ทำไมธรรมะมักเกลียดกิเลส
โดย dhoom  16 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 20038

ถ้าไม่มีกิเลสเราจะหลุดพ้นไหม

กิเลสสอนเราให้แบ่งแยกเพศชาย หญิง จิตนี้มีเพศ แต่เรามักสอนว่าไม่มีเพศ

กิเลสนี้หิวโหย จึงเกิดภพชาติ ถ้าไม่มีมันเราจะรู็ไหม

กิเลสเป็นครูเรา แต่ทำไมเราอกตัญญูต่อกิเลส เพราะกิเลสสอนให้เรา อกตัญญูหรือเปล่า



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย

กิเลสเป็น สภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมทีทำให้เศร้าหมองเมื่อเกิดขึ้น กิเลส จึง

เป็น เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ซึ่งสำหรับปุถุชน ยังเป็นผู้หนาด้วยกิเลส คือ มีกิเลส

เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะยังไม่สามารถละกิเลสได้ พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม อันเป็นไป

เพื่อละสิ่งที่ไม่ดี คือ กิเลสประการต่างๆ มี อวิชชา ความไม่รู้ เป็นต้น แต่การจะละกิเลส

ก็ด้วยธรรมที่เป็นปฏิปักษ์คือ ปัญญา ซึ่งการจะละกิเลสได้ ก็ต้องรูจักกิเลส เปรียบเหมือน

ทำสงคราม ก็ต้องรู้จัก ข้าศึกศัตรู เป็นอย่างดี จึงจะเอาชนะได้ครับ ดังนั้น พระธรรมที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นเรื่องของปัญญา ที่ให้เข้าใจความจริงของสิ่งทีเกิดขึ้น แม้

กิเลสก็เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เมื่อมีจริงและไม่ดี พระพุทธองค์ทรงแสดง

หนทางที่จะละกิเลส คือ เข้าใจกิเลสให้ถูกต้องก่อนครับว่าคืออะไร การเข้าใจตัวกิเลส

ย่อมสามารถละกิเลสได้ ดังนั้น ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไมได้สอนให้เกลียด ไม่

ให้สอนให้เป็นกิเลส ซ้อนกิเลส คือ ไม่ใช่ให้เกลียดกิเลส ด้วย โทสะ ด้วยกิเลส แต่ให้

เข้าใจกิเลส นั่นคือ ให้อบรมเจริญปัญญา เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็สามารถละกิเลสได้

ทีละเล็กละน้อยนั่นเอง ดังนั้น จึงสอนให้เข้าใจกิเลส ไม่ใช่เกลียดกิเลสด้วย กิเลส ซึ่ง

เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็ย่อมรังเกียจ อกุศล กิเลส ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยกิเลสครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 16 พ.ย. 2554

กิเลสสอนเราให้แบ่งแยกเพศชาย หญิง จิตนี้มีเพศ แต่เรามักสอนว่าไม่มีเพศ

กิเลสไมได้สอนให้เราแบ่งชาย หรือ หญิง แต่ความเป็นชายหรือหญิง มีจริง แม้ไม่มี

กิเลสก็รู้ได้ เพราะมีภาวะรูป ที่แสดงลักษณะของชาย หญิง ปรากฎให้รู้อยู่ แม้ไม่มีโลภะ

ความยินดี ติดข้องก็เข้าใจถูกในความเป็นชาย หรือ หญิง ได้ครับ ส่วนจิตไม่มีเพศ จิต

เป็นสภาพรู้ เพศมีเพราะสมมติจากรูปร่าง สัณฐาน ที่แสดงลักษณะว่าเป็นชาย หรือ หญิง

เท่านั้นครับ

กิเลสนี้หิวโหย จึงเกิดภพชาติ ถ้าไม่มีมันเราจะรู็ไหม

สิ่งที่ทำให้รู้ ไม่ใช่กิเลส แต่สิ่งที่ทำให้รู้ความจริง คือ ปัญญา ดังนั้น กิเลส เป็นสิ่งที่

ควรละ แต่จะละต้องรู้ความจริง สิ่งที่ทำให้รู้ความจริงคือ ปัญญา

กิเลสเป็นครูเรา แต่ทำไมเราอกตัญญูต่อกิเลสเพราะกิเลสสอนให้เรา อกตัญญูหรือเปล่า

กิเลส เป็นอาจารย์ของเรา แต่เป็นอาจารย์ที่ไม่ดี ซึงพระไตรปิฎกแสดงว่า กิเลส เป็น

เหมือนอาจารย์ คือ บอกให้ทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ แต่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น เมื่อเป็นคนที่แนะนำ

สิ่งที่ไม่ดี จะกล่าวว่ามีบุญคุณไม่ได้ครับ เพราะ คำว่า กตัญญู ใช้กับ ผู้ที่ทำคุณ ทำสิ่งที่

ดีกับเรา จึงรู้ถึงความดี ตอบแทน เป็นผู้กตัญญูนั่นเอง ดังนั้นกิเลสต่างหากที่เมื่อมี ย่อม

ทำไม่ดี และแนะสิ่งที่ไม่ดี มีความ อกตัญญู เป็นต้น ผู้ที่เป็นคนกตัญญูที่แท้จริงต่อ

พระพุทธเจ้า คือ ผู้ที่ศึกษาพระธรรม และเข้าใจพระธรรมถูกต้อง ชื่อว่าเป็นผู้ที่มี

ความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้าครับ

หนทางการอบรมปัญญา จึงค่อยๆ เข้าใจความจริงของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่เฉพาะกิเลส

เท่านั้น แต่รวมถึงสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เช่น เห็น ได้ยิน ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เป็นแต่เพียงสภาพธรรม เพื่อไถ่ถอนความเห็นผิดว่ามีเรา เป็นสัตว์

บุคคลครับ กิเลสเกิดขึ้น ไม่ใช่ให้เกลียด แต่เข้าใจตัวจริงของกิเลสด้วยปัญญา ว่าเป็น

ธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กิเลสทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นต้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ เพราะเป็นธรรมที่เศร้าหมอง กระทำให้จิตเศร้าหมองไม่สะอาด เมื่อแต่ละบุคคลรู้จักกิเลสของตนเองมากยิ่งขึ้น ก็จะเห็นความน่ารังเกียจของกิเลส และ เห็นความทุกข์ที่เกิดเพราะกิเลส ก็จะเห็นโทษเห็นภัยของกิเลสยิ่งขึ้น และจะรู้ว่าตนเองมีกิเลสหนาแน่น เหนียวแน่น และ ละคลายได้ยากเพียงใด

กิเลส เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง (ถ้ามีรูปร่างคงจะไม่มีที่เก็บ เพราะมีมากมายเหลือเกิน) เป็นธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชาย ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลส กิเลสก็ยังมีอยู่และเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียว มีแต่นำมาซึ่งทุกข์โทษภัยเท่านั้น ดังนั้น กิเลส จึงเป็นสภาพธรรมที่บัณฑิตผู้มีปัญญา เกลียด ไม่ควรแก่การเข้าใกล้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ร้ายๆ สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมาจากกิเลสทั้งสิ้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษาจึงเป็นคำพร่ำสอน เพื่อให้พุทธบริษัทเห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เพื่อสำรวจตนเองว่ายังเป็นผู้มากไปด้วยกิเลส เพื่อจะได้ขัดเกลา ละคลายให้เบาบางลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย เซจาน้อย  วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 16 พ.ย. 2554

"ถ้าไม่มีกิเลส เราจะหลุดพ้นไหม?"

คงตอบได้ว่า ถ้าไม่มีกิเลส ก็คงไม่ต้องหาทางหลุดพ้นอยู่แล้ว

แต่ว่าเพราะมีกิเลสมากมาย และไม่รู้จักกิเลส จริงๆ จึงไม่มีทางหลุดพ้นไปได้

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกๆ ท่านครับ


ความคิดเห็น 6    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 17 พ.ย. 2554

เชิญคลิกอ่าน...กิเลสเป็นอาจารย์และศิษย์ ขออนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 7    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 17 พ.ย. 2554

อย่างไรเรียกว่า อกตัญญูต่อกิเลส ถ้าหมายถึงไม่ประพฤติปฏิบัติตามอาจารย์คือกิเลสซึ่ง

เป็นการประพฤติกุศลกรรม..ถ้าประพฤติตามชื่อว่าประพฤติอกุศลกรรม...ด้วยเหตุนี้หาก

เรียกว่าอกตัญญูต่อกิเลสก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ

....อ.คำปั่นได้ให้ความหมายของอกตัญญูดังนี้

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 7629 ความคิดเห็นที่ 2 โดย khampan.a
จากการได้ศึกษาพระสูตรดังกล่าวนี้ ทำให้ได้เข้าใจถึงคำว่า "อกตัญญู" เพิ่มอีกหนึ่งความหมาย คือ ผู้รู้ซึ่งพระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำ (ปรุงแต่ง) ไม่ได้ เพราะพระนิพพาน เป็น วิสังขารธรรม (ธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง) เป็นธรรม ที่ไม่เกิดดับ แต่ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม ผู้ที่จะประจักษ์แจ้งในลักษณะของพระนิพพาน ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ สำหรับ คำว่า "อกตัญญู" ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ดังตัวอย่างเช่น

"พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู ไม่รู้คุณของพระตถาคต"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ข้อความตอนหนึ่งจาก...

สีลวนาคชาดก

(คนอกตัญญูหาช่องเนรคุณอยู่ทุกขณะ)

"ถ้าใครๆ จะพึงให้สมบัติในแผ่นดินทั้งหมด

แก่คนอกตัญญู ผู้มีปกติมองหาโทษ-

อยู่เป็นนิตย์ ก็ทำให้เขาพอใจไม่ได้"-----------------------
คลิกอ่านเพิ่มเติม....เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก .. อกตัญญู อีกนัยหนึ่ง
---------------------อีกประการหนึ่ง..อกตัญญูเป็นคุณสมบัติของคนพาล..ตามข้อความในพระธรรมเชิญคลิกอ่าน...อกตัญญูสูตร [ว่าด้วยคนพาล และบัณฑิต] ดังนั้นผู้ประพฤติดีไม่คารเรียกว่า..คนพาล

ความคิดเห็น 8    โดย dhoom  วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

สาธุ


ความคิดเห็น 9    โดย Graabphra  วันที่ 18 พ.ย. 2554

กิเลสเหมือนคราบดำในหม้อ ปัญญาคือฝอยขัดหม้อ ปัญญาไม่ได้เกลียด

กิเลส กิเลสไม่ได้เกลียดปัญญา ปัญญาทำหน้าที่ของปัญญาเท่านั้นเอง

ปัญญาขัดคราบดำคือกิเลสที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีบุญคุณความแค้นระหว่าง

กันเลย กิเลสของเราเองนั่นแหละที่เกลียดคราบดำนั้น ครับ...

ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย wannee.s  วันที่ 18 พ.ย. 2554

เพราะอวิชชา คือ ความไม่รู้ ปิดบัง ทำให้เราทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ตราบใดที่เรายังไม่

ได้เจริญอริยมรรคมีองค์แปด ก็ไม่มีทางพ้นทุกข์ ไม่มีทางละคลายอกุศล มีแต่จะเพิ่ม

ขึ้นทุกวัน เพราะทุกๆ ขณะที่สติไม่เกิด ก็เต็มไปด้วยกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ

ถ้าประมาทไม่เจริญกุศลและปัญญา ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า ทุคติก็เป็นอันหวังได้ค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย nong  วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย tookta  วันที่ 19 พ.ย. 2554

คิดว่าธรรมมะเป็นสิ่งที่ทำให้เราละคลายกิเลสด้วยปัญญา

ไม่ใช่คิดจะละกิเลสจนต้วเอง ต้องเป็นทุกข์