หากเห็นตามความเป็นจริง ถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่สักสองสามขณะ หรือมากกว่านั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนแยกแยะได้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเป็นนามหรือรูปนั้น ก่อนนั้นจิตดวงใดๆ ที่อาจมีสภาพแยกแยะนามและรูปตามความเป็นจริงได้บ้าง ในบางขณะมีหรือไม่ หรือว่ารู้แล้วรู้เลย ยังไม่รู้ก็คือยังไม่รู้
ที่ว่าค่อยๆ รู้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าร้อยละของดวงจิตที่เกิดสืบต่อซึ่งรู้ถึงสภาพตามความเป็นจริงถี่ขึ้นเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ คงไม่มีจิตดวงใดที่รู้แบบครึ่งๆ กลางรู้บ้างไม่รู้บ้างในดวงเดียวกัน ดวงที่รู้ก็รู้ ดวงที่หลงก็หลงแต่เมื่อใดที่เห็นเป็นนามและรูป ไม่ใช่ตัวตนทุกขณะก็เป็นจิตโสดาบันใช่หรือไม่
จิตโสดาบันซึ่งขาดจากการเห็นว่านามและรูป เป็นตัวตน แล้วเหตุใดจึงมีทุกข์ทางใจเกิดขึ้นได้อีก เกิดขึ้นได้โดยลักษณะใด
พระโสดาบันยังมีความรู้สึกความเห็นว่านั้นของเรา นั่นเราหรือไม่
ควรทราบว่าการเห็นตามความเป็นจริง เป็นกิจของปัญญาในระดับวิปัสสนาญาณในขณะที่กำลังอบรมปัญญายังไม่ประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริงได้ ขณะที่ปัญญาประจักษ์แจ้งนั้น จำนวนขณะจิตมีจำนวนมากกว่า ๓ ขณะ คือในวาระหนึ่งจิตเกิดขึ้นทำกิจชวนะ วิถีหนึ่งต้อง ๗ ขณะ และไม่ใช่เพียงวาระเดียว ที่ว่าค่อยๆ รู้ก็คือจากไม่เคยรู้เลยก็เริ่มรู้เริ่มเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขณะที่หลงลืมสติก็ไม่รู้ แต่สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นย่อมรู้ และสะสมความเข้าใจมากขึ้นต่อไป สำหรับพระโสดาบันบุคคลท่านดับความเห็นผิดในรูปนามว่าเป็นตัวตนได้แล้ว แต่ท่านยังมีการยึดถือด้วยอำนาจตัณหาและมานะได้ คือยึดถือเราด้วยตัณหาว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา แต่ท่านไม่เห็นผิดครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น มีความละเอียด และลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งหมดเป็นสัจจธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ในสภาพธรรมไม่ได้เลย ถ้าขาดการฟัง การศึกษา ขาดการพิจาณาในเหตุในผลของธรรม ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงได้ แม้แต่ในเรื่อง จิต ก็เช่นเดียวกัน จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ กล่าวได้ว่า ทุกขณะของชีวิต เป็นจิตแต่ละขณะๆ และจิต เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยง เมื่อจิตดวงหนึ่งดับไปก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปก็เกิดสืบต่อ เป็นลำดับด้วยดี ไม่ปราศจากจิตแม้แต่ขณะเดียว ค่อยๆ สั่งสมความรู้ ความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จากการฟัง การศึกษาเริ่มด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจิต เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ครับ
พระโสดาบันบุคคล เป็นพระอริยบุคคลขั้นต้น ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพานเป็นครั้งแรก ดับความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ดับความสงสัยในสภาพธรรม ดับการยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ดับความตระหนี่ ดับความริษยา ละความลำเอียงได้ ถึงแม้ว่าพระโสดาบันบุคคล ท่านจะดับโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิดได้อย่างเด็ดขาด แต่โลภะที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ยังมีอยู่ เพราะยังมีความติดข้อง ยินดีพอใจอยู่นี่เอง จึงเป็นเหตุให้เกิดความโศกเศร้า เสียใจได้ เมื่อไม่ได้สิ่งที่น่าปรารถนา หรือ พลัดพรากจากสิ่งที่น่าปราราถนา เป็นต้น ผู้ที่จะดับความโศกเศร้าเสียใจได้เด็ดขาด ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี เพราะท่านดับความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แล้ว ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ลึกลงไปถึงอนุสัยกิเลสแล้วไม่มีใครรู้การสะสมของใครได้เปรียบเสมือนการอยู่ในโลกคนละใบ ประโยชน์คือ รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ พิจารณา พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องเพื่ออบรมเจริญกุศลทุกประการ จนกว่าจะเป็นปัญญาของตนเองประจักษ์แจ้งด้วยตนเองหมดความสงสัยทุกประการ ด้วยปัญญาของตนเองค่ะ ทุกอย่างที่ได้ยินได้ฟัง ควรพิจารณาที่ประโยชน์ค่ะ กุศลธรรมทุกประการ เป็นประโยชน์ไม่ง่าย แต่ค่อยๆ อบรม ให้มีมากขึ้นได้ค่ะ.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมทำหน้าที่ของธรรม ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริ ง ปัญญามีหลายระดับตั้งแต่ขั้นการฟัง ขั้นสติปัฏฐานรู้ว่าเป็นธรรม ขั้นประจักษ์สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ขั้นดับความเห็นผิด ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้ตรงว่ายังไม่ถึงปัญญาขั้นที่สามารถแยกนามหรือรูป เพียงอบรมปัญญาขั้นการฟังจากที่ไม่เคยรู้เลยในขั้นการฟังว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา จนค่อยๆ รู้ขึ้น เมื่อความเข้าใจเจริญขึ้น (ค่อยๆ รู้) ปัญญาก็จะทำหน้าที่ปรุงแต่งจนเป็นเหตุให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่เมื่อไหร่แล้วแต่เหตุปัจจัยครับ
พระโสดาบันละความเห็นผิดได้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อละความเห็นผิดแล้วจะดับกิเลสได้หมด เพระกิเลสมีมาก ความยินดีพอใจในรูป เสียง ความโกรธ มานะ เป็นต้น พระโสดาบันยังละไม่ได้ เมื่อติดข้องในสิ่งใด เมื่อพลัดพรากจากสิ่งนั้นท่านก็ทุกข์ใจ แต่ขณะที่ท่านทุกข์ใจท่านก็ไม่ได้สำคัญผิดว่าเป็นเราที่ทุกข์ครับ ตัวอย่างเช่น พระนางวิสาขาก็ทุกข์ที่หลานท่านตายเพราะมีความรักในหลานครับ แต่ก็ไม่มีความเห็นผิดว่าเป็นเราที่ทุกข์ครับจะเห็นได้ว่ากิเลสมากมาย หนทางเดียวคือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าไม่ใช่เราและกิเลสที่จะต้องละก่อนคือความเห็นผิดว่าเป็นเราเป็นสัตว์บุคคลครับ
ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ...
เริ่มที่จะฟังให้เข้าใจก่อนครับ เพราะว่าพระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งจึงเห็นยาก ดังท่านอาจาร์ยที่เคยกล่าวจริงๆ พระธรรมนั้นยากที่ฟังแล้วเข้าใจ ครับ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องรอ ไม่ใช่เรื่องไปทำ ไปคอย ไปนับเวลา จะนาน จะช้าไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องเข้าใจจริงๆ วันหนึ่งจะเห็นธรรม เมื่อเห็นคุณของการไม่ขาดการฟังพระธรรม
ธรรมะปรากฏจริงต่อผู้ที่ซื่อตรงต่อธรรมะ ธรรมะย่อมเป็นมิตรที่ซื่อสัตว์ต่อผู้เข้าใจธรรมะ
ต้องไม่ลืมว่า เราทุกคนไม่พ้นกรรม ไม่ว่าตายหรือเกิด อีกไม่นานก็จะลืมแล้วชาตินี้ สิ่งที่น่าเกรงกลัวคือ การไม่รู้สภาพธรรมะที่กำลังมีจริงอยู่ขณะนี้
พระโสดาบันก็เห็นเหมือนกัน ได้ยินก็เหมือนกัน แต่ต่างกันที่จิต หลังเห็นหลังได้ยินกับคนทั่วไปที่ยังมีอวิชชา
ขออนุโมทนาบุญทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ธรรมชาติของจิตอย่างหนึ่งเพราะอรรถว่า คิด อธิบายว่ารู้แจ้งอารมณ์วันๆ ก็ไม่พ้น การคิดนึก เรียน และศึกษาธรรมแล้วก็คิด เรียนมากๆ หลายๆ ปีก็คิดเรื่องธรรมมากยิ่งขึ้น แล้วก็ความคิดอีกนั้นแหละที่หลงให้รู้ว่าตัวเองรู้มากขึ้น จนมีผู้ศึกษาบางท่านวนเวียนอยู่กับความคิดนึกเป็นอันตรายอย่างมากของผู้ศึกษา ขณะที่สติปัญญาเกิดรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง การรู้ขณะนั้นจะไม่ตรงกับการเข้าใจโดยการคิดนึกที่มีตัวตนคิด ครับ
ขอร่วมแสดงความเห็น (ส่วนตัว) ด้วยครับ
หากเห็นตามความเป็นจริงถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่สักสองสามขณะ หรือมากกว่านั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนแยกแยะได้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเป็นนามหรือรูปนั้น
ถ้าศึกษาพระธรรมให้เข้าใจเรื่องวิถีจิต น่าจะช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ได้นะครับ แต่ตามความเป็นจริงจิตเกิดดับเร็วมาก ตอนประจักษ์แจ้งสภาพธรรมคงไม่มีใครมานับจิตว่ากี่ขณะนะครับ แต่ที่ทรงแสดงไว้พอจะทราบได้ว่าสิ่ง (หรืออารมณ์) ที่กำลังปรากฏนั้นมีจิตรู้มากกว่าสามขณะครับ
ก่อนนั้นจิตดวงใดๆ ที่อาจมีสภาพแยกแยะนามและรูป ตามความเป็นจริงได้บ้างในบางขณะมีหรือไม่ หรือว่ารู้แล้วรู้เลย ยังไม่รู้ก็คือยังไม่รู้
ปัญญาค่อยๆ รู้ขึ้นครับ และเมื่อปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามลำดับ ก็จะละคลายความสงสัยหรือความไม่รู้ตามลำดับด้วย
ที่ว่าค่อยๆ รู้หมายความว่าอย่างไร
ปัญญามีหลายระดับ และเมื่อมีการฟังพระธรรม สนทนาธรรม พิจารณาพระธรรม ความเข้าใจ (หรือปัญญา) จะค่อยๆ มีกำลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย ต้องอาศัยเวลา ความรู้ถูก (หรือปัญญา) จะค่อยรู้ความจริงตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้นทีละนิด ในที่สุดก็จะสามารถประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามกำลังปัญญาที่เพิ่มขึ้น จนเป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ จนกระทั่งบรรลุหรือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานมาก
หมายความว่าร้อยละของดวงจิตที่เกิดสืบต่อ ซึ่งรู้ถึงสภาพตามความเป็นจริง ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ คงไม่มีจิตดวงใดที่รู้แบบครึ่งๆ กลางๆ รู้บ้าง ไม่รู้บ้างในดวงเดียวกัน ดวงที่รู้ก็รู้ ดวงที่หลงก็หลง แต่เมื่อใดที่เห็นเป็นนามและรูป ไม่ใช่ตัวตน ทุกขณะก็เป็นจิตโสดาบันใช่หรือไม่
จิตรู้ได้ทุกอย่าง (ทั้งผิดและถูก) แต่ปัญญารู้ถูกต้องตามความเป็นจริง
ขณะที่ปัญญารู้ถูก กับขณะที่หลง เป็นคนละขณะกัน ไม่ใช่รู้แบบครึ่งๆ กลางๆ แต่ปัญญาค่อยๆ รู้ขึ้น ขอให้อดทนศึกษาพระธรรมให้เข้าใจนะครับ
จิตโสดาบัน ซึ่งขาดจากการเห็นว่านามและรูปเป็นตัวตน แล้วเหตุใดจึงมีทุกข์ทางใจเกิดขึ้นได้อีก เกิดขึ้นได้โดยลักษณะใดพระโสดาบันยังมีความรู้สึกความเห็นว่านั้นของเรา นั่นเราหรือไม่
ความเห็นผิดในนามและรูป และความทุกข์ทางใจ (โทมนัสเวทนา) เป็นธรรมะคนละอย่างกัน พระโสดาบันดับความเห็นผิดจึงไม่เห็นผิดในนามและรูปอีก แต่ยังไม่สามารถดับโทสะ และความทุกข์ทางใจได้นะครับ
ขณะที่ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น เพิ่มขึ้นตามลำดับ กิเลสก็ค่อยลดลงตามลำดับ รวมทั้งกิเลสซึ่งมีอยู่หลายชนิดก็ต้องค่อยๆ หมดไปตามกำลังของปัญญาครับ ไม่ใช่ว่าจะดับไปพร้อมกันทั้งหมด
จากความเห็นที่ 2
ค่อยๆ สั่งสมความรู้ ความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จากการฟัง การศึกษาเริ่มด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจิต เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ครับ
สาธุ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ละความเห็นผิดว่าเป็นเรากับ ละความเป็นเราต่างกันนะครับ เข้าใจว่าพระโสดาบันละความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา โดยรวมก็คือขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา กับสังโยชน์ อีก ๒ ข้อ คือ วิจิกิจฉา กับ สีลพตปรามาส ส่วนละความเป็นเรา คือไม่ยึดถือว่า ขันธ์ ๕ เป็นเรา ได้นั้นเป็นพระอรหันต์ครับ พระสกทาคามี สติท่านไวขึ้นเท่าทันกิเลสที่ละเอียดขึ้น แต่กิเลสที่หยาบที่จะส่งผลให้ตกไปสู่อบายภูมิ ระดับพระโสดาบันท่านละได้เด็ดขาด
ส่วนพระอนาคามี ท่านละกิเลสที่จะทำเกิดในภพ ที่ยังเสพกามอยู่ แต่ยังยึดมั่นในจิตผู้รู้อยู่ คือมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์อสังขาริกัง คือชื่อ เต็มของจิตที่ใช้เจริญวิปัสสนาหรือจะเรียกว่า สติปัฏฐาน ข้างต้นตามที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมานะครับ
อนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ . . .