๓. โพชฌงคกถา ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗
โดย บ้านธัมมะ  26 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40966

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 509

ยุคนัทธวรรค

๓. โพชฌงคกถา

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ หน้า 509

ว่าด้วยความหมายของโพชฌงค์ หน้า 519

อรรถกถาโพชฌังคกถา หน้า 523

อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา หน้า 526

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ หน้า 529


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 509

ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา

สาวัตถีนิทาน

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗

[๕๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.

คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้ ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้ ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่าย ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถ ว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น เหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุง ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความ ตรัสรู้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 510

[๕๕๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะ อรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรมอัน เป็นมูล เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถ ว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าประพฤติตามเหตุ ... เพราะอรรถว่าเจริญความ ชำนาญในความแตกฉานในเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ ในความแตกฉานในเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติ ตามปัจจัย ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่า โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย เพราะ อรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติหมดจด ... เพราะอรรถว่าเจริญความ ชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึง ความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะ อรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตก ฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ แตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะ เพราะอรรถว่า ประพฤติเนกขัมมะ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานใน เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉาน ในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่าประพฤติหลุดพ้น ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 511

โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ ... เพราะอรรถ ว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ เพราะอรรถ ว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถว่าประพฤติวิเวก ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ ในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน ความแตกฉานในวิเวก เพราะอรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อย วาง เพราะอรรถว่ากำหนดความปล่อยวาง เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็น บริวาร เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีความปล่อย วางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึง ความแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความ แตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน ความแตกฉานในความปล่อยวาง.

[๕๕๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่า ตรัสรู้สภาพอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพ วิมุตติ ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ- ธรรมอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิมุตติ ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิเวก ว่าตรัสรู้


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 512

สภาพความประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็น มูลบริบูรณ์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม อันเป็นมูลแก่กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้ สภาพความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานใน ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความ เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ ความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯลฯ.

[๕๖๐] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพระอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่า ตรัสรู้สภาพบริวาร ฯลฯ ตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์ เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพ ความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีกิเลสเครื่อง หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมี อารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ ว่าตรัสรู้สภาพสละ ว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป ว่าตรัสรู้สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่า ตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน ไม่มีนิมิต ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน ว่างเปล่า ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรม อันไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่อง


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 513

นำออก ว่าตรัสรู้สภาพแห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสสนะ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม ที่เป็นใหญ่.

[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง สมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอัน เดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน ว่าตรัสรู้ความสมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้ ความประคองจิตที่หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉย แห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความ แทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่าตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่ ในนิโรธ.

[๕๖๒] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่ง สัทธินทรีย์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ อรรถว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ อรรถว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหา ทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็น ชอบแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่ หวั่นไหวแห่งพละ ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความเป็นเหตุ แห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัมมัปปธาน ว่าตรัสรู้ความให้สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้ แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับแห่งประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 514

ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่าตรัสรู้ความตรองแห่งวิจาร ว่าตรัสรู้ความ แผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไปแห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียว แห่งจิต.

[๕๖๓] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้ สภาพความรู้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่า ตรัสรู้สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้ สภาพที่ควรกำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่าตรัสรู้สภาพ มีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่า ตรัสรู้สภาพเป็นกองแห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพ เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่า ตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม.

[๕๖๔] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้ สภาพที่มีอยู่ในระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ ความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัย แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ ความประพฤติแห่งจิต. ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต.

[๕๖๕] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ รู้ชัดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่า ตรัสรู้สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความแล่นไปในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 515

เพิกเฉยในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำ เป็นดุจยานในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ ความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพสะสมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพปรารภด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมใน ธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ตามในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อมในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ สว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างตามในธรรมอย่างเดียว


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 516

ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่าง พร้อมในธรรมอย่างเดียว.

[๕๖๖] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่ง วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่า ตรัสรู้สภาพธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่หามลทินมิได้ ว่า ตรัสรู้สภาพความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็น บาปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ สำเร็จแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่ง ฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่า ตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา.

[๕๖๗] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 517

ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่ง สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่ประกอบไว้แห่ง สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขวิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่ง มรรค ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่า ตรัสรู้สภาพความเป็นใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพ เป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่าตรัสรู้ สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความ ไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญา ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้การ กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯ ว่าตรัสรู้อรหัตตมรรค.

[๕๖๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่า น้อมใจเชื่อ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรูส้สัทธาพละด้วย ความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความ ว่าไม่หวั่นไหวในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าตั้งมั่น ฯลฯ ว่าตรัสรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฏฐิ ด้วยความว่าเห็น ฯลฯ ว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 518

อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้ สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความ ว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาทด้วยความ ว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความ ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและ วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความ ว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม ว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วย ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรู้วิโมกข์ด้วย ความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วย ความว่าสละ ว่าตรัสรู้ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณในความไม่ เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้มนสิการ ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม ว่าตรัสรู้ เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่า ตรัสรู้สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่า ธรรมนั้นๆ ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วยความว่าเป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 519

สาวัตถีนิทาน

ว่าด้วยความหมายของโพชฌงค์

[๕๖๙] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เรา ก็อยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วย โพชฌงค์ใดๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่า หาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด ซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯลฯ ดูก่อนท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยว ไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ ปัจจัยนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชา หรือ ของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดใน


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 520

เวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าอุเบกขา สัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้.

[๕๗๐] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น มีอยู่อย่างไร?

นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรา มีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน กำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มี เพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น.

โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่อย่างไร?

กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดขึ้นภพ ใหม่มีประมาณ นิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธ ย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหา ประมาณมิได้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.

โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น มีอยู่อย่างไร?

กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพ ใหม่ ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด เพราะความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 521

[๕๗๑] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ ปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไป ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อนไป ด้วยอาการ ๘.

สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน? สติสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึง ความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึก ถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึง นิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้.

สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน? สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี ความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน ไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน ไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความนึกถึงสังขารสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ.

[๕๗๒] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ นั้น มีอยู่อย่างไร?


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 522

นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน กำลังสว่างอยู่ ...

โพชฌงค์ในข้อว่า อุเขกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ นั้น มีอยู่อย่างไร ...

โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น มีอยู่อย่างไร ...

เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรง อยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ ปัจจัยนี้อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อน ไปด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อน ไปด้วยอาการ ๘.

[๕๗๓] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน?

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มี ความเกิดขึ้น ๑ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด ๑ เพราะอรรถ ว่า ตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้.

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน?


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 523

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วย ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงสังขาร ๑ ด้วยความ ไม่นึกถึงนิโรธ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรา กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้ เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้.

จบโพชฌงคกถา

อรรถกถาโพชฌงคกถา

บัดนี้ จะพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโพชฌงคกถาอันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษ ของโพชฌงค์ให้สำเร็จการแทงตลอดสัจจะตรัสไว้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โพชฺฌงฺคา ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งบุคคลผู้ ตรัสรู้. พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีอันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค เป็นปฏิปักษ์แห่งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่รวบรวม ประกอบกามสุข ทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิและความถือมั่น เป็นต้น เพื่อเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โพธิ ผู้ตรัสรู้. บทว่า พุชฺฌติ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 524

ย่อมตรัสรู้ ท่านอธิบายว่า ออกจากความหลับอันเป็นสันดานของกิเลส หรือ แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้ อันได้แก่ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. แม้พระอริยสาวกใดย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนั้นมีประการตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกพระอริยสาวกนั้นว่า โพธิ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่ง ผู้ตรัสรู้นั้น ดุจองค์เสนาและองค์รถเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ท่าน กล่าวอรรถแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้นไว้ในอภิญเญยยนิเทศ.

พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌังคัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า โพธิยํ สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปในความตรัสรู้ คือ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การ ตรัสรู้. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของใคร. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของ ผู้มีกิจอันทำแล้วด้วยการพิจารณานิพพานด้วยมรรคและผล หรือเพื่อประโยชน์ แก่การตื่นจากความหลับ เพราะกิเลส ท่านอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความ เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยผล. โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แม้มีวิปัสสนาเป็น กำลัง. นี้เป็นอธิบายทั่วไปของโพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนามรรคและผล. โพชฌงค์ เหล่านั้นย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ในฐานะ ๓ เพื่อแทงตลอดนิพพาน. ด้วย บทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงคำว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้. ที่ เกิดของโพชฌงค์ ท่านกล่าวไว้ด้วยจตุกกะ ๕ มีอาทิว่า พุชฺฌนฺตีติ โพชฺฌงฺคา ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ ท่านกล่าวไว้ในอภิญเญยยนิเทศ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พุชฺฌนฺติ ชี้แจงถึงผู้ทำ เพื่อให้เห็นความเป็นผู้สามารถ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 525

ในการทำกิจของตนแห่งโพชฌงค์. บทว่า พุชฺฌนฏฺเน เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ แม้ความเป็นผู้สามารถในการทำกิจของตนมีอยู่ ก็ชี้แจงถึงภาวะเพื่อ ให้เห็นความไม่มีผู้ทำ. บทว่า โพเธนฺติ ให้ตรัสรู้ เมื่อพระโยคาวจรตรัสรู้ ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ชี้แจงถึงเหตุกัตตา (ผู้ใช้ให้ทำ) แห่งโพชฌงค์ เพราะ เป็นผู้ประกอบ. บทว่า โพธนฏฺเน เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ คือ ชี้แจงถึง ภาวะของผู้ใช้ให้ทำ เพราะเป็นผู้ประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วครั้งแรกนั่นแหละ. บทว่า โพธิปกฺขิยฏฺเน เพราะอรรถว่าเป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ คือ เพราะ เป็นไปในฝ่ายของพระโยคาวจรผู้ได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้. นี้เป็นการชี้แจงความที่โพชฌงค์เหล่านั้นเป็นอุปการะแก่พระโยคาวจร. ด้วยบท เหล่านี้ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้. พึงทราบ วินิจฉัยในลักษณะมีอาทิว่า พุทฺธิลภนฏฺเน เพราะอรรถให้ได้ความตรัสรู้. บทว่า พุทฺธิลภนฏฺเน คือ เพราะอรรถให้พระโยคาวจรถึงความตรัสรู้. บทว่า โรปนฏฺเน เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ คือ เพราะอรรถให้สัตว์ ทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า ปาปนฏฺเน เพราะอรรถให้ถึงความตรัสรู้ คือ เพราะอรรถให้สำเร็จความที่ให้สัตว์ดำรงอยู่.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาเหล่านี้ คือโพชฌงค์ เป็นมรรคผลต่างกันด้วยอุปสรรค ๓ ศัพท์ คือ ปฏิ-อภิ-สํ เฉพาะ-ยิ่ง-พร้อม. พึงทราบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ โพชฌงค์ทั้งหลายท่านชี้แจงไว้ด้วยธรรมโวหารแม้ทั้งหมด.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 526

อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา

พึงทราบวินิจฉัยในมูลมูลกทสกะมีอาทิว่า มูลฏฺเน ดังต่อไปนี้. บทว่า มูลฏฺเน เพราะอรรถว่าเป็นมูล คือ ในวิปัสสนาเป็นต้น เพราะอรรถว่า โพชฌงค์ก่อนๆ เป็นมูลของโพชฌงค์หลังๆ ของสหชาตธรรม และของกัน และกัน. บทว่า มูลจริยฏฺเน เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล คือ ประพฤติเป็นไปเป็นมูล ชื่อว่า มูลจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเป็น มูลนั้น อธิบายว่า เพราะอรรถว่าเป็นมูลแล้วจึงเป็นไป. บทว่า มูลปริคฺ- คหฏฺเน เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล คือ โพชฌงค์เหล่านั้นชื่อว่า กำหนด เพราะกำหนดเพื่อต้องการให้เกิดตั้งแต่ต้น การกำหนดมูลนั่นแหละ ชื่อว่า มูลปริคฺคหา เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมที่เป็นมูลนั้น เพราะอรรถว่า มีธรรมเป็นบริวาร ด้วยเป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่ามีธรรม บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา เพราะอรรถว่ามีธรรมแก่กล้า ด้วยให้บรรลุ ความสำเร็จ. ชื่อว่า มูลปฏิสมฺภิทา แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะมูล ๖ อย่างเหล่านั้น และชื่อว่าปฏิสัมภิทา เพราะแตกฉานในประเภท เพราะ อรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล. บทว่า มูลปฏิสมฺภิทาปาปนฏฺเน เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล คือ เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายในการ เจริญโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญ ด้วยความแตกฉานใน ธรรมอันเป็นมูลนั้น ของพระโยคาวจรนั้นนั่นเอง. ในโวหารของบุคคลเช่นนี้ แม้ที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้. พึงทราบว่า โพชฌงค์เป็นผลในการไม่กล่าวถึงความสำเร็จแม้เช่นนี้ ในบทว่า มูลปฏิสมฺภิทาย วสีภาวปตฺตานมฺปิ แม้ของผู้ถึงความชำนาญในความ แตกฉานธรรมอันเป็นมูล. ปาฐะว่า วสีภาวํ ปตฺตานํ ของผู้ถึงความชำนาญ บ้าง.

จบมูลมูลกทสกะ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 527

ในทสกะ ๙ มีเหตุมูลกะเป็นต้น แม้ที่เหลือพึงทราบอรรถแห่งคำทั่วไป โดยนัยนี้แล. โพชฌงค์ตามที่กล่าวแล้วในคำไม่ทั่วไป ชื่อว่าเหตุ เพราะให้ เกิดธรรมตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า ปัจจัย เพราะช่วยค้ำจุน ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะเป็นความหมดจดแห่งตทังคะ สมุจเฉทะและปฏิปัสสัทธิ ชื่อว่าไม่มีโทษ เพราะปราศจากโทษ ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะบาลีว่า สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา เนกฺขมฺมํ กุศลธรรมแม้ทั้งหมดเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่า วิมุตติ ด้วยสามารถ แห่งตทังควิมุตติเป็นต้น เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นมรรค และผล ชื่อว่า อนาสวะ เพราะปราศจากอาสวะอันเป็นขอบเขต. โพชฌงค์ แม้ ๓ อย่างชื่อว่า วิเวก ด้วยสามารถแห่งตทังควิเวกเป็นต้น เพราะว่างเปล่า จากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่า โวสฺสคฺคา เพราะปล่อยวางการสละและเพราะปล่อยวางการแล่นไป. โพชฌงค์อันเป็นผล ชื่อว่า โวสฺสคฺคา เพราะปล่อยวางการแล่นไป. ทสกะ ๙ ท่านชี้แจงด้วยบท หนึ่งๆ มีอาทิว่า มูลฏฺํ พุชฺฌนฺติ ตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล พึงทราบโดยนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ส่วนบทว่า วสีภาวปฺปตฺตานํ ท่านไม่บอกเพราะ ไม่มีคำเป็นปัจจุบันกาล. การกำหนดเป็นต้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในอภิญเญยยนิเทศ.

พระเถระครั้นยกสูตรที่ตนแสดงขึ้นแล้วประสงค์จะแสดงโพชฌงค์วิธี ด้วยการชี้แจงสูตรนั้น จึงกล่าวนิทานมีอาทิว่า เอกํ สมยํ แล้วยกสูตรขึ้น แสดง. อนึ่ง ในสูตรนี้ เพราะเป็นสูตรที่ตนแสดงเอง ท่านจึงไม่กล่าวว่า เอวํ เม สุตํ. อนึ่งในบทว่า อายสฺมา สารูปุตฺโต นี้ ท่านกล่าวทำตน ดุจคนอื่นเพื่อความฉลาดของผู้แสดง. เพราะอาจารย์ทั้งหลายประกอบคำเช่นนี้ ไว้มากในคันถะทั้งหลายในโลก. บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ คือ ตลอดเวลาเช้าทั้งสิ้น.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 528

บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม อาวุโส โหติ ดูก่อนอาวุโส หากว่าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ คือ หากสติสัมโพชฌงค์ ของเรามีอยู่อย่างนี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ สติสัมโพชฌงค์ของเรา ก็หาประมาณมิได้ คือ สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ มีอยู่อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ เม โหติ ปรารภแล้วด้วยดี คือ สติสัมโพชฌงค์ของเรา บริบูรณ์ด้วยดีอย่างนี้. บทว่า ติฏฺนฺตํ ตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยเป็นไปใน นิพพานารมณ์. บทว่า จวติ เคลื่อนไป คือ หลีกไปจากนิพพานารมณ์ แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า ราชมหามตฺตสฺส คือแห่งมหาอำมาตย์ ของพระราชา หรือผู้ประกอบด้วยประมาณโภคสมบัติ เพราะมีโภคสมบัติมาก. บทว่า นานารตฺตานํ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ คือ ผ้าย้อมด้วยสีต่างๆ. บทนี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถบริบูรณ์ อธิบายว่า ด้วยสีต่างๆ. บทว่า ทุสฺสกรณฺ- ฑโก คือเปรียบเหมือนตู้เก็บผ้า. บทว่า ทุสฺสยุคํ ผ้าคู่ คือ คู่ผ้า. บทว่า ปารุปิตุํ คือเพื่อปกปิด. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงโพชฌงค์อันเป็นผลของพระเถระ จริงอยู่ ในกาลใด พระเถระกระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหัวข้อ แล้วเข้าถึง ผลสมาบัติ ในกาลนั้น โพชฌงค์นอกนี้ก็ตามสติสัมโพชฌงค์นั้นไป ในกาลใด เข้าถึงธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกาลนั้น โพชฌงค์ แม้ที่เหลือก็ตามธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นไป เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อจะ แสดงความที่ตนมีความชำนาญในความประพฤติผลสมาบัติอย่างนั้น จึงกล่าว สูตรนี้.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 529

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ

ในบทว่า กถํ สติ สมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ถ้าสติ สัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร บทว่า โพชฺฌงฺโค ความว่า เมื่อ พระโยคาวจรเข้าผลสมบัติ ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นประธาน เมื่อโพชฌงค์อื่น มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมมีอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่า เมื่อสติสัมโพชฌงค์เป็นไปแล้วอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นมีอยู่อย่างไร.

บทว่า ยาวตา นิโรธุปฏฺาติ นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด คือ นิ- โรธย่อมปรากฏโดยกาลใด อธิบาย นิพพานย่อมปรากฏโดยอารมณ์ในกาลใด. บทว่า ยาวตา อจฺฉิ เปลวไฟมีเพียงใด คือ เปลวไฟมีโดยประมาณเพียงใด. บทว่า กถํ อปฺปมาโณ อิติ เจ โหตีติ โพชฺฌงฺโค โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นมีอยู่อย่างไร ความว่า เมื่อ สติสัมโพชฌงค์แม้หาประมาณมิได้มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ก็ย่อมหาประมาณมิได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่าสติสัมโพชฌงค์หาประมาณมิได้นั้น มีอยู่แก่พระโยคาวจรผู้เป็นไปแล้วอย่างไร. บทว่า ปมาณวนฺตา มีประมาณ คือ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฺานกิเลส และสังขารอันทำให้เกิดภพใหม่ ชื่อว่า มีประมาณ. ราคะเป็นต้น เพราะคำว่า ราคะ โทสะ โมหะ กระทำประมาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด การทำประมาณแก่ผู้นั้นว่า นี้ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า ประมาณ. กิเลสเป็นต้น เป็นเครื่องผูกติดอาศัยในประมาณนั้น ชื่อว่า มีประมาณ. บทว่า กิเลสา คือ เป็นอนุสัย. บทว่า ปริยุฏฺานา คือ กิเลสที่ถึงความฟุ้งซ่าน. บทว่า สงฺขารา โปโนพฺภวิกา สังขารอันให้เกิดภพใหม่ คือ การเกิดบ่อยๆ ชื่อว่า


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 530

ปุนัพภวะ. ชื่อว่า โปนพฺภวิกา เพราะมีภพใหม่เป็นปกติ การมีภพใหม่ นั่นแหละ ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา. สังขาร ได้แก่ กุศลกรรมและกุศลกรรม. บทว่า อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ คือ ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะไม่มี ประมาณอันมีประมาณดังกล่าวแล้ว เพื่อความวิเศษจากนั้น เพราะแม้มรรค และผลก็ไม่มีประมาณ. บทว่า อจลฏฺเน อสงฺขตฏฺเน เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว เพราะอรรถว่าเป็นอสังขตธรรมได้กล่าวไว้แล้ว ชื่อว่า ไม่หวั่น ไหว เพราะไม่มีความดับ ชื่อว่า เป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัย จริงอยู่ ทั้ง ไม่หวั่นไหว ทั้งเป็นสังขตะปราศจากประมาณอย่างยิ่ง.

บทว่า กถํ สุสมารทฺโธ อิติ เม โหตีติ โพชฺฌงฺโค สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า เราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร คือ พึงประกอบโดยนัยดัง กล่าวแล้วในลำดับ. บทว่า วิสมา ไม่เสมอ ชื่อว่า วิสมา เพราะไม่เสมอ เอง และเพราะเป็นเหตุแห่งความไม่เสมอ. บทว่า สทฺธมฺโม ชื่อว่า ธรรม เสมอ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นธรรมประณีต ชื่อว่า สงบ เพราะ ไม่มีประมาณ ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดีมีประมาณเพียงใด เรากล่าววิราคะว่าเป็นธรรมเลิศกว่าธรรม ทั้งหลายเหล่านั้น. ปรารภแล้วในธรรมเสมอด้วยดีดังกล่าวแล้วว่าในสมธรรม นั้น ชื่อว่า สุสมารทฺโธ ปรารภแล้วด้วยดี. บทว่า อาวชฺชิตตฺตา เพราะ ความนึกถึง ท่านกล่าวหมายถึงกาลอันเป็นไปแล้วด้วยผลสมบัติ ท่านอธิบาย ไว้ว่า เพราะมโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้นแล้วในนิพพานกล่าวคือ อนุบปาทาทิ (นิพพานอันไม่มีความเกิด) เป็นต้น. บทว่า ติฏฺติ ตั้งอยู่ คือ เป็นไปอยู่. บทว่า อุปฺปาทํ (ความเกิด) เป็นต้น มีอรรถดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ในวาระแม้ที่เป็นโพชฌงค์มูลกะที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาโพชฌงคกถา