๖. อัญญสูตร ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ จึงถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้
โดย บ้านธัมมะ  5 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39840

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 266

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๖. อัญญสูตร

ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ จึงถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 266

๖. อัญญสูตร

ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ จึงถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้

[๘๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัสสปะแล้ว ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้น อันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ไล่เลียง สอบถาม ซักถามอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ถึงความเป็นผู้ไม่มีคุณ ถึงความไม่เจริญ ถึงความพินาศ ถึงความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคต


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 267

หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ได้กระทำว่ากระทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ จึงพยากรณ์อรหัตตผลด้วยด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า เพราะอาศัยอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด ฯลฯ พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด ฯลฯ จึงพยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 268

ผู้นี้มีอภิชฌามาก มีใจอันอภิชฌากลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งอภิชฌานี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้พยาบาท มีใจอันพยาบาทกลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งพยาบาทนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ มีใจอันถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งถีนมิทธะนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีใจอันความฟุ้งซ่านกลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความฟุ้งซ่านนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความสงสัย มีใจอันความสงสัยกลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความสงสัยนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบการงาน ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบในการคุย ผู้ยินดีในการคุย ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบคุย ก็ความเป็นผู้ชอบคุยนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบนอนหลับ ก็ความเป็นผู้ชอบนอนหลับนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีในความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ก็ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 269

ถึงความทอดธุระในระหว่างคุณวิเศษเบื้องบน ด้วยการบรรลุคุณวิเศษเบื้องต่ำ ก็ความทอดธุระในระหว่างนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้.

จบอัญญสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัญญสูตรที่ ๖

อัญญสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อธิมานิโก ได้แก่ ประกอบด้วยความสำคัญว่าบรรลุแล้วในธรรมที่ยังไม่บรรลุ. บทว่า อธิมานสจฺโจ ได้แก่ สำคัญว่าบรรลุแล้ว จึงกล่าวโดยสัจจะ.

จบอรรถกถาอัญญสูตรที่ ๖