[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 309
เวรัญชกัณฑวรรณนา
เวรัญชพราหมณ์ได้สติรู้สึกตัว หน้า 309
อรรถาธิบายอภิกันตศัพท์ลงในอรรถ ๔ และ ๙ อย่าง หน้า 309
ปาพจน์มีความดี ๑๘ อย่าง หน้า 310
อรรถาธิบายคำว่าพระธรรม หน้า 314
อรรถาธิบายคำว่าพระสงฆ์ หน้า 315
อธิบายอัคคศัพท์ที่ลงในอรรถ ๔ อย่าง หน้า 316
เวรัญชพราหมณ์ไม่กล่าวล่วงเกินพระรัตนตรัย ฯ หน้า 317
พราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษา ฯ หน้า 318
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 309
เวรัญชพราหมณ์ได้สติรู้สึกตัว
ในคําว่า เอวํ วุตฺเต เวรฺโช พฺราหฺมโณ นี้ มีอธิบายว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่โลก จะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์ได้ตรัสความที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาติ แม้ที่ควรปกปิด ด้วยธรรมเทศนาอันประกาศวิชชา ๓ โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้เวรัญชพราหมณ์ มีกายและจิตเต็มเปียมไปด้วยความแผ่ซ่านไปแห่งปีติ รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาตินั้น จึงตําหนิตนเองว่า เราได้กล่าวพระสัพพัญูผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งหมด ทรงประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง ชื่อเช่นนี้ว่า ไม่ทรงทํากรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแก่ชนเหล่าอื่น เฮ้ย! น่าติเตียนความไม่รู้อะไรเสียจริงๆ หนอ ดังนี้จึงตกลงใจว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิดก่อน ด้วยอริยชาติ ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดเพราะอรรถว่า ไม่มีผู้เสมอด้วยพระคุณทั้งปวง แล้วได้กราบทูลคํานี้กระพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม เป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอีก จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ!พระดํารัสของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก ดังนี้เป็นต้น.
[อรรถาธิบายอภิกกันตศัพท์ลงในอรรถ ๔ และ ๙ อย่าง]
ในคําว่า อภิกฺกนฺตํ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- อภิกกันตศัพท์นี้ย่อมปรากฏในอรรถ คือ ขยะ (ความสิ้นไป) สุนทระ (ความดี) อภิรูปะ (รูปงาม) และอัพภานุโมทนะ (ความชมเชย).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 310
จริงอยู่ อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า พระเจ้าข้า! ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งรอนานแล้ว (๑)
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความดี ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่าคนนี้ ดีกว่า และประณีตกว่า ๔ คนเหล่านี้ (๒)
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในรูปงาม ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
ใคร ช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศมีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่างอยู่ กําลังไหว้เท้าของเรา (๓)
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่าพระเจ้าข้า! ภาษิตของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก.
แม้ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์ ก็ปรากฏในความชมเชยทีเดียว. พึงทราบสันนิษฐานว่า ก็เพราะอภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ฉะนั้นเวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ดีละๆ ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ (๔) ครั้งด้วยอํานาจแห่งความเลื่อมใสและด้วยอํานาจแห่งความสรรเสริญ ด้วยลักษณะนี้คือ :-
บัณฑิตผู้รู้ พึงทําการกล่าวซ้ำๆ ไว้ (ในอรรถ ๙ อย่างเหล่านี้) คือ ในภยะ (ความกลัว) ในโกธะ (ความโกรธ) ใน
(๑) วิ. จุลฺล. ๗/๒๘๓.
(๒) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓๓.
(๓) ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๙.
(๔) ที. สี. ๙/๑๑๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 311
ปสังสา (ความสรรเสริญ) ในตุริตะ (ความรีบด่วน) ในโกตุหละ (ความตื่นเต้น) ในอัจฉระ (ความอัศจรรย์) ในหาสะ (ความร่าเริง) ในโสกะ (ความโศก) และในปสาทะ (ความเลื่อมใส).
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ แปลว่า น่าใคร่ยิ่งนัก น่าปรารถนายิ่งนัก น่าชอบใจยิ่งนัก มีคําอธิบายไว้ว่า ดียิ่งนัก.
บรรดาอภิกกันตศัพท์ ๒ อย่างนั้น เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่งย่อมชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วยอภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในความชมเชยนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! พระธรรมเทศนาของท่านพระโคดมผู้เจริญนี้ น่าชมเชยยิ่งนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนาของท่านพระโคดมผู้เจริญ ดียิ่งนัก. เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยปาพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล มุ่งใจความเป็นสองอย่างๆ.
[ปาพจน์มีความดี ๑๘ อย่าง]
บัณฑิต พึงประกอบปาพจน์ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ :-พระดํารัสของพระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ ๑ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะให้บรรลุคุณ ๑ อนึ่ง เพราะให้เกิดศรัทธา ๑ เพราะให้เกิดปัญญา ๑ เพราะเป็นไปกับด้วยอรรถ ๑ เพราะเป็นไปกับด้วยพยัญชนะ ๑เพราะมีบทอันตื้น ๑ เพราะมีเนื้อความลึกซึ้ง ๑ เพราะไพเราะโสด ๑ เพราะเข้าถึงหทัย ๑ เพราะไม่ยกตนขึ้นอวดอ้าง ๑ เพราะไม่ข่มผู้อื่น ๑ เพราะเย็นด้วยพระกรุณา ๑ เพราะทรงตรัสถามด้วยพระปัญญา ๑ เพราะเป็นที่รื่นรมย์แห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 312
คลอง ๑ เพราะทนต่อความย่ํายีได้อย่างวิเศษ ๑ เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข ๑เพราะใคร่ครวญอยู่ก็มีประโยชน์ ๑ ดังนี้.
[เวรัญชพราหมณ์ชมเชยพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา ๔ อย่าง]
แม้เบื้องหน้าแต่นั้นไป เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนานั่นแลด้วยอุปมา ๔ ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ คือ ภาชนะที่เขาวางคว่ําปากไว้ หรือมีที่ปากอยู่ภายใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยย คือ พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ คือ ที่เขาปิดไว้ด้วยวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย คือ พึงเปิดขึ้น
บทว่า มูฬฺหสฺส คือ คนหลงทิศ.
สองบทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่านี้ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมืดมีองค์ ๔ (คือ) เพราะวันแรม ๑๔ คําในกาฬปักษ์ ๑ กลางคือ ๑ ไพรสนพที่หนาทึบ (ดงทึบ) ๑กลีบเมฆ ๑. ความหมายแห่งบทที่ยังไม่กระจ่างมีเท่านี้ก่อน :-
ส่วนการประกอบความอธิบาย มีดังต่อไปนี้ :- (เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ท่านพระโคคมผู้เจริญ ทรงยังเราผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้วให้ออกจากอสัทธรรม เหมือนใครๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ําขึ้นไว้ฉะนั้น ทรงเปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏคือ มิจฉาทิฏฐิปกปิดไว้ ตั้งต้นแต่พระศาสนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 313
ของพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้าอันตรธานไป เหมือนใครๆ พึงเปิดของที่ปิดไว้ออกฉะนั้น ทรงตรัสบอกทางสวรรค์และนิพพานให้แก่เรา ผู้ดําเนินไปสู่ทางชั่วและทางผิด เหมือนใครๆ พึงบอกทางให้แก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงส่องแสงสว่าง คือเทศนา อันเป็นเครื่องกําจัดความมืด คือโมหะอันปกปิดรูปคือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น แก่เรา ผู้จมอยู่ในความมืด คือโมหะ ซึ่งไม่เห็นรูป คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เหมือนใครๆ พึงส่องประทีปน้ำมันในที่มืดให้ฉะนั้น ได้ทรงประกาศพระธรรมแก่เรา โดยอเนกปริยาย เพราะทรงประกาศ ด้วยบรรยายทั้งหลายเหล่านี้.
[เวรัญชพราหมณ์แสดงตนถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง]
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นชมเชยพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพราะพระธรรมเทศนานี้ เมื่อจะทําอาการอันผู้มีความเลื่อมใสพึงกระทํา จึงได้กราบทูลว่า เอสาหํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาหํ ตัดเป็น เอโส อหํ แปลว่าข้าพเจ้านี้.
หลายบทว่า ภวนฺตํ โคตมํ สรณํ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญว่าเป็นที่พึ่ง คือข้าพเจ้าขอถึง ขอคบ ขอช่องเสพ ได้แก่ขอเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เจริญ ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระโคดมผู้เจริญทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า คือทรงเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ทรงเป็นผู้ป้องกันความทุกข์ และทรงทําประโยชน์เกื้อกูล (แก่ข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าย่อมทราบคือย่อมรู้สึก ดังกราบทูลมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ คติ (ความถึง) เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่าใด แม้ พุทธิ (ความรู้) ก็เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า คจฺฉาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 314
นี้ ท่านก็กล่าวความหมายแม้นี้ไว้ดังนี้ว่า ชานามิ พุชฺฌามิ (แปลว่าย่อมทราบ คือย่อมรู้สึก).
[อรรถาธิบายคําว่าพระธรรม]
ก็ในคําว่า ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สภาพที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคลผู้ได้บรรลุมรรค ผู้ทําให้แจ้งนิโรธแล้ว และผู้ปฏิบัติอยู่ตามคําพร่ําสอน มิได้ตกไปในอบาย. ธรรมนั้น โดยอรรถ ได้แก่อริยมรรคและนิพพาน. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี มีประมาณเพียงไร อริยมรรคมีองค์ ๘ เราเรียกว่า ประเสริฐกว่าธรรมเหล่านั้น.๑ควรกล่าวให้พิสดาร.ธรรมนั้น ได้แก่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียว ก็หามิได้ ถึงแม้ปริยัติธรรมรวมกับอริยผล ก็ชื่อว่าธรรม. (๑)
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในฉัตตมาณเวกวิมานว่า
ท่านจงเข้าถึงพระธรรม อันเป็นธรรมคลายความกําหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหวไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะคล่องแคล่วอันเราจําแนกดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึงเถิด๒ ดังนี้.
แท้จริง ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคว่า เป็นธรรมคลายความกําหนัด ตรัสผลว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหวไม่มีความเศร้าโศก ตรัส
(๑) ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕/๒๙. * องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๙๐๓๒. ขุ. วิมาน. ๒๖/๙๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 315
พระนิพพานว่า เป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ไม่ได้ ตรัสธรรมขันธ์ทั้งหมดที่ทรงจําแนกโดยปิฎก ๓ ว่า ไม่ปฏิกูล เป็นธรรม ไพเราะ คล่องแคล่วเป็นธรรมอันเราจําแนกดีแล้ว.
[อรรถาธิบายคําว่า พระสงฆ์]
ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะอรรถว่า รวมกันด้วยธรรมที่ทัดเทียมกันคือทิฏฐิและศีล. พระสงฆ์นั้นโดยอรรถ ได้แก่ประชุมพระอริยบุคคล ๘.สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั้นเหมือนกันว่า (๑)
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ทาน อันบุคคลให้แล้ว ในพระอริยสงฆ์ ผู้สะอาดเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ ผู้เห็นธรรมว่า มีผลมาก ท่านจงเข้าถึง พระสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด ดังนี้.
หมู่ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกษุสงฆ์. ก็พราหมณ์ประกาศสรณคมน์ ๓ด้วยคําเพียงเท่านี้ *
บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาด ในไตรสรณคมน์เหล่านั้นนั่นแหละควรทราบวิธีนี้ ดังนี้คือ :- สรณะ สรณคมณ์ ผู้ถึงสรณะ ประเภทแห่งสรณคมน์ผลแห่งสรณคมน์ สังกิเลส (ความเศร้าหมอง) เภทะ (ความแตก แห่งสรณคมน์) ก็วิธีนั้น เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ก็ย่อมทํานิทานแห่งพระวินัย ให้เป็นภาระหนักเกินไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว. ส่วนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ พึงถือเอาวิธีนั้น จากวรรณนาแห่ง
(๑) ขุ. วิมาน. ๒๖/๙๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 316
ภยเภรวสูตร ในอรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย ชื่อว่าปปัญจสูทนี จากวรรณนาสรณะ ในอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา หรือในอรรถกถาทีฆนิกาย
ชื่อสุมังควิลาสินี ฉะนี้แล.ข้อว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธาเรตุ อธิบายว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านี้เป็นอุบาสก ดังนี้เถิด,ก็ในอธิการนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสก ควรทราบปกิณณกะนี้ดังนี้ว่า ใคร ท่านเรียกว่า อุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอุบาสกอุบาสกนั้น มีศีลอย่างไร มีอาชีพอย่างไร มีอะไรเป็นวิบัติ มีอะไรเป็นสมบัติข้าพเจ้าไม่ได้จําแนกปกิณณกะนั้น ไว้ในอธิการว่าด้วยนิทานนี้ เพราะจงทําให้เป็นภาระหนักเกินไป แต่นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถามัชฌิมนิกายชื่อปปัญจสูทนีนั้นแล.
[อธิบายอัคคะศัพท์ที่ลงในอรรถ ๔ อย่าง]
อัคคะศัพท์นี้ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมปรากฏในอรรถคืออาทิ (เบื้องต้น) โกฏิ (เบื้องปลาย) โกฏฐาสะ (ส่วน) และ เสฏฐะ (ประเสริฐ).
จริงอยู่ อัคคะศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถคือเบื้องต้น ในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนนายประตูเพื่อนรัก! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ (๑)
อัคคะศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถคือเบื้องปลาย ในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า พึงแตะต้องปลายแห่งนิ้วมือนั้น ด้วยปลายแห่งนิ้วมือนั้นนั่นเองพึงแตะต้องยอดอ้อย ยอดไผ่.
(๑) ม. มู. ๑๓/๖๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 317
ย่อมปรากฏในอรรถคือส่วน ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตเพื่อให้แจกส่วนของที่มีรสเปรี้ยว ส่วนของที่มีรสหวาน หรือส่วนของที่มีรสขม ด้วยส่วนแห่งวิหาร หรือส่วนแห่งบริเวณ.
ย่อมปรากฏในอรรถคือประเสริฐ ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเพียงไร ไม่มีเท้าก็ดี มี๒ เท้าก็ดี ฯลฯ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเรียกว่า ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น (๑)
แต่อัคคะศัพท์นี้ ในอธิการนี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถคือเบื้องต้น.เพราะฉะนั้น ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ตั้งต้นแต่วันนี้เป็นต้นไป. ท่านกล่าวคําอธิบายไว้ว่า บทว่า อชฺชคฺเค ก็คืออชฺชภาวํ แปลว่า มีในวันนี้ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี.ท อักษร ทําการต่อบท. มีคําอธิบายว่า ตั้งต้นแต่วันนี้.
[เวรัญชพราหมณ์ไม่กล่าวล่วงเกินพระรัตนตรัยจนตลอดชีวิต]
บทว่า ปาณุเปตํ ความว่า ผู้เข้าถึง (พระรัตนตรัย) ด้วยปราณ (คือชีวิต). เวรัญชพราหมณ์ กราบทูลว่า ชีวิตของข้าพเจ้ายังเป็นไปอยู่เพียงใด,ท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําคือทรงทราบ ข้าพเจ้าว่า (เป็นอุบาสก) ผู้เข้าถึง ผู้ถึงสรณะอันไม่มีศาสดาอื่นด้วยไตรสรณคมน์เพียงนั้น ข้าพเจ้าแลกล่าวถึงพระพุทธว่า ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมว่า ไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ว่า ไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้เลย.
(๑) ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕/๒๙๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 318
ส่วนในอธิการนี้ พึงทราบอธิบายว่า พราหมณ์ เมื่อกล่าวถึงสรณคมน์ซ้ำอีกว่า ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ชื่อว่า ประกาศมอบถวายตน (แก่พระรัตนตรัย).
[พราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าจําพรรษา ณ เมืองเวรัญชา]
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นมอบถวายตนอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัท จึงกราบทูลว่า และขอท่านพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับการอยู่จําพรรษาที่เมืองเวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด.
พราหมณ์ กราบทูลความประสงค์ไว้อย่างไร. กราบทูลไว้อย่างนี้ว่าขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก และขอจงทรงรับการอยู่จําพรรษาที่เมืองเวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด คือขอให้ทรงรับการอาศัยเมืองเวรัญชาอยู่จําพรรษาตลอดไตรมาส เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จําพรรษาเมืองเวรัญชา]
หลายบทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ความว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคําของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็ไม่ทรงยังองค์คือกายหรือองค์คือวาจาให้ไหวเลย ทรงไว้ซึ่งพระขันติในภายในนั่นแล ทรงรับ (คําอาราธนา) โดยพระดุษณีภาพ. ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยพระหฤทัยทีเดียว เพื่อทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.
หลายบทว่า อถโข เวรฺโช พฺราหฺมโณ ภควโต อธิวาสนํวิทิตฺวา ความว่า ครั้งนั้นแล เวรัญชพราหมณ์ คิดว่า ถ้าท่านพระสมณโคดมไม่พึงทรงรับ (คําอาราธนา) ของเรา จะพึงทรงคัดค้านด้วยกายหรือด้วยวาจา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 319
แต่เพราะพระองค์ไม่ทรงคัดค้าน ทรงพระขันติไว้ในภายใน, ฉะนั้น พระองค์ก็ทรงรับ (คําอาราธนา) ของเรา ด้วยพระหฤทัยนั่นเอง ดังนี้ ครั้นทราบการทรงรับคําอาราธนาของพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่ตนเป็นผู้ฉลาดในการกําหนดรู้อาการดังพรรณนามาแล้วนั้น จึงลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าในทิศทั้ง ๔ ด้วยความเคารพ แล้วทําประทักษิณ๓ รอบ แม้ได้ติเตียนจําเดิมแต่เวลาที่ตนมาว่า พระสมณโคดมไม่ทรงทําสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น แก่พวกพราหมณ์ผู้แก่กว่าโดยชาติ เป็นต้นบัดนี้ ได้รู้พระพุทธคุณอย่างซาบซึ้งแล้ว ถึงไหว้อยู่ด้วยกายวาจาและใจหลายครั้งหลายหน ก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มนั่นเอง จึงได้ประคองกระพุ่มมือ อันรุ่งเรืองด้วยความประชุมพร้อมแห่งนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วยกชูขึ้นไว้บนเศียร เดินถอยหลังหันหน้าไปทาง (พระผู้มีพระภาคเจ้า) จนพ้นทัศนวิสัย ได้ถวายบังคมในที่พ้นทัศนวิสัยแล้วหลีกไป.