ใช้ อสังขตธรรม ที่มีลักษณะดังนี้คือ "เกิดไม่ปรากฏ เสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ" มาอธิบายนิพพานได้ไหมครับ
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๔๘๗.
อสังขตสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อสังขตธรรม อสงฺขต (อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศจากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข และเป็นอนัตตา
ดังนั้นก็สามารถ ใช้คำว่า อสังขตธรรมกับพระนิพพานได้ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
เรียน อาจารย์ paderm (อ้างถึงคำถามของท่านวิทยากรที่ถามผมว่า นิพพานคืออะไร?)
ผมได้ตอบคำถาม นิพพานคืออะไร โดยนำลักษณะของอสังขตธรรมมาตอบ แต่อาจารย์ก็ไม่ได้บอกว่าผมตอบถูกหรือผิด ก็เลยกลายเป็นคำถามต่อเนื่องในกระทู้ "อสังขตธรรม กับ นิพพาน ต่างกันอย่างไร?" สรุปผมเข้าใจถูกแล้วใช่ไหมครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือนามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น [เป็นอสังขตธรรม] เมื่อไม่เกิด จึงไม่ดับ แต่มีจริง พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เท่านั้น ที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้ ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
เข้าใจถูกต้องแล้วครับ อนุโมทนา