พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
อนึ่ง ชื่อว่า การถึงสรณะ เป็นบุญกรรมที่สำเร็จด้วยการบริจาคชีวิตแก่พระรัตนตรัย ย่อมให้สมบัติทุกประการ เพราะฉะนั้นพึงทราบว่ามีผลมากกว่า และมีอานิสงส์ มากกว่า. ก็การถึงสรณะนี้ ท่านเรียกว่ายัญ เพราะเกี่ยวกับการบริจาคชีวิตแก่พระรัตนตรัย. ก็แลศีล ๕ นี้ ท่านเรียกว่ายัญ เพราะต้องสมาทานด้วยคิดว่า เราจักสละความเยื่อใยในตนและความเยื่อใยในชีวิต รักษา. บรรดาศีลและสรณคมน์นั้น สรณคมน์นั่นและเป็นใหญ่กว่าศีล ๕ แม้โดยแท้ แต่ศีล ๕ นี้ ท่านกล่าวว่ามีผลมากกว่า ด้วยอำนาจแห่งศีลที่บุคคลตั้งอยู่ในสรณะแล้วรักษา.
ฌานจึงมีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า.ก็ฌานนั้น พึงทราบว่าเป็นยัญ เพราะสละเสียได้ซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น. แม้วิปัสสนาญาณ เพราะบุคคลตั้งอยู่แล้วในคุณทั้งหลาย มีจตุตถฌานเป็นปริโยสาน ให้เกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น จึงมีการใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระเตรียมน้อย ก็วิปัสสนาญาณนี้มีผลมาก เพราะไม่มีสุขใดที่เสมอเหมือน ด้วยสุขอันเกิดจากวิปัสสนา ท่านเรียกว่ายัญ เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลสอันเป็นข้าศึก.
แม้มีโนมยิทธิ บุคคลตั้งอยู่แล้วในวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น มโนมยิทธิจึงมีการใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระเตรียมน้อย ชื่อว่ามีผลมาก เพราะสามารถเนรมิตรูปเช่นกับรูปของต้นไม้ ชื่อว่ายัญ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ