สำหรับผู้ที่ในชีวิตประจำวันไม่ได้แสวงหาปัญญา เพียงแต่ว่าแสวงหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทรัพย์สมบัติ เพราะเหตุว่ายังไม่เห็นประโยชน์ และยังไม่เห็นคุณค่าของปัญญานั่นเอง เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้พิจารณาว่านอกจาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกตอนหนึ่งที่ท่านผู้ฟังก็คงจะได้ยินบ่อยนะคะว่า "กามทั้งหลายเปรียบเสมือนของที่ยืมเขามา" ท่านกล่าวว่า เหมือนกับบุคคลๆ นึงซึ่งขอยืมของ ของบุคคลอื่นมามากมายแล้วก็ใส่รถแล้วก็แล่นไปเรื่อยๆ นี่คือชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายนะคะ ก็เหมือนกับรถซึ่งเคลื่อนไปทุกขณะแล้วก็สิ่งที่ได้รับในชาตินึงๆ ก็เหมือนของที่ขอยืมเขามาทั้งหมด เพราะฉะนั้นเวลาที่รถแล่นไปพบเจ้าของสมบัติที่ขอยืมเขามาคนใด เจ้าของนั้นก็เอาของนั้นคืนไป เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าในชีวิตเนี่ยค่ะ ทุกคนไม่ได้มีแต่ได้ลาภหรือว่า สมบัติแต่ก็ต้องมีการเสียสมบัติแล้วก็เสียลาภด้วย เสื่อมลาภด้วย เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า ไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกเลยนะคะ ตลอดชาติเป็นแต่เพียงสิ่งที่ขอยืมมาเท่านั้น ในระหว่างที่นั่งรถแล่นไปเรื่อยๆ เมื่อพบปะเจ้าของทรัพย์ผู้ใดเขาก็เอาของนั้นคืนไปก็จะไม่เดือดร้อนใจ เพราะเหตุว่าทุกชาติเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้จริงๆ แล้วสิ่งที่ควรจะแสวงหาก็คือปัญญาที่จะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรม จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายความติด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ได้ ท่านอาจารย์แสดงพระธรรมด้วยความไพเราะจับใจเปี่ยมด้วยเหตุผลนี้กว่า ๓๐ ปีแล้ว
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณไพโรจน์ มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
พระธรรมที่ไพเราะอื่นอีก --ในเรื่องของญาณที่จะทำให้รู้แจ้งทรงเปรียบว่า เหมือนกับไออุ่นในธรรมวินัยเพราะฉะนั้นทุกท่านพอจะสำรวจได้ไหม ท่านมีไออุ่นในธรรมวินัยที่ "แม้ประมาณเท่าแสงหิ่งห้อย" ก็ย่อมจะทำให้กองไฟใหญ่จะพึงมีได้อีกถ้ามีไออุ่นของญาณ คือปัญญาที่รู้ถูกต้องในข้อประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้าข้อประพฤติปฏิบัติคลาดเคลื่อนผิดไป'หมดไออุ่น" ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดผลคืออริยมรรคอริยผลได้เลย เพราะความละเอียดลึกซึ้งของโลภะนี่เอง จึงทำให้ท่านไม่รู้ว่า วันนึงๆ นั้นท่านพอกพูนสมุทัยสัจจ์ที่จะทำให้ท่านวนเวียนอยู่ในวัฏฏะมากเท่าไร---
---และอืนอีก--- ถ้าเป็นสติปัฏฐานนะคะจะต้องรู้ลักษณะทีละอย่าง เวลานี้รู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมอะไรนะคะ ต้องรู้ทีละลักษณะเพราะเหตุว่านามธรรมและรูปธรรมนี่นะคะ ทางตาก็อย่างหนึ่ง ทางหูก็อย่างหนึ่ง ทางจมูกก็อย่างหนึ่ง ทางลิ้นก็อย่างหนึ่ง ทางกายก็อย่างหนึ่ง ทางใจก็อย่างหนึ่ง นี่โดยกว้างๆ นะคะแต่โดยความละเอียดแล้วละก็มากมายกว่านั้น อย่างเช่นทางใจนี่ค่ะ ความยินดีก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ความขุ่นเคืองใจก็เป็นนามธรรมอีกชนิดหนึ่ง ความตระหนี่ก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ความริษยาก็เป็นนามธรรมแต่ละลักษณะ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐานนะคะคือ สติกำลังระลึกรู้ในลักษณะหนึ่งที่เป็นสภาพธรรม ถ้าเป็นสภาพรู้ก็ใช้ชื่อว่านามธรรมหมายถึง สภาพรู้สภาพคิด สภาพที่เป็นสุขเป็นทุกข์ต่างๆ ถ้าจะให้รู้ชัดในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนนะคะก็จะต้องรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมทีละลักษณะเท่านั้น
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ่านทีไร ก็ไม่เบื่อ ตรงจริงจริง แต่ก็ยากแสนยาก เพราะกิเลสของผมมากมาย
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
"ไออุ่นในพระธรรมวินัย" ไพเราะและลึกซึ้งมาก
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ __/l\__ขอรับกระผม
ขออนุโมทนาครับ