กราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับ การเจริญ หรือการใช้ อิทธิบาท ๔ นั้น สามารถทำได้อย่างไร แล้วการเจริญอิทธิบาท ๔ นั้นมีอานิสงส์อย่างไรบ้างครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด และที่สำคัญไม่ใช่เป็นเรื่องทำหรือเป็นเรื่องใช้ แต่ควรศึกษาให้เข้าใจจริงๆ แม้แต่ธรรมในหมวดของอิทธิบาท ๔ ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริง อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ สภาพธรรมที่พอใจเป็นไปในกุศลธรรม, วิริยะ ความเพียรเป็นไปในกุศลธรรม เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา, จิตตะ ซึ่งเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา และ วิมังสา คือ ปัญญาที่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง อิทธิบาททั้ง ๔ ประการ เป็นบาทหรือเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งความสำเร็จ ความสำเร็จในที่นี้หมายถึง สำเร็จเป็นฌานขั้นต่างๆ ถ้าเป็นไปในการอบรมเจริญสมถภาวนาสามารถข่มกิเลสได้ แต่ไม่สามารถดับได้ และเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ต่างๆ แต่ถ้าเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ก็สามารถทำให้บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ตั้งแต่พระโสดาบันถึงพระอรหันต์ เพราะอิทธิบาททั้ง ๔ ประการนั้น เป็นฝักฝ่ายในการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นธรรมขั้นสูงที่จะต้องเริ่มสะสมอบรมตั้งแต่เบื้องต้นด้วยการสะสมปัญญาจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในชีวิตประจำวัน ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
การเจริญอิทธิบาทดีแล้วเป็นอย่างไร
อิทธิบาท ๔
อิทธิบาท ๔
ทำไมผู้เจริญอิทธิบาท ๔ ถึงสามารถดำรงชีพได้หนึ่งกัปหรือมากกว่าได้
เรียนถามเรื่องจิตตะและวิมังสาในอิทธิบาท
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ก่อนที่เราจะทำอะไร เราต้องเข้าใจในสิ่งที่จะทำโดยชัดเจนจริงๆ ก่อนครับ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจว่าอิทธิบาท ๔ คืออะไร อิทธิบาท ๔ ก็เกิดไม่ได้เลย และอิทธิบาท ๔ ก็ต้องอาศัยปัจจัยจึงจะเกิดขึ้นด้วย ไม่มีใครสามารถทำ หรือ สร้างอิทธิ-บาท ๔ ให้เกิดเองได้ เพราะเป็นเรื่องของภาวนา คือ การอบรมปัญญา ที่เข้าใจถูกว่าเป็นสภาพธรรม ๔ อย่างที่กระทำกิจของสภาพธรรมแต่ละอย่างนั้นๆ สำคัญที่ต้องมีปัญญาเป็นหลักด้วย ถ้าไม่มีปัญญา จะไม่ถึงความเป็นอิทธิบาท ๔ ได้เลย และอยู่ๆ จะมีปัญญาถึงขั้นอิทธิบาท ๔ ทันทีไม่ได้ ต้องอาศัยปัญญาที่จะเป็นปัจจัยให้อิทธิบาท๔ เจริญด้วย ปัญญาขั้นนั้นมาจากไหน ก็ต้องตั้งต้นอบรมตั้งแต่การฟังธรรมให้เข้าใจก่อน
เพราะถ้าไม่ฟัง เราจะไม่สามารถเข้าใจเรื่องของอิทธิบาท ๔ โดยถูกต้องได้เลยอิทธิบาท ๔ เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ ทรงแสดงไว้ไม่ใช่เพื่อให้เราทำอิทธิบาท แต่เพื่อการอบรมความเห็นถูก คือ ปัญญา ให้ค่อยๆ เจริญขึ้นค่อยๆ มั่นคงขึ้น จนกระทั่งสภาพธรรมฝ่ายดี คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ที่เจริญขึ้นตามปัญญานั้น ถึงความเป็นอิทธิบาท คือ เป็นทางที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่มีจริง จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ในท้ายที่สุดครับ
อิทธิบาท ๔ เป็นโพธิปักขิยธรรม เป็นปัญญาของพระอริยสาวกทั้งหลาย เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ ฯลฯ ปัญญาอย่างพวกเรายังไปไม่ ขั้นนั้นหรอก เพียงขั้นการฟังให้เข้าใจว่าเป็นธรรมะก็ยังยาก แต่เราก็สามารถอบรม ฉันทะ ในการศึกษาธรรม และวิริยะในความเพียรที่จะไม่ทอดธุระในกุศลต่อไปค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อิทธิบาทเป็นเรื่องของปัญญาระดับสูง ดังนั้นจะต้องรู้ว่าจะอบรมอิทธิบาทด้วยจุด ประสงค์ใดการจะถึงปัญญาระดับสูงได้ก็ต้องมีปัญญาเบื้องต้นก่อน
หากไม่มีปัญญาเบื้องต้นแล้วก็ไม่สามารถถึงความเป็นอิทธิบาทได้ พระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของปัญญา ซึ่งปัญญาเบื้องต้นจะต้องเข้าใจว่าธรรมคืออะไร
หากไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไร แล้ว อิทธิบาทคือความสำเร็จที่จะทำให้ถึงการบรรลุธรรมก็มีไม่ได้ เมื่อเริ่มเข้าใจ ธรรมคืออะไร และมีการอบรมปัญญาขั้นการฟังจนปัญญาสามารถเข้าใจสภาพธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ที่เป็นสติปัฏฐาน ขณะนั้นก็มีฉันทะ มีวิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสาที่เป็น ปัญญาในขณะนั้นแล้ว ไม่ต้องไปพยายามทำอิทธิบาทแต่อบรมเหตุคือการฟังธรรมให้เข้าใจโดยเริ่มจากคำว่าธรรมคืออะไร เมื่อนั้นก็จะถึงความเป็นอิทธิบาทเองครับ
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ทำไม่ได้เพราะเป็นความไม่รู้ แต่เพราะเข้าใจอิทธิบาทจึงเกิดได้
อิทธิบาท ๔ ในบรรดาพระนิตยโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่ปราถนาพุทธภูมิ ย่อมประกอบด้วย อิทธิบาท ๔ อันเป็นทางแห่งความสำเร็จฉันใด ฉันใด บรรดาสาวกภูมิที่ปรารถนา มรรคผล นิพพาน ย่อมประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น อิทธิบาท ๔ ประกอบด้วย
ฉันทะ และวิริยะ โดยตัวมันเองเป็น เป็น ปกิณกะเจตสิก เกิดได้ทั้ง กุศล และอกุศล เช่น คนที่ชอบ เล่นการ พนัน ก็ต้องมีฉันทะ และ วิริยะ แต่ ถ้าเกิดกับกุศลก็จะมีกำลังมาก เช่นกัน เช่น คนที่มีฉันทะ ในการทำบุญ ทำทาน รักษา ศีล หรือโดยรวมคือในการเจริญ กุศล แต่ต้องแยก ให้ออกนะครับ ระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเอง
กำลังมีฉันทะ เช่น เป็นคนชอบฟังธรรม ศึกษา ธรรรม แต่ก็จะมีโลภะแอบแฝงด้วยเสมอ คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ ฟังธรรม และศึกษาธรรมแล้วรู้สึกว่าตัวเอง เก่งกว่า ดีกว่าคนอื่น และหากมี ผู้รู้มากกว่ามาชี้ทางแล้ว เกิด ความอิจฉา หรือกลัว คนอื่นจะเข้าใจธรรมะมากว่าตัวเอง นั่นแสดง ว่าเป็น โลภะ แต่ถ้าศึกษา ธรรมะแล้ว ผู้นั้น ทิฏฐิ มานะลดลง กลายเป็น ผู้ฟังคนอื่นมากขึ้น ตัวตนลดลง ยินดีในความดีของคนอื่น หรือ ที่เราชอบ พูดเสมอว่า อนุโมทนานั่นแหละ จุดประสงค์ก็ เพื่อ ลด และ ละ ตัวตน จนสามารถปล่อยวางตัวตนได้นั่นแหละ ตัวท่านเอง จึงจะมีฉันทะคือ ฟังเพื่อ เข้าใจ และละ ความเป็นเรา ในที่สุด วันหนึ่งข้างหน้าต้องถึง มรรค ผล นิพพาน แน่นอน ไม่ได้ตั้งใจ จะว่าใครนะครับ เผอิญตัวผมเอง ในอดีตเคยเป็นเช่น นี้มาก่อน