอนก็รู้ชัดว่า เรานอน. อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้แล้วอย่างใดๆ ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.
ผมได้ทราบซึ้งมากยิ่งขึ้นว่าเหตุใดท่านอาจารย์จึงพากเพียรแสดงธรรมว่าสิ่งที่เป็นหัวใจคือ การเพียรเพื่อให้ทราบสภาพที่ที่เป็นจริงที่กำลังปรากฏทางทวาร ๖ โดยความเป็นไตรลักษณ์ เมื่อศึกษาร่วมกับพระสูตรและอรรถกถา ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขจัดความหลงผิดในพยัญชนะและอรรถะ ตามประสาคนมีปัญญาน้อย บางครั้งก็ปรุงไปตามอวิชชา
ปัญญาน้อยเหมือนกันค่ะ
ขออนุโมทนาที่เป็นผู้ตรง
เมื่อสติปัฏฐานเกิด เป็นดั่งการปัดกวาดสิ่งปฏิกูลคือ อกุศลที่เกิดกับจิต เมื่อสติปัฏฐานเกิดครั้งหนึ่ง ก็โผล่พ้นห้วงน้ำขึ้นมาหายใจได้ขณะหนึ่ง เมื่อหลงลืมสติ ขณะนั้นก็ถูกดึงให้จมลงไปในห้วงน้ำ คือ โอฆะ นั้นอีก แม้สติจะเกิดน้อย ก็ยังดีกว่าการไม่พบหนทางที่จะพ้นไปจากอกุศล แม้ปัญญาจะสะสมมาน้อย แต่สติเกิด ก็ไม่ใช่เรื่องจะต้องทุกข์ใจอะไรเพราะระลึกรู้ได้ว่าพระธรรมเป็นเรื่องที่ยังจะต้องศึกษาอีกในชาติต่อไป
ขออนุโมทนาครับ
น้อยแต่อบรมได้
น้อยเหมือนกันครับ แต่จะอบรมต่อไป และขออนุโมทนา สหายธรรมทุกท่านครับ
ไม่ว่าปัญญาจะน้อยหรือมากก็ควรเจริญยิ่งขึ้นทั้งนั้น
บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็นคนโง่ บุคคลนั้น พอจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต บุคคลนั้นแลเราเรียกว่าคนโง่แท้
ยินดีในกุศลจิตค่ะ