พระวินัยหรือพระสูตรไหนครับ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรงเรื่องเนื้อกินได้ คือ
ไม่ได้ยิน ไม่เห็น ไม่รังเกียจ ที่ใด
ฆราวาส เรื่องการกิน มี 2 อย่าง คือ ซื้อของมาทำกับข้าว กับซื้อสำเร็จรูป ทั้งสอง
อย่างมีนัยใกล้เคียงกัน ความยินดีพอใจในอาหาร ไม่ว่าอาหารนั้นเป็นอะไร ด้วยโลภะ
ก็ถือว่าเป็นอกุศล
การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ แต่เวลาซื้ออาหารหรือจ่ายตลาด ก็คิดถึงส่วนประกอบ
ที่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์นั้น มีส่วนเสมอกับการคิดถึง พืชอาหารหรือไม่
ถามโดยเฉพาะคือ จริงอยู่ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบการฆ่าสัตว์ แต่การเลือกพิจารณา
ซื้อหาอาหารที่ทำจากพืชหรือจากสัตว์ มีส่วนเหมือนส่วนต่างกันหรือไม่ หรือเหมือนกัน
เพราะเป็นอาหารเหมือนกัน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระวินัยหรือพระสูตรไหนครับที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรงเรื่องเนื้อกินได้ คือ
ไม่ได้ยิน ไม่เห็น ไม่รังเกียจ ที่ใด เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.........เนื้อบริสุทธิ์ โดยส่วน ๓ ฉันได้ [ มหาวิภังค์ ]
ขณะใดที่มีความติดข้องต้องการไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงอาหารประเภทใดก็เป็นโลภะ
เหมือนกันครับ สำคัญที่จิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อ ขณะนั้นไม่
ได้มีเจตนาฆ่า เช่นเดียวกับอาหารประเภทอื่นๆ หากเป็นเรื่องราวก็สับสนแต่ถ้ามุ่งที่ตัว
สภาพธรรม ขณะใดมีความติดข้อง ต้องการก็เป็นโลภะทั้งนั้น ส่วนอารมณ์ของจิตนั้นก็
แล้วแต่ว่าเป็นสิ่งใดครับ สำคัญที่จิตครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ลองคลิกอ่านดู นะครับ
การซื้อเนื้อสัตว์
การกินเนื้อสัตว์
ปาณาติบาต หมายรวมถึงการรังเก การทำให้เดือดร้อน การทำให้บาดเจ็บหรือไม่ อย่างไรเท่าภูมิรู้ที่มีอยู่ ผมเห็นว่า วินัย กับ ธรรม มีนัย ต่างกันบางแง่มุม
ผมเข้าใจว่า ถ้ามองในเชิงปรมัตถธรรม ทุกอย่างก็สามารถตอบหรือให้เหตุให้ผลได้
ไม่อาจโต้แย้งสัจจธรรมได้ผมเห็นเพิ่มเติมอีกว่า นักมังสวิรัสนั้น ถ้ามองในแง่ปรมัตถ์
ส่วนหนึ่งก็มิได้มีเจตนาถืออย่างนั้นด้วยความเห็นผิดในศีลและพรต เขาเหล่านั้นก็รู้ดีว่าการถือเช่นนี้มิใช่จะนำเขาไปสู่ความหมดของกิเลส เพียงแต่เป็นการคิดในแบบโลก
สมมติ ในโลกสมมติที่เขาอาศัยอยู่ เป็นการปฏิบัติการทางสังคม เป็นการเพิ่มฐานความรู้ในความเป็นอยู่ ในสภาพความเป็นจริงไม่ว่าอดีตปัจจุบันหรืออนาคต คนขาย
ย่อมน่าจะมี คนซื้อย่อมน่าจะมี ในแง่ของนักบวชไม่ค่อยจะเป็นปัญหา หากเป็นฆราวาส
เล่า อาหารเนื้อมีที่มา 2 ประการ คือ ตนหรือคนของตน ฆ่าเอง หรือใช้ให้ฆ่า หรือซื้อหา
จากผู้ขายถ้าจะถือหลักที่ว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่รังเกียจก็ไม่มีปัญหา เพราะถ้าเป็นนักบวชก็
รับอาหารจากผู้ให้ทานอยู่แล้วฆราวาสผู้ต้องจัดหาเพื่อตนมีข้อปลีกย่อย ข้อแม้ขึ้นมาว่า
หากไม่มีเงิน หากหาที่ซื้อไม่ได้ และก็ไม่ควรเลี้ยงไว้เองอยู๋แล้วเพื่อฆ่าหรือค้าขายสัตว์
เป็น ก็หมายความว่าต้องมีภูมิรู้ทางด้านอาหารมังสวิรัสเกิดขึ้น เพื่อที่จะรักษาร่างกายนี้
ให้สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ไม่เป็นโรคถ้าไม่มีภูมิปัญญาด้านอาหารด้านโภชนาการ
ก็อาจมีปัญหาด้านสุขภาพได้ผู้มีความรู้ความสามารถด้วนมังสวิรัสแล้ว ถ้าเขาจะยินดี
เฉพาะมังสวิรัส ผมเห็นว่าก้ไม่เห็นจะเสียหายตรงใหน เว้นแต่ให้เห็นตามเป็นจริงว่าข้อ
ปฏิบัติเช่นนี้มิได้ก่อให้เกิดปัญญาเท่านั้น ไม่ถือมั่น
บางคนใช้ตรรรกว่า คนกินมังบางคน ก็บี้มดตบยุง ผมเห็นว่าจริงครับ แต่เราก็ต้องมอง
โดยปรมัตถ์เป็นขณะๆ เช่นกันแต่ก็มีความเห็นที่น่าสนใจที่ว่า แม้การผลิตพืชอาหาร
โดยทั่วไปก็ต้องเบียดเบียนสัตว์เช่นกัน การไถพรวน ทำร้ายสัตว์ในดิน การกำจัดศัตรู
พืชต่างๆ ดังนนั้นพืชอาหารหรือเนื้อสัตว์ก็มีที่มาในเชิงเบียดเบียนเช่นกัน
การรักษาศีลข้อ 1 ของการเกษตรกรรมนี้เป็นของยากแท้ในความเห็นของผม
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย หากเป็นเรื่องราวก็จะยังไม่แจ่มชัดแต่ถ้ามองที่ตัวสภาพธรรมคือขณะนั้นมีเจตนาฆ่า
หรือไม่ ถ้ามีเจตนาฆ่าและสัตว์ตายด้วยความพยายามนั้นเป็นปาณาติบาต ขณะเลือก
ซื้ออาหารที่เป็นเนื้อมีเจตนาฆ่าไหม? ขณะที่ซื้ออาหารที่เป็นพืช ผัก มีเจตนาฆ่าไหม
ขณะที่รับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าไหม? จึงต้องพิจารณาจิต
ในขณะนั้นเพราะจะเป็นอกุศลกรรมเป็นปาณาติบาตหรือไม่สำคัญที่เจตนาในขณะนั้น
ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ที่ท่านกล่าวว่า.... ถามโดยเฉพาะคือ จริงอยู่ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบการฆ่าสัตว์ แต่การเลือกพิจารณาซื้อหาอาหารที่ทำจากพืชหรือจากสัตว์ มีส่วนเหมือนส่วนต่างกันหรือไม่ หรือเหมือนกัน เพราะเป็นอาหารเหมือนกัน
.
.
.ตอนที่พิจารณาเลือก....ลองสังเกต "ลักษณะ"ของจิตในขณะนั้น ว่าเลือก................เพราะเหตุใด.?
สาเหตุของการเลือก คืออะไร.? ผลจากการเลือก......เพืออะไร.?
.
ขณะที่มีเจตนาฆ่า แล้วสัตว์ตายไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม การกระทำนั้นเป็นปาณาติบาตแล้วจึงต่างกับขณะที่ไม่ได้ฆ่า...คือ ตอนที่พิจารณาเลือก.
.
การทานอาหารมังสาวิรัตินั้น ไม่เสียหายก็ต่อเมื่อ ไม่นำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น ไม่วุ่นวายเพราะต้องเลือก ต้องจัดหา โดยเป็นภาระที่ยุ่งยากทั้งต่อตนและผู้อื่นและถ้าเป็นผู้ที่ทานอะไรก็ได้ ตามมี ตามได้ เป็นผู้เลี้ยงง่าย...จะเดือดร้อนน้อยกว่าไหม.?
.
ถ้าทานอาหารมังสาวิรัติโดยเป็นอัธยาศัยที่ได้สะสมมาจริงๆ ไม่ใช่เพราะสาเหตุอื่น.........ใครจะห้ามอัธยาศัยของใครได้.!ซึ่งอันนี้....ก็ต้องเป็นผู้ตรงต่อความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง.
.
ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นเกษตรกร และอาชีพเกษตรกรนี้ก็กว้างนะคะเกษตรกรบางสาขาก็ไม่ได้มีเจตนาฆ่าสัตว์ เพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้ฆ่า.
.
เรื่องการกิน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้มากมายที่น่าพิจารณาเช่นไม่ควรกินเพื่อเล่น...เพื่อตกแต่ง....แต่กินเพื่อยังชีพ เป็นต้นในบางสูตร ทรงแสดงเรื่องการกิน โดยให้พิจารณาว่าเปรียบเหมือนบริโภคเนื้อบุตร ฯลฯพระธรรมที่ทรงแสดงให้ผู้ฟังได้พิจารณา ล้วนแต่เป็นไปเพื่อการละความหมายที่แท้จริงของการละ ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วย ว่าละอะไร.!.
.
.
ขออนุโมทนาในความสนใจใคร่รู้ในพระธรรมค่ะ.